พิษณุโลก - ม.นเรศวร ประชาพิจารณ์คนวังพิกุล รอบบึงราชนก ขอทดลองปลูกข้าวโพดจีเอ็มโอ ชาวบ้านผวา! ถามกลับถ้าเกสรจีเอ็มโอปลิวสู่นาข้าวใครรับผิดชอบ และถ้าโครงการดีจริง ทำไมรัฐไม่ทำเหมือน “โครงการพระราชดำริ” ด้านนักวิชาการบอก “อธิการบดี มน.” รับผิดชอบก็พอแล้ว
รายงานข่าวจากจังหวัดพิษณุโลกแจ้งว่า มหาวิทยาลัยนเรศวร (มน.) ในนามตัวแทนบริษัท มอนซานโต้ ไทยแลนด์ จำกัด ได้เชิญชาวบ้าน ต.วังพิกุล อ.วังทอง จ.พิษณุโลก ซึ่งอยู่ติดกับบึงราชนก ประมาณ 60-70 คน เข้าร่วมเวทีรับฟังความคิดเห็นลักษณะประชาพิจารณ์คนในพื้นที่รอบข้างบึงราชนก เกี่ยวกับ “การพัฒนาทดสอบข้าวโพดดัดแปลงพันธุธรรมสายพันธุ์ NK 603 ในแปลงทดลอง” ตั้งแต่บ่าย-ค่ำวานนี้ (27 ก.พ. 56) ที่ศาลาประชาคม หมู่ 11 บ้านหนองตาสี ต.วังทอง
นายเสน่ห์ จิตจรัส กำนันตำบลวังพิกุล เปิดเผยว่า เจ้าหน้าที่-อาจารย์ ม.นเรศวร จำนน 6-7 คนอ้างว่า เป็นตัวแทนของมอนซานโต้ที่ให้การสนับสนุนการทดลองปลูกข้าวโพดจีเอ็มโอมาพูดคุย เพื่อขอทดลองปลูกข้าวโพดจีเอ็มโอ เพราะทำกันหลายๆประเทศแล้ว โดยบอกว่าการปลูกข้าวโพดจะต้องมีการฉีดยาฆ่าหญ้าขึ้นแซมรอบต้นข้าวโพด แต่เมล็ดข้าวโพดสายพันธุ์นี้จะทนทานกับยาฆ่าหญ้า เจริญเติบโตไม่ชะงักเหมือนข้าวโพดพันธุ์อื่น เพราะปกติเมื่อพ่นยาฆ่าหญ้า ไปโดนข้าวโพดทุกครั้งข้าวโพดก็จะตายไปด้วย
“ผมถามว่าถ้าทดลองในแปลงแล้วเกิดมีเกสรปลิวออกมานอกแปลง ไปกระทบข้าวโพดหรือแปลงนาข้าวจะทำอย่างไร เขาตอบว่าที่ต่างประเทศทดลองแล้วไม่มี แล้วผมก็ถามไปอีกว่า แล้วถ้าเกิดปัญหาขึ้นใครจะรับผิดชอบ เพราะเป็นแค่หน่วยงาน ม.นเรศวร ไม่ใช่หน่วยงานรัฐ เขาก็ตอบว่าหากเกิดขึ้นจริง แค่อธิการบดีรับผิดชอบก็พอแล้ว”
นายเสน่ห์บอกอีกว่า ยังไม่มั่นใจ เพราะหากดีจริงทำไมไม่เป็นโครงการของรัฐเหมือนโครงการพระราชดำริฯ แต่เขาก็ไม่พูดตรงๆ ว่ารับผิดชอบ สำหรับความเห็นชาวบ้านนั้นกลัวมลพิษ บางส่วนก็ไม่เข้าใจ ตนรู้ว่าเป็นแค่แปลงทดลอง แต่ไม่มีใครมั่นใจว่าสิ่งแวดล้อมจะเสียหาย เพราะยังไม่ได้เกิดขึ้น ผลการทดลองก็ไม่รู้ ตนอยากหาคนรับผิดชอบต่อสิ่งที่จะเกิดขึ้น
อย่างไรก็ตาม การรับฟังความคิดเห็นที่หมู่ 11 ต.วังพิกุลนั้นเกิดขึ้นเพียงเวลา 1 ชั่วโมง โดยไม่มีขั้นตอนให้ชาวบ้านยกมือสนับสนุนแต่อย่างใด
แหล่งจากจาก ม.นเรศวรเปิดเผยว่า การทำประชาพิจารณ์ที่รวบรัดและรวดเร็ว ไม่เป็นผลดี บางครั้งชาวบ้านรอบบึงราชนกก็ไม่รู้เรื่องราวถึงพืชจีเอ็มโอ บางรายไปประชาพิจารณ์ก็นึกว่าเขาจะมาเอาที่ดิน บางรายก็ห่วงความปลอดภัยที่เกิดขึ้นบ้านตัวเอง ห่วงว่านักวิชาการจะหมกเม็ดและไม่โปร่งใส ลัดขั้นตอนทำประชาพิจารณ์ จนนำไปสู่ผลประโยชน์แอบแฝงหรือไม่ เพราะคนในพื้นที่ยังไม่รู้ นักวิชาการควรให้ข้อมูลก่อน ไม่ใช่แค่ไปเอาผลประโยชน์ของชาวบ้าน
อนึ่ง มหาวิทยาลัยนครศวร และมอนซานโต้ ได้เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นครั้งแรก ที่โรงแรมท๊อปแลนด์ เมื่อ 20 ก.พ. 56 ที่ผ่านมา กรณี “การพัฒนาทดสอบข้าวโพดดัดแปลงพันธุธรรมสายพันธุ์ NK 603 ในแปลงทดลอง” ซึ่ง ศ.ดร.สุจินต์ จินายน อธิการบดี ม.นเรศวร ได้กล่าวยืนยันว่าร่วมกับบริษัทมอนซานโต ทดลองปลูกพืชจีเอ็มโอ ที่บึงราชนก อ.วังทอง เพื่อให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบ อนุมัติโครงการดัดแปลงพันธุกรรมสายพันธุ์ NK 603 ใช้พื้นที่ 5 ไร่ ทดลอง 7 เดือน จากนั้นอีก 3 เดือนจะพิจารณาดูว่าผลกระทบ โดยต้องผ่านความคิดเห็นของประชาชนก่อน
รายงานข่าวจากจังหวัดพิษณุโลกแจ้งว่า มหาวิทยาลัยนเรศวร (มน.) ในนามตัวแทนบริษัท มอนซานโต้ ไทยแลนด์ จำกัด ได้เชิญชาวบ้าน ต.วังพิกุล อ.วังทอง จ.พิษณุโลก ซึ่งอยู่ติดกับบึงราชนก ประมาณ 60-70 คน เข้าร่วมเวทีรับฟังความคิดเห็นลักษณะประชาพิจารณ์คนในพื้นที่รอบข้างบึงราชนก เกี่ยวกับ “การพัฒนาทดสอบข้าวโพดดัดแปลงพันธุธรรมสายพันธุ์ NK 603 ในแปลงทดลอง” ตั้งแต่บ่าย-ค่ำวานนี้ (27 ก.พ. 56) ที่ศาลาประชาคม หมู่ 11 บ้านหนองตาสี ต.วังทอง
นายเสน่ห์ จิตจรัส กำนันตำบลวังพิกุล เปิดเผยว่า เจ้าหน้าที่-อาจารย์ ม.นเรศวร จำนน 6-7 คนอ้างว่า เป็นตัวแทนของมอนซานโต้ที่ให้การสนับสนุนการทดลองปลูกข้าวโพดจีเอ็มโอมาพูดคุย เพื่อขอทดลองปลูกข้าวโพดจีเอ็มโอ เพราะทำกันหลายๆประเทศแล้ว โดยบอกว่าการปลูกข้าวโพดจะต้องมีการฉีดยาฆ่าหญ้าขึ้นแซมรอบต้นข้าวโพด แต่เมล็ดข้าวโพดสายพันธุ์นี้จะทนทานกับยาฆ่าหญ้า เจริญเติบโตไม่ชะงักเหมือนข้าวโพดพันธุ์อื่น เพราะปกติเมื่อพ่นยาฆ่าหญ้า ไปโดนข้าวโพดทุกครั้งข้าวโพดก็จะตายไปด้วย
“ผมถามว่าถ้าทดลองในแปลงแล้วเกิดมีเกสรปลิวออกมานอกแปลง ไปกระทบข้าวโพดหรือแปลงนาข้าวจะทำอย่างไร เขาตอบว่าที่ต่างประเทศทดลองแล้วไม่มี แล้วผมก็ถามไปอีกว่า แล้วถ้าเกิดปัญหาขึ้นใครจะรับผิดชอบ เพราะเป็นแค่หน่วยงาน ม.นเรศวร ไม่ใช่หน่วยงานรัฐ เขาก็ตอบว่าหากเกิดขึ้นจริง แค่อธิการบดีรับผิดชอบก็พอแล้ว”
นายเสน่ห์บอกอีกว่า ยังไม่มั่นใจ เพราะหากดีจริงทำไมไม่เป็นโครงการของรัฐเหมือนโครงการพระราชดำริฯ แต่เขาก็ไม่พูดตรงๆ ว่ารับผิดชอบ สำหรับความเห็นชาวบ้านนั้นกลัวมลพิษ บางส่วนก็ไม่เข้าใจ ตนรู้ว่าเป็นแค่แปลงทดลอง แต่ไม่มีใครมั่นใจว่าสิ่งแวดล้อมจะเสียหาย เพราะยังไม่ได้เกิดขึ้น ผลการทดลองก็ไม่รู้ ตนอยากหาคนรับผิดชอบต่อสิ่งที่จะเกิดขึ้น
อย่างไรก็ตาม การรับฟังความคิดเห็นที่หมู่ 11 ต.วังพิกุลนั้นเกิดขึ้นเพียงเวลา 1 ชั่วโมง โดยไม่มีขั้นตอนให้ชาวบ้านยกมือสนับสนุนแต่อย่างใด
แหล่งจากจาก ม.นเรศวรเปิดเผยว่า การทำประชาพิจารณ์ที่รวบรัดและรวดเร็ว ไม่เป็นผลดี บางครั้งชาวบ้านรอบบึงราชนกก็ไม่รู้เรื่องราวถึงพืชจีเอ็มโอ บางรายไปประชาพิจารณ์ก็นึกว่าเขาจะมาเอาที่ดิน บางรายก็ห่วงความปลอดภัยที่เกิดขึ้นบ้านตัวเอง ห่วงว่านักวิชาการจะหมกเม็ดและไม่โปร่งใส ลัดขั้นตอนทำประชาพิจารณ์ จนนำไปสู่ผลประโยชน์แอบแฝงหรือไม่ เพราะคนในพื้นที่ยังไม่รู้ นักวิชาการควรให้ข้อมูลก่อน ไม่ใช่แค่ไปเอาผลประโยชน์ของชาวบ้าน
อนึ่ง มหาวิทยาลัยนครศวร และมอนซานโต้ ได้เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นครั้งแรก ที่โรงแรมท๊อปแลนด์ เมื่อ 20 ก.พ. 56 ที่ผ่านมา กรณี “การพัฒนาทดสอบข้าวโพดดัดแปลงพันธุธรรมสายพันธุ์ NK 603 ในแปลงทดลอง” ซึ่ง ศ.ดร.สุจินต์ จินายน อธิการบดี ม.นเรศวร ได้กล่าวยืนยันว่าร่วมกับบริษัทมอนซานโต ทดลองปลูกพืชจีเอ็มโอ ที่บึงราชนก อ.วังทอง เพื่อให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบ อนุมัติโครงการดัดแปลงพันธุกรรมสายพันธุ์ NK 603 ใช้พื้นที่ 5 ไร่ ทดลอง 7 เดือน จากนั้นอีก 3 เดือนจะพิจารณาดูว่าผลกระทบ โดยต้องผ่านความคิดเห็นของประชาชนก่อน