ศูนย์ข่าวศรีราชา - สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ชี้แจงสภาพอากาศ หลังจากทีมีสื่อบางฉบังนำเสนอภาวะเอลนีโญจะรุนแรงที่สุดในรอบ 10 ปี มีความคลาดเคลื่อน แจงปี 57 สภาพเป็นกลาง ยังไม่ได้เข้าสู่ ภาวะเอลนีโญ
น.ส.สิดา ปุณณหรรษา นักสื่อสารองค์กร สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ชี้แจงว่า จากที่มีการนำเสนอข่าวในสื่อบางแห่งเมื่อวันที่ 18 ก.พ.ที่ผ่านมาว่า สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ สทอภ. หรือ GISTDA เปิดเผยว่า ปี 2557 นี้ ภาวะเอลนีโญจะรุนแรงที่สุดในรอบ 10 ปี และจะส่งผลให้อุณหภูมิอากาศในพื้นที่ภาคเหนือ และภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานคร สูงกว่า 40 องศาเซลเซียสนั้น
ทาง สทอภ.ขอชี้แจงว่า ข้อมูลดังกล่าวมีความคลาดเคลื่อน และไม่ได้ผ่านการกลั่นกรองจากผู้ที่รับผิดชอบในเรื่องนี้ เนื่องจากการคาดการณ์โดยสถาบันด้านภูมิอากาศที่สำคัญ 22 แห่งของโลก คาดการณ์ว่า สภาพอากาศของปี 2557 นี้จะมีสภาพเป็นกลาง ไม่มีแม้แต่สำนักเดียวที่คาดการณ์ว่าโลกจะเข้าสู่ภาวะเอลนีโญ หรือลานีญาเลย
นอกจากนี้ การคาดการณ์อุณหภูมิ และความแห้งแล้งก็ต้องใช้ข้อมูลอื่นๆ นอกเหนือจากภาวะเอลนีโญมาใช้ประกอบกัน ทั้งข้อมูลระดับโลก ระดับภูมิภาค และระดับท้องถิ่น ซึ่ง ณ ปัจจุบันปัจจัยต่างๆ ยังไม่มีความสอดคล้องกันเพียงพอที่จะคาดการณ์เรื่องอุณหภูมิในฤดูร้อนที่จะมาถึงได้
สำหรับความชื้นในดินที่ประมาณจากค่าดัชนี Normalized Difference Water Index (NDWI) จากระบบตรวจวัด MODIS บนดาวเทียม Terra และ Aqua นั้น ในปัจจุบันแสดงให้เห็นว่าพื้นที่ที่ดินมีสภาพแห้งจัดส่วนมากอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นส่วนใหญ่ และมีการกระจายในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้บ้าง แต่น้อยกว่าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และความแห้งของดินของทั้งประเทศจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเข้าสู่ช่วงปลายของฤดูแล้ง ประมาณเดือนมีนาคม-เมษายน ซึ่งเป็นสภาพปกติของฤดูแล้ง
อย่างไรก็ตาม ภาวการณ์ขาดแคลนน้ำจะเกิดขึ้นค่อนข้างแน่นอนในช่วงปลายฤดูแล้งของปีนี้ โดยเฉพาะในพื้นที่การเกษตรชลประทานในภาคเหนือตอนล่าง และภาคกลาง เนื่องจากเขื่อนหลักที่ส่งน้ำให้แก่พื้นที่นี้คือ เขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ มีปริมาณน้ำใช้งานได้รวมกันเพียงประมาณ 4,000 ล้านลูกบาศก์เมตรเศษ ซึ่งกรมชลประทาน และกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมทั้งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ได้ประมาณการว่า เพียงพอสำหรับการทำนาปรังเพียงประมาณ 4 ล้านไร่เท่านั้น และได้มีการประกาศแจ้งไปแล้วว่าพื้นที่ชลประทานใดบ้างจะมีการส่งน้ำ และพื้นที่ใดบ้างจะไม่มีการส่งน้ำในฤดูแล้งนี้
แต่จากการใช้ภาพถ่ายดาวเทียมติดตามพบว่า ในปัจจุบันมีการปลูกในพื้นที่ที่ประกาศว่าจะไม่มีการส่งน้ำให้กว่า 5 ล้านไร่ และประมาณครึ่งหนึ่งของพื้นที่เหล่านี้เริ่มปลูกหลังวันที่ 31 มกราคม 2557 ซึ่งค่อนข้างแน่นอนว่าจะไม่สามารถหาน้ำมาหล่อเลี้ยงได้ โดยเฉพาะในเดือนเมษายน ซึ่งปริมาณน้ำในเขื่อนจะวิกฤตที่สุด เพราะนอกจากจะต้องใช้ในการเกษตรแล้ว ยังต้องใช้ในการผลักดันน้ำเค็มจากทะเลไม่ให้รุกเข้ามาปนเปื้อนในน้ำดิบเพื่อการทำน้ำประปาของเมืองใหญ่บริเวณปากแม่น้ำต่างๆ รวมทั้งกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลอีกด้วย
ปัญหาการขาดแคลนน้ำที่จะเกิดขึ้นในฤดูแล้งปี 2557 ของพื้นที่ชลประทานต่างๆ ไม่ได้เกิดจากสภาพอากาศของฤดูแล้งนี้โดยตรง แต่เกิดจากความผิดปกติของฤดูฝนเมื่อปีที่แล้ว (พ.ศ.2556) ที่มีปริมาณฝนค่อนข้างน้อย และส่วนหนึ่งตกบริเวณใต้เขื่อน จึงทำให้มีน้ำต้นทุนในเขื่อนน้อย ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการน้ำของประเทศตระหนักถึงเรื่องนี้เป็นอย่างดี และได้มีมาตรการบริหารจัดการน้ำที่ชัดเจน
อย่างไรก็ตาม การที่มาตรการจัดการน้ำด้านอุปทาน (Supply Side) เหล่านี้จะสัมฤทธิ์ได้นั้น ต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานภาครัฐ และเอกชนที่จะส่งเสริมและสนับสนุนทางเลือกแก่เกษตรกรในฤดูแล้ง เพื่อลดความต้องการใช้น้ำ (Demand Side) ให้สอดคล้องกันด้วย
น.ส.สิดา ปุณณหรรษา นักสื่อสารองค์กร สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ชี้แจงว่า จากที่มีการนำเสนอข่าวในสื่อบางแห่งเมื่อวันที่ 18 ก.พ.ที่ผ่านมาว่า สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ สทอภ. หรือ GISTDA เปิดเผยว่า ปี 2557 นี้ ภาวะเอลนีโญจะรุนแรงที่สุดในรอบ 10 ปี และจะส่งผลให้อุณหภูมิอากาศในพื้นที่ภาคเหนือ และภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานคร สูงกว่า 40 องศาเซลเซียสนั้น
ทาง สทอภ.ขอชี้แจงว่า ข้อมูลดังกล่าวมีความคลาดเคลื่อน และไม่ได้ผ่านการกลั่นกรองจากผู้ที่รับผิดชอบในเรื่องนี้ เนื่องจากการคาดการณ์โดยสถาบันด้านภูมิอากาศที่สำคัญ 22 แห่งของโลก คาดการณ์ว่า สภาพอากาศของปี 2557 นี้จะมีสภาพเป็นกลาง ไม่มีแม้แต่สำนักเดียวที่คาดการณ์ว่าโลกจะเข้าสู่ภาวะเอลนีโญ หรือลานีญาเลย
นอกจากนี้ การคาดการณ์อุณหภูมิ และความแห้งแล้งก็ต้องใช้ข้อมูลอื่นๆ นอกเหนือจากภาวะเอลนีโญมาใช้ประกอบกัน ทั้งข้อมูลระดับโลก ระดับภูมิภาค และระดับท้องถิ่น ซึ่ง ณ ปัจจุบันปัจจัยต่างๆ ยังไม่มีความสอดคล้องกันเพียงพอที่จะคาดการณ์เรื่องอุณหภูมิในฤดูร้อนที่จะมาถึงได้
สำหรับความชื้นในดินที่ประมาณจากค่าดัชนี Normalized Difference Water Index (NDWI) จากระบบตรวจวัด MODIS บนดาวเทียม Terra และ Aqua นั้น ในปัจจุบันแสดงให้เห็นว่าพื้นที่ที่ดินมีสภาพแห้งจัดส่วนมากอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นส่วนใหญ่ และมีการกระจายในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้บ้าง แต่น้อยกว่าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และความแห้งของดินของทั้งประเทศจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเข้าสู่ช่วงปลายของฤดูแล้ง ประมาณเดือนมีนาคม-เมษายน ซึ่งเป็นสภาพปกติของฤดูแล้ง
อย่างไรก็ตาม ภาวการณ์ขาดแคลนน้ำจะเกิดขึ้นค่อนข้างแน่นอนในช่วงปลายฤดูแล้งของปีนี้ โดยเฉพาะในพื้นที่การเกษตรชลประทานในภาคเหนือตอนล่าง และภาคกลาง เนื่องจากเขื่อนหลักที่ส่งน้ำให้แก่พื้นที่นี้คือ เขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ มีปริมาณน้ำใช้งานได้รวมกันเพียงประมาณ 4,000 ล้านลูกบาศก์เมตรเศษ ซึ่งกรมชลประทาน และกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมทั้งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ได้ประมาณการว่า เพียงพอสำหรับการทำนาปรังเพียงประมาณ 4 ล้านไร่เท่านั้น และได้มีการประกาศแจ้งไปแล้วว่าพื้นที่ชลประทานใดบ้างจะมีการส่งน้ำ และพื้นที่ใดบ้างจะไม่มีการส่งน้ำในฤดูแล้งนี้
แต่จากการใช้ภาพถ่ายดาวเทียมติดตามพบว่า ในปัจจุบันมีการปลูกในพื้นที่ที่ประกาศว่าจะไม่มีการส่งน้ำให้กว่า 5 ล้านไร่ และประมาณครึ่งหนึ่งของพื้นที่เหล่านี้เริ่มปลูกหลังวันที่ 31 มกราคม 2557 ซึ่งค่อนข้างแน่นอนว่าจะไม่สามารถหาน้ำมาหล่อเลี้ยงได้ โดยเฉพาะในเดือนเมษายน ซึ่งปริมาณน้ำในเขื่อนจะวิกฤตที่สุด เพราะนอกจากจะต้องใช้ในการเกษตรแล้ว ยังต้องใช้ในการผลักดันน้ำเค็มจากทะเลไม่ให้รุกเข้ามาปนเปื้อนในน้ำดิบเพื่อการทำน้ำประปาของเมืองใหญ่บริเวณปากแม่น้ำต่างๆ รวมทั้งกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลอีกด้วย
ปัญหาการขาดแคลนน้ำที่จะเกิดขึ้นในฤดูแล้งปี 2557 ของพื้นที่ชลประทานต่างๆ ไม่ได้เกิดจากสภาพอากาศของฤดูแล้งนี้โดยตรง แต่เกิดจากความผิดปกติของฤดูฝนเมื่อปีที่แล้ว (พ.ศ.2556) ที่มีปริมาณฝนค่อนข้างน้อย และส่วนหนึ่งตกบริเวณใต้เขื่อน จึงทำให้มีน้ำต้นทุนในเขื่อนน้อย ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการน้ำของประเทศตระหนักถึงเรื่องนี้เป็นอย่างดี และได้มีมาตรการบริหารจัดการน้ำที่ชัดเจน
อย่างไรก็ตาม การที่มาตรการจัดการน้ำด้านอุปทาน (Supply Side) เหล่านี้จะสัมฤทธิ์ได้นั้น ต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานภาครัฐ และเอกชนที่จะส่งเสริมและสนับสนุนทางเลือกแก่เกษตรกรในฤดูแล้ง เพื่อลดความต้องการใช้น้ำ (Demand Side) ให้สอดคล้องกันด้วย