ศูนย์ข่าวศรีราชา - จีนทุ่มงบประมาณ 1,500 ล้านบาท เชื่อมั่น GISTDA ตั้งศูนย์ภัยพิบัติในประเทศไทย ร่วมวิจัย หวังต่อยอดสร้างดาวเทียม
วันนี้ (29 มี.ค.) นายอดิศักดิ์ เทพอาสน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี เป็นประธานในพิธีลงนามความตกลงด้านเทคโนโลยีอวกาศระหว่างสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับ The State Key Laboratory of Information Engineering in Surveying, Mapping and Remote Sensing (LIESMARS) และ Wuhun Information Technology Outsourcing Service and Research Center (WITOSRC) สาธารณรัฐประชาชนจีน ณ อุทยานรังสรรค์ นวัตกรรมอวกาศ (SKP) อ.ศรีราชา จังหวัดชลบุรี
โดยมี ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยกาสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ พร้อมด้วย รศ.ดร.สมเจนต์ ทิณพงษ์ ประธานกรรมการบริหาร สทอภ. ดร.ทนพญ นิลวรรณ เพชรบูรณิน ประธานคณะกรรมาธิการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีการสื่อสารและโทรคมนาคม วุฒิสภา Mr.liu Junyi,Deputy Executive Director, Witosrc และ Prof.Li Deren, Director, Academic Committee of Wuhan University ร่วมลงนามความตกลงด้านเทคโนโลยีอวกาศ
ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยกาสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ กล่าวว่า กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ได้ขยายความร่วมมือกับจีนในด้านเทคโนโลยีอวกาศ และด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี โดยตั้งเป้าร่วมค้าขาย ลงทุน จัดตั้ง พัฒนาอุตสาหกรรม และอุทยานวิทยาศาสตร์ หวังให้เป็นศูนย์กลางการผลิตชิ้นส่วนและรังสรรค์เทคโนโลยีชั้นสูงที่เกี่ยวข้องในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นำร่องมตั้งศูนย์ภัยพิบัติในไทยทันที่
การลงนามระหว่าง GISTDA กับ The State Key Laboratory of Information Engineering in Surveying, Mapping and Remote Sensing (LIESMARS) และ Wuhun Information Technology Outsourcing Service and Research Center (WITOSRC) ถือเป็นการต่อยอดความร่วมมือทั้งในด้านการค้า และการลงทุนร่วมในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีอวกาศ และการประยุกต์ใช้ระห่างไทย-จีน โดยได้มีความเห็นร่วมกันให้มีกิจกรรมความร่วมมือดังนี้ คือ
1.การจัดตั้ง Geo-spatial Disaster-Monitoring< Assessing and Perdicting System และสถานีภาคพื้นดินสำหรับใช้ประโยชน์ในการติดตาม พยากรณ์ และการบริหารการจัดการภัยพิบัติ และการเกษตรในประเทศไทย 2.การจัดตั้ง Geo-spatial Information Industry and Service Outsourcing Base ของ WITOSRC ณ อุทยานรังสรรค์ นวัตกรรมอวกาศ สำหรับเป็นฐานและตัวแทนผ็ประกอบการที่เกี่ยวข้อง 3.ร่วมวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริหาร และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศภูมิสนเทศให้ได้มาตรฐานสากล และ 4.ร่วมจัดตั้ง และลงทุนในสาขา Geo-spatial Information Industrial Park of Thailand สำหรับเป็นพื้นฐานผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์ชั้นสูงสำหรับใช้กับดาวเทียมและเทคโนโลยีอวกาศ
ดร.อานนท์ กล่าวอีกว่า ทางฝ่ายจีนพร้อมที่จะเรื่มดำเนินการติดตั้งระบบเฝ้าระวัง และบริหารจัดการภัยพิบัติพร้อมสถานีภาคพื้นที่ดิน และจัดตั้งสำนักงานทันทีภายหลังการลงนาม คาดว่าจะใช้งบประมาณเบื้องต้น 300 ล้านหยวน หรือประมาณ 1,500 ล้านบาท อาจจะส่งผลทำให้มูลค่าการค้า และการลงทุนภายใต้ความร่วมมือนี้ขยายการลงทุนเพิ่มขึ้นอีกเป็น 6,000 ล้านหยวน หรือประมาณ 30,000 ล้านบาท ซึ่งถือว่าเป็นการเส่งเสริมและขยายช่องทางทางการค้า การลงทุนในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีอวกาศให้เห็นผลเป็นประธรรม พร้อมทั้งเป็นการขยายตลาดไปสู่ประเทศสมาชิก ASEAN และในระดับโลกต่อไป