กาญจนบุรี - สสจ.กาญจนบุรี แนะวิธีป้องกันไข้เลือดออก “อีโบล่า” เข้ม 5 มาตรการป้องกันใกล้ชิด จับตากลุ่มเสียงเดินทางกลับมาจากกินี ไลบีเรีย เซียร์ราลีโอน
วันนี้ (14 ส.ค.) นพ.นรินทร์รัชต์ พิชญคามินทร์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี กล่าวว่า โรค “อีโบล่า” หรือไข้เลือดออกอีโบล่า เกิดจากเชื้อไวรัสอีโบล่า เป็นกลุ่มโรคไข้แล้วมีเลือดออกชนิดหนึ่ง ซึ่งร้ายแรงถึงเสียชีวิต เนื่องจากยังไม่มีวัคซีนใช้ป้องกัน และรักษา สถานการณ์การระบาดขณะนี้มีข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 6 สิงหาคม 2557 พบผู้ป่วยสะสมรวม 1,779 ราย เสียชีวิต 961 ราย ใน 4 ประเทศ ประกอบด้วย ประเทศกินี พบผู้ป่วย 495 เสียชีวิต 367 ราย ประเทศไลบีเรีย พบผู้ป่วย จำนวน 554 เสียชีวิต จำนวน 294 ราย และประเทศเซียร์ราลีโอน พบผู้ป่วย จำนวน 717 เสียชีวิต 298 ราย และประเทศไนจีเรีย ป่วย 13 เสียชีวิต 2 ราย
ซึ่งองค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบล่าในแอฟริกาตะวันตก เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ เนื่องจากเป็นเหตุการณ์ผิดปกติอย่างมาก และเป็นความเสี่ยงต่อทุกประเทศทั่วโลก รวมทั้งได้ออกคำแนะนำให้มีการจำกัดการเดินทางออกนอกประเทศของผู้ป่วย และผู้สัมผัสโรคในประเทศที่มีการระบาด และเฝ้าระวังในผู้ที่เดินทางไปจากประเทศที่มีการระบาด
สำหรับอาการของโรคนี้จะเริ่มขึ้นเฉียบพลันคล้ายไข้หวัดใหญ่ โดยจะมีอาการรู้สึกเหนื่อย มีไข้ ปวดศีรษะ ไข้ขึ้นสูง เจ็บคอ ปวดตามข้อ กล้ามเนื้อ รวมถึงช่องท้อง และหนักถึงขั้นอาเจียน ท้องร่วงรุนแรง เกิดผื่น ตลอดจนตาแดงจัด ในระยะเลือดออกอาจมีเลือดออกภายใน และใต้หนังผ่านตาแดง และอาเจียนเป็นเลือด แพร่เชื้อโดยการสัมผัสโดยตรงกับเลือด หรือสารคัดหลั่งจากร่างกายผู้ติดเชื้อ เวลาเฉลี่ยระหว่างได้รับเชื้อจนเริ่มมีอาการ คือ 8 ถึง 10 วัน แต่เกิดได้ระหว่าง 2 ถึง 21 วัน การป้องกันโดยหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วย หลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังประเทศทีมีความเสี่ยง และล้างมือบ่อยครั้งด้วยสบู่ ทั้งนี้ ในประเทศไทยยังไม่มีรายงานว่าเคยพบผู้ป่วยด้วยเชื้อไวรัส “อีโบล่า” ดังกล่าว
นพ.นรินทร์รัชต์ กล่าวต่อไปว่า ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุข ติดตามประเมินสถานการณ์โรคอย่างต่อเนื่องทุกวัน โดยเฝ้าระวังโรคจากผู้ที่เดินทางมาจากประเทศที่มีปัญหาแพร่ระบาดที่ท่าอากาศยานนานาชาติทุกแห่งทุกวัน ความพร้อมด้านการดูแลรักษาของทีมแพทย์ในโรงพยาบาลรัฐ และเอกชนทั่วประเทศ และการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อการตรวจวินิจฉัยที่แม่นยำรวดเร็ว การให้ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนที่ถูกต้อง และเพิ่มมาตรการทางด้านกฎหมาย
เพื่อผลในการจัดการด้านสาธารณสุข คือ การเพิ่มประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสอีโบล่าเป็นโรคติดต่ออันตราย ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2523 เป็นโรคที่ 6 จากเดิมที่มี 5 โรค ได้แก่ อหิวาตกโรค ไข้ทรพิษ ไข้เหลือง กาฬโรค และโรคซาร์ส หรือโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจเฉียบพลัน เพื่อให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขสามารถดำเนินการป้องกันควบคุมโรคได้อย่างเข้มข้น ทั้งในคน และสัตว์
สำหรับมาตรการเฝ้าระวังป้องกัน และควบคุมโรคไวรัสอีโบล่าของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี มีดังนี้
1.จัดระบบการเฝ้าระวังสอบสวนป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสอีโบล่า ตามแนวทางการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวน ป้องกัน และควบคุมโรค Ebola ประเทศไทย 2557 โดยเน้นในกลุ่มที่เดินทางมาจาก 3 ประเทศที่มีการระบาดของโรคนี้ ได้แก่ กินี ไลบีเรีย และเซียร์ราลีโอน หากพบผู้ป่วยที่มีไข้เกิน 38 องศาเซลเซียส ภายใน 21 วันหลังเดินทาง ให้สอบสวนโรคทุกราย
2.การเตรียมห้องแยกโรคในโรงพยาบาลทั่วไปในสังกัด และโรงพยาบาลเอกชนทุกแห่ง พร้อมให้การดูแลหากมีผู้ป่วยสงสัย โดยกรมสนับสนุนบริการสุขภาพจะตรวจสอบมาตรฐานห้องแยกโรค
3.ให้จัดระบบการป้องกันควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลตามมาตรฐานสากล ซึ่งขณะนี้สถาบันบำราศนราดูร ได้จัดทำมาตรฐานห้องแยกโรค และระบบการป้องกันควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลส่งให้โรงพยาบาลทุกแห่งแล้ว
4.ระบบการส่งตรวจยืนยันเชื้อทางห้องปฏิบัติการในรายที่สงสัย ให้ประสานศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อส่งเจ้าหน้าที่ไปดำเนินการเก็บตัวอย่างตามมาตรฐานความปลอดภัยขั้นสูงสุดขององค์การอนามัยโลก ซึ่งกำหนดให้ส่งไปตรวจที่ศูนย์ป้องกันควบคุมโรคที่สหรัฐอเมริกา เนื่องจากเป็นห้องปฏิบัติการที่มีความปลอดภัยสูงสุด
และ 5.ให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่ และอาสาสมัครสาธารณสุข เพื่อออกไปสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนให้มีความรู้ความเข้าใจโรคดีขึ้น เพื่อลดความตื่นตระหนก นพ.นรินทร์รัชต์ กล่าว
วันนี้ (14 ส.ค.) นพ.นรินทร์รัชต์ พิชญคามินทร์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี กล่าวว่า โรค “อีโบล่า” หรือไข้เลือดออกอีโบล่า เกิดจากเชื้อไวรัสอีโบล่า เป็นกลุ่มโรคไข้แล้วมีเลือดออกชนิดหนึ่ง ซึ่งร้ายแรงถึงเสียชีวิต เนื่องจากยังไม่มีวัคซีนใช้ป้องกัน และรักษา สถานการณ์การระบาดขณะนี้มีข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 6 สิงหาคม 2557 พบผู้ป่วยสะสมรวม 1,779 ราย เสียชีวิต 961 ราย ใน 4 ประเทศ ประกอบด้วย ประเทศกินี พบผู้ป่วย 495 เสียชีวิต 367 ราย ประเทศไลบีเรีย พบผู้ป่วย จำนวน 554 เสียชีวิต จำนวน 294 ราย และประเทศเซียร์ราลีโอน พบผู้ป่วย จำนวน 717 เสียชีวิต 298 ราย และประเทศไนจีเรีย ป่วย 13 เสียชีวิต 2 ราย
ซึ่งองค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบล่าในแอฟริกาตะวันตก เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ เนื่องจากเป็นเหตุการณ์ผิดปกติอย่างมาก และเป็นความเสี่ยงต่อทุกประเทศทั่วโลก รวมทั้งได้ออกคำแนะนำให้มีการจำกัดการเดินทางออกนอกประเทศของผู้ป่วย และผู้สัมผัสโรคในประเทศที่มีการระบาด และเฝ้าระวังในผู้ที่เดินทางไปจากประเทศที่มีการระบาด
สำหรับอาการของโรคนี้จะเริ่มขึ้นเฉียบพลันคล้ายไข้หวัดใหญ่ โดยจะมีอาการรู้สึกเหนื่อย มีไข้ ปวดศีรษะ ไข้ขึ้นสูง เจ็บคอ ปวดตามข้อ กล้ามเนื้อ รวมถึงช่องท้อง และหนักถึงขั้นอาเจียน ท้องร่วงรุนแรง เกิดผื่น ตลอดจนตาแดงจัด ในระยะเลือดออกอาจมีเลือดออกภายใน และใต้หนังผ่านตาแดง และอาเจียนเป็นเลือด แพร่เชื้อโดยการสัมผัสโดยตรงกับเลือด หรือสารคัดหลั่งจากร่างกายผู้ติดเชื้อ เวลาเฉลี่ยระหว่างได้รับเชื้อจนเริ่มมีอาการ คือ 8 ถึง 10 วัน แต่เกิดได้ระหว่าง 2 ถึง 21 วัน การป้องกันโดยหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วย หลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังประเทศทีมีความเสี่ยง และล้างมือบ่อยครั้งด้วยสบู่ ทั้งนี้ ในประเทศไทยยังไม่มีรายงานว่าเคยพบผู้ป่วยด้วยเชื้อไวรัส “อีโบล่า” ดังกล่าว
นพ.นรินทร์รัชต์ กล่าวต่อไปว่า ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุข ติดตามประเมินสถานการณ์โรคอย่างต่อเนื่องทุกวัน โดยเฝ้าระวังโรคจากผู้ที่เดินทางมาจากประเทศที่มีปัญหาแพร่ระบาดที่ท่าอากาศยานนานาชาติทุกแห่งทุกวัน ความพร้อมด้านการดูแลรักษาของทีมแพทย์ในโรงพยาบาลรัฐ และเอกชนทั่วประเทศ และการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อการตรวจวินิจฉัยที่แม่นยำรวดเร็ว การให้ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนที่ถูกต้อง และเพิ่มมาตรการทางด้านกฎหมาย
เพื่อผลในการจัดการด้านสาธารณสุข คือ การเพิ่มประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสอีโบล่าเป็นโรคติดต่ออันตราย ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2523 เป็นโรคที่ 6 จากเดิมที่มี 5 โรค ได้แก่ อหิวาตกโรค ไข้ทรพิษ ไข้เหลือง กาฬโรค และโรคซาร์ส หรือโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจเฉียบพลัน เพื่อให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขสามารถดำเนินการป้องกันควบคุมโรคได้อย่างเข้มข้น ทั้งในคน และสัตว์
สำหรับมาตรการเฝ้าระวังป้องกัน และควบคุมโรคไวรัสอีโบล่าของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี มีดังนี้
1.จัดระบบการเฝ้าระวังสอบสวนป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสอีโบล่า ตามแนวทางการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวน ป้องกัน และควบคุมโรค Ebola ประเทศไทย 2557 โดยเน้นในกลุ่มที่เดินทางมาจาก 3 ประเทศที่มีการระบาดของโรคนี้ ได้แก่ กินี ไลบีเรีย และเซียร์ราลีโอน หากพบผู้ป่วยที่มีไข้เกิน 38 องศาเซลเซียส ภายใน 21 วันหลังเดินทาง ให้สอบสวนโรคทุกราย
2.การเตรียมห้องแยกโรคในโรงพยาบาลทั่วไปในสังกัด และโรงพยาบาลเอกชนทุกแห่ง พร้อมให้การดูแลหากมีผู้ป่วยสงสัย โดยกรมสนับสนุนบริการสุขภาพจะตรวจสอบมาตรฐานห้องแยกโรค
3.ให้จัดระบบการป้องกันควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลตามมาตรฐานสากล ซึ่งขณะนี้สถาบันบำราศนราดูร ได้จัดทำมาตรฐานห้องแยกโรค และระบบการป้องกันควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลส่งให้โรงพยาบาลทุกแห่งแล้ว
4.ระบบการส่งตรวจยืนยันเชื้อทางห้องปฏิบัติการในรายที่สงสัย ให้ประสานศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อส่งเจ้าหน้าที่ไปดำเนินการเก็บตัวอย่างตามมาตรฐานความปลอดภัยขั้นสูงสุดขององค์การอนามัยโลก ซึ่งกำหนดให้ส่งไปตรวจที่ศูนย์ป้องกันควบคุมโรคที่สหรัฐอเมริกา เนื่องจากเป็นห้องปฏิบัติการที่มีความปลอดภัยสูงสุด
และ 5.ให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่ และอาสาสมัครสาธารณสุข เพื่อออกไปสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนให้มีความรู้ความเข้าใจโรคดีขึ้น เพื่อลดความตื่นตระหนก นพ.นรินทร์รัชต์ กล่าว