xs
xsm
sm
md
lg

สมัชชาคนจนทุบไหปลาแดก! เรียกร้องรัฐบาลเปิดประตูเขื่อนปากมูล (ชมคลิป)

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ทุบไหปลาแดก เรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาเขื่อนปากมูล
อุบลราชธานี - ตัวแทนชาวบ้านสมัชชาคนจนกว่า 100 คน รวมตัวหน้าศาลากลาง ทุบไหปลาแดก ประกาศเจตนารมณ์เดินหน้าประท้วงรัฐบาล "ยิ่งลักษณ์" ยืดเยื้อ หากไม่เปิดประตูระบายน้ำเขื่อนปากมูลและจ่ายชดเชยผลกระทบจากการสร้างเขื่อน ให้กว่า 6 พันครอบครัว

คลิกเพื่อชมคลิป:



เมื่อเวลา 10.30 น. วันนี้(2 พ.ค.)ที่หน้าศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี ชาวบ้านสมัชชาคนจนกว่า 100 คนรวมตัวยื่นข้อเรียกร้องผ่านผู้ว่าราชการจังหวัด ถึงน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้ตั้งคณะอำนวยการแก้ปัญหาผู้ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนปากมูล ซึ่งผ่านการศึกษาของนักวิชาการ สมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี

โดยมีมติให้ทดลองเปิดประตูระบายน้ำเป็นเวลา 5 ปี เพื่อศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และจ่ายเงินชดเชยกับชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบในอ.โขงเจียม อ.สิรินธร และอ.พิบูลมังสาหาร ครอบครัวละ 310,000 บาท กว่า 6,000 ครอบครัว แต่ยังไม่ทันนำเข้าคณะรัฐมนตรี รัฐบาลนายอภิสิทธิ์หมดวาระไปก่อน ต่อมาเมื่อเดือนมกราคมปีนี้ กลุ่มสมัชชาคนจนได้รวมตัวประท้วงที่หน้าทำเนียบรัฐบาล และมีข้อตกลงร่วมกับนายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาลร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี จะจัดตั้งคณะกรรมการที่มีอำนาจเต็ม มาควบคุมการเปิดประตูระบายน้ำเขื่อนปากมูล และจ่ายเงินชดเชยให้กับชาวบ้านให้แล้วเสร็จภายในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา

แต่จนถึงปัจจุบัน รัฐบา น.ส.ยิ่งลักษณ์ ยังไม่ตั้งคณะกรรมการ สมัชชาคนจนจึงจะเดินทางเข้าไปเรียกร้องให้รัฐบาลปฏิบัติตาม ที่ได้มีข้อตกลงกันไว้ในวันที่ 6 พฤษภาคมนี้ ที่หน้าทำเนียบรัฐบาล ทั้งนี้เพื่อเป็นการประกาศเจตนาแตกหักกับรัฐบาล หากยังไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงกลุ่มชาวบ้าน

ทั้งนี้ สมัชชาคนจนได้นำไหปลาแดกที่เป็นสัญญลักษณ์ข้าวปลาอาหารของคนอีสาน มาทุบที่หน้าศาลากลางจังหวัด เพื่อให้รัฐบาลทราบจุดประสงค์ ว่าจะเป็นการชุมชนยืนเยื้อจนกว่าจะประสบความสำเร็จ

ต่อมา กลุ่มสมัชชาคนจนได้พากันเดินทางกลับ โดยมีกำลังตำรวจและอาสาสมัครประมาณ 50 นาย คอยดูแลรักษาความสงบ โดยไม่มีเหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้น

สำหรับการเรียกร้องของกลุ่มสมัชชาคนจน กรณีปัญหาเขื่อนปากมูล เกิดขึ้นอย่างยืดเยื้อยาวนาน ตั้งแต่ช่วงก่อนการก่อสร้างเขื่อนจนถึงปัจจุบัน คิดเป็นระยะเวลา 24 ปี ผ่านการพิจารณาของรัฐบาลมาถึง 16 รัฐบาล 13 นายกรัฐมนตรี แต่ยังไม่ได้ข้อยุติจนทุกวันนี้


กำลังโหลดความคิดเห็น