ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - ชาวสงขลา ออกไปจับลูกปลาดุกทะเล บริเวณชายหาดชลาทัศน์ที่ถูกคลื่นซัดขึ้นมาบนฝั่ง เพื่อนำไปเลี้ยงในบ่อซีเมนต์ เนื่องจากพันธุ์ปลาดุกทะเลยังไม่มีการเพาะพันธุ์จำหน่ายให้แก่ผู้เลี้ยงได้
วันนี้ (18 ต.ค.) เด็กๆ รวมทั้งชาวบ้านในพื้นที่ จ.สงขลา พากันไปหา และจับลูกปลาดุกทะเลที่ถูกคลื่นซัดขึ้นมาบริเวณชายหาดชลาทัศน์ แหลมสมิหลา อ.เมืองสงขลา เป็นจำนวนมาก เนื่องจากในช่วงนี้เข้าสู่ฤดูวางไข่ของปลาดุกทะเลตามธรรมชาติ ซึ่งหลังจากไข่ฟักเป็นตัว ลูกปลาดุกทะเลก็จะกระจัดกระจาย และถูกคลื่นซัดเข้าหาฝั่ง โดยการจับลูกปลาดุกจะใช้เพียงตะแกรงคอยดักจับริมชายหายหลังถูกคลื่นซัดลอยมาเกยฝั่งแต่ต้องเฝ้าสังเกตให้ดี
นายเจริญ นิลพันธ์ อายุ 50 ปี ชาวชุมชนคลองสำโรง ต.เขารูปช้าง อ.เมือง จ.สงขลา พร้อมหลานชาย 3 คน ที่ออกมาช่วยกันจับลูกปลาดุกบอกว่า ในแต่ละวันจะจับลูกปลาดุกได้ราว 100 ตัว จากนั้นก็จะไปขังรวมกันไว้ในบ่อซีเมนต์ภายบ้าน และเลี้ยงต่อไปอีกระยะหนึ่งก็สามารถจับมารับประทานในครัวเรือนได้ หากเหลือก็ส่งขายสร้างรายได้เสริม
ด้านนายนิคม ละอองศิริวงศ์ นักวิชาการประมง สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งจังหวัดสงขลา เปิดเผยว่า ปัจจุบัน พันธุ์ปลาดุกทะเลยังไม่มีการเพาะพันธุ์ออกมาจำหน่ายให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงปลา มีเพียงสถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งจังหวัดสงขลา ได้ทำการศึกษาวิจัยทดลองเพาะพันธุ์ปลาดุกทะเล โดยวิธีผสมเทียม เมื่อปี 2550-2551 ได้สำเร็จ แต่อัตราการรอดตายของลูกปลามีอัตราต่ำเพียง 2-9% เท่านั้น
แต่จากการศึกษาพบว่า ในช่วงเดือนตุลาคมเป็นช่วงที่ปลาดุกทะเลวางไข่ ตามแนวชายฝั่ง เมื่อไข่ฟักเป็นตัวลูกปลาก็จะกระจายอยู่ในทะเล และบางส่วนจะถูกคลื่นซัดเข้าหาฝั่ง หากเกษตรกรที่เลี้ยงปลาดุกอยู่แล้วนำไปเลี้ยงในบ่อดิน หรืออนุบาลในบ่อซีเมนต์ไว้ก่อนแล้วค่อยนำลงบ่อดินก็ได้ โดยให้น้ำอยู่ในสภาพน้ำกร่อยตามธรรมชาติ แล้วค่อยปรับเป็นน้ำจืดเมื่อลงในบ่อดิน ส่วนอาหารใช้อาหารเม็ดที่เลี้ยงปลาทะเล หรืออาหารปลาดุกน้ำจืดก็ได้ โดยใช้ระยะเวลาเลี้ยงประมาณ 4-5 เดือนจึงจับขายได้ และจะได้ราคาดีกว่าปลาดุกน้ำจืด
วันนี้ (18 ต.ค.) เด็กๆ รวมทั้งชาวบ้านในพื้นที่ จ.สงขลา พากันไปหา และจับลูกปลาดุกทะเลที่ถูกคลื่นซัดขึ้นมาบริเวณชายหาดชลาทัศน์ แหลมสมิหลา อ.เมืองสงขลา เป็นจำนวนมาก เนื่องจากในช่วงนี้เข้าสู่ฤดูวางไข่ของปลาดุกทะเลตามธรรมชาติ ซึ่งหลังจากไข่ฟักเป็นตัว ลูกปลาดุกทะเลก็จะกระจัดกระจาย และถูกคลื่นซัดเข้าหาฝั่ง โดยการจับลูกปลาดุกจะใช้เพียงตะแกรงคอยดักจับริมชายหายหลังถูกคลื่นซัดลอยมาเกยฝั่งแต่ต้องเฝ้าสังเกตให้ดี
นายเจริญ นิลพันธ์ อายุ 50 ปี ชาวชุมชนคลองสำโรง ต.เขารูปช้าง อ.เมือง จ.สงขลา พร้อมหลานชาย 3 คน ที่ออกมาช่วยกันจับลูกปลาดุกบอกว่า ในแต่ละวันจะจับลูกปลาดุกได้ราว 100 ตัว จากนั้นก็จะไปขังรวมกันไว้ในบ่อซีเมนต์ภายบ้าน และเลี้ยงต่อไปอีกระยะหนึ่งก็สามารถจับมารับประทานในครัวเรือนได้ หากเหลือก็ส่งขายสร้างรายได้เสริม
ด้านนายนิคม ละอองศิริวงศ์ นักวิชาการประมง สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งจังหวัดสงขลา เปิดเผยว่า ปัจจุบัน พันธุ์ปลาดุกทะเลยังไม่มีการเพาะพันธุ์ออกมาจำหน่ายให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงปลา มีเพียงสถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งจังหวัดสงขลา ได้ทำการศึกษาวิจัยทดลองเพาะพันธุ์ปลาดุกทะเล โดยวิธีผสมเทียม เมื่อปี 2550-2551 ได้สำเร็จ แต่อัตราการรอดตายของลูกปลามีอัตราต่ำเพียง 2-9% เท่านั้น
แต่จากการศึกษาพบว่า ในช่วงเดือนตุลาคมเป็นช่วงที่ปลาดุกทะเลวางไข่ ตามแนวชายฝั่ง เมื่อไข่ฟักเป็นตัวลูกปลาก็จะกระจายอยู่ในทะเล และบางส่วนจะถูกคลื่นซัดเข้าหาฝั่ง หากเกษตรกรที่เลี้ยงปลาดุกอยู่แล้วนำไปเลี้ยงในบ่อดิน หรืออนุบาลในบ่อซีเมนต์ไว้ก่อนแล้วค่อยนำลงบ่อดินก็ได้ โดยให้น้ำอยู่ในสภาพน้ำกร่อยตามธรรมชาติ แล้วค่อยปรับเป็นน้ำจืดเมื่อลงในบ่อดิน ส่วนอาหารใช้อาหารเม็ดที่เลี้ยงปลาทะเล หรืออาหารปลาดุกน้ำจืดก็ได้ โดยใช้ระยะเวลาเลี้ยงประมาณ 4-5 เดือนจึงจับขายได้ และจะได้ราคาดีกว่าปลาดุกน้ำจืด