ศูนย์ข่าวศรีราชา - จังหวัดชลบุรี ขับเคลื่อนศูนย์ดำรงธรรม บริการงานแบบเบ็ดเสร็จและส่งต่อ (Service Link) 32 งาน สนับสนุนนโยบาย คสช. คืนความสุขให้ประชาชน
นายคมสัน เอกชัย ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี กล่าวว่า ตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้มีประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 96/2557 ลงวันที่ 18 กรกฎาคม 2557 เรื่อง การจัดตั้งศูนย์ดำรงธรรม โดยมีเจตนารมณ์ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ร่วมกับหัวหน้าส่วนราชการ และหน่วยงานรัฐ บูรณาการการบริหารราชการที่เป็นเอกภาพ เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนในทุกๆ ด้านให้เสร็จสิ้นโดยเร็วนั้น
โดยจังหวัดชลบุรี ได้ดำเนินงานศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดให้เป็นไปตามนโยบาย และเจตนารมณ์ของ คสช. จึงได้จัดตั้งศูนย์ดำรงธรรมขึ้นที่ศาลากลางจังหวัดชลบุรี โดยมีผู้บัญชาการฐานทัพเรือสัตหีบ ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 2 ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 14 ผู้บัญชาการกองบัญชาการช่วยรบที่ 1 และอัยการจังหวัดชลบุรี เป็นที่ปรึกษาคณะกรรมการอำนวยการศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดชลบุรี ที่ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี เป็นประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย หัวหน้าส่วนราชการ และหัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ โดยให้หัวหน้าสำนักงานจังหวัดชลบุรี ทำหน้าที่กรรมการและเลขานุการ และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน
รวมทั้งให้ความช่วยเหลือเรื่องสำคัญเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหาของประชาชนตามที่ได้ร้องเรียน ร้องทุกข์ ได้มอบหมายให้ปลัดจังหวัดชลบุรี เป็นหัวหน้าคณะทำงาน ชุดปฏิบัติการ หรือหน่วยเคลื่อนที่เร็ว ประกอบกำลังด้วย ตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรี หัวหน้าส่วนราชการ และสมาชิกองอาสารักษาดินแดน และได้สั่งการให้นายอำเภอ ทุกอำเภอจัดตั้งศูนย์ดำรงธรรมอำเภอ มีโครงสร้างของฝ่ายอำนวยการ และชุดปฏิบัติการเฉพาะกิจเช่นเดียวกับจังหวัด
นายคมสัน เอกชัย เผยต่อว่า สำหรับการให้บริการประชาชนของศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดชลบุรี ตามนโยบาย คสช.ได้จัดบริการในรูปแบบศูนย์บริการร่วม มีบริการรับเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์ การให้คำปรึกษา บริการข้อมูลข่าวสาร การให้บริการรับเรื่อง-ส่งต่อ (Service Link) การให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) การรับเรื่องปัญหาความต้องการ และข้อเสนอแนะของประชาชน
นอกจากนี้ ยังจัดการบริการเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค และช่องทางการร้องเรียน ร้องทุกข์ผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เว็บไซต์ “สายตรงผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี” เพื่ออำนวยความสะดวกที่สอดคล้องต่อพฤติกรรมการใช้บริการข้อมูลข่าวสารของประชาชน
ในส่วนของผลการดำเนินงานของการแก้ไขปัญหาตามข้อร้องเรียน ร้องทุกข์ของประชาชน ในห้วงปี พ.ศ.2554 ถึงก่อนที่จะมีการจัดตั้งศูนย์ดำรงธรรมตามนโยบาย คสช. จังหวัดชลบุรี มีเรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์ผ่านช่องทางต่างๆ ทั้งการร้องเรียนผ่านศูนย์ดำรงธรรม เว็บไซต์ “สายตรงผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี” หนังสือพิมพ์ประจำวัน รวมทั้งคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคจังหวัดชลบุรี รวม 11,158 เรื่อง และได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาไปแล้ว 10,537 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 94
โดยช่องทางที่มีผู้เข้าใช้บริการมากที่สุดคือ เว็บไซต์ “สายตรงผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี” ซึ่งมีจำนวนถึง 8,122 เรื่อง เรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์ตามอันดับ ได้แก่ การได้รับความเดือดร้อนจากการจัดการบริการระบบสาธารณูปโภค/สาธารณูปการ ถนน ประปา ไฟฟ้า ไปรษณีย์ อันดับสองได้แก่ เหตุเดือดร้อนรำคาญอื่นๆ นอกจากนั้น ยังมีการแจ้งเบาะแสบ่อนการพนัน และยาเสพติด และการไม่ได้รับความสะดวกในการบริการประชาชน
ในการดำเนินงานของศูนย์ดำรงธรรมอำเภอนั้น นายคมสัน เอกชัย กล่าวว่า การให้บริการของ ศูนย์ดำรงธรรมอำเภอของแต่ละอำเภอ จะมีความแตกต่างกัน การจัดบริการเป็นไปตามปัญหา ความต้องการของประชาชน เช่น ศูนย์ดำรงธรรมอำเภอเมืองชลบุรี และศูนย์ดำรงธรรมอำเภอบางละมุง นอกจากจะจัดบริการในเรื่องต่างๆ เช่นเดียวกับศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดแล้ว ยังมีการจัดให้บริการของสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดชลบุรี ในการบริการต่อหนังสือเดินทางของคนต่างชาติ มีการจัดบริการครอบคลุมถึงการบริการชำระค่าน้ำประปา ชำระค่าโทรศัพท์ (TOT) ชำระภาษีรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ การให้บริการของธนาคารอาคารสงเคราะห์
ตลอดจนเป็นที่ตั้งของศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าว (One Stop Service) ซึ่งรับจดทะเบียนแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ (กัมพูชา พม่า และลาว) ไปแล้ว 43,089 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 4 ส.ค.2557) อยู่ระหว่างดำเนินการอีก 77,969 คน
โดยสรุปแล้ว ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัด และศูนย์ดำรงธรรมอำเภอในจังหวัดชลบุรี มีงานบริการแบบเบ็ดเสร็จและบริการรับเรื่อง-ส่งต่อ (Service Link) รวม 32 งาน เป็นงานบริการแบบเบ็ดเสร็จ จำนวน 18 งาน และบริการรับเรื่อง-ส่งต่อ (Service Link) จำนวน 14 งาน ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินงานของศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดชลบุรี และศูนย์ดำรงธรรมอำเภอ ทุกอำเภอมีประสิทธิภาพ บังเกิดประโยชน์สูงสุดในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนตามนโยบายของ คสช. และกระทรวงมหาดไทย
นายคมสัน เอกชัย ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี กล่าวว่า ตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้มีประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 96/2557 ลงวันที่ 18 กรกฎาคม 2557 เรื่อง การจัดตั้งศูนย์ดำรงธรรม โดยมีเจตนารมณ์ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ร่วมกับหัวหน้าส่วนราชการ และหน่วยงานรัฐ บูรณาการการบริหารราชการที่เป็นเอกภาพ เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนในทุกๆ ด้านให้เสร็จสิ้นโดยเร็วนั้น
โดยจังหวัดชลบุรี ได้ดำเนินงานศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดให้เป็นไปตามนโยบาย และเจตนารมณ์ของ คสช. จึงได้จัดตั้งศูนย์ดำรงธรรมขึ้นที่ศาลากลางจังหวัดชลบุรี โดยมีผู้บัญชาการฐานทัพเรือสัตหีบ ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 2 ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 14 ผู้บัญชาการกองบัญชาการช่วยรบที่ 1 และอัยการจังหวัดชลบุรี เป็นที่ปรึกษาคณะกรรมการอำนวยการศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดชลบุรี ที่ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี เป็นประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย หัวหน้าส่วนราชการ และหัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ โดยให้หัวหน้าสำนักงานจังหวัดชลบุรี ทำหน้าที่กรรมการและเลขานุการ และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน
รวมทั้งให้ความช่วยเหลือเรื่องสำคัญเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหาของประชาชนตามที่ได้ร้องเรียน ร้องทุกข์ ได้มอบหมายให้ปลัดจังหวัดชลบุรี เป็นหัวหน้าคณะทำงาน ชุดปฏิบัติการ หรือหน่วยเคลื่อนที่เร็ว ประกอบกำลังด้วย ตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรี หัวหน้าส่วนราชการ และสมาชิกองอาสารักษาดินแดน และได้สั่งการให้นายอำเภอ ทุกอำเภอจัดตั้งศูนย์ดำรงธรรมอำเภอ มีโครงสร้างของฝ่ายอำนวยการ และชุดปฏิบัติการเฉพาะกิจเช่นเดียวกับจังหวัด
นายคมสัน เอกชัย เผยต่อว่า สำหรับการให้บริการประชาชนของศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดชลบุรี ตามนโยบาย คสช.ได้จัดบริการในรูปแบบศูนย์บริการร่วม มีบริการรับเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์ การให้คำปรึกษา บริการข้อมูลข่าวสาร การให้บริการรับเรื่อง-ส่งต่อ (Service Link) การให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) การรับเรื่องปัญหาความต้องการ และข้อเสนอแนะของประชาชน
นอกจากนี้ ยังจัดการบริการเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค และช่องทางการร้องเรียน ร้องทุกข์ผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เว็บไซต์ “สายตรงผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี” เพื่ออำนวยความสะดวกที่สอดคล้องต่อพฤติกรรมการใช้บริการข้อมูลข่าวสารของประชาชน
ในส่วนของผลการดำเนินงานของการแก้ไขปัญหาตามข้อร้องเรียน ร้องทุกข์ของประชาชน ในห้วงปี พ.ศ.2554 ถึงก่อนที่จะมีการจัดตั้งศูนย์ดำรงธรรมตามนโยบาย คสช. จังหวัดชลบุรี มีเรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์ผ่านช่องทางต่างๆ ทั้งการร้องเรียนผ่านศูนย์ดำรงธรรม เว็บไซต์ “สายตรงผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี” หนังสือพิมพ์ประจำวัน รวมทั้งคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคจังหวัดชลบุรี รวม 11,158 เรื่อง และได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาไปแล้ว 10,537 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 94
โดยช่องทางที่มีผู้เข้าใช้บริการมากที่สุดคือ เว็บไซต์ “สายตรงผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี” ซึ่งมีจำนวนถึง 8,122 เรื่อง เรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์ตามอันดับ ได้แก่ การได้รับความเดือดร้อนจากการจัดการบริการระบบสาธารณูปโภค/สาธารณูปการ ถนน ประปา ไฟฟ้า ไปรษณีย์ อันดับสองได้แก่ เหตุเดือดร้อนรำคาญอื่นๆ นอกจากนั้น ยังมีการแจ้งเบาะแสบ่อนการพนัน และยาเสพติด และการไม่ได้รับความสะดวกในการบริการประชาชน
ในการดำเนินงานของศูนย์ดำรงธรรมอำเภอนั้น นายคมสัน เอกชัย กล่าวว่า การให้บริการของ ศูนย์ดำรงธรรมอำเภอของแต่ละอำเภอ จะมีความแตกต่างกัน การจัดบริการเป็นไปตามปัญหา ความต้องการของประชาชน เช่น ศูนย์ดำรงธรรมอำเภอเมืองชลบุรี และศูนย์ดำรงธรรมอำเภอบางละมุง นอกจากจะจัดบริการในเรื่องต่างๆ เช่นเดียวกับศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดแล้ว ยังมีการจัดให้บริการของสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดชลบุรี ในการบริการต่อหนังสือเดินทางของคนต่างชาติ มีการจัดบริการครอบคลุมถึงการบริการชำระค่าน้ำประปา ชำระค่าโทรศัพท์ (TOT) ชำระภาษีรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ การให้บริการของธนาคารอาคารสงเคราะห์
ตลอดจนเป็นที่ตั้งของศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าว (One Stop Service) ซึ่งรับจดทะเบียนแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ (กัมพูชา พม่า และลาว) ไปแล้ว 43,089 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 4 ส.ค.2557) อยู่ระหว่างดำเนินการอีก 77,969 คน
โดยสรุปแล้ว ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัด และศูนย์ดำรงธรรมอำเภอในจังหวัดชลบุรี มีงานบริการแบบเบ็ดเสร็จและบริการรับเรื่อง-ส่งต่อ (Service Link) รวม 32 งาน เป็นงานบริการแบบเบ็ดเสร็จ จำนวน 18 งาน และบริการรับเรื่อง-ส่งต่อ (Service Link) จำนวน 14 งาน ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินงานของศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดชลบุรี และศูนย์ดำรงธรรมอำเภอ ทุกอำเภอมีประสิทธิภาพ บังเกิดประโยชน์สูงสุดในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนตามนโยบายของ คสช. และกระทรวงมหาดไทย