ศูนย์ข่าวเชียงใหม่ - รมช.ศธ.มอบนโยบายแก้ไขปัญหายาเสพติดสถาบันการศึกษาภาคเหนือ ย้ำยึดกลยุทธ์ 4 ต้อง 2 ไม่ สู้ยาเสพติด ชี้เป็นเรื่องสำคัญต้องช่วยกันดูแล ให้โรงเรียนเผ้าระวังปัจจัยในโรรงเรียนส่วนหน่วยงานอื่นๆ ดูแลปัจจัยภายนอก ชู “ครู” เป็นพระเอกต้องรวบรวมข้อมูลเรื่องยาเสพติดในโรงเรียน ตั้งเป้านำข้อมูลที่ได้ไปใช้วางแผนแก้ปัญหา
วันนี้ (26 เม.ย. 56) ที่โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ จังหวัดเชียงใหม่ นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในการประชุมมอบนโยบายการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา ปี 2556 และเปิดโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัด นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด ผู้บริหารและคณะผู้บริหารจากสถานศึกษาต่างๆ ในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือเข้าร่วม
การประชุมในครั้งนี้มีขึ้นเพื่อให้หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบแนวนโยบายและยุทธศาสตร์การทำงานของกระทรวงศึกษาธิการเกี่ยวกับปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา หลังจากที่ศูนย์อำนวยการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด กระทรวงศึกษาธิการซึ่งได้รับมอบหมายจากศูนย์อำนวยการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติดแห่งชาติให้รับผิดชอบแผนงานด้านการสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันยาเสพติดกลุ่มเป้าหมายเยาวชน นักเรียน นักศึกษา ทั้งในและนอกสถานศึกษา ได้จัดทำแผนปฏิบัติการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด ตามกรอบแนวทางเยาวชนสดใส สถานศึกษาไทยเข้มแข็งและปลอดยาเสพติดอย่างยั่งยืนก้าวสู่ประชาคมอาเซียน ภายในปี 2558 (ASEAN Drug Free School) ภายใต้ 3 ยุทธศาสตร์ ซึ่งประกอบด้วย ยุทธศาสตร์เสริมสร้างภูมิคุ้มกันป้องกันยาเสพติด ยุทธศาสตร์เสริมสร้างเครือข่ายพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติดในสถานศึกษา และยุทธศาสตร์เสริมสร้างจิตอาสาและพัฒนาคุณภาพ
จากยุทธศาสตร์ดังกล่าว กระทรวงศึกษาธิการจึงได้กำหนดนโยบายให้สถาบันการศึกษาต่างๆ ดำเนินโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข ซึ่งประกอบด้วยมาตรการ 5 มาตรการ ได้แก่ มาตรการป้องกัน มาตรการค้นหา มาตรการรักษา มาตรการเฝ้าระวัง และมาตรการบริหารจัดการ ซึ่งจะขับเคลื่อนภายใต้กลยุทธ์ 4 ต้อง 5 ไม่ อันได้แก่
1. ต้องมียุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดที่สอดคล้องกับสภาพปัญหายาเสพติดและบริบทในพื้นที่ 2. ต้องมีแผนงานด้านยาเสพติดในสถานศึกษาที่ชัดเจน 3. ต้องพัฒนาระบบงานเพื่อรองรับยุทธศาสตร์ 4 ระบบ ได้แก่ ระบบป้องกัน ระบบเฝ้าระวัง ระบบศูนย์ช่วยเหลือ และระบบบริหารจัดการ และ 4. ต้องมีเครือข่ายการทำงานระหว่างนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และชุมชน
ส่วนกลยุทธ์ 5 ไม่นั้นประกอบด้วย 1. ไม่ปกปิดข้อมูลกลุ่มผู้เสพ กลุ่มผู้ติดและกลุ่มผู้ค้ายาเสพติดในสถานศึกษา และ 2. ไม่ผลักปัญหาหรือไล่นักเรียนออกจากสถานศึกษา แต่ให้นำไปรับการบำบัดรักษา และเมื่อหายแล้วให้กลับมาเรียนตามปกติ
ทั้งนี้ ในระหว่างการมอบนโยบายให้กับผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง นายเสริมศักดิ์กล่าวว่าการดำเนินการให้สถานศึกษาปลอดภัยจากยาเสพติดนั้นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย เพราะสาเหตุที่ทำให้นักเรียนนักศึกษาเกี่ยวข้องกับยาเสพติดนั้นประกอบด้วยปัจจัยภายในสถานศึกษาและปัจจัยภายนอกสถานศึกษา ซึ่งปัจจัยในสถานศึกษานั้น ผู้บริหารสถานศึกษาต้องเอาใจใส่ ไม่ปล่อยปละละเลยให้มีการเสพหรือแพร่ยาเสพติด รวมทั้งต้องจัดระบบดูแลนักเรียนนักศึกษาและตรวจตราดูแลพื้นที่ของสถานศึกษา
ขณะที่หน่วยงานอื่นๆ ทั้งฝ่ายปกครอง ตำรวจ ทหารจะต้องช่วยกันดูแลในส่วนของปัจจัยภายนอก ทั้งการควบคุมดูแลและจัดระเบียบพื้นที่เสี่ยงอย่างสถานบันเทิง สถานบริการ ร้านเกมส์ รวมไปถึงการป้องกันและปรายปรามการค้ายาเสพติด และยังรวมไปถึงการสนับสนุนให้ผู้ติดยาเสพติดเข้ารับการบำบัดรักษาด้วย และในขณะเดียวกันทุกฝ่าจะต้องมีการสร้างความร่วมมือระหว่างกันในแต่ละหน่วยงานและกับชุมชน เพื่อร่วมกันเฝ้าระวังและจับตาดูสถานการณ์การแพร่ระบาดของยาเสพติดอย่างใกล้ชิด
นายสมศักดิ์ระบุว่า ในกระบวนการต่างๆ เหล่านี้ครูอาจารย์ในสถาบันการศึกษาต่างๆ จะเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญอย่างมากในการเฝ้าระวังและสดอดส่องดูพฤติกรรมของนักเรียนนักศึกษา ซึ่งจะถือเป็นข้อมูลที่สำคัญสำหรับให้หน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องนำไปใช้ทั้งในการป้องกัน ปราบปราม และบำบัดรักษาต่อไป
ดังนั้น จึงขอฝากไปยังครูอาจารย์และผู้บริหารสถาบันการศึกษาต่างๆ ให้เร่งสำรวจว่าในสถานศึกษาของตนนั้นมีนยักเรียนนักศึกษาที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดหรือไม่และมากน้อยเพียงใด จากนั้นให้สถาบันการศึกษาแต่ละแห่งทำการรวบรวมข้อมูลแอละส่งมายังศูนย์อำนวยการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการปฏิบัติงานต่อไป โดยขอให้ทุกฝ่ายเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จไม่เกินสัปดาห์แรกของการเปิดภาคเรียนในปีการศึกษาใหม่ที่กำลังจะมาถึงนี้