การที่ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อนเหนือเส้นศูนย์สูตรเพียงเล็กน้อยทำให้ระบบนิวเวศทางทะเลและชายฝั่งของประเทศมีความหลากหลายมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ประกอบกับการมีชายฝั่งทะเลที่ทอดยาวกว่าสองพันกิโลเมตรทำให้เราได้เปรียบประเทศอื่นๆ อีกหลายประเทศ ทั้งในเรื่องความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรประมงที่มีหลากหลายชนิดและมีปริมาณมากมายมหาศาล ตลอดจนความกว้างใหญ่ของอาณาเขตพื้นที่ทะเลให้ชาวประมงไทยได้ทำมาหากินกันด้วยลักษณะทางธรรมชาติของทะเลในเขตร้อนทำให้องค์ประกอบชนิดของปลาในทะเลมีความหลากหลาย (Multi Species Composition) มากกว่าทะเลในเขตอบอุ่นซึ่งมีองค์ประกอบชนิดของปลาที่มีความหลากหลายน้อยกว่า (Single Specie Composition)
ดังนั้น การทำประมงของไทยที่เป็นการทำประมงขนาดใหญ่ซึ่งใช้เครื่องมือประมงที่มีประสิทธิภาพสูงในการจับสัตว์น้ำ เช่น เครื่องมือประมงอวนลาก หรือการทำประมงที่ใช้เครื่องมือประมงที่ไม่เลือกจับชนิดสัตว์น้ำ เช่น อวนรุน โพงพาง เป็นต้น จะจับปลาได้หลากหลายชนิดและหลากหลายขนาดในการทำประมงแต่ละครั้ง ดังตัวอย่างงานวิจัยของกรมประมงที่ได้เสนอไว้ว่าองค์ประกอบของผลผลิตสัตว์น้ำอวนลากมีสัดส่วนของสัตว์น้ำที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจที่ต้องการ (targeted species) มีเพียงร้อยละ 33.3 ที่เหลือเป็นปลาเป็ด (ไม่สามารถใช้บริโภค ใช้สำหรับผลิตอาหารสัตว์) ถึงร้อยละ 66.7 และร้อยละ 30.1 ของปลาเป็ดทั้งหมดเป็นสัดส่วนของสัตว์น้ำที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจวัยอ่อน (Chantawong, 1993) ซึ่งถ้าคำนวณร้อยละ 30 ของสัตว์น้ำเศรษฐกิจวัยอ่อนที่สูญเสียไปของผลผลิตสัตว์น้ำของอวนลากทั้งหมดทั่วประเทศจะเห็นว่าเป็นตัวเลขมูลค่าทางเศรษฐกิจที่สูญเสียไปอย่างมหาศาลในแต่ละปี
ในอดีตการผลิตปลาป่นเพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์ถือว่าเป็นอุตสาหกรรมต่อเนื่องจากอุตสาหกรรมการประมง โดยจะใช้ของเหลือจากการทำประมงหรือที่เรียกว่า “ปลาเป็ด” ซึ่งประกอบด้วยปลาที่ไม่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจเพราะไม่เป็นที่นิยมรับประทานกัน และ/หรือปลาที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงแต่มีขนาดเล็กเกินไป เช่น ลูกปลาอินทรีย์ ปลาทู ปลาเก๋า ปลากระพง เป็นต้น ที่ติดมากับเครื่องมือประมงมาเป็นวัตถุดิบในการผลิต “ปลาป่น” เพื่อนำไปใช้เลี้ยงกุ้งในฟาร์มเป็นหลัก และใช้ในการเลี้ยงสัตว์ชนิดอื่นๆ รองลงไป แต่หลังจากอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะสัตว์ปีกในประเทศไทยได้พัฒนาขึ้นเป็นอย่างมากและรวดเร็วในระยะเวลากว่า 20 ปีที่ผ่านมา ทำให้การผลิตปลาป่นกลายเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมการผลิตอาหารสัตว์ของประเทศ ที่มีการกำหนดเป้าหมายการผลิตและปริมาณความต้องการผลผลิตปลาป่นที่ชัดเจนขึ้น การเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ที่ไม่มีขีดจำกัดเพื่อเป็นอาหารของคนในประเทศและเพื่อการส่งออกส่งผลให้ความต้องการปลาป่นมีปริมาณสูงขึ้นเรื่อย ๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
เมื่อความต้องการผลผลิตปลาป่นมีปริมาณที่สูงขึ้น ส่งผลให้ชาวประมงขนาดใหญ่จำนวนหนึ่งปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำประมงให้ตอบสนองกับความต้องการนี้ ตัวอย่างเช่น ในประมาณปี พ.ศ. 2545 ผู้เขียนได้รับข้อมูลมาว่าในฤดูปิดอ่าวไทยในเขตจังหวัดประจวบคีรีขันธ์พื่อให้ปลาทูวางไข่และเจริญเติบโต มีเรือประมงอวนล้อมปันไฟขนาดใหญ่เข้ามาแอบลักลอบจับลูกปลาทูในเขตห้ามทำการประมงเพื่อนำไปขายให้กับโรงงานปลาป่นด้วยราคาเพียง 5 บาทต่อกิโลกรัม (ขณะนั้นราคาปลาขนาดปกติซื้อขายที่แพปลาราคา 17 บาทต่อกิโลกรัม) อวนล้อมแต่ละลำสามารถจับลูกปลาทูได้ประมาณ 10 – 20 ตันต่อคืน ทำให้ลูกปลาทูถูกจับอย่างมากมายมหาศาลในช่วงฤดูวางไข่ของแต่ละปี หรือตัวอย่างของการทำประมงอวนลากที่ทำประมงอย่างต่อเนื่องโดยไม่มีการหยุดพัก เพราะถึงแม้ว่าการทำประมงในบางช่วงเวลาจะไม่สามารถจับปลาเศรษฐกิจเป้าหมายได้อย่างที่ตั้งใจ แต่เรืออวนลากเหล่านี้ก็ยังสามารถจับปลาเป็ดขายให้กับโรงงานปลาป่นได้
อาจกล่าวได้ว่าอุตสาหกรรมปลาป่นได้สร้างแรงจูงใจให้เกิดการทำประมงอย่างเอารัดเอาเปรียบธรรมชาติ ทะเลไม่มีโอกาสฟื้นตัว และลูกปลาวัยอ่อนมีโอกาสถูกจับมากกว่าได้เจริญเติบโตเพื่อขยายพันธุ์ต่อไป ปลาเป็ดที่ขายให้กับโรงงานปลาป่นมาจากการทำประมงขนาดใหญ่ ที่เน้นจับปลาในปริมาณมาก ไม่เลือกชนิดสัตว์น้ำ จับมาก่อนและค่อยคัดแยกทีหลัง ในขณะที่ผลผลิตที่มาจากเรือประมงขนาดเล็กส่วนใหญ่จะเป็นการใช้เครื่องมือจับสัตว์น้ำที่เหมาะสมเพื่อให้ได้ชนิดและขนาดที่เหมาะสมของสัตว์น้ำเป้าหมายดังที่ตั้งใจไว้ เช่น ถ้าจะจับปูม้าก็ใช้อวนลอยปู จับกุ้งก็จะใช้อวนลอยกุ้งสามชั้น จับหมึกหอมก็จะใช้ลอบหมึก หรือจับปลากระบอกก็จะใช้อวนลอยปลากระบอก เป็นต้น อาจจะมีสัตว์น้ำชนิดอื่นๆ ติดมาบ้าง ก็จะถูกนำมาเป็นอาหารสำหรับสมาชิกในครัวเรือน
เป็นที่รับรู้กันทั่วไปว่าปลาทะเลเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ และมีคุณต่อสุขภาพสูงกว่าเนื้อสัตว์ประเภทไก่ หมู และเนื้อวัว แต่ปลาทะเลที่มีคุณค่าและมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงกลับถูกตัดวงจรชีวิตถูกจับมาแปรรูปเพื่อเป็นอาหารเลี้ยงสัตว์เหล่านี้การกระทำเช่นนี้ขัดแย้งกับสำนวนไทยที่ว่า “เอากุ้งฝอยมาตกปลากระพง” ซึ่งหมายถึงการเอาสิ่งใดๆ ที่มีมูลค่าต่ำมาแลกเปลี่ยน หรือมาทำให้เกิดสิ่งอื่นๆ ที่มีมูลค่าสูงกว่าเพราะเรากำลังเอา “ปลากระพงไปเลี้ยงกุ้งฝอย” ซึ่งปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นได้เพราะ * “ปลากระพง” นั้นไม่มีเจ้าของเป็นสมบัติสาธารณะ ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบของรัฐไม่สามารถบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะที่ “กุ้งฝอย” กลับเป็นของบริษัทผลิตปลาป่น และอาหารรายใหญ่ของประเทศ
ดังนั้น การทำประมงของไทยที่เป็นการทำประมงขนาดใหญ่ซึ่งใช้เครื่องมือประมงที่มีประสิทธิภาพสูงในการจับสัตว์น้ำ เช่น เครื่องมือประมงอวนลาก หรือการทำประมงที่ใช้เครื่องมือประมงที่ไม่เลือกจับชนิดสัตว์น้ำ เช่น อวนรุน โพงพาง เป็นต้น จะจับปลาได้หลากหลายชนิดและหลากหลายขนาดในการทำประมงแต่ละครั้ง ดังตัวอย่างงานวิจัยของกรมประมงที่ได้เสนอไว้ว่าองค์ประกอบของผลผลิตสัตว์น้ำอวนลากมีสัดส่วนของสัตว์น้ำที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจที่ต้องการ (targeted species) มีเพียงร้อยละ 33.3 ที่เหลือเป็นปลาเป็ด (ไม่สามารถใช้บริโภค ใช้สำหรับผลิตอาหารสัตว์) ถึงร้อยละ 66.7 และร้อยละ 30.1 ของปลาเป็ดทั้งหมดเป็นสัดส่วนของสัตว์น้ำที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจวัยอ่อน (Chantawong, 1993) ซึ่งถ้าคำนวณร้อยละ 30 ของสัตว์น้ำเศรษฐกิจวัยอ่อนที่สูญเสียไปของผลผลิตสัตว์น้ำของอวนลากทั้งหมดทั่วประเทศจะเห็นว่าเป็นตัวเลขมูลค่าทางเศรษฐกิจที่สูญเสียไปอย่างมหาศาลในแต่ละปี
ในอดีตการผลิตปลาป่นเพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์ถือว่าเป็นอุตสาหกรรมต่อเนื่องจากอุตสาหกรรมการประมง โดยจะใช้ของเหลือจากการทำประมงหรือที่เรียกว่า “ปลาเป็ด” ซึ่งประกอบด้วยปลาที่ไม่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจเพราะไม่เป็นที่นิยมรับประทานกัน และ/หรือปลาที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงแต่มีขนาดเล็กเกินไป เช่น ลูกปลาอินทรีย์ ปลาทู ปลาเก๋า ปลากระพง เป็นต้น ที่ติดมากับเครื่องมือประมงมาเป็นวัตถุดิบในการผลิต “ปลาป่น” เพื่อนำไปใช้เลี้ยงกุ้งในฟาร์มเป็นหลัก และใช้ในการเลี้ยงสัตว์ชนิดอื่นๆ รองลงไป แต่หลังจากอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะสัตว์ปีกในประเทศไทยได้พัฒนาขึ้นเป็นอย่างมากและรวดเร็วในระยะเวลากว่า 20 ปีที่ผ่านมา ทำให้การผลิตปลาป่นกลายเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมการผลิตอาหารสัตว์ของประเทศ ที่มีการกำหนดเป้าหมายการผลิตและปริมาณความต้องการผลผลิตปลาป่นที่ชัดเจนขึ้น การเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ที่ไม่มีขีดจำกัดเพื่อเป็นอาหารของคนในประเทศและเพื่อการส่งออกส่งผลให้ความต้องการปลาป่นมีปริมาณสูงขึ้นเรื่อย ๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
เมื่อความต้องการผลผลิตปลาป่นมีปริมาณที่สูงขึ้น ส่งผลให้ชาวประมงขนาดใหญ่จำนวนหนึ่งปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำประมงให้ตอบสนองกับความต้องการนี้ ตัวอย่างเช่น ในประมาณปี พ.ศ. 2545 ผู้เขียนได้รับข้อมูลมาว่าในฤดูปิดอ่าวไทยในเขตจังหวัดประจวบคีรีขันธ์พื่อให้ปลาทูวางไข่และเจริญเติบโต มีเรือประมงอวนล้อมปันไฟขนาดใหญ่เข้ามาแอบลักลอบจับลูกปลาทูในเขตห้ามทำการประมงเพื่อนำไปขายให้กับโรงงานปลาป่นด้วยราคาเพียง 5 บาทต่อกิโลกรัม (ขณะนั้นราคาปลาขนาดปกติซื้อขายที่แพปลาราคา 17 บาทต่อกิโลกรัม) อวนล้อมแต่ละลำสามารถจับลูกปลาทูได้ประมาณ 10 – 20 ตันต่อคืน ทำให้ลูกปลาทูถูกจับอย่างมากมายมหาศาลในช่วงฤดูวางไข่ของแต่ละปี หรือตัวอย่างของการทำประมงอวนลากที่ทำประมงอย่างต่อเนื่องโดยไม่มีการหยุดพัก เพราะถึงแม้ว่าการทำประมงในบางช่วงเวลาจะไม่สามารถจับปลาเศรษฐกิจเป้าหมายได้อย่างที่ตั้งใจ แต่เรืออวนลากเหล่านี้ก็ยังสามารถจับปลาเป็ดขายให้กับโรงงานปลาป่นได้
อาจกล่าวได้ว่าอุตสาหกรรมปลาป่นได้สร้างแรงจูงใจให้เกิดการทำประมงอย่างเอารัดเอาเปรียบธรรมชาติ ทะเลไม่มีโอกาสฟื้นตัว และลูกปลาวัยอ่อนมีโอกาสถูกจับมากกว่าได้เจริญเติบโตเพื่อขยายพันธุ์ต่อไป ปลาเป็ดที่ขายให้กับโรงงานปลาป่นมาจากการทำประมงขนาดใหญ่ ที่เน้นจับปลาในปริมาณมาก ไม่เลือกชนิดสัตว์น้ำ จับมาก่อนและค่อยคัดแยกทีหลัง ในขณะที่ผลผลิตที่มาจากเรือประมงขนาดเล็กส่วนใหญ่จะเป็นการใช้เครื่องมือจับสัตว์น้ำที่เหมาะสมเพื่อให้ได้ชนิดและขนาดที่เหมาะสมของสัตว์น้ำเป้าหมายดังที่ตั้งใจไว้ เช่น ถ้าจะจับปูม้าก็ใช้อวนลอยปู จับกุ้งก็จะใช้อวนลอยกุ้งสามชั้น จับหมึกหอมก็จะใช้ลอบหมึก หรือจับปลากระบอกก็จะใช้อวนลอยปลากระบอก เป็นต้น อาจจะมีสัตว์น้ำชนิดอื่นๆ ติดมาบ้าง ก็จะถูกนำมาเป็นอาหารสำหรับสมาชิกในครัวเรือน
เป็นที่รับรู้กันทั่วไปว่าปลาทะเลเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ และมีคุณต่อสุขภาพสูงกว่าเนื้อสัตว์ประเภทไก่ หมู และเนื้อวัว แต่ปลาทะเลที่มีคุณค่าและมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงกลับถูกตัดวงจรชีวิตถูกจับมาแปรรูปเพื่อเป็นอาหารเลี้ยงสัตว์เหล่านี้การกระทำเช่นนี้ขัดแย้งกับสำนวนไทยที่ว่า “เอากุ้งฝอยมาตกปลากระพง” ซึ่งหมายถึงการเอาสิ่งใดๆ ที่มีมูลค่าต่ำมาแลกเปลี่ยน หรือมาทำให้เกิดสิ่งอื่นๆ ที่มีมูลค่าสูงกว่าเพราะเรากำลังเอา “ปลากระพงไปเลี้ยงกุ้งฝอย” ซึ่งปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นได้เพราะ * “ปลากระพง” นั้นไม่มีเจ้าของเป็นสมบัติสาธารณะ ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบของรัฐไม่สามารถบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะที่ “กุ้งฝอย” กลับเป็นของบริษัทผลิตปลาป่น และอาหารรายใหญ่ของประเทศ