รายงาน....
ปิดฉากลงแล้ว...สำหรับความพยายามของเจ้าหน้าที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ DSI หลังจากเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2558 เจ้าหน้าที่ DSI ได้รับทราบข้อมูลจากสายทหาร รอยต่อชายแดนไทยว่า มีขบวนการลักลอบตัดไม้พะยูง ซึ่งถือว่าเป็นไม่หวงห้ามไทย ขนไปขายยังฝั่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ในจังหวัดสุวรรณเขต ให้แก่ผู้กว้างขวาง
หลังจากนั้น ได้มีการแปรรูปไม้ และบรรจุลงตู้คอนเทนเนอร์ จำนวน 30 ตู้ มีการซีลประทับตราผ่านกระบวนการศุลกากร สปป.ลาว ขนส่งทางแพข้ามมายังฝั่งประเทศไทย ที่ท่าแม่น้ำโขง บ้านนาหินโหง่น ต.พะลาน อ.นาตาล จ.อุบลราชธานี ซึ่งเป็นพื้นที่ความรับผิดชอบของด่านศุลกากรเขมราฐ เพื่อตีย้อนกลับเข้าประเทศไทย ผ่านไปยังประเทศจีน
เจ้าหน้าที่ DSI ชุดจับกุมติดตามเรื่องดังกล่าว หลังจากได้ตรวจเช็กข้อมูลหลักฐานต่างๆ ในเชิงลึก จนมั่นใจว่า ตู้สินค้าทั้ง 30 ตู้ ต้องสงสัยว่ามีไม้พะยูงซุกซ่อนมาจริง จึงของตรวจสอบตู้สินค้าดังกล่าว ตั้งแต่ผ่านเข้ามาในประเทศไทย
แต่ทางบริษัท ทรัพย์ธนาทรานสปอร์ต จำกัด เจ้าของสินค้า ได้ยื่นคำร้องคัดค้านการเปิด อ้างว่าต้องขออนุญาตผ่านสถานทูตตามกระบวนการตามข้อตกลงบาร์เซโลนา เนื่องจากตู้ได้ผ่านพิธีการศุลกากรมาแล้ว และเป็นสินค้าผ่านแดนเท่านั้น
ทางเจ้าหน้าที่ DSI จึงได้ประสานกับทางศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง เนื่องจากสินค้าดังกล่าวต้องมาลงเรือเพื่อส่งให้ลูกค้าที่ประเทศจีน ที่ท่าเรือแหลมฉบัง เพื่อทำการตรวจสอบเป็นกรณีพิเศษ โดยเครื่องเอกซเรย์ ซึ่งพบว่าทั้ง 30 ตู้ มีเหตุจูงใจให้สงสัย
จึงได้ขออายัดตู้คอนเทนเนอร์ทั้ง 30 ตู้ไว้ตรวจสอบอย่างละเอียด เนื่องจากติดข้อตกลงบาร์เซโลนา ทำให้กระบวนการตรวจสอบเป็นไปล่าช้าเพราะจะต้องมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเข้าร่วมตรวจพิสูจน์ ที่สำคัญคือ จะต้องมีเจ้าหน้าจากสถานทูต สปป.ลาวเข้าร่วมในการเปิดตู้สินค้าเพื่อตรวจสอบ
ทางเจ้าหน้าที่ได้ใช้ความพยายาม จนสุดท้ายก็สามารถดำเนินการเปิดตู้สินค้าจาก สปป.ลาว ต้องสงสัยทั้ง 30 ตู้ได้สำเร็จในวันที่ 27 ม.ค.58 โดยมี พ.ต.อ.ดุษฎี อารยวุฒิ รองปลัดกระทรวงยุติธรรม นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ อธิบดีกรมป่าไม้ พ.ต.ท.สุภัทธ์ ธรรมธนารักษ์ รองผู้บัญชาการสำนักเทคโนโลยีและศูนย์ข้อมูลการตรวจสอบดีเอสไอ นางสุพรรณ แก้วกำแพงเพชร ทูตพาณิชย์ลาวประจำประเทศไทย กรมอุทยานฯ สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ และด่านศุลกากร
พร้อมกำลังจากกรมป่าไม้กว่า 100 คน ร่วมดำเนินการตรวจสอบ โดยใช้เวลาในการเปิดตู้ และ ตรวจสอบเบื้องต้น 4 วันเต็มๆ แล้วเสร็จในช่วงเย็นของวันที่ 30 ม.ค.58
พบว่า ไม้ส่วนใหญ่เป็นไม้จำพวกไม้ประดู่ ไม้ชิงชัน ที่แปรรูปแล้วตรงกับที่สำแดงในเอกสารของศุลกากร แต่พบบางส่วนเป็นไม้พะยูง และเศษไม้พะยูงที่บรรจุอยู่ในถุงปุ๋ยสีเขียว รากไม้ที่เคลือบแล็กเกอร์สวยงามแล้ว 2 ราก กล้วยไม้ และเมล็ดพันธุ์ไม่หายากบรรจุอยู่ในลักกระดาษอย่างดี 1 กล่อง และหินมงคลที่ใช้ทำเครื่องประดับขนาดใหญ่ประมาณฝ่ามือ หนักประมาณ 3-5 กิโลกรัม และท่อนไม้ขนาดใหญ่
สำหรับการตรวจสอบเบื้องต้น พบว่า เป็นไม้พะยูงท่อนใหญ่ 12 ท่อน จากทั้งหมด 19 ท่อน ที่ต้องสงสัยว่าจะเป็นไม้พะยูง และเศษไม้ต้องสงสัยว่าจะเป็นไม้เศษไม้พะยูง จำนวน 913 ถุง ซึ่งทางเจ้าหน้าที่อายัดไว้
หลังจากนี้ เจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญจะทำการตรวจสอบอย่างละเอียดอีกครั้ง ที่จะได้ทราบปริมาณที่แท้จริงของไม้พะยูงทั้งหมด พร้อมกันนี้ ได้ทำการแยกไม้ที่สำแดงเท็จ รวมทั้งสินค้าที่ไม่ได้สำแดงในเอกสารแยกออกจากกัน ส่วนไม้ที่ถูกต้องเจ้าหน้าที่จะนำเก็บเข้าไปในตู้คอนเทนเนอร์อย่างเดิม
ส่วนแนวทางการดำเนินคดีนั้น ได้แยกออกเป็น2 ส่วน คือ ส่วนที่สำแดงเท็จนั้นเป็นหน้าที่ของทางศุลกากร ต้องดำเนินการกฎหมายของศุลกากร ส่วนความผิดทางลักลอบนำเข้าไม้พะยูงและรายการอื่นที่มีการลักลอบนำเข้านั้นทาง DSI จะเป็นผู้ดำเนินการ
ส่วนแนวทางในการปฏิบัตินั้น จะต้องมีการหารือกับทางอัยการอีกครั้งนี้ว่าจะดำเนินการในแนวทางใด โดยศุลกากรจะเก็บรักษาของกลางในฐานะผู้ดูแลของกลางจนกว่าคดีจะแล้วเสร็จ
สำหรับเรื่องความสัมพันธ์ของทั้ง 2 ประเทศ ทั้ง สปป.ลาว และไทย ทีมีการวิพากษ์วิจารณ์กันว่าการกระทำเช่นนี้จะทำให้กระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศ เนืองจากตามข้อตกลงบาร์เซโลนาไม่สามารถเปิดตู้สินค้าได้นอกจากมีเหตุอันควร
เรื่องดังกล่าวได้รับการยืนยันจากทางสถานทูต สปป.ลาว แล้วว่า ทุกอย่างเหมือนเดิม เนื่องจากรัฐบาลของ สปป.ลาว เข้าใจการทำงานของทางเจ้าหน้าที่ไทย และทางเจ้าหน้าที่ได้มีการประสานงาน และแจ้งข้อมูลให้ทางสถานทูตของทาง สปป.ลาว รับทราบทุกขั้นตอน รวมทั้งในการเปิดตู้สินค้าทางเจ้าที่ของสถานทูต สปป.ลาว ก็ได้เดินทางมาร่วมการดำเนินการทั้ง 30 ตู้จนจบ
อย่างไรก็ตาม สถิติการจับกุมตรวจยึดไม้พะยูงตามแนวชายแดนพบในช่วงที่ผ่านมาเพิ่มสูงขึ้นมากโดยเฉพาะในพื้นที่ จ.มุกดาหาร กาฬสินธุ์ อุบลราชธานี และ จ.หนองคาย
ชุดติดตามจับกุม กล่าวว่า ขบวนการลักลอบตัดไม้พะยูง ส่วนใหญ่ถูกลักลอบตัดมาจากป่าภูลังกา ภูวัว และป่าภูผายน ในเขตอุทยานภูพาน จ.สกลนคร โดยมีผู้มีอิทธิพลบางคนในพื้นที่อยู่เบื้องหลังในการขนย้ายไม้พะยูง เพื่อเตรียมแปรรูปส่งไปยังประเทศเพื่อนบ้าน โดยใช้เส้นทางตามแนวชายแดนตามลำแม่น้ำโขง ลำเลียงผ่านทาง สปป.ลาว มุ่งหน้าส่งปลายทางที่ประเทศจีน
โดยเล่ากันมาว่า ไม้พะยูงเหล่านี้ถูกนำไปซ่อมแซมพระราชวังโบราณ ซึ่งสร้างเมื่อหลายร้อยปีก่อนด้วยไม้พะยูง เมื่อวันเวลาผ่านไม้เริ่มผุกร่อน จึงต้องนำไม้พะยูงจำนวนมากมาซ่อมแซม ระยะแรกไม้ถูกส่งจาก สปป.ลาว จนหมดป่า ด้วยราคาที่ผู้ขายคาดไม่ถึงว่าจะมีการจ่ายถึงคิวเมตรละนับแสนบาท ทั้งๆ ที่แต่เดิมราคาซื้อขายกันอยู่ที่ 3-5 หมื่นบาท ตามแต่ขนาดของไม้
เมื่อราคาไม้พะยูงกลายเป็นสิ่งล่อใจ กลุ่มมอดไม้ได้ออกตระเวนตัดกันจ้าละหวั่น ทั้งต้นเล็กต้นน้อย แม้แต่กิ่งคดๆ งอๆ ก็ขายได้ เพียงไม่ถึงปีไม้พะยูงก็เริ่มหายากขึ้น ออเดอร์ไม้พะยูงจึงมาเยือนเมืองไทย ด้วยราคาเริ่มต้นกิโลกรัมละ 800-1,000 บาท หรือตกคิวละ 6-8 แสนบาท กลุ่มมอดไม้จึงเริ่มก่อตัวขึ้น
สำหรับเส้นทางการลำเลียงไม้ส่งออกนอกจะใช้เส้นทางสายรอง เนื่องจากไม่มีด่านตรวจ โดยมีเฉพาะเส้นทางสายหลัก หลังจากไม้ถูกขนข้ามโขงมาถึงฝั่งลาว แล้วก็จะถูกนำสวมเข้าโควตาเป็นไม้ลาว
จากนั้นบรรทุกใส่ตู้คอนเทนเนอร์ส่งไปยังประเทศจีน ผ่านเส้นทางหมายเลข 12 ในลาว เข้าด่านจาลอ ของเวียดนามทางตอนกลางของประเทศ ผ่านเมืองวิง แล้วมุ่งหน้าขึ้นทางเหนือสู่ชายแดนจีน ที่เมืองหนานหนิงของจีน โดยใช้เวลาเพียงแค่ 2 วัน ไม้พะยูง จากเมืองไทยก็ถึงมือลูกค้าที่ประเทศจีน
แต่ปัจจุบัน กฎหมาศุลกากรของเวียดนามเข้มขึ้น สามารถผ่านไปได้ยากลำบากมาก กลุ่มนายทุนจึงได้เปลี่ยนเส้นทางการขนส่งใหม่ จากเดิมที่ไม้พะยูงจากไทยส่งผ่านไปประเทศลาว โดยใช้ท่าเรือของเวียดนาม ส่งไปยังประเทศจีน แต่ในปัจจุบันเปลี่ยนมาเป็นไม้พะยูงจากประเทศไทย ลักลอบขนไปยังประเทศลาว แล้วตีย้อนกลับมาประเทศไทย โดยผ่านท่าเรือแหลมฉบัง เพื่อส่งไปยังประเทศจีน
ปัจจุบัน ไม้พะยูงไทยใกล้สูญพันธุ์ อีกไม่กี่ปีมีโอกาสหมดแน่ เนื่องจากการปั่นราคาจนกลายเป็นไม้แพงที่สุดในโลก ลบ.ม.ละ 2.5-3 แสนบาท เนื่องจากมีความนิยมในการใช้ไม้ชนิดนี้ในประเทศจีนอย่างมาก โดยเริ่มจากการนำเข้าไม้ชนิดนี้ไปซ่อมแซมพระราชวังต้องห้าม ในช่วงการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ในปี 2551 ต่อมา ก็มีความนิยมนำไม้พะยูงไปแปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์ แต่ระยะหลังไม้พะยูงมีราคาพุ่งสูงขึ้นมาก
หากสถานการณ์การลักลอบตัดไม้พะยูงยังรุนแรงเช่นนี้ไปอีกเรื่อยๆ คาดว่าอีกไม่เกิน 2 ปี ไม่เพียงแต่ไม้พะยูงจะหายไปจากประเทศไทยเท่านั้น แต่จะหมายความว่า มันได้หายไปจากโลกอีกด้วย เพราะเป็นไม้เนื้อแข็งมากที่ปลูกยาก โตช้า ใช้เวลามากถึง 40-50 ปี ถึงจะนำมาใช้ประโยชน์ได้
จากสถานการณ์ตรวจจับแบบเอาจริงเอาจังของเจ้าหน้าที่ DSI ในครั้งนี้ ถึงแม้ว่าปริมาณไม้ที่จับได้จะไม่ได้มีปริมาณที่มากตามที่คาดการณ์กัน แต่ผลต่อเนื่องของการดำเนินการครั้งนี้ ทำให้ตู้ไม้จาก สปป.ลาวอีกจำนวนมากที่จ่อคิวจะนำเข้าเพื่อทำในลักษณะเดียวกัน เกิดความเกรงกลัวและไม่กล้าที่จะทำ จึงถือว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดี ซึ่งการจะแก้ปัญหาการลักลอบตัดไม้พะยูงจากกลุ่มมอดไม้คงทำได้ลำบาก
แต่การตัดตอนนายทุนเป็นผลสำเร็จมากกว่า เพราะหากไม่มีการรับซื้อไม้พะยูงก็จะอยู่กับประเทศไทยต่อไป รวมทั้งภาครัฐควรทำการรณรงค์ และปลุกจิตสำนึกให้ชาวบ้านรู้คุณค่าของทรัพยากรป่าไม้ และภัยพิบัติที่เกิดจากการตัดไม้ทำลายป่าอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง
เปิดที่มา และความหมายของ “ไม้พะยูง”
“พะยูง” เป็นไม้เนื้อแข็งเช่นเดียวกับไม้สัก ตะเคียน มีชื่อ และความหมายดี เชื่อว่าบ้านใดปลูกไว้ประจำบ้าน จะทำให้บุคคลในบ้านมีแต่ความเจริญ มีฐานะดีขึ้น ช่วยไม่ให้ชีวิตตกต่ำ เพราะพยุงคือ การประคับประคองให้คงอยู่ ให้มั่นคง หรือการยกให้สูงขึ้น
ต้นพะยูง จัดเป็นไม้มงคลที่ใช้ในการก่อสร้างอาคาร หรือก่อฐานประดิษฐ์ถาวรวัตถุต่างๆ คนไทยจัดลำดับ “พะยูง” ให้อยู่ใน 9 ชนิดไม้มงคลที่ควรปลูกไว้ในบ้าน ประกอบด้วย ชัยพฤกษ์, ราชพฤกษ์, ทองหลวง, ไผ่สีสุก, กันเกรา, ทรงบาดาล, สัก, พะยูง, ขนุน กระทั่งมีกลอนบทหนึ่งที่กล่าวถึงไม้มงคลทั้ง 9 ในส่วนของไม้พะยูงว่า “ไม้พะยูง พยุงฐานะงานทำนั้น ให้คงมั่นพลันยิ่งทุกสิ่งที่ปลูกไว้กันนั้นคุณจุนเจือมี ไม้ดีดีไม่ดูดายขยายไป”
พะยูง เป็นไม้ยืนต้น สูงประมาณ 15-25 เมตร เปลือกสีเทาเรียบ เรือนยอดทรง มักขึ้นอยู่ในป่าดิบแล้ง และป่าเบญจพรรณชื้นทั่วไป ส่วนเนื้อไม้ที่ได้จะมีสีแดงอมม่วง ถึงแดงเลือดหมูแก่ เนื้อละเอียดแข็งแรงทนทาน ขัด และชักเงาได้ดีใช้ทำเครื่องเรือน เกวียน เครื่องกลึงแกะสลัก ทำเครื่องดนตรี เช่น ซอ ขลุ่ย ลูกระนาด และแม้แต่ ช้อน ส้อม
ปิดฉากลงแล้ว...สำหรับความพยายามของเจ้าหน้าที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ DSI หลังจากเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2558 เจ้าหน้าที่ DSI ได้รับทราบข้อมูลจากสายทหาร รอยต่อชายแดนไทยว่า มีขบวนการลักลอบตัดไม้พะยูง ซึ่งถือว่าเป็นไม่หวงห้ามไทย ขนไปขายยังฝั่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ในจังหวัดสุวรรณเขต ให้แก่ผู้กว้างขวาง
หลังจากนั้น ได้มีการแปรรูปไม้ และบรรจุลงตู้คอนเทนเนอร์ จำนวน 30 ตู้ มีการซีลประทับตราผ่านกระบวนการศุลกากร สปป.ลาว ขนส่งทางแพข้ามมายังฝั่งประเทศไทย ที่ท่าแม่น้ำโขง บ้านนาหินโหง่น ต.พะลาน อ.นาตาล จ.อุบลราชธานี ซึ่งเป็นพื้นที่ความรับผิดชอบของด่านศุลกากรเขมราฐ เพื่อตีย้อนกลับเข้าประเทศไทย ผ่านไปยังประเทศจีน
เจ้าหน้าที่ DSI ชุดจับกุมติดตามเรื่องดังกล่าว หลังจากได้ตรวจเช็กข้อมูลหลักฐานต่างๆ ในเชิงลึก จนมั่นใจว่า ตู้สินค้าทั้ง 30 ตู้ ต้องสงสัยว่ามีไม้พะยูงซุกซ่อนมาจริง จึงของตรวจสอบตู้สินค้าดังกล่าว ตั้งแต่ผ่านเข้ามาในประเทศไทย
แต่ทางบริษัท ทรัพย์ธนาทรานสปอร์ต จำกัด เจ้าของสินค้า ได้ยื่นคำร้องคัดค้านการเปิด อ้างว่าต้องขออนุญาตผ่านสถานทูตตามกระบวนการตามข้อตกลงบาร์เซโลนา เนื่องจากตู้ได้ผ่านพิธีการศุลกากรมาแล้ว และเป็นสินค้าผ่านแดนเท่านั้น
ทางเจ้าหน้าที่ DSI จึงได้ประสานกับทางศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง เนื่องจากสินค้าดังกล่าวต้องมาลงเรือเพื่อส่งให้ลูกค้าที่ประเทศจีน ที่ท่าเรือแหลมฉบัง เพื่อทำการตรวจสอบเป็นกรณีพิเศษ โดยเครื่องเอกซเรย์ ซึ่งพบว่าทั้ง 30 ตู้ มีเหตุจูงใจให้สงสัย
จึงได้ขออายัดตู้คอนเทนเนอร์ทั้ง 30 ตู้ไว้ตรวจสอบอย่างละเอียด เนื่องจากติดข้อตกลงบาร์เซโลนา ทำให้กระบวนการตรวจสอบเป็นไปล่าช้าเพราะจะต้องมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเข้าร่วมตรวจพิสูจน์ ที่สำคัญคือ จะต้องมีเจ้าหน้าจากสถานทูต สปป.ลาวเข้าร่วมในการเปิดตู้สินค้าเพื่อตรวจสอบ
ทางเจ้าหน้าที่ได้ใช้ความพยายาม จนสุดท้ายก็สามารถดำเนินการเปิดตู้สินค้าจาก สปป.ลาว ต้องสงสัยทั้ง 30 ตู้ได้สำเร็จในวันที่ 27 ม.ค.58 โดยมี พ.ต.อ.ดุษฎี อารยวุฒิ รองปลัดกระทรวงยุติธรรม นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ อธิบดีกรมป่าไม้ พ.ต.ท.สุภัทธ์ ธรรมธนารักษ์ รองผู้บัญชาการสำนักเทคโนโลยีและศูนย์ข้อมูลการตรวจสอบดีเอสไอ นางสุพรรณ แก้วกำแพงเพชร ทูตพาณิชย์ลาวประจำประเทศไทย กรมอุทยานฯ สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ และด่านศุลกากร
พร้อมกำลังจากกรมป่าไม้กว่า 100 คน ร่วมดำเนินการตรวจสอบ โดยใช้เวลาในการเปิดตู้ และ ตรวจสอบเบื้องต้น 4 วันเต็มๆ แล้วเสร็จในช่วงเย็นของวันที่ 30 ม.ค.58
พบว่า ไม้ส่วนใหญ่เป็นไม้จำพวกไม้ประดู่ ไม้ชิงชัน ที่แปรรูปแล้วตรงกับที่สำแดงในเอกสารของศุลกากร แต่พบบางส่วนเป็นไม้พะยูง และเศษไม้พะยูงที่บรรจุอยู่ในถุงปุ๋ยสีเขียว รากไม้ที่เคลือบแล็กเกอร์สวยงามแล้ว 2 ราก กล้วยไม้ และเมล็ดพันธุ์ไม่หายากบรรจุอยู่ในลักกระดาษอย่างดี 1 กล่อง และหินมงคลที่ใช้ทำเครื่องประดับขนาดใหญ่ประมาณฝ่ามือ หนักประมาณ 3-5 กิโลกรัม และท่อนไม้ขนาดใหญ่
สำหรับการตรวจสอบเบื้องต้น พบว่า เป็นไม้พะยูงท่อนใหญ่ 12 ท่อน จากทั้งหมด 19 ท่อน ที่ต้องสงสัยว่าจะเป็นไม้พะยูง และเศษไม้ต้องสงสัยว่าจะเป็นไม้เศษไม้พะยูง จำนวน 913 ถุง ซึ่งทางเจ้าหน้าที่อายัดไว้
หลังจากนี้ เจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญจะทำการตรวจสอบอย่างละเอียดอีกครั้ง ที่จะได้ทราบปริมาณที่แท้จริงของไม้พะยูงทั้งหมด พร้อมกันนี้ ได้ทำการแยกไม้ที่สำแดงเท็จ รวมทั้งสินค้าที่ไม่ได้สำแดงในเอกสารแยกออกจากกัน ส่วนไม้ที่ถูกต้องเจ้าหน้าที่จะนำเก็บเข้าไปในตู้คอนเทนเนอร์อย่างเดิม
ส่วนแนวทางการดำเนินคดีนั้น ได้แยกออกเป็น2 ส่วน คือ ส่วนที่สำแดงเท็จนั้นเป็นหน้าที่ของทางศุลกากร ต้องดำเนินการกฎหมายของศุลกากร ส่วนความผิดทางลักลอบนำเข้าไม้พะยูงและรายการอื่นที่มีการลักลอบนำเข้านั้นทาง DSI จะเป็นผู้ดำเนินการ
ส่วนแนวทางในการปฏิบัตินั้น จะต้องมีการหารือกับทางอัยการอีกครั้งนี้ว่าจะดำเนินการในแนวทางใด โดยศุลกากรจะเก็บรักษาของกลางในฐานะผู้ดูแลของกลางจนกว่าคดีจะแล้วเสร็จ
สำหรับเรื่องความสัมพันธ์ของทั้ง 2 ประเทศ ทั้ง สปป.ลาว และไทย ทีมีการวิพากษ์วิจารณ์กันว่าการกระทำเช่นนี้จะทำให้กระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศ เนืองจากตามข้อตกลงบาร์เซโลนาไม่สามารถเปิดตู้สินค้าได้นอกจากมีเหตุอันควร
เรื่องดังกล่าวได้รับการยืนยันจากทางสถานทูต สปป.ลาว แล้วว่า ทุกอย่างเหมือนเดิม เนื่องจากรัฐบาลของ สปป.ลาว เข้าใจการทำงานของทางเจ้าหน้าที่ไทย และทางเจ้าหน้าที่ได้มีการประสานงาน และแจ้งข้อมูลให้ทางสถานทูตของทาง สปป.ลาว รับทราบทุกขั้นตอน รวมทั้งในการเปิดตู้สินค้าทางเจ้าที่ของสถานทูต สปป.ลาว ก็ได้เดินทางมาร่วมการดำเนินการทั้ง 30 ตู้จนจบ
อย่างไรก็ตาม สถิติการจับกุมตรวจยึดไม้พะยูงตามแนวชายแดนพบในช่วงที่ผ่านมาเพิ่มสูงขึ้นมากโดยเฉพาะในพื้นที่ จ.มุกดาหาร กาฬสินธุ์ อุบลราชธานี และ จ.หนองคาย
ชุดติดตามจับกุม กล่าวว่า ขบวนการลักลอบตัดไม้พะยูง ส่วนใหญ่ถูกลักลอบตัดมาจากป่าภูลังกา ภูวัว และป่าภูผายน ในเขตอุทยานภูพาน จ.สกลนคร โดยมีผู้มีอิทธิพลบางคนในพื้นที่อยู่เบื้องหลังในการขนย้ายไม้พะยูง เพื่อเตรียมแปรรูปส่งไปยังประเทศเพื่อนบ้าน โดยใช้เส้นทางตามแนวชายแดนตามลำแม่น้ำโขง ลำเลียงผ่านทาง สปป.ลาว มุ่งหน้าส่งปลายทางที่ประเทศจีน
โดยเล่ากันมาว่า ไม้พะยูงเหล่านี้ถูกนำไปซ่อมแซมพระราชวังโบราณ ซึ่งสร้างเมื่อหลายร้อยปีก่อนด้วยไม้พะยูง เมื่อวันเวลาผ่านไม้เริ่มผุกร่อน จึงต้องนำไม้พะยูงจำนวนมากมาซ่อมแซม ระยะแรกไม้ถูกส่งจาก สปป.ลาว จนหมดป่า ด้วยราคาที่ผู้ขายคาดไม่ถึงว่าจะมีการจ่ายถึงคิวเมตรละนับแสนบาท ทั้งๆ ที่แต่เดิมราคาซื้อขายกันอยู่ที่ 3-5 หมื่นบาท ตามแต่ขนาดของไม้
เมื่อราคาไม้พะยูงกลายเป็นสิ่งล่อใจ กลุ่มมอดไม้ได้ออกตระเวนตัดกันจ้าละหวั่น ทั้งต้นเล็กต้นน้อย แม้แต่กิ่งคดๆ งอๆ ก็ขายได้ เพียงไม่ถึงปีไม้พะยูงก็เริ่มหายากขึ้น ออเดอร์ไม้พะยูงจึงมาเยือนเมืองไทย ด้วยราคาเริ่มต้นกิโลกรัมละ 800-1,000 บาท หรือตกคิวละ 6-8 แสนบาท กลุ่มมอดไม้จึงเริ่มก่อตัวขึ้น
สำหรับเส้นทางการลำเลียงไม้ส่งออกนอกจะใช้เส้นทางสายรอง เนื่องจากไม่มีด่านตรวจ โดยมีเฉพาะเส้นทางสายหลัก หลังจากไม้ถูกขนข้ามโขงมาถึงฝั่งลาว แล้วก็จะถูกนำสวมเข้าโควตาเป็นไม้ลาว
จากนั้นบรรทุกใส่ตู้คอนเทนเนอร์ส่งไปยังประเทศจีน ผ่านเส้นทางหมายเลข 12 ในลาว เข้าด่านจาลอ ของเวียดนามทางตอนกลางของประเทศ ผ่านเมืองวิง แล้วมุ่งหน้าขึ้นทางเหนือสู่ชายแดนจีน ที่เมืองหนานหนิงของจีน โดยใช้เวลาเพียงแค่ 2 วัน ไม้พะยูง จากเมืองไทยก็ถึงมือลูกค้าที่ประเทศจีน
แต่ปัจจุบัน กฎหมาศุลกากรของเวียดนามเข้มขึ้น สามารถผ่านไปได้ยากลำบากมาก กลุ่มนายทุนจึงได้เปลี่ยนเส้นทางการขนส่งใหม่ จากเดิมที่ไม้พะยูงจากไทยส่งผ่านไปประเทศลาว โดยใช้ท่าเรือของเวียดนาม ส่งไปยังประเทศจีน แต่ในปัจจุบันเปลี่ยนมาเป็นไม้พะยูงจากประเทศไทย ลักลอบขนไปยังประเทศลาว แล้วตีย้อนกลับมาประเทศไทย โดยผ่านท่าเรือแหลมฉบัง เพื่อส่งไปยังประเทศจีน
ปัจจุบัน ไม้พะยูงไทยใกล้สูญพันธุ์ อีกไม่กี่ปีมีโอกาสหมดแน่ เนื่องจากการปั่นราคาจนกลายเป็นไม้แพงที่สุดในโลก ลบ.ม.ละ 2.5-3 แสนบาท เนื่องจากมีความนิยมในการใช้ไม้ชนิดนี้ในประเทศจีนอย่างมาก โดยเริ่มจากการนำเข้าไม้ชนิดนี้ไปซ่อมแซมพระราชวังต้องห้าม ในช่วงการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ในปี 2551 ต่อมา ก็มีความนิยมนำไม้พะยูงไปแปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์ แต่ระยะหลังไม้พะยูงมีราคาพุ่งสูงขึ้นมาก
หากสถานการณ์การลักลอบตัดไม้พะยูงยังรุนแรงเช่นนี้ไปอีกเรื่อยๆ คาดว่าอีกไม่เกิน 2 ปี ไม่เพียงแต่ไม้พะยูงจะหายไปจากประเทศไทยเท่านั้น แต่จะหมายความว่า มันได้หายไปจากโลกอีกด้วย เพราะเป็นไม้เนื้อแข็งมากที่ปลูกยาก โตช้า ใช้เวลามากถึง 40-50 ปี ถึงจะนำมาใช้ประโยชน์ได้
จากสถานการณ์ตรวจจับแบบเอาจริงเอาจังของเจ้าหน้าที่ DSI ในครั้งนี้ ถึงแม้ว่าปริมาณไม้ที่จับได้จะไม่ได้มีปริมาณที่มากตามที่คาดการณ์กัน แต่ผลต่อเนื่องของการดำเนินการครั้งนี้ ทำให้ตู้ไม้จาก สปป.ลาวอีกจำนวนมากที่จ่อคิวจะนำเข้าเพื่อทำในลักษณะเดียวกัน เกิดความเกรงกลัวและไม่กล้าที่จะทำ จึงถือว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดี ซึ่งการจะแก้ปัญหาการลักลอบตัดไม้พะยูงจากกลุ่มมอดไม้คงทำได้ลำบาก
แต่การตัดตอนนายทุนเป็นผลสำเร็จมากกว่า เพราะหากไม่มีการรับซื้อไม้พะยูงก็จะอยู่กับประเทศไทยต่อไป รวมทั้งภาครัฐควรทำการรณรงค์ และปลุกจิตสำนึกให้ชาวบ้านรู้คุณค่าของทรัพยากรป่าไม้ และภัยพิบัติที่เกิดจากการตัดไม้ทำลายป่าอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง
เปิดที่มา และความหมายของ “ไม้พะยูง”
“พะยูง” เป็นไม้เนื้อแข็งเช่นเดียวกับไม้สัก ตะเคียน มีชื่อ และความหมายดี เชื่อว่าบ้านใดปลูกไว้ประจำบ้าน จะทำให้บุคคลในบ้านมีแต่ความเจริญ มีฐานะดีขึ้น ช่วยไม่ให้ชีวิตตกต่ำ เพราะพยุงคือ การประคับประคองให้คงอยู่ ให้มั่นคง หรือการยกให้สูงขึ้น
ต้นพะยูง จัดเป็นไม้มงคลที่ใช้ในการก่อสร้างอาคาร หรือก่อฐานประดิษฐ์ถาวรวัตถุต่างๆ คนไทยจัดลำดับ “พะยูง” ให้อยู่ใน 9 ชนิดไม้มงคลที่ควรปลูกไว้ในบ้าน ประกอบด้วย ชัยพฤกษ์, ราชพฤกษ์, ทองหลวง, ไผ่สีสุก, กันเกรา, ทรงบาดาล, สัก, พะยูง, ขนุน กระทั่งมีกลอนบทหนึ่งที่กล่าวถึงไม้มงคลทั้ง 9 ในส่วนของไม้พะยูงว่า “ไม้พะยูง พยุงฐานะงานทำนั้น ให้คงมั่นพลันยิ่งทุกสิ่งที่ปลูกไว้กันนั้นคุณจุนเจือมี ไม้ดีดีไม่ดูดายขยายไป”
พะยูง เป็นไม้ยืนต้น สูงประมาณ 15-25 เมตร เปลือกสีเทาเรียบ เรือนยอดทรง มักขึ้นอยู่ในป่าดิบแล้ง และป่าเบญจพรรณชื้นทั่วไป ส่วนเนื้อไม้ที่ได้จะมีสีแดงอมม่วง ถึงแดงเลือดหมูแก่ เนื้อละเอียดแข็งแรงทนทาน ขัด และชักเงาได้ดีใช้ทำเครื่องเรือน เกวียน เครื่องกลึงแกะสลัก ทำเครื่องดนตรี เช่น ซอ ขลุ่ย ลูกระนาด และแม้แต่ ช้อน ส้อม