ASTVผู้จัดการออนไลน์ - CPF หนุนรัฐตั้งหน่วยงานคณะกรรมการกำหนดนโยบายและแนวทางสร้างความเป็นธรรมในระบบเกษตรพันธสัญญา
นายณรงค์ เจียมใจบรรจง รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ เปิดเผยว่า ซีพีเอฟเห็นด้วยและสนับสนุนในการผลักดันให้มีหน่วยงานกลาง เพื่อทำหน้าที่ดูแลการใช้ระบบ Contract Farming หรือเกษตรพันธสัญญาอย่างเป็นธรรม ตลอดจนเห็นด้วยที่ควรจะมีการร่างสัญญากลางเพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับการทำข้อตกลงระหว่างผู้ประกอบการกับเกษตรกร ซึ่งจะลดปัญหาการละเมิดข้อตกลงซึ่งและกันของทั้งสองฝ่าย แม้ที่ผ่านมา เกษตรกรในระบบของซีพีเอฟที่ประสบปัญหาจะมีเพียง 1-2% เท่านั้น
ทั้งนี้ เนื่องจากตั้งแต่ประเทศไทยมีการใช้ระบบนี้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินธุรกิจเกษตรอย่างกว้างขวางครอบคลุมทั้งพืช และสัตว์ เป็นระยะเวลายาวนานกว่า 30-40 ปีนั้น ไทยยังไม่เคยมีหน่วยงานภาครัฐ หรือหน่วยงานใดที่จะเข้ามากำกับดูแลอย่างจริงจัง และที่ผ่านมา ผู้ประกอบการกับเกษตรกรต่างใช้ความไว้เนื้อเชื่อใจกันเป็นหลัก
ล่าสุด คณะกรรมาธิการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร โดย พล.ต.อ.วิรุฬห์ ฟื้นแสน ประธานคณะกรรมาธิการฯ ได้เชิญให้ซีพีเอฟเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของคณะทำงานศึกษาข้อเท็จจริง และข้อกฎหมายเกี่ยวกับความไม่เป็นธรรมแก่เกษตรกรและผู้ประกอบการที่อยู่ภายใต้ระบบการผลิตแบบเกษตรพันธสัญญา ร่วมกับทางเกษตรกร องค์การพัฒนาเอกชน (NGO) และภาครัฐหลายหน่วยงาน เช่น กระทรวงยุติธรรม สภาทนายความ คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เป็นต้น
“ซีพีเอฟพร้อมให้ความร่วมมือด้วยความยินดียิ่ง ทั้งยังได้นำสัญญาที่บริษัทใช้งานอยู่ในปัจจุบันมอบให้คณะทำงานได้นำไปเป็นต้นแบบในการศึกษา ทั้งนี้ เพื่อสนับสนุนให้เกิดความเป็นธรรมในระบบ” นายณรงค์กล่าวและว่า
ปัจจุบัน ระบบ Contract Farming ทางด้านปศุสตว์ในประเทศไทย มีใช้กันอย่างกว้างขวางใน 2 ประเภทหลัก คือ ประเภทประกันรายได้ และประกันราคา โดยมีบริษัทขนาดใหญ่ที่ใช้ระบบนี้อยู่ราว 20-25 บริษัท นอกเหนือจากนี้ ยังมีบริษัทขนาดกลาง และเจ้าของธุรกิจอีกมากมายที่ต่างก็นำระบบไปใช้ในรูปแบบของตนเอง ซึ่งหากมีหน่วยงานกลางและสัญญากลางมาเป็นแนวทาง เชื่อว่าจะทำให้ภาพรวมของการทำเกษตรพันธสัญญาเป็นไปอย่างเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย ลดการเอารัดเอาเปรียบกันได้อย่างเป็นรูปธรรม
อย่างไรก็ตาม การร่างสัญญากลาง และกรรมการชุดนี้ จำเป็นต้องมีผู้รู้ในเชิงเทคนิคด้านการเกษตร และผู้รู้ในเชิงระบบเศรษฐกิจและสังคมเข้ามาเป็นคณะทำงาน และคณะกรรมการ เพื่อดูแล และให้ข้อมูลเชิงวิชาการด้วย เพื่อให้กฎหมายดังกล่าวสอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจ จึงจะเกิดประโยชน์ และเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย ตลอดจนบังคับใช้ได้จริง
นายณรงค์ เจียมใจบรรจง รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ เปิดเผยว่า ซีพีเอฟเห็นด้วยและสนับสนุนในการผลักดันให้มีหน่วยงานกลาง เพื่อทำหน้าที่ดูแลการใช้ระบบ Contract Farming หรือเกษตรพันธสัญญาอย่างเป็นธรรม ตลอดจนเห็นด้วยที่ควรจะมีการร่างสัญญากลางเพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับการทำข้อตกลงระหว่างผู้ประกอบการกับเกษตรกร ซึ่งจะลดปัญหาการละเมิดข้อตกลงซึ่งและกันของทั้งสองฝ่าย แม้ที่ผ่านมา เกษตรกรในระบบของซีพีเอฟที่ประสบปัญหาจะมีเพียง 1-2% เท่านั้น
ทั้งนี้ เนื่องจากตั้งแต่ประเทศไทยมีการใช้ระบบนี้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินธุรกิจเกษตรอย่างกว้างขวางครอบคลุมทั้งพืช และสัตว์ เป็นระยะเวลายาวนานกว่า 30-40 ปีนั้น ไทยยังไม่เคยมีหน่วยงานภาครัฐ หรือหน่วยงานใดที่จะเข้ามากำกับดูแลอย่างจริงจัง และที่ผ่านมา ผู้ประกอบการกับเกษตรกรต่างใช้ความไว้เนื้อเชื่อใจกันเป็นหลัก
ล่าสุด คณะกรรมาธิการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร โดย พล.ต.อ.วิรุฬห์ ฟื้นแสน ประธานคณะกรรมาธิการฯ ได้เชิญให้ซีพีเอฟเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของคณะทำงานศึกษาข้อเท็จจริง และข้อกฎหมายเกี่ยวกับความไม่เป็นธรรมแก่เกษตรกรและผู้ประกอบการที่อยู่ภายใต้ระบบการผลิตแบบเกษตรพันธสัญญา ร่วมกับทางเกษตรกร องค์การพัฒนาเอกชน (NGO) และภาครัฐหลายหน่วยงาน เช่น กระทรวงยุติธรรม สภาทนายความ คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เป็นต้น
“ซีพีเอฟพร้อมให้ความร่วมมือด้วยความยินดียิ่ง ทั้งยังได้นำสัญญาที่บริษัทใช้งานอยู่ในปัจจุบันมอบให้คณะทำงานได้นำไปเป็นต้นแบบในการศึกษา ทั้งนี้ เพื่อสนับสนุนให้เกิดความเป็นธรรมในระบบ” นายณรงค์กล่าวและว่า
ปัจจุบัน ระบบ Contract Farming ทางด้านปศุสตว์ในประเทศไทย มีใช้กันอย่างกว้างขวางใน 2 ประเภทหลัก คือ ประเภทประกันรายได้ และประกันราคา โดยมีบริษัทขนาดใหญ่ที่ใช้ระบบนี้อยู่ราว 20-25 บริษัท นอกเหนือจากนี้ ยังมีบริษัทขนาดกลาง และเจ้าของธุรกิจอีกมากมายที่ต่างก็นำระบบไปใช้ในรูปแบบของตนเอง ซึ่งหากมีหน่วยงานกลางและสัญญากลางมาเป็นแนวทาง เชื่อว่าจะทำให้ภาพรวมของการทำเกษตรพันธสัญญาเป็นไปอย่างเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย ลดการเอารัดเอาเปรียบกันได้อย่างเป็นรูปธรรม
อย่างไรก็ตาม การร่างสัญญากลาง และกรรมการชุดนี้ จำเป็นต้องมีผู้รู้ในเชิงเทคนิคด้านการเกษตร และผู้รู้ในเชิงระบบเศรษฐกิจและสังคมเข้ามาเป็นคณะทำงาน และคณะกรรมการ เพื่อดูแล และให้ข้อมูลเชิงวิชาการด้วย เพื่อให้กฎหมายดังกล่าวสอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจ จึงจะเกิดประโยชน์ และเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย ตลอดจนบังคับใช้ได้จริง