ศูนย์ข่าวศรีราชา - คณะอนุ กมธ. สิ่งแวดล้อมและภัยธรรมชาติ วุฒิสภา และคณะอนุ กมธ. คมนาคมทางราง แนะหลักเกณฑ์การพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการระบบขนส่งทางราง
วันนี้ (20 มี.ค.) นายสนธิ คชวัฒน์ เลขาฯ และอนุกรรมาธิการ (กมธ.) สิ่งแวดล้อมและภัยธรรมชาติ วุฒิสภา เปิดเผยว่า ตามที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จ้างที่ปรึกษาจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) โครงการก่อสร้างทางรถไฟหลายเส้นทาง และทางรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ โดยมีงบประมาณก่อสร้างแล้ว แต่ยังไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากอีไอเอยังไม่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงาน และคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
จึงทำให้ประชาชนเสียโอกาสในการเดินทาง และงบประมาณที่ได้รับอนุมัติก็ต้องเลื่อนออกไป ดังนั้น คณะอนุ กมธ. สิ่งแวดล้อมและภัยธรรมชาติ วุฒิสภา จึงได้เชิญผู้แทนร.ฟ.ท. ผู้แทนสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) และผู้แทนสำนักงานนโยบายและแผนขนส่งและจราจร (สนข.) หารือกันโดยมีรัฐมนตรีกระทรวงคมนาคม และรัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมประชุมด้วย เพื่อผลักดันให้เกิดความร่วมมือระหว่างกระทรวง หาทางออกให้แก่อีไอเอได้รับความเห็นชอบโดยเร็ว
โดยจะต้องให้เกิดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมน้อยที่สุด รวมทั้งหามาตรการป้องกันและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน ให้อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ ซึ่งคณะอนุ กมธ.สิ่งแวดล้อมและภัยธรรมชาติ วุฒิสภา และคณะอนุ กมธ. คมนาคมทางราง มีข้อเสนอแนะ ดังต่อไปนี้ คือ
1.เนื่องจากมาตรา 47 แห่ง พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ 2535 กำหนดให้โครงการ หรือกิจกรรมซึ่งต้องจัดทำอีไอเอ ที่เป็นโครงการ หรือกิจการของส่วนราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือโครงการร่วมกับเอกชน ซึ่งต้องเสนอขอรับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีตามระเบียบของทางราชการ ให้ส่วนราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบโครงการ หรือกิจการนั้นจัดทำอีไอเอเพื่อเสนอความเห็นประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี
ซึ่งจากมาตรา 47 คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ได้ตั้งคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณาอีไอเอโครงการของรัฐ และรัฐวิสาหกิจ โครงการร่วมกับเอกชนขึ้นมาพิจารณา เพื่อให้ความเห็นประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ โดยมีเจ้าหน้าที่ สผ.เป็นฝ่ายเลขานุการ ในการกลั่นกรองความเห็นเบื้องต้นต่อคณะกรรมการผู้ชำนาญการ ดังนั้น เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการทำงาน จึงควรมีการประสานงานเบื้องต้นระหว่าง ร.ฟ.ท. และ สผ.ตั้งแต่เริ่มโครงการ (Streamline Process) ดังนี้
1.1 ในการกำหนดขอบเขตการศึกษาโครงการ (TOR Terms of Reference) ของ ร.ฟ.ท.เพื่อทำการจัดจ้างที่ปรึกษา ควรใช้แนวทางการจัดทำอีไอเอของ สผ.เป็นเกณฑ์ และจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากนักวิชาการ (Technical Hearing) ซึ่งควรเชิญหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณาอีไอเอ สผ. และผู้ทรงคุณวุฒิ มาร่วมหารือร่วมกัน เพื่อเพิ่มเติมให้ขอบเขตการศึกษามีความสมบูรณ์มากขึ้น ซึ่งจะได้ขอบเขตการศึกษาโครงการที่สมบูรณ์นำไปสู่การว่าจ้างที่ปรึกษาต่อไป
1.2 เมื่อทำการจัดจ้างที่ปรึกษาแล้ว ควรมีการแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับการศึกษา โดยให้ประธานคณะกรรมการผู้ชำนาญการในการพิจารณารายงานด้านคมนาคม หรือผู้แทนเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการกำกับการศึกษาด้วย เพื่อมอบหมายให้ที่ปรึกษาทำการศึกษาตามความเห็นของคณะกรรมการผู้ชำนาญการตั้งแต่เบื้องต้น ซึ่งจะทำให้ประเด็น หรือหัวข้อที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบสิ่งแวดล้อมได้รับการศึกษาอย่างครบถ้วน จะทำให้ง่ายต่อการพิจารณาของคณะกรรมการชำนาญการ เมื่อมีการเสนออีไอเอต่อ สผ.
1.3 เนื่องจากโครงการของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และโครงการเอกชนที่ต้องเสนอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีไม่มีการกำหนดเวลาในการพิจารณารายงานอีไอเอ หากดำเนินตามข้อ 1.1 และ 1.2 แล้ว ขอให้ สผ.ควรพิจารณาออกระเบียบเพื่อกำหนดเวลาในการพิจารณาโครงการดังกล่าวให้เท่ากับโครงการเอกชน คือ พิจารณาครั้งแรกภายใน 45 วัน พิจารณาครั้งที่สอง ภายในเวลา 30 วัน และนำเสนอต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติต่อไป
1.4 ร.ฟ.ท.ควรกำหนดเวลาให้แก่ที่ปรึกษาในการแก้ไข หรือปรับปรุงอีไอเอไว้ในสัญญาให้ชัดเจน เพื่อป้องกันไม่ให้ที่ปรึกษาใช้เวลานานเกินไปในการทำการศึกษา
2.เนื่องจากโครงการด้านคมนาคมทางบกของ ร.ฟ.ท. มีหลายโครงการที่ต้องเวนคืนที่ดิน และตัดผ่านป่าสงวนแห่งชาติ หรือพื้นที่ลุ่มน้ำ หรือผ่านพื้นที่ที่ห้ามล่าสัตว์ป่า เป็นต้น ดังนั้น จึงต้องขออนุญาตจากกรมป่าไม้ หรือกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ในการเข้าไปสำรวจ หรือทำการศึกษา ซึ่งการขออนุญาตดังกล่าวบางครั้งใช้เวลาค่อนข้างนาน และเมื่อทำการศึกษาแล้วต้องขออนุมัติใช้พื้นที่ก่อสร้างด้วย ดังนั้น เพื่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างกระทรวงคมนาคม และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
และเพื่อให้ได้ข้อสรุปในการก่อสร้างทางรถไฟผ่านพื้นที่อ่อนไหวต่อการได้รับผลกระทบสิ่งแวดล้อมดังกล่าวโดยเร็ว จึงเห็นควรจัดตั้งคณะกรรมการประสานการจัดการสิ่งแวดล้อมด้านคมนาคม ระหว่างกระทรวงคมนาคม และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อพิจารณาร่วมกันถึงรูปแบบของโครงสร้างทางรถไฟ แนวเส้นทาง ตลอดจนการขอใช้พื้นที่อนุรักษ์ตั้งแต่เบื้องต้น ซึ่งจะทำให้โครงการดังกล่าวใช้เวลาในการพิจารณาอีไอเอน้อยลง และผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเร็วขึ้น
3.เนื่องจากที่ผ่านมา การจัดทำอีไอเอใช้เวลาค่อนข้างนาน จึงขอให้ ร.ฟ.ท.และ สนข. กำกับดูแลบริษัทที่ปรึกษาอย่างเข้มงวด ตั้งแต่การเลือกที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางสำหรับงานการศึกษาด้านคมนาคมขนส่งทางราง และเจ้าหน้าที่ควรเอาใจใส่ในการตอบข้อเสนอแนะของคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณาอีไอเอ เพื่อทำให้ผ่านความเห็นชอบได้เร็วขึ้นด้วย
4.เนื่องจากโครงการก่อสร้างทางรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ มีคาวมจำเป็นและเป็นนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลในการขยายความเจริญไปยังภาคเหนือตอนบน เพื่อรองรับการขนส่งสินค้า และการท่องเที่ยวระหว่างประเทศไทย และประเทศจีน ตลอดจนกลุ่มประเทศในอาเซียน ดังนั้น จึงควรให้ ร.ฟ.ท. และ สผ. ประสานความร่วมมือข้างต้น เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด และดำเนินโครงการได้โดยเร็วต่อไป
วันนี้ (20 มี.ค.) นายสนธิ คชวัฒน์ เลขาฯ และอนุกรรมาธิการ (กมธ.) สิ่งแวดล้อมและภัยธรรมชาติ วุฒิสภา เปิดเผยว่า ตามที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จ้างที่ปรึกษาจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) โครงการก่อสร้างทางรถไฟหลายเส้นทาง และทางรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ โดยมีงบประมาณก่อสร้างแล้ว แต่ยังไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากอีไอเอยังไม่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงาน และคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
จึงทำให้ประชาชนเสียโอกาสในการเดินทาง และงบประมาณที่ได้รับอนุมัติก็ต้องเลื่อนออกไป ดังนั้น คณะอนุ กมธ. สิ่งแวดล้อมและภัยธรรมชาติ วุฒิสภา จึงได้เชิญผู้แทนร.ฟ.ท. ผู้แทนสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) และผู้แทนสำนักงานนโยบายและแผนขนส่งและจราจร (สนข.) หารือกันโดยมีรัฐมนตรีกระทรวงคมนาคม และรัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมประชุมด้วย เพื่อผลักดันให้เกิดความร่วมมือระหว่างกระทรวง หาทางออกให้แก่อีไอเอได้รับความเห็นชอบโดยเร็ว
โดยจะต้องให้เกิดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมน้อยที่สุด รวมทั้งหามาตรการป้องกันและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน ให้อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ ซึ่งคณะอนุ กมธ.สิ่งแวดล้อมและภัยธรรมชาติ วุฒิสภา และคณะอนุ กมธ. คมนาคมทางราง มีข้อเสนอแนะ ดังต่อไปนี้ คือ
1.เนื่องจากมาตรา 47 แห่ง พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ 2535 กำหนดให้โครงการ หรือกิจกรรมซึ่งต้องจัดทำอีไอเอ ที่เป็นโครงการ หรือกิจการของส่วนราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือโครงการร่วมกับเอกชน ซึ่งต้องเสนอขอรับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีตามระเบียบของทางราชการ ให้ส่วนราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบโครงการ หรือกิจการนั้นจัดทำอีไอเอเพื่อเสนอความเห็นประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี
ซึ่งจากมาตรา 47 คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ได้ตั้งคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณาอีไอเอโครงการของรัฐ และรัฐวิสาหกิจ โครงการร่วมกับเอกชนขึ้นมาพิจารณา เพื่อให้ความเห็นประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ โดยมีเจ้าหน้าที่ สผ.เป็นฝ่ายเลขานุการ ในการกลั่นกรองความเห็นเบื้องต้นต่อคณะกรรมการผู้ชำนาญการ ดังนั้น เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการทำงาน จึงควรมีการประสานงานเบื้องต้นระหว่าง ร.ฟ.ท. และ สผ.ตั้งแต่เริ่มโครงการ (Streamline Process) ดังนี้
1.1 ในการกำหนดขอบเขตการศึกษาโครงการ (TOR Terms of Reference) ของ ร.ฟ.ท.เพื่อทำการจัดจ้างที่ปรึกษา ควรใช้แนวทางการจัดทำอีไอเอของ สผ.เป็นเกณฑ์ และจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากนักวิชาการ (Technical Hearing) ซึ่งควรเชิญหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณาอีไอเอ สผ. และผู้ทรงคุณวุฒิ มาร่วมหารือร่วมกัน เพื่อเพิ่มเติมให้ขอบเขตการศึกษามีความสมบูรณ์มากขึ้น ซึ่งจะได้ขอบเขตการศึกษาโครงการที่สมบูรณ์นำไปสู่การว่าจ้างที่ปรึกษาต่อไป
1.2 เมื่อทำการจัดจ้างที่ปรึกษาแล้ว ควรมีการแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับการศึกษา โดยให้ประธานคณะกรรมการผู้ชำนาญการในการพิจารณารายงานด้านคมนาคม หรือผู้แทนเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการกำกับการศึกษาด้วย เพื่อมอบหมายให้ที่ปรึกษาทำการศึกษาตามความเห็นของคณะกรรมการผู้ชำนาญการตั้งแต่เบื้องต้น ซึ่งจะทำให้ประเด็น หรือหัวข้อที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบสิ่งแวดล้อมได้รับการศึกษาอย่างครบถ้วน จะทำให้ง่ายต่อการพิจารณาของคณะกรรมการชำนาญการ เมื่อมีการเสนออีไอเอต่อ สผ.
1.3 เนื่องจากโครงการของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และโครงการเอกชนที่ต้องเสนอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีไม่มีการกำหนดเวลาในการพิจารณารายงานอีไอเอ หากดำเนินตามข้อ 1.1 และ 1.2 แล้ว ขอให้ สผ.ควรพิจารณาออกระเบียบเพื่อกำหนดเวลาในการพิจารณาโครงการดังกล่าวให้เท่ากับโครงการเอกชน คือ พิจารณาครั้งแรกภายใน 45 วัน พิจารณาครั้งที่สอง ภายในเวลา 30 วัน และนำเสนอต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติต่อไป
1.4 ร.ฟ.ท.ควรกำหนดเวลาให้แก่ที่ปรึกษาในการแก้ไข หรือปรับปรุงอีไอเอไว้ในสัญญาให้ชัดเจน เพื่อป้องกันไม่ให้ที่ปรึกษาใช้เวลานานเกินไปในการทำการศึกษา
2.เนื่องจากโครงการด้านคมนาคมทางบกของ ร.ฟ.ท. มีหลายโครงการที่ต้องเวนคืนที่ดิน และตัดผ่านป่าสงวนแห่งชาติ หรือพื้นที่ลุ่มน้ำ หรือผ่านพื้นที่ที่ห้ามล่าสัตว์ป่า เป็นต้น ดังนั้น จึงต้องขออนุญาตจากกรมป่าไม้ หรือกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ในการเข้าไปสำรวจ หรือทำการศึกษา ซึ่งการขออนุญาตดังกล่าวบางครั้งใช้เวลาค่อนข้างนาน และเมื่อทำการศึกษาแล้วต้องขออนุมัติใช้พื้นที่ก่อสร้างด้วย ดังนั้น เพื่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างกระทรวงคมนาคม และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
และเพื่อให้ได้ข้อสรุปในการก่อสร้างทางรถไฟผ่านพื้นที่อ่อนไหวต่อการได้รับผลกระทบสิ่งแวดล้อมดังกล่าวโดยเร็ว จึงเห็นควรจัดตั้งคณะกรรมการประสานการจัดการสิ่งแวดล้อมด้านคมนาคม ระหว่างกระทรวงคมนาคม และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อพิจารณาร่วมกันถึงรูปแบบของโครงสร้างทางรถไฟ แนวเส้นทาง ตลอดจนการขอใช้พื้นที่อนุรักษ์ตั้งแต่เบื้องต้น ซึ่งจะทำให้โครงการดังกล่าวใช้เวลาในการพิจารณาอีไอเอน้อยลง และผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเร็วขึ้น
3.เนื่องจากที่ผ่านมา การจัดทำอีไอเอใช้เวลาค่อนข้างนาน จึงขอให้ ร.ฟ.ท.และ สนข. กำกับดูแลบริษัทที่ปรึกษาอย่างเข้มงวด ตั้งแต่การเลือกที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางสำหรับงานการศึกษาด้านคมนาคมขนส่งทางราง และเจ้าหน้าที่ควรเอาใจใส่ในการตอบข้อเสนอแนะของคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณาอีไอเอ เพื่อทำให้ผ่านความเห็นชอบได้เร็วขึ้นด้วย
4.เนื่องจากโครงการก่อสร้างทางรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ มีคาวมจำเป็นและเป็นนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลในการขยายความเจริญไปยังภาคเหนือตอนบน เพื่อรองรับการขนส่งสินค้า และการท่องเที่ยวระหว่างประเทศไทย และประเทศจีน ตลอดจนกลุ่มประเทศในอาเซียน ดังนั้น จึงควรให้ ร.ฟ.ท. และ สผ. ประสานความร่วมมือข้างต้น เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด และดำเนินโครงการได้โดยเร็วต่อไป