xs
xsm
sm
md
lg

เกิด “แพลงก์ตอนบูม” ทะเลศรีราชา-บางพระ น้ำทะเลมีสีเขียวส่งกลิ่นเหม็นคละคลุ้ง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


ศูนย์ข่าวศรีราชา - เกิดปรากฏการณ์ “ขี้ปลาวาฬ” หรือ “แพลงก์ตอนบูม” ในทะเลศรีราชา-บางพระ ส่งผลทำให้น้ำทะเลมีสีเขียว ส่งกลิ่นเหม็นคละคลุ้งไปทั่ว เกษตกรเลี้ยงหอยชายฝังโอด ทำหอยตายเสียหายจำนวนมาก

วันนี้ (11 ส.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่บริเวณทะเลศรีราชา-บางพระ จ.ชลบุรี ได้เกิดปรากฏการณ์ “ขี้ปลาวาฬ” หรือ “แพลงก์ตอนบูม” ทำให้น้ำทะเลมีสีเขียวคล้ำ ส่งเหม็นคละคลุ้งไปทั่ว นอกจากนั้น ยังมีปลาขนาดเล็ก และสัตว์น้ำจำนวนมากตายเกยตื้น เนื่องจากปรากฏการณ์ดังกล่าวทำให้น้ำทะเลขาดออกซิเจน

นายหนูจัน เลาจันทร์ ชาวบ้านบางพระ กล่าวว่า ปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬที่เคยเกิดขึ้นนั้นเกิดทุกๆ ปี ทำให้ออกซิเจนในน้ำน้อยลง ส่งผลให้สัตว์ทะเลชายฝั่งขาดออกซิเจน และตายเกยตื้น ซึ่ง ช่วงนี้น้ำทะเลจะมีสีเขียวข้น และมีกลิ่นคาวมาก ส่งกลิ่นเหม็นกระจายไปทั่ว

“ที่ชายหาดบางพระ เกิดขึ้นมาประมาณ 2-3 วันแล้ว ประชาชนที่มีอาชีพเก็บหอยชายฝั่งไม่กล้าลงเก็บเนื่องจากน้ำทะเลเหม็น และทำให้หอย และปลาเล็ก ลาน้อยที่หาอาหารบนผิวดินตายชาวบ้านจึงไม่กล้าเก็บมารับประทาน พร้อมทั้งมีผื่นคัน และแสบจมูก บางคนถึงกับอาเจียน เป็นที่น่าสังเกตว่า ในระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมา ปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬ เกิดขึ้นบ่อยกว่าสมัยก่อน ซึ่งจะมีปีละครั้ง แต่ในปีนี้ขึ้นแล้วถึง 2 ครั้ง และคาดว่าในเร็วๆ นี้อาจจะเกิดขึ้น”

นายหนูจัน เผยอีกว่า นอกจากธรรมชาติแล้วที่จะทำให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว ตนว่าน่าจะมาจากฝีมือมนุษย์ด้วย คือพวกเรือขนถ่ายสินค้ากลางทะเลอาจจะมีการร่วงหล่น และตกลงสู่ทะเล ทั้งที่ตั้งใจ และไม่ได้ตั้ง รวมทั้งพวก รงงานอุตสาหกรรมที่จะมีการลักลอบปล่อยของเสียลงทะเล ซึ่งก็อาจจะเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว

ดร.เสาวภา สวัสดิ์พีระ ผู้อำนวยการสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล ม.บูรพา เผยว่า ปรากฏการณ์ธรรมชาติน้ำทะเลเปลี่ยนสีเป็นแพลงก์ตอนชนิดเรืองแสงสีเขียว ซึ่งเป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำในทะเลเเพราะมีการขยายตัวได้เร็วกว่าชนิดอื่น โดยเฉพาะเมื่อโดนแสงอาทิตย์ หากหมดแสงเมื่อไรก็จะแย่งออกซิเจนในน้ำจนทำให้สัตว์เล็กหน้าดินตายเพราะขาดอากาศหายใจ

สำหรับปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสีเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ เรียกว่า “แพลงก์ตอนบูม” หรือ “ขี้วาฬ” เกิดจากการที่แพลงก์ตอนของพืชเจริญเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงทำให้น้ำทะเลเปลี่ยนสีไปตามสีของแพลงก์ตอนชนิดที่มีมากในขณะนั้น และเมื่อมีแพลงก์ตอนในทะเลมากขึ้น ก็ต้องใช้ออกซิเจนในการหายใจมากขึ้น ทำให้ออกซิเจนในน้ำลดลง ส่งผลให้สิ่งมีชีวิตตาย และเกิดน้ำเน่าจนส่งกลิ่นเหม็นดังกล่าว



กำลังโหลดความคิดเห็น