ลำปาง - เวทีการประชุมชี้แจงการขอเพิ่มชื่อจังหวัดลำปาง เป็น “จังหวัดนครลำปาง” ยังไม่ได้ข้อยุติ อบจ.ขอผู้ว่าฯ เปิดเวทีแจงชาวบ้านทั่วทั้ง 13 อำเภอสร้างความเข้าใจกับประชาชน ก่อนนำเรื่องเข้าสภา อบจ.ขอมติอีกครั้งภายใน 1 เดือน
วันนี้ (8 ก.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานความคืบหน้าการประชุมชี้แจงเกี่ยวกับการขอเพิ่มชื่อจังหวัดลำปาง เป็น “จังหวัดนครลำปาง” ระหว่างการอบรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองภาคประชาชนตามระบบประชาธิปไตย ประจำปี 2558 ที่ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง อ.เกาะคา จ.ลำปาง ที่มีนายมงคล สุกใส รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง เป็นประธานเปิด โดยมีผู้นำจาก อปท.ทั้ง 13 อำเภอ และผู้นำกลุ่มมวลชนกว่า 300 คนเข้าร่วมรับฟัง
ต่อมาระหว่างที่เจ้าหน้าที่ได้จัดเวทีเพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการขอเพิ่มชื่อนครลำปาง ขึ้นชี้แจงและตอบข้อซักถาม นายอธิภูมิ กำธรวรรินทร์ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์สภาอุตสาหกรรมจังหวัดลำปาง และที่ปรึกษาสมาคมเครื่องปั้นดินเผาลำปาง ได้ยื่นหนังสือในฐานะประชาชนชาว จ.ลำปาง เพื่อให้สภาวัฒนธรรมได้พิจารณาในเรื่องดังกล่าวอีกครั้ง
โดยระบุว่าการขอเปลี่ยนชื่อดังกล่าวโดยพลการจะต้องให้ความสำคัญต่อประชาชนชาวลำปางกว่า 758,000 คนด้วย และขอให้การจัดทำประชาพิจารณ์ประชาชนทั้งจังหวัด เพื่อให้ทุกคนได้ตัดสินใจว่าเห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วย ต่อการเปลี่ยนชื่อเป็น “จังหวัดนครลำปาง” ซึ่ง ดร.อุดมศักดิ์ ศักดิ์มั่นวงค์ ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดลำปาง และรองประธานสภาวัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ได้รับหนังสือฉบับดังกล่าวไว้
หลังจากนั้นได้มีการเปิดเวทีชี้แจงถึงที่มาของการขอเพิ่มชื่อนครลำปาง ซึ่ง ดร.อุดมศักดิ์ ศักดิ์มั่นวง ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดลำปาง, นายบพิตร วิทยาวิโรจน์ วัฒนธรรมจังหวัด, นายประดิษฐ์ สรรพช่าง, นายศักดิ์ สักเสริญ รัตนชัย ปราชญ์ผู้ทรงคุณวุฒิด้านประวัติศาสตร์ลำปาง, นายมงคล ถูกนึก ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์นครลำปาง, นางสาวเพ็ญสุภา สุขคตะ ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ล้านนาในภาคเหนือ และอดีตผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์หริภุญไชย จ.ลำพูน และนางบุญรัตน์ โรจนศักดิ์ ผู้ทรงคุณวุฒิสภาวัฒนธรรมจังหวัดลำปาง ร่วมชี้แจง
โดยเน้นย้ำว่า การขอเปลี่ยนจากจังหวัดลำปางเป็นจังหวัดนครลำปาง ไม่ได้เป็นการเปลี่ยนไปใช้ชื่อใหม่ แต่เป็นการขอกลับไปใช้ชื่อเดิมเมื่อกว่า 100 ปี ที่ถูกตัดทอนหายไป
ดร.อุดมศักดิ์ ซึ่งเป็นผู้เสนอเรื่องดังกล่าว กล่าวว่า ในเรื่องนี้เป็นเรื่องเดิมที่เคยพูดคุย และหารือกับผู้ว่าราชการจังหวัดลำปางมาแล้วกว่า 10 คน เป็นการขอแก้ไขคำว่า “นคร” ที่ตกหล่นไป แต่ก็ยังไม่ได้รับการแก้ไขให้กลับมาเป็นเหมือนเดิม ซึ่งตนเห็นว่าในวันที่ 1 เม.ย. 59 จะเป็นวาระครบ 100 ปีสำหรับการใช้ชื่อ "นครลำปาง" ที่ขบวนรถไฟหลวงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน วิ่งจากพระนคร มาถึงนครลำปาง ซึ่งสถานีรถไฟนครลำปางมีชื่อคำว่า “นคร” ที่เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งที่ปรากฏมาจนถึงทุกวันนี้
ประกอบกับตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ศิลาจารึกของลำปางอีกหลายอย่าง และในหนังสือราชกิจจานุเบกษา เล่ม 43 หน้า 4054 วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2469 และราชกิจจานุเบกษา เล่ม 43 หน้า 3,825 วันที่ 23 มกราคม 2469 ก็เรียกชื่อลำปางว่า "จังหวัดนครลำปาง"
ดังนั้น เพื่อเป็นของขวัญให้แก่คนลำปางทุกคนที่จะได้ร่วมกันภาคภูมิใจกับประวัติศาสตร์ที่ทรงคุณค่านี้ร่วมกัน จึงได้หยิบเรื่องนี้ขึ้นมาเพื่อให้ชาวลำปางได้ร่วมฉลองการใช้ชื่อเดิมของเรากลับคืนมาในโอกาสที่จะครบรอบ 100 ปี ในปี 59 นี้
หลังจากชี้แจงเสร็จ ได้มีผู้เข้าร่วมประชุมได้สอบถามถึงข้อวิตกกังวลจำนวน 4 คน จากทั้งหมด 300 กว่าคนเนื่องจากเวลาจำกัด โดยส่วนใหญ่กังวลเกี่ยวกับผลกระทบต่อประชาชนในเรื่องเอกสารทางราชการ, การทำธุรกรรมต่างๆ กังวลว่ารัฐจะต้องนำภาษีมาใช้ในการเปลี่ยนแปลงป้าย หรือส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ส่วนภาคเอกชนก็มีความเป็นห่วงว่าจะมีผลกระทบต่อเรื่องภาษี หากมีการทำการค้าระหว่างประเทศ และสมาชิก อบจ.ลำปาง ต้องการให้กระจายความรู้เรื่องดังกล่าวให้ประชาชนได้รับทราบอย่างทั่วถึง ก่อนที่จะมีการลงมติในการประชุมสภา อบจ.ลำปาง
ดร.อุดมศักดิ์ได้ตอบข้อข้องใจว่า ประชาชนจะไม่ได้รับผลกระทบใดในส่วนนี้ เนื่องจากระบบราชการจะมีการอัปเดตข้อมูลโดยอัตโนมัติ และจะมีการประกาศเป็นบทเฉพาะกาลเพื่อรองรับในเรื่องดังกล่าวอยู่แล้ว ส่วนค่าใช้จ่ายภาครัฐที่จะตามมา ซึ่งก็คงเป็นเรื่องปกติเหมือนจังหวัดอื่นๆ ที่เคยขอเปลี่ยน แก้ไข เพิ่มเติม ทางภาครัฐก็จะมีการจัดสรรงบประมาณให้อยู่แล้ว
“ค่าใช้จ่ายดังกล่าวเทียบไม่ได้กับสิ่งที่คนลำปางจะได้รับต่อไปถึงอนาคต ทั้งความภูมิใจ คุณค่าทางประวัติศาสตร์ต่างๆ ที่คนรุ่นต่อไปจะต้องชื่นชม ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต่างหากที่คนลำปางจะได้ และไม่สามารถประเมินเป็นตัวเงินได้”
ด้านนายพิษณุพล ประสาน ประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง เปิดเผยว่า เรื่องดังกล่าวทางจังหวัดได้ส่งให้สภา อบจ.ลำปางมาแล้ว และทางสภาฯ ขอเลื่อนการพิจารณา เนื่องจากขณะนั้นสมาชิกยังไม่มีข้อมูลรายละเอียด จึงขอให้เปิดชี้แจงกับตัวแทนประชาชนในวันนี้
นายพิษณุพลบอกว่า ส่วนตัวไม่ได้คัดค้าน และมีความภูมิใจด้วยที่จะได้กลับไปใช้ชื่อ “นครลำปาง” แต่สมาชิก อบจ.ลำปางทุกคนมาจากประชาชน ดังนั้นหลังจากนี้ไปตนขอเวลาอีก 1 เดือน ขอให้สภาวัฒนธรรมจังหวัดลำปางขอความร่วมมือไปยังฝ่ายปกครอง ผ่านทางผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง ให้นายอำเภอทั้ง 13 อำเภอเปิดเวทีให้ข้อมูลแก่ประชาชน โดยมี ส.อบจ.แต่ละพื้นที่เข้าร่วมฟังและตอบข้อข้องใจกับประชาชนด้วย เพื่อให้เกิดความกระจ่าง หากผู้ว่าราชการและภาครัฐให้ความร่วมมือคาดว่าการดำเนินงานดังกล่าวจะใช้เวลาไม่ถึงเดือน
เมื่อเสร็จกระบวนการดังกล่าวแล้วตนเองก็จะเปิดประชุมสมัยวิสามัญ และนำเรื่องนี้เข้าสู่วาระการพิจารณาของสภา อบจ.ลำปางทันที เพื่อให้สภาวัฒนธรรมจังหวัดลำปาง เดินหน้าในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป และหวังว่าคนลำปางจะได้ร่วมกันเฉลิมฉลองชื่อ “นครลำปาง” ในโอกาสครบรอบ 100 ปีของชื่อนครลำปาง ในปีหน้าพร้อมกัน
วันนี้ (8 ก.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานความคืบหน้าการประชุมชี้แจงเกี่ยวกับการขอเพิ่มชื่อจังหวัดลำปาง เป็น “จังหวัดนครลำปาง” ระหว่างการอบรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองภาคประชาชนตามระบบประชาธิปไตย ประจำปี 2558 ที่ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง อ.เกาะคา จ.ลำปาง ที่มีนายมงคล สุกใส รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง เป็นประธานเปิด โดยมีผู้นำจาก อปท.ทั้ง 13 อำเภอ และผู้นำกลุ่มมวลชนกว่า 300 คนเข้าร่วมรับฟัง
ต่อมาระหว่างที่เจ้าหน้าที่ได้จัดเวทีเพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการขอเพิ่มชื่อนครลำปาง ขึ้นชี้แจงและตอบข้อซักถาม นายอธิภูมิ กำธรวรรินทร์ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์สภาอุตสาหกรรมจังหวัดลำปาง และที่ปรึกษาสมาคมเครื่องปั้นดินเผาลำปาง ได้ยื่นหนังสือในฐานะประชาชนชาว จ.ลำปาง เพื่อให้สภาวัฒนธรรมได้พิจารณาในเรื่องดังกล่าวอีกครั้ง
โดยระบุว่าการขอเปลี่ยนชื่อดังกล่าวโดยพลการจะต้องให้ความสำคัญต่อประชาชนชาวลำปางกว่า 758,000 คนด้วย และขอให้การจัดทำประชาพิจารณ์ประชาชนทั้งจังหวัด เพื่อให้ทุกคนได้ตัดสินใจว่าเห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วย ต่อการเปลี่ยนชื่อเป็น “จังหวัดนครลำปาง” ซึ่ง ดร.อุดมศักดิ์ ศักดิ์มั่นวงค์ ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดลำปาง และรองประธานสภาวัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ได้รับหนังสือฉบับดังกล่าวไว้
หลังจากนั้นได้มีการเปิดเวทีชี้แจงถึงที่มาของการขอเพิ่มชื่อนครลำปาง ซึ่ง ดร.อุดมศักดิ์ ศักดิ์มั่นวง ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดลำปาง, นายบพิตร วิทยาวิโรจน์ วัฒนธรรมจังหวัด, นายประดิษฐ์ สรรพช่าง, นายศักดิ์ สักเสริญ รัตนชัย ปราชญ์ผู้ทรงคุณวุฒิด้านประวัติศาสตร์ลำปาง, นายมงคล ถูกนึก ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์นครลำปาง, นางสาวเพ็ญสุภา สุขคตะ ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ล้านนาในภาคเหนือ และอดีตผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์หริภุญไชย จ.ลำพูน และนางบุญรัตน์ โรจนศักดิ์ ผู้ทรงคุณวุฒิสภาวัฒนธรรมจังหวัดลำปาง ร่วมชี้แจง
โดยเน้นย้ำว่า การขอเปลี่ยนจากจังหวัดลำปางเป็นจังหวัดนครลำปาง ไม่ได้เป็นการเปลี่ยนไปใช้ชื่อใหม่ แต่เป็นการขอกลับไปใช้ชื่อเดิมเมื่อกว่า 100 ปี ที่ถูกตัดทอนหายไป
ดร.อุดมศักดิ์ ซึ่งเป็นผู้เสนอเรื่องดังกล่าว กล่าวว่า ในเรื่องนี้เป็นเรื่องเดิมที่เคยพูดคุย และหารือกับผู้ว่าราชการจังหวัดลำปางมาแล้วกว่า 10 คน เป็นการขอแก้ไขคำว่า “นคร” ที่ตกหล่นไป แต่ก็ยังไม่ได้รับการแก้ไขให้กลับมาเป็นเหมือนเดิม ซึ่งตนเห็นว่าในวันที่ 1 เม.ย. 59 จะเป็นวาระครบ 100 ปีสำหรับการใช้ชื่อ "นครลำปาง" ที่ขบวนรถไฟหลวงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน วิ่งจากพระนคร มาถึงนครลำปาง ซึ่งสถานีรถไฟนครลำปางมีชื่อคำว่า “นคร” ที่เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งที่ปรากฏมาจนถึงทุกวันนี้
ประกอบกับตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ศิลาจารึกของลำปางอีกหลายอย่าง และในหนังสือราชกิจจานุเบกษา เล่ม 43 หน้า 4054 วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2469 และราชกิจจานุเบกษา เล่ม 43 หน้า 3,825 วันที่ 23 มกราคม 2469 ก็เรียกชื่อลำปางว่า "จังหวัดนครลำปาง"
ดังนั้น เพื่อเป็นของขวัญให้แก่คนลำปางทุกคนที่จะได้ร่วมกันภาคภูมิใจกับประวัติศาสตร์ที่ทรงคุณค่านี้ร่วมกัน จึงได้หยิบเรื่องนี้ขึ้นมาเพื่อให้ชาวลำปางได้ร่วมฉลองการใช้ชื่อเดิมของเรากลับคืนมาในโอกาสที่จะครบรอบ 100 ปี ในปี 59 นี้
หลังจากชี้แจงเสร็จ ได้มีผู้เข้าร่วมประชุมได้สอบถามถึงข้อวิตกกังวลจำนวน 4 คน จากทั้งหมด 300 กว่าคนเนื่องจากเวลาจำกัด โดยส่วนใหญ่กังวลเกี่ยวกับผลกระทบต่อประชาชนในเรื่องเอกสารทางราชการ, การทำธุรกรรมต่างๆ กังวลว่ารัฐจะต้องนำภาษีมาใช้ในการเปลี่ยนแปลงป้าย หรือส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ส่วนภาคเอกชนก็มีความเป็นห่วงว่าจะมีผลกระทบต่อเรื่องภาษี หากมีการทำการค้าระหว่างประเทศ และสมาชิก อบจ.ลำปาง ต้องการให้กระจายความรู้เรื่องดังกล่าวให้ประชาชนได้รับทราบอย่างทั่วถึง ก่อนที่จะมีการลงมติในการประชุมสภา อบจ.ลำปาง
ดร.อุดมศักดิ์ได้ตอบข้อข้องใจว่า ประชาชนจะไม่ได้รับผลกระทบใดในส่วนนี้ เนื่องจากระบบราชการจะมีการอัปเดตข้อมูลโดยอัตโนมัติ และจะมีการประกาศเป็นบทเฉพาะกาลเพื่อรองรับในเรื่องดังกล่าวอยู่แล้ว ส่วนค่าใช้จ่ายภาครัฐที่จะตามมา ซึ่งก็คงเป็นเรื่องปกติเหมือนจังหวัดอื่นๆ ที่เคยขอเปลี่ยน แก้ไข เพิ่มเติม ทางภาครัฐก็จะมีการจัดสรรงบประมาณให้อยู่แล้ว
“ค่าใช้จ่ายดังกล่าวเทียบไม่ได้กับสิ่งที่คนลำปางจะได้รับต่อไปถึงอนาคต ทั้งความภูมิใจ คุณค่าทางประวัติศาสตร์ต่างๆ ที่คนรุ่นต่อไปจะต้องชื่นชม ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต่างหากที่คนลำปางจะได้ และไม่สามารถประเมินเป็นตัวเงินได้”
ด้านนายพิษณุพล ประสาน ประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง เปิดเผยว่า เรื่องดังกล่าวทางจังหวัดได้ส่งให้สภา อบจ.ลำปางมาแล้ว และทางสภาฯ ขอเลื่อนการพิจารณา เนื่องจากขณะนั้นสมาชิกยังไม่มีข้อมูลรายละเอียด จึงขอให้เปิดชี้แจงกับตัวแทนประชาชนในวันนี้
นายพิษณุพลบอกว่า ส่วนตัวไม่ได้คัดค้าน และมีความภูมิใจด้วยที่จะได้กลับไปใช้ชื่อ “นครลำปาง” แต่สมาชิก อบจ.ลำปางทุกคนมาจากประชาชน ดังนั้นหลังจากนี้ไปตนขอเวลาอีก 1 เดือน ขอให้สภาวัฒนธรรมจังหวัดลำปางขอความร่วมมือไปยังฝ่ายปกครอง ผ่านทางผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง ให้นายอำเภอทั้ง 13 อำเภอเปิดเวทีให้ข้อมูลแก่ประชาชน โดยมี ส.อบจ.แต่ละพื้นที่เข้าร่วมฟังและตอบข้อข้องใจกับประชาชนด้วย เพื่อให้เกิดความกระจ่าง หากผู้ว่าราชการและภาครัฐให้ความร่วมมือคาดว่าการดำเนินงานดังกล่าวจะใช้เวลาไม่ถึงเดือน
เมื่อเสร็จกระบวนการดังกล่าวแล้วตนเองก็จะเปิดประชุมสมัยวิสามัญ และนำเรื่องนี้เข้าสู่วาระการพิจารณาของสภา อบจ.ลำปางทันที เพื่อให้สภาวัฒนธรรมจังหวัดลำปาง เดินหน้าในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป และหวังว่าคนลำปางจะได้ร่วมกันเฉลิมฉลองชื่อ “นครลำปาง” ในโอกาสครบรอบ 100 ปีของชื่อนครลำปาง ในปีหน้าพร้อมกัน