นครปฐม - ผวจ.นครปฐม เตือนประชาชนเตรียมรับมือปัญหาภัยแล้งปี 59 โดยขอความร่วมมือให้ใช้น้ำอย่างประหยัด รวมทั้งสำรองน้ำไว้เมื่อเกิดยามวิกฤต
วันนี้ (15 ต.ค.) นายชาติชาย อุทัยพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม เปิดเผยว่า ในสถานการณ์ปัจจุบันได้เกิดปรากฏการณ์ภัยแล้งในประเทศไทยอย่างกว้างขวางในหลายพื้นที่ของประเทศไทย ซึ่งคาดว่าจะมีระดับความรุนแรงมากกว่าปกติ โดยได้เริ่มส่งสัญญาณสถานการณ์ภัยแล้งมาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2557 และคาดว่าอาจจะต่อเนื่องจนถึงเดือนเมษายน 2559 เนื่องด้วยปริมาณน้ำในเขื่อนต่างๆ ที่มีอยู่ในระดับต่ำ
ผลจากภัยแล้งที่เกิดขึ้นส่งผลให้ชาวนา และเกษตรกรในจังหวัดต่างๆ รวมทั้งชาวนา และเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดนครปฐมได้รับความเดือดร้อน และผลกระทบจากปรากฏการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้น รัฐบาลจึงได้มีมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร และประชาชนที่จะได้รับผลกระทบของปัญหาภัยแล้งปี 2558/59 ทั้งหมด 8 มาตรการ
ประกอบด้วย 1.การส่งเสริมความรู้ และการสนับสนุนปัจจัยการผลิตเพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือน 2.การชะลอ หรือขยายระยะเวลาชำระหนี้ที่เกษตรกรมีภาระหนี้ต่อสถาบันการเงิน 3.การจ้างงานเพื่อสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร 4.การเสนอโครงการตามความต้องการของชุมชนเพื่อบรรเทาผลกระทบภัยแล้ง 5.การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ 6.การเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุน 7.การส่งเสริมสุขภาพ และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 8.การสนับสนุนอื่นๆ เช่น การให้ความช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลัง/สินเชื่อ/บริการข้อมูล/ส่งเสริมการท่องเที่ยว เป็นต้น
ทั้งนี้ ในมาตรการที่ 4 การเสนอโครงการตามความต้องการของชุมชนเพื่อบรรเทาผลกระทบภัยแล้ง มีวัตถุประสงค์สำคัญคือ เพื่อให้ชุมชนมีแผนการพัฒนาตามความต้องการ และเหมาะสมต่อชุมชน โดยจะมีการดำเนินสำรวจความต้องการของเกษตรกร และประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง และจัดทำแผนงานโครงการ/กิจกรรมส่งให้คณะกรรมการอำนวยการบูรณาการแก้ไขปัญหาวิกฤตภัยแล้งปี 2558/59 เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้การช่วยเหลือต่อไป
ดังนั้น เพื่อเป็นการเตรียมรับมือปัญหาภัยแล้งที่จะเกิดขึ้น และทวีความรุนแรงมากขึ้น จังหวัดนครปฐม จึงขอความร่วมมือจากพี่น้องประชาชนชาวนครปฐมในการใช้น้ำอุปโภคบริโภค และน้ำเพื่อการเกษตรอย่างประหยัด รวมทั้งซ่อมแซมภาชนะกักเก็บน้ำเพื่อสำรองน้ำไว้ใช้เมื่อยามเกิดภัยแล้งเข้าสู่ขั้นวิกฤต
นอกจากนี้ ขอให้พี่น้องชาวนา และเกษตรกรไม่ควรทำนาปรัง โดยเปลี่ยนไปปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย หรือฤดูแล้งทดแทนการปลูกข้าวนาปรังด้วย ทั้งนี้ รัฐบาล และจังหวัดมิได้นิ่งนอนใจที่จะดำเนินการช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องชาวนครปฐมแต่อย่างใด และขณะนี้รัฐบาลกำลังดำเนินการหางบประมาณมาสนับสนุนการดำเนินโครงการตามมาตรการดังกล่าว ซึ่งคาดว่าจะได้รับการจัดสรรมาแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนชาวนครปฐมในเร็วๆ นี้ต่อไป
วันนี้ (15 ต.ค.) นายชาติชาย อุทัยพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม เปิดเผยว่า ในสถานการณ์ปัจจุบันได้เกิดปรากฏการณ์ภัยแล้งในประเทศไทยอย่างกว้างขวางในหลายพื้นที่ของประเทศไทย ซึ่งคาดว่าจะมีระดับความรุนแรงมากกว่าปกติ โดยได้เริ่มส่งสัญญาณสถานการณ์ภัยแล้งมาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2557 และคาดว่าอาจจะต่อเนื่องจนถึงเดือนเมษายน 2559 เนื่องด้วยปริมาณน้ำในเขื่อนต่างๆ ที่มีอยู่ในระดับต่ำ
ผลจากภัยแล้งที่เกิดขึ้นส่งผลให้ชาวนา และเกษตรกรในจังหวัดต่างๆ รวมทั้งชาวนา และเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดนครปฐมได้รับความเดือดร้อน และผลกระทบจากปรากฏการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้น รัฐบาลจึงได้มีมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร และประชาชนที่จะได้รับผลกระทบของปัญหาภัยแล้งปี 2558/59 ทั้งหมด 8 มาตรการ
ประกอบด้วย 1.การส่งเสริมความรู้ และการสนับสนุนปัจจัยการผลิตเพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือน 2.การชะลอ หรือขยายระยะเวลาชำระหนี้ที่เกษตรกรมีภาระหนี้ต่อสถาบันการเงิน 3.การจ้างงานเพื่อสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร 4.การเสนอโครงการตามความต้องการของชุมชนเพื่อบรรเทาผลกระทบภัยแล้ง 5.การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ 6.การเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุน 7.การส่งเสริมสุขภาพ และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 8.การสนับสนุนอื่นๆ เช่น การให้ความช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลัง/สินเชื่อ/บริการข้อมูล/ส่งเสริมการท่องเที่ยว เป็นต้น
ทั้งนี้ ในมาตรการที่ 4 การเสนอโครงการตามความต้องการของชุมชนเพื่อบรรเทาผลกระทบภัยแล้ง มีวัตถุประสงค์สำคัญคือ เพื่อให้ชุมชนมีแผนการพัฒนาตามความต้องการ และเหมาะสมต่อชุมชน โดยจะมีการดำเนินสำรวจความต้องการของเกษตรกร และประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง และจัดทำแผนงานโครงการ/กิจกรรมส่งให้คณะกรรมการอำนวยการบูรณาการแก้ไขปัญหาวิกฤตภัยแล้งปี 2558/59 เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้การช่วยเหลือต่อไป
ดังนั้น เพื่อเป็นการเตรียมรับมือปัญหาภัยแล้งที่จะเกิดขึ้น และทวีความรุนแรงมากขึ้น จังหวัดนครปฐม จึงขอความร่วมมือจากพี่น้องประชาชนชาวนครปฐมในการใช้น้ำอุปโภคบริโภค และน้ำเพื่อการเกษตรอย่างประหยัด รวมทั้งซ่อมแซมภาชนะกักเก็บน้ำเพื่อสำรองน้ำไว้ใช้เมื่อยามเกิดภัยแล้งเข้าสู่ขั้นวิกฤต
นอกจากนี้ ขอให้พี่น้องชาวนา และเกษตรกรไม่ควรทำนาปรัง โดยเปลี่ยนไปปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย หรือฤดูแล้งทดแทนการปลูกข้าวนาปรังด้วย ทั้งนี้ รัฐบาล และจังหวัดมิได้นิ่งนอนใจที่จะดำเนินการช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องชาวนครปฐมแต่อย่างใด และขณะนี้รัฐบาลกำลังดำเนินการหางบประมาณมาสนับสนุนการดำเนินโครงการตามมาตรการดังกล่าว ซึ่งคาดว่าจะได้รับการจัดสรรมาแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนชาวนครปฐมในเร็วๆ นี้ต่อไป