ASTVผู้จัดการออนไลน์ -กรมประมงเตรียมหารือร่วมกับสมาคมประมง สมาคมอาหารสัตว์ไทย สมาคมปลาป่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อวางกรอบแนวทางปฏิบัติในการรับรองปลาเป็ดที่ใช้ทำปลาป่นเพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เป็นอาชีพที่มีความสำคัญอย่างยิ่งที่ผลิตอาหารโปรตีนที่มีราคาต่ำหล่อเลี้ยงคนในชาติ และยังก่อให้เกิดรายได้จากการส่งเป็นสินค้าไปจำหน่ายยังต่างประเทศ ปัจจัยสำคัญสำหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำคือ อาหารสัตว์น้ำ ซึ่งส่วนประกอบของ “ปลาป่น” เป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญ ทำให้อาหารมีโปรตีนสูง และคุณภาพดี เหมาะสมสำหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
“ปลาป่น” ของไทยในปัจจุบันร้อยละ 60-70 เป็นการนำวัสดุส่วนเหลือ เช่น หัวปลา เศษปลา จากโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารนำมาผลิต อันเป็นการเพิ่มมูลค่าของเศษวัสดุ และร้อยละ 30-40 เป็น “ปลาป่น” ที่ได้จากปลาเป็ด ซึ่งเป็นปลาขนาดเล็ก หรือเศษปลาที่ไม่สามารถนำไปใช้บริโภคได้ โดยในปี พ.ศ.2555 ประเทศไทยผลิตปลาป่นทั้งสิ้นกว่า 5 แสนตัน โดยใช้ภายในประเทศ และส่วนที่เหลือมีการส่งออกปลาป่นไปจำหน่ายยังต่างประเทศเป็นปริมาณกว่า 63,000 ตัน คิดมูลค่า 2,136 ล้านบาท
ในขณะที่ “ปลาเป็ด” เป็นผลผลิตที่ได้จากการทำการประมงทะเลซึ่งในวันนี้ถูกจับตามองเป็นอย่างยิ่งในประเด็นที่ต้องทำการประมงอย่างถูกกฎหมาย และมีความรับผิดชอบ ในวันนี้ ประเทศไทยมีผลผลิต “ปลาเป็ด” ทั้งสิ้นประมาณ 4-5 แสนตัน คิดเป็นร้อยละ 25-30 ของผลผลิตจากแหล่งทะเลทั้งหมด โดยส่วนใหญ่ ร้อยละ 55-70 เป็น “ปลาเป็ดแท้” ซึ่งหมายถึงสัตว์น้ำขนาดเล็กที่เจริญเติบโตเต็มที่แล้ว และไม่ใช้ในการบริโภค หากมีการนำสัตว์น้ำดังกล่าวไปก่อให้มูลค่าที่เพิ่มสูงขึ้นแล้วจะเป็นการใช้ทรัพยากรสัตว์น้ำอย่างคุ้มค่า
ดร.วิมล จันทรโรทัย อธิบดีกรมประมง กล่าวว่า กรมประมงให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการทำการประมงอย่างถูกต้อง และเป็นที่ยอมรับ โดยได้มีการจัดตั้งศูนย์ประสานงานการออกใบรับรองการจับสัตว์น้ำ เพื่อทำหน้าที่ในการควบคุม ดูแล ไม่ให้มีการทำประมงที่ผิดกฎหมาย (IUU Fishing) โดยมีระบบการออกใบรับรองการจับสัตว์น้ำที่สามารถจะยืนยันแหล่งที่มาของสัตว์น้ำ และวิธีการทำการประมงผ่านระบบการบันทึกในสมุดปูมเรือ
แต่เนื่องจากในปัจจุบัน กระแสการทำการประมงอย่างยั่งยืนได้ครอบคลุมถึงการนำปลาเป็ดไปทำปลาป่นเพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำด้วย กรมประมงจึงเตรียมจัดทำแนวทางการออกใบรับรองให้ครอบคลุมถึงปลาเป็ดว่าได้มาจากการทำการประมงที่ถูกต้อง ซึ่งจะได้หารือร่วมกับสมาคมประมง สมาคมอาหารสัตว์ไทย สมาคมปลาป่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อวางกรอบแนวทางปฏิบัติ อันจะเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรประมง และป้องกันการกีดกันทางการค้าโดยเฉพาะการนำปลาเป็ดมาทำปลาป่นเพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
สำหรับมาตรการต่อเนื่องที่กรมประมงได้ดำเนินการเพื่อควบคุมการทำประมงที่ผิดกฎหมาย และการอนุรักษ์ทรัพยากรประมง ได้แก่ มาตรการปิดอ่าวไทยในพื้นที่บางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี พื้นที่ 16.5 ล้านไร่ ระหว่างวันที่ 15 กุมภาพันธ์-15 พฤษภาคมของทุกปี และมาตรการปิดอ่าวฝั่งอันดามันในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต พังงา กระบี่ และตรัง ระหว่างวันที่ 1 เมษายน-30 มิถุนายนของทุกปี เพื่อเพิ่มโอกาสให้สัตว์น้ำได้วางไข่ และเลี้ยงตัวในวัยอ่อน และเป็นการป้องกันการทำประมงเกินศักยภาพ ซึ่งมาตรการดังกล่าวทำให้สัตว์น้ำมีผลผลิตเพิ่มขึ้น 2.34 เท่า เมื่อเทียบกับผลผลิตก่อนมาตรการปิดอ่าว
นอกจากนี้ กรมประมงยังได้ดำเนินการจัดสร้างแหล่งที่อยู่อาศัยสัตว์ทะเล หรือปะการังเทียม ซึ่งดำเนินการไปแล้ว 472 แห่ง ในพื้นที่ 22 จังหวัด เป็นการเพิ่มทรัพยากรประมงและป้องกันการทำการประมงจากเรือขนาดใหญ่ อีกทั้งยังมีนโยบายในการที่จะขยายพื้นที่เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำบริเวณชายฝั่งให้เพิ่มมากขึ้นจาก 3,000 เมตร เป็น 5,400 เมตร และมาตรการปิดอ่าวไทยรูปตัว ก
ในปีที่ผ่านมา กรมประมงได้ดำเนินการควบคุม และจับกุมดำเนินคดีกรณีทำการประมงผิดกฎหมาย ปีละไม่ต่ำกว่า 400 คดี จึงส่งผลให้ทรัพยากรสัตว์น้ำในน่านน้ำไทยอยู่ในสภาวะสมดุล
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เป็นอาชีพที่มีความสำคัญอย่างยิ่งที่ผลิตอาหารโปรตีนที่มีราคาต่ำหล่อเลี้ยงคนในชาติ และยังก่อให้เกิดรายได้จากการส่งเป็นสินค้าไปจำหน่ายยังต่างประเทศ ปัจจัยสำคัญสำหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำคือ อาหารสัตว์น้ำ ซึ่งส่วนประกอบของ “ปลาป่น” เป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญ ทำให้อาหารมีโปรตีนสูง และคุณภาพดี เหมาะสมสำหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
“ปลาป่น” ของไทยในปัจจุบันร้อยละ 60-70 เป็นการนำวัสดุส่วนเหลือ เช่น หัวปลา เศษปลา จากโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารนำมาผลิต อันเป็นการเพิ่มมูลค่าของเศษวัสดุ และร้อยละ 30-40 เป็น “ปลาป่น” ที่ได้จากปลาเป็ด ซึ่งเป็นปลาขนาดเล็ก หรือเศษปลาที่ไม่สามารถนำไปใช้บริโภคได้ โดยในปี พ.ศ.2555 ประเทศไทยผลิตปลาป่นทั้งสิ้นกว่า 5 แสนตัน โดยใช้ภายในประเทศ และส่วนที่เหลือมีการส่งออกปลาป่นไปจำหน่ายยังต่างประเทศเป็นปริมาณกว่า 63,000 ตัน คิดมูลค่า 2,136 ล้านบาท
ในขณะที่ “ปลาเป็ด” เป็นผลผลิตที่ได้จากการทำการประมงทะเลซึ่งในวันนี้ถูกจับตามองเป็นอย่างยิ่งในประเด็นที่ต้องทำการประมงอย่างถูกกฎหมาย และมีความรับผิดชอบ ในวันนี้ ประเทศไทยมีผลผลิต “ปลาเป็ด” ทั้งสิ้นประมาณ 4-5 แสนตัน คิดเป็นร้อยละ 25-30 ของผลผลิตจากแหล่งทะเลทั้งหมด โดยส่วนใหญ่ ร้อยละ 55-70 เป็น “ปลาเป็ดแท้” ซึ่งหมายถึงสัตว์น้ำขนาดเล็กที่เจริญเติบโตเต็มที่แล้ว และไม่ใช้ในการบริโภค หากมีการนำสัตว์น้ำดังกล่าวไปก่อให้มูลค่าที่เพิ่มสูงขึ้นแล้วจะเป็นการใช้ทรัพยากรสัตว์น้ำอย่างคุ้มค่า
ดร.วิมล จันทรโรทัย อธิบดีกรมประมง กล่าวว่า กรมประมงให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการทำการประมงอย่างถูกต้อง และเป็นที่ยอมรับ โดยได้มีการจัดตั้งศูนย์ประสานงานการออกใบรับรองการจับสัตว์น้ำ เพื่อทำหน้าที่ในการควบคุม ดูแล ไม่ให้มีการทำประมงที่ผิดกฎหมาย (IUU Fishing) โดยมีระบบการออกใบรับรองการจับสัตว์น้ำที่สามารถจะยืนยันแหล่งที่มาของสัตว์น้ำ และวิธีการทำการประมงผ่านระบบการบันทึกในสมุดปูมเรือ
แต่เนื่องจากในปัจจุบัน กระแสการทำการประมงอย่างยั่งยืนได้ครอบคลุมถึงการนำปลาเป็ดไปทำปลาป่นเพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำด้วย กรมประมงจึงเตรียมจัดทำแนวทางการออกใบรับรองให้ครอบคลุมถึงปลาเป็ดว่าได้มาจากการทำการประมงที่ถูกต้อง ซึ่งจะได้หารือร่วมกับสมาคมประมง สมาคมอาหารสัตว์ไทย สมาคมปลาป่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อวางกรอบแนวทางปฏิบัติ อันจะเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรประมง และป้องกันการกีดกันทางการค้าโดยเฉพาะการนำปลาเป็ดมาทำปลาป่นเพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
สำหรับมาตรการต่อเนื่องที่กรมประมงได้ดำเนินการเพื่อควบคุมการทำประมงที่ผิดกฎหมาย และการอนุรักษ์ทรัพยากรประมง ได้แก่ มาตรการปิดอ่าวไทยในพื้นที่บางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี พื้นที่ 16.5 ล้านไร่ ระหว่างวันที่ 15 กุมภาพันธ์-15 พฤษภาคมของทุกปี และมาตรการปิดอ่าวฝั่งอันดามันในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต พังงา กระบี่ และตรัง ระหว่างวันที่ 1 เมษายน-30 มิถุนายนของทุกปี เพื่อเพิ่มโอกาสให้สัตว์น้ำได้วางไข่ และเลี้ยงตัวในวัยอ่อน และเป็นการป้องกันการทำประมงเกินศักยภาพ ซึ่งมาตรการดังกล่าวทำให้สัตว์น้ำมีผลผลิตเพิ่มขึ้น 2.34 เท่า เมื่อเทียบกับผลผลิตก่อนมาตรการปิดอ่าว
นอกจากนี้ กรมประมงยังได้ดำเนินการจัดสร้างแหล่งที่อยู่อาศัยสัตว์ทะเล หรือปะการังเทียม ซึ่งดำเนินการไปแล้ว 472 แห่ง ในพื้นที่ 22 จังหวัด เป็นการเพิ่มทรัพยากรประมงและป้องกันการทำการประมงจากเรือขนาดใหญ่ อีกทั้งยังมีนโยบายในการที่จะขยายพื้นที่เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำบริเวณชายฝั่งให้เพิ่มมากขึ้นจาก 3,000 เมตร เป็น 5,400 เมตร และมาตรการปิดอ่าวไทยรูปตัว ก
ในปีที่ผ่านมา กรมประมงได้ดำเนินการควบคุม และจับกุมดำเนินคดีกรณีทำการประมงผิดกฎหมาย ปีละไม่ต่ำกว่า 400 คดี จึงส่งผลให้ทรัพยากรสัตว์น้ำในน่านน้ำไทยอยู่ในสภาวะสมดุล