ศูนย์ข่าวภูเก็ต - ชาวบ้านท่าฉัตรไชยพบปูไก่อีก 1 ตัว ระบุเป็นสายพันธุ์ที่ไม่เคยพบที่ภูเก็ต แตกต่างจากปูไก่ที่เจ้าหน้าที่พบก่อนหน้านี้ ลักษณะกระดองเป็นสี่เหลี่ยมคางหมู จัดทีมสำรวจก่อนประกาศเป็นพื้นที่อนุรักษ์ปูไก่ต่อไป
นายสุรชาญ สารบัญ หัวหน้าฝ่ายวิจัย และติดตามทรัพยากร ศูนย์นวัตกรรมอุทยานแห่งชาติและพื้นที่คุ้มครองทางทะเล จ.ภูเก็ต เปิดเผย ว่า เมื่อช่วงเช้า 7 ต.ค.ที่ผ่านมา มีชาวบ้านบ้านท่าฉัตรไชย ต.ไม้ขาว อ.ถลาง จ.ภูเก็ต พบปูไก่อีก 1 ตัว และนำมาส่งให้แก่เจ้าหน้าที่ ซึ่งจากการตรวจสอบในเบื้องต้นเชื่อว่าปูไก่ที่พบล่าสุดน่าจะเป็นสายพันธุ์ที่ไม่เคยพบมาก่อนในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นคนละสายพันธุ์ที่เจ้าหน้าที่พบเมื่อวันที่ 3 ต.ค.ที่ผ่านมา
“เนื่องจากปูตัวที่พบล่าสุด ลักษณะกระดองของปูเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู สีตัว และกระดองออกเป็นสีม่วง และปูชนิดนี้จะพบอาศัยอยู่ตามเกาะที่มีทะเลลึก เช่น เกาะสิมิลัน ซึ่งต่างจากปูไก่ที่พบก่อนหน้านี้ที่กระดองเป็นวงรี และสีผิวจะซีดกว่า และเคยพบมาแล้วหลายครั้ง”
นายสุรชาญ กล่าวต่อไปว่า ชาวบ้านพบปูไก่ตัวนี้ขึ้นมาหากินอาหารที่บริเวณเล้าไก่ข้างป่าชายเลนอุทยานแห่งชาติสิรินาถ บ้านท่าฉัตรไชย ตำบลไม้ขาว อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต จึงนำมาศึกษาวิจัยหาข้อมูลและพฤติกรรมของปูไก่ชนิดนี้ ซึ่งเชื่อว่าพื้นที่บริเวณนี้อาจจะเป็นพื้นที่ที่มีปูไก่สายพันธุ์นี้อาศัยอยู่ เพราะก่อนหน้านี้ เมื่อประมาณ 30 ปีที่แล้ว ป่าชายเลน และป่าชายหาดบ้านท่าฉัตรไชยแห่งนี้มีความอุดมสมบรูณ์ แต่หลังจากความเจริญเข้ามาก็ถูกบุกรุก และแผ้วถาง และประมาณ 10 ปีที่แล้ว ทางหน่วยงานราชการ ประชาชนก็ร่วมกันปลูกป่าทดแทน และฟื้นฟูสภาพป่าชายเลนในพื้นที่ดังกล่าว จนกระทั่งปัจจุบันพบว่า พื้นที่ป่าชายเลน และป่าชายหาดบ้านท่าฉัตรไชยกลับมาอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง และจากความอุดมสมบูรณ์ของป่าชายเลน ประกอบกับสภาพน้ำเป็นน้ำกร่อยที่ไม่เค็ม และไม่จืดจนเกินไปน่าจะเหมาะเป็นแหล่งอาศัยของปูไก่ และเป็นแหล่งขยายพันธุ์ของปู ซึ่งปูไก่ที่พบเป็นปูเพศเมียแรกรุ่น และคาดว่าน่าจะขึ้นมาวางไข่ เพราะช่วงนี้เป็นช่วงฤดูวางไข่ของปูชนิดต่างๆ
นายสุรชาญ กล่าวต่อไปว่า ขณะนี้หากชาวบ้าน หรือนักท่องเที่ยวพบเห็นปูไก่ ให้จับนำส่งที่สถาบันวิจัยที่บ้านท่าฉัตรไชย ด้วยมานำมาใช้สำหรับศึกษาวิจัย และปูชนิดนี้จะออกหากินในช่วงกลางคืน และจะมีเสียงร้องคล้ายเสียงลูกไก่ และลักษณะของปูเท้าหลังจะแตกต่างกับปูชนิดอื่น ซึ่งที่ขาหลังมีกรรเชียง แต่ปูชนิดนี้จะมีขาเดินเหมือนปูนา
“อย่างไรก็ตาม สำหรับการพบปูไก่ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตจากการตรวจสอบสถิติยังไม่มีรายงานอย่างเป็นทางการว่ามีการกระจายพันธุ์อยู่บริเวณพื้นที่ใดของจังหวัดภูเก็ต แต่เมื่อมีการเจอปูไก่ ณ จุดนี้ก็ต้องทำการศึกษาว่าเป็นแหล่งอาศัยของปูไก่หรือเปล่า มีการกระจายพันธุ์มากน้อยแค่ไหน หรือพื้นที่อื่นๆ ของเกาะภูเก็ตมีปูชนิดนี้อาศัยอยู่หรือไม่ เพราะฉะนั้น หลังจากมีการพบปูไก่บริเวณชายหาดท่าฉัตรไชยแล้ว สิ่งที่ต้องทำหลังจากนี้คือ การศึกษาวิจัย ถ้าพบจุดนี้แหล่งอาศัยของปูไก่ก็จะต้องกำหนดพื้นที่ได้ชัดเจนขึ้น เพื่อเป็นการคุ้มครองป้องกันให้เป็นพื้นที่ที่มีความปลอดภัยต่อปูไก่ และขยายพันธุ์ หรืออยู่คู่กับพื้นที่ต่อไปได้นานๆ” นายสุรชาญ กล่าว และว่า
สำหรับการสำรวจที่อยู่อาศัยของปูไก่ ตอนนี้เริ่มส่งเจ้าหน้าที่เดินสำรวจ ซึ่งจริงๆ แล้วก่อนหน้านี้ก็มีการพบปูไก่ที่บริเวณศูนย์นวัตกรรมฯ มาแล้วตั้งแต่ปี 2544 พบจำนวน 1 ตัว ปี 2552 พบ 1 ตัว บริเวณโรงจอดรถของศูนย์ฯ และปี 2554 พบ 2 ตัว บริเวณด้านข้างของที่ทำการของหน่วยคุ้มภัย ใกล้ชายหาดบ้านท่าฉัตรไชย และปีนี้พบแล้ว จำนวน 2 ตัว บริเวณบ้านพักเจ้าหน้าที่ของศูนย์นวัตกรรมฯ และที่บริเวณเล้าไก่ใกล้กับป่าชายเลนบ้านท่าฉัตรไชย เมื่อมีสถิติการพบที่ถี่ขึ้นก็ต้องติดตามมากขึ้น เมื่อก่อนมีความพยายามติดตามไปหาแหล่งที่อยู่อาศัยของปู และติดดักถ่ายภาพสัตว์ในเวลากลางคืนแต่ก็ไม่พบตัว ซึ่งตอนนี้ก็ได้เอากล้องไปติดในจุดที่คิดว่าเป็นรูของปูไก่แต่ก็ยังไม่พบเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม สำหรับป่าชายหาดบ้านท่าฉัตรไชยแห่งนี้ถือว่าเป็นป่าชายหาดผืนสุดท้ายของภูเก็ตที่ค่อนข้างจะสมบูรณ์ จึงเป็นไปได้ที่ปูไก่เหล่านี้จะใช้พื้นที่ดังกล่าวเป็นที่สร้างรัง และขยายพันธุ์
นายสุรชาญ สารบัญ หัวหน้าฝ่ายวิจัย และติดตามทรัพยากร ศูนย์นวัตกรรมอุทยานแห่งชาติและพื้นที่คุ้มครองทางทะเล จ.ภูเก็ต เปิดเผย ว่า เมื่อช่วงเช้า 7 ต.ค.ที่ผ่านมา มีชาวบ้านบ้านท่าฉัตรไชย ต.ไม้ขาว อ.ถลาง จ.ภูเก็ต พบปูไก่อีก 1 ตัว และนำมาส่งให้แก่เจ้าหน้าที่ ซึ่งจากการตรวจสอบในเบื้องต้นเชื่อว่าปูไก่ที่พบล่าสุดน่าจะเป็นสายพันธุ์ที่ไม่เคยพบมาก่อนในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นคนละสายพันธุ์ที่เจ้าหน้าที่พบเมื่อวันที่ 3 ต.ค.ที่ผ่านมา
“เนื่องจากปูตัวที่พบล่าสุด ลักษณะกระดองของปูเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู สีตัว และกระดองออกเป็นสีม่วง และปูชนิดนี้จะพบอาศัยอยู่ตามเกาะที่มีทะเลลึก เช่น เกาะสิมิลัน ซึ่งต่างจากปูไก่ที่พบก่อนหน้านี้ที่กระดองเป็นวงรี และสีผิวจะซีดกว่า และเคยพบมาแล้วหลายครั้ง”
นายสุรชาญ กล่าวต่อไปว่า ชาวบ้านพบปูไก่ตัวนี้ขึ้นมาหากินอาหารที่บริเวณเล้าไก่ข้างป่าชายเลนอุทยานแห่งชาติสิรินาถ บ้านท่าฉัตรไชย ตำบลไม้ขาว อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต จึงนำมาศึกษาวิจัยหาข้อมูลและพฤติกรรมของปูไก่ชนิดนี้ ซึ่งเชื่อว่าพื้นที่บริเวณนี้อาจจะเป็นพื้นที่ที่มีปูไก่สายพันธุ์นี้อาศัยอยู่ เพราะก่อนหน้านี้ เมื่อประมาณ 30 ปีที่แล้ว ป่าชายเลน และป่าชายหาดบ้านท่าฉัตรไชยแห่งนี้มีความอุดมสมบรูณ์ แต่หลังจากความเจริญเข้ามาก็ถูกบุกรุก และแผ้วถาง และประมาณ 10 ปีที่แล้ว ทางหน่วยงานราชการ ประชาชนก็ร่วมกันปลูกป่าทดแทน และฟื้นฟูสภาพป่าชายเลนในพื้นที่ดังกล่าว จนกระทั่งปัจจุบันพบว่า พื้นที่ป่าชายเลน และป่าชายหาดบ้านท่าฉัตรไชยกลับมาอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง และจากความอุดมสมบูรณ์ของป่าชายเลน ประกอบกับสภาพน้ำเป็นน้ำกร่อยที่ไม่เค็ม และไม่จืดจนเกินไปน่าจะเหมาะเป็นแหล่งอาศัยของปูไก่ และเป็นแหล่งขยายพันธุ์ของปู ซึ่งปูไก่ที่พบเป็นปูเพศเมียแรกรุ่น และคาดว่าน่าจะขึ้นมาวางไข่ เพราะช่วงนี้เป็นช่วงฤดูวางไข่ของปูชนิดต่างๆ
นายสุรชาญ กล่าวต่อไปว่า ขณะนี้หากชาวบ้าน หรือนักท่องเที่ยวพบเห็นปูไก่ ให้จับนำส่งที่สถาบันวิจัยที่บ้านท่าฉัตรไชย ด้วยมานำมาใช้สำหรับศึกษาวิจัย และปูชนิดนี้จะออกหากินในช่วงกลางคืน และจะมีเสียงร้องคล้ายเสียงลูกไก่ และลักษณะของปูเท้าหลังจะแตกต่างกับปูชนิดอื่น ซึ่งที่ขาหลังมีกรรเชียง แต่ปูชนิดนี้จะมีขาเดินเหมือนปูนา
“อย่างไรก็ตาม สำหรับการพบปูไก่ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตจากการตรวจสอบสถิติยังไม่มีรายงานอย่างเป็นทางการว่ามีการกระจายพันธุ์อยู่บริเวณพื้นที่ใดของจังหวัดภูเก็ต แต่เมื่อมีการเจอปูไก่ ณ จุดนี้ก็ต้องทำการศึกษาว่าเป็นแหล่งอาศัยของปูไก่หรือเปล่า มีการกระจายพันธุ์มากน้อยแค่ไหน หรือพื้นที่อื่นๆ ของเกาะภูเก็ตมีปูชนิดนี้อาศัยอยู่หรือไม่ เพราะฉะนั้น หลังจากมีการพบปูไก่บริเวณชายหาดท่าฉัตรไชยแล้ว สิ่งที่ต้องทำหลังจากนี้คือ การศึกษาวิจัย ถ้าพบจุดนี้แหล่งอาศัยของปูไก่ก็จะต้องกำหนดพื้นที่ได้ชัดเจนขึ้น เพื่อเป็นการคุ้มครองป้องกันให้เป็นพื้นที่ที่มีความปลอดภัยต่อปูไก่ และขยายพันธุ์ หรืออยู่คู่กับพื้นที่ต่อไปได้นานๆ” นายสุรชาญ กล่าว และว่า
สำหรับการสำรวจที่อยู่อาศัยของปูไก่ ตอนนี้เริ่มส่งเจ้าหน้าที่เดินสำรวจ ซึ่งจริงๆ แล้วก่อนหน้านี้ก็มีการพบปูไก่ที่บริเวณศูนย์นวัตกรรมฯ มาแล้วตั้งแต่ปี 2544 พบจำนวน 1 ตัว ปี 2552 พบ 1 ตัว บริเวณโรงจอดรถของศูนย์ฯ และปี 2554 พบ 2 ตัว บริเวณด้านข้างของที่ทำการของหน่วยคุ้มภัย ใกล้ชายหาดบ้านท่าฉัตรไชย และปีนี้พบแล้ว จำนวน 2 ตัว บริเวณบ้านพักเจ้าหน้าที่ของศูนย์นวัตกรรมฯ และที่บริเวณเล้าไก่ใกล้กับป่าชายเลนบ้านท่าฉัตรไชย เมื่อมีสถิติการพบที่ถี่ขึ้นก็ต้องติดตามมากขึ้น เมื่อก่อนมีความพยายามติดตามไปหาแหล่งที่อยู่อาศัยของปู และติดดักถ่ายภาพสัตว์ในเวลากลางคืนแต่ก็ไม่พบตัว ซึ่งตอนนี้ก็ได้เอากล้องไปติดในจุดที่คิดว่าเป็นรูของปูไก่แต่ก็ยังไม่พบเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม สำหรับป่าชายหาดบ้านท่าฉัตรไชยแห่งนี้ถือว่าเป็นป่าชายหาดผืนสุดท้ายของภูเก็ตที่ค่อนข้างจะสมบูรณ์ จึงเป็นไปได้ที่ปูไก่เหล่านี้จะใช้พื้นที่ดังกล่าวเป็นที่สร้างรัง และขยายพันธุ์