ศูนย์ข่าวนครราชสีมา - ตร.ภาค 3 ฟันธงชง “สตช.” ยกเลิกสัญญาก่อสร้างโรงพักร้าง ผู้รับเหมาทิ้งงานฉาวทั้ง 61 แห่งใน 8 จว.อีสานใต้ รวมเกือบ 800 ล้านบาท ตำรวจเดือดร้อนกว่า 1,000 นาย โดยเฉพาะ 18 สภ.ที่รื้อทิ้งอาคารเดิมต้องไปซุกที่จอดรถใต้ถุนอาคารให้บริการ ปชช. ส่วนผู้ต้องหานำไปฝากขังยัดโรงพักข้างเคียง เผยหอบข้อมูลสรุปส่ง สตช.ชี้ขาดพรุ่งนี้ พบสร้างแฟลตตำรวจ จ.ยโสธรมีปัญหาสร้างไม่เสร็จอีก
วันนี้ (29 ม.ค.) เมื่อเวลา 13.00 น. ที่ห้องประชุม 1 ศูนย์ปฏิบัติการ กองบัญชาตำรวจภูธรภาค 3 อ.เมือง จ.นครราชสีมา พล.ต.ท.เชิด ชูเวช ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 3 (ผบช.ภ.3) เป็นประธานการประชุมผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ไปยังผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดในพื้นที่รับผิดชอบทั้ง 8 จังหวัดอีสานตอนล่าง โดยมีประเด็นการหารือเรื่องสำคัญ คือ การติดตามความคืบหน้าโครงการก่อสร้างสถานีตำรวจแห่งใหม่ ตามโครงการก่อสร้างอาคารที่ทำการสถานีตำรวจ (ทดแทน) ภายใต้งบไทยเข้มแข็ง ในพื้นที่ 8 จังหวัด โดยมี พล.ต.ต.สมพงษ์ ทองวีระประเสริฐ รอง ผบช.ภ.3 ได้รับมอบหมายกำกับดูแลการตรวจสอบการดำเนินโครงการ, พล.ต.ต.วิวัฒน์ ชาญพนา ผู้บังคับการกองอำนวยการตำรวจภูธรภาค 3 (ผบก.อก.ภ.3) หัวหน้าชุดสอบสวนรวบรวมหลักฐาน พร้อมรอง ผบก.อก.ภ.3 และ ผกก.อก.ภ.3 เข้าร่วมประชุมหารืออย่างเคร่งเครียด
พล.ต.ต.สมพงษ์ ทองวีระประเสริฐ รอง ผบช.ภ.3 ซึ่งกำกับดูแลการดำเนินโครงการก่อสร้างอาคารที่ทำการสถานีตำรวจ (ทดแทน) เปิดเผยภายหลังการประชุมว่า โดยภาพรวมในพื้นที่ความรับผิดชอบของตำรวจภูธรภาค 3 ใน 8 จังหวัดอีสานตอนล่าง ได้รับอนุมัติงบประมาณในการก่อสร้างอาคารที่ทำการสถานีตำรวจ (สภ.) แห่งใหม่ทั้งหมด 61 แห่ง แยกเป็น สภ.ขนาดใหญ่จำนวน 7 แห่ง, ขนาดกลางจำนวน 16 แห่ง, ขนาดเล็กจำนวน 38 แห่ง รวมงบประมาณก่อสร้างทั้งสิ้นจำนวน 743,539,000 บาท
โดยในจำนวนนี้ต้องรื้อถอนอาคารเดิมทิ้งเพื่อก่อสร้างอาคารที่ทำการสถานีใหม่จำนวน 18 แห่ง ที่เหลืออีก 43 แห่งไม่ต้องรื้อถอนอาคารเดิมเนื่องจากมีพื้นที่อื่นในการก่อสร้าง ซึ่งมีเจ้าหน้าที่ตำรวจได้รับผลกระทบเดือดร้อนจากการก่อสร้างล่าช้าไม่แล้วเสร็จมานานกว่า 1 ปี ทั้ง 61 สถานีรวมกว่า 1,000 นาย
สำหรับปัญหาผู้รับเหมาทิ้งงานนั้นทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ได้มีแบบสอบถามส่งมาให้เพื่อสำรวจความคิดเห็นและเก็บข้อมูลจากทั้ง 61 สถานี ขณะนี้กองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดได้ส่งความเห็นดังกล่าวมายังกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 3 แล้ว และอยู่ระหว่างการสรุปรวบรวมข้อมูลเพื่อส่งไปยัง สตช. โดยตำรวจส่วนใหญ่ทุกจังหวัดมีความเห็นตรงกันว่าควรยกเลิกสัญญาก่อสร้างเดิมทั้งหมด แล้วดำเนินการให้มีการก่อสร้างใหม่ให้แล้วเสร็จโดยเร็วที่สุด และไม่ให้มีปัญหาความล่าช้าเช่นที่ผ่านมา ซึ่งจะเป็นอีกข้อมูลหนึ่งที่นำเสนอให้ สตช.พิจารณาเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาต่อไป
พล.ต.ต.สมพงษ์กล่าวต่อว่า สำหรับผลการดำเนินการก่อสร้างสถานีตำรวจทั้ง 61 แห่งนั้น จากรายงานพบว่ามี สภ.ที่มีงวดงานคืบหน้ามากที่สุดเพียงแห่งเดียว คือที่ จ.สุรินทร์ ได้ตรวจรับไปแล้ว 6 งวดงาน ส่วน สภ.ที่เหลือส่วนใหญ่อยู่ในงวดงานที่ 2 คือทำได้แค่ฐานราก ตอกเสาเข็ม และมีบางแห่งที่ยังไม่ได้เข้ามาดำเนินก่อสร้างเลย โดย สภ.ที่ได้รับความเดือดร้อนมากที่สุดคือ สภ.จำนวน 18 แห่งที่ต้องรื้ออาคารเดิมทิ้ง ประกอบด้วย
จ.ชัยภูมิ จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ สภ.บ้านค่าย สภ.ลาดใหญ่, จ.นครราชสีมา จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ สภ.สูงเนิน สภ.บ้านหัน สภ.กระชอน, จ.บุรีรัมย์ จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ สภ.ทะเมนชัย สภ.ถาวร, จ.ยโสธร จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ สภ.ทรายมูล สภ.คำเขื่อนแก้ว สภ.ค้อวัง และ จ.สุรินทร์ จำนวน 8 แห่ง ได้แก่ สภ.เมืองสุรินทร์ สภ.เทนมีย์ สภ.เพี้ยราม สภ.สนม สภ.เมืองที สภ.ทุ่งมน สภ.บ้านหนองจอก และ สภ.ดอนแรด
พล.ต.ต.สมพงษ์กล่าวต่อว่า ส่วนการแก้ปัญหาเฉพาะหน้านั้น ในวันนี้ (29 ม.ค.) พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ได้สั่งการให้ตำรวจภูธรภาค 3 เร่งดำเนินการช่วยเหลือสถานีตำรวจที่ถูกรื้อถอนอาคารเดิมทิ้งจำนวน 18 แห่ง โดยลงไปพูดคุยกับข้าราชการตำรวจให้เข้าใจเพื่อเป็นการแสดงภาวะของผู้นำหน่วยที่ต้องการแก้ปัญหาวิกฤต โดยสถานีตำรวจที่ถูกรื้ออาคารเดิมส่วนใหญ่ขณะนี้จะอาศัยบริเวณพื้นที่ใกล้เคียงเป็นที่ทำการชั่วคราว เช่นที่ สภ.เมือง จ.สุรินทร์ ใช้บริเวณที่จอดรถใต้ถุนอาคารกองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสุรินทร์ทำเป็นสถานีชั่วคราว โดยกั้นเป็นห้องเพื่อรับแจ้งความและให้บริการประชาชน และบางแห่งไปสร้างอาคารชั่วคราวอยู่ สร้างห้องน้ำห้องส้วมชั่วคราวใช้ ซึ่งเป็นการช่วยเหลือตัวเองในการแก้ปัญหาของแต่ละหน่วย
ส่วนเอกสาร และหลักฐานสำคัญต่างๆ จะเก็บในตู้เหล็กล็อกกุญแจ แล้วหาสถานที่ที่ปลอดภัยเก็บรักษาไว้ ขณะที่ผู้ต้องหาส่วนใหญ่นำไปฝากขังกับสถานีตำรวจใกล้เคียง ซึ่งอาจแออัดบ้างแต่ระยะเวลาในการควบคุมตัวผู้ต้องหาอยู่ที่สถานีเป็นเพียงระยะสั้นๆ เท่านั้น เพราะต้องไปขออำนาจฝากขังและส่งเรือนจำจึงไม่ค่อยมีปัญหาความเสี่ยงเรื่องผู้ต้องหาหลบหนีและมีกฎระเบียบที่รัดกุมอยู่แล้ว
“ขั้นตอนการดำเนินการแก้ปัญหาสถานีตำรวจทั้ง 61 แห่งดังกล่าวนั้น หลังจากตำรวจภูธรภาค 3 ได้รวบรวมเอกสารหลักฐานพร้อมแบบสำรวจจากทั้ง 8 จังหวัดอีสานตอนล่างแล้ว ก็จะสรุปความเห็นส่งไปยังสำนักงานตำรวจแห่งชาติในวันพรุ่งนี้ (30 ม.ค.) เวลา 10.00 น. พร้อมกับกองบัญชาการภาคอื่นทั่วประเทศ โดยความคิดเห็นส่วนใหญ่ของตำรวจทั้ง 8 จังหวัดอยากให้ยกเลิกสัญญาเดิม และต้องการให้มีการสร้างสถานีตำรวจแห่งใหม่ให้แล้วเสร็จโดยเร็วที่สุด ส่วนจะเป็นวิธีการใดนั้นขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของ สตช.” พล.ต.ต.สมพงษ์กล่าว
พล.ต.ต.สมพงษ์กล่าวเพิ่มเติมถึงโครงการก่อสร้างแฟลตที่พักตำรวจที่มีปัญหาการก่อสร้างเช่นกันว่า ในพื้นที่ตำรวจภูธรภาค 3 มีการดำเนินการอยู่จำนวน 1 โครงการ ที่ ตำรวจภูธร จ.ยโสธร เป็นอาคารตึกขนาด 5 ชั้น จำนวน 30 ห้อง ได้รับรายงานล่าสุดว่าการก่อสร้างงวดที่ 11 ซึ่งเป็นงวดสุดท้ายมีปัญหางานไม่เดินหน้าต่อให้แล้วเสร็จทั้งที่สัญญาสิ้นสุดไปแล้ว อันนี้เป็นเรื่องที่ตำรวจจะต้องไปดำเนินการให้เป็นไปตามสัญญา แต่เรื่องนี้เมื่อเปรียบเทียบกับโครงการก่อสร้างสถานีตำรวจแล้วความเดือดร้อนยังน้อย เพราะไม่กระทบต่อประชาชน และสร้างขึ้นมาเพื่อให้ตำรวจอยู่อาศัยเท่านั้น
วันนี้ (29 ม.ค.) เมื่อเวลา 13.00 น. ที่ห้องประชุม 1 ศูนย์ปฏิบัติการ กองบัญชาตำรวจภูธรภาค 3 อ.เมือง จ.นครราชสีมา พล.ต.ท.เชิด ชูเวช ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 3 (ผบช.ภ.3) เป็นประธานการประชุมผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ไปยังผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดในพื้นที่รับผิดชอบทั้ง 8 จังหวัดอีสานตอนล่าง โดยมีประเด็นการหารือเรื่องสำคัญ คือ การติดตามความคืบหน้าโครงการก่อสร้างสถานีตำรวจแห่งใหม่ ตามโครงการก่อสร้างอาคารที่ทำการสถานีตำรวจ (ทดแทน) ภายใต้งบไทยเข้มแข็ง ในพื้นที่ 8 จังหวัด โดยมี พล.ต.ต.สมพงษ์ ทองวีระประเสริฐ รอง ผบช.ภ.3 ได้รับมอบหมายกำกับดูแลการตรวจสอบการดำเนินโครงการ, พล.ต.ต.วิวัฒน์ ชาญพนา ผู้บังคับการกองอำนวยการตำรวจภูธรภาค 3 (ผบก.อก.ภ.3) หัวหน้าชุดสอบสวนรวบรวมหลักฐาน พร้อมรอง ผบก.อก.ภ.3 และ ผกก.อก.ภ.3 เข้าร่วมประชุมหารืออย่างเคร่งเครียด
พล.ต.ต.สมพงษ์ ทองวีระประเสริฐ รอง ผบช.ภ.3 ซึ่งกำกับดูแลการดำเนินโครงการก่อสร้างอาคารที่ทำการสถานีตำรวจ (ทดแทน) เปิดเผยภายหลังการประชุมว่า โดยภาพรวมในพื้นที่ความรับผิดชอบของตำรวจภูธรภาค 3 ใน 8 จังหวัดอีสานตอนล่าง ได้รับอนุมัติงบประมาณในการก่อสร้างอาคารที่ทำการสถานีตำรวจ (สภ.) แห่งใหม่ทั้งหมด 61 แห่ง แยกเป็น สภ.ขนาดใหญ่จำนวน 7 แห่ง, ขนาดกลางจำนวน 16 แห่ง, ขนาดเล็กจำนวน 38 แห่ง รวมงบประมาณก่อสร้างทั้งสิ้นจำนวน 743,539,000 บาท
โดยในจำนวนนี้ต้องรื้อถอนอาคารเดิมทิ้งเพื่อก่อสร้างอาคารที่ทำการสถานีใหม่จำนวน 18 แห่ง ที่เหลืออีก 43 แห่งไม่ต้องรื้อถอนอาคารเดิมเนื่องจากมีพื้นที่อื่นในการก่อสร้าง ซึ่งมีเจ้าหน้าที่ตำรวจได้รับผลกระทบเดือดร้อนจากการก่อสร้างล่าช้าไม่แล้วเสร็จมานานกว่า 1 ปี ทั้ง 61 สถานีรวมกว่า 1,000 นาย
สำหรับปัญหาผู้รับเหมาทิ้งงานนั้นทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ได้มีแบบสอบถามส่งมาให้เพื่อสำรวจความคิดเห็นและเก็บข้อมูลจากทั้ง 61 สถานี ขณะนี้กองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดได้ส่งความเห็นดังกล่าวมายังกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 3 แล้ว และอยู่ระหว่างการสรุปรวบรวมข้อมูลเพื่อส่งไปยัง สตช. โดยตำรวจส่วนใหญ่ทุกจังหวัดมีความเห็นตรงกันว่าควรยกเลิกสัญญาก่อสร้างเดิมทั้งหมด แล้วดำเนินการให้มีการก่อสร้างใหม่ให้แล้วเสร็จโดยเร็วที่สุด และไม่ให้มีปัญหาความล่าช้าเช่นที่ผ่านมา ซึ่งจะเป็นอีกข้อมูลหนึ่งที่นำเสนอให้ สตช.พิจารณาเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาต่อไป
พล.ต.ต.สมพงษ์กล่าวต่อว่า สำหรับผลการดำเนินการก่อสร้างสถานีตำรวจทั้ง 61 แห่งนั้น จากรายงานพบว่ามี สภ.ที่มีงวดงานคืบหน้ามากที่สุดเพียงแห่งเดียว คือที่ จ.สุรินทร์ ได้ตรวจรับไปแล้ว 6 งวดงาน ส่วน สภ.ที่เหลือส่วนใหญ่อยู่ในงวดงานที่ 2 คือทำได้แค่ฐานราก ตอกเสาเข็ม และมีบางแห่งที่ยังไม่ได้เข้ามาดำเนินก่อสร้างเลย โดย สภ.ที่ได้รับความเดือดร้อนมากที่สุดคือ สภ.จำนวน 18 แห่งที่ต้องรื้ออาคารเดิมทิ้ง ประกอบด้วย
จ.ชัยภูมิ จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ สภ.บ้านค่าย สภ.ลาดใหญ่, จ.นครราชสีมา จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ สภ.สูงเนิน สภ.บ้านหัน สภ.กระชอน, จ.บุรีรัมย์ จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ สภ.ทะเมนชัย สภ.ถาวร, จ.ยโสธร จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ สภ.ทรายมูล สภ.คำเขื่อนแก้ว สภ.ค้อวัง และ จ.สุรินทร์ จำนวน 8 แห่ง ได้แก่ สภ.เมืองสุรินทร์ สภ.เทนมีย์ สภ.เพี้ยราม สภ.สนม สภ.เมืองที สภ.ทุ่งมน สภ.บ้านหนองจอก และ สภ.ดอนแรด
พล.ต.ต.สมพงษ์กล่าวต่อว่า ส่วนการแก้ปัญหาเฉพาะหน้านั้น ในวันนี้ (29 ม.ค.) พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ได้สั่งการให้ตำรวจภูธรภาค 3 เร่งดำเนินการช่วยเหลือสถานีตำรวจที่ถูกรื้อถอนอาคารเดิมทิ้งจำนวน 18 แห่ง โดยลงไปพูดคุยกับข้าราชการตำรวจให้เข้าใจเพื่อเป็นการแสดงภาวะของผู้นำหน่วยที่ต้องการแก้ปัญหาวิกฤต โดยสถานีตำรวจที่ถูกรื้ออาคารเดิมส่วนใหญ่ขณะนี้จะอาศัยบริเวณพื้นที่ใกล้เคียงเป็นที่ทำการชั่วคราว เช่นที่ สภ.เมือง จ.สุรินทร์ ใช้บริเวณที่จอดรถใต้ถุนอาคารกองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสุรินทร์ทำเป็นสถานีชั่วคราว โดยกั้นเป็นห้องเพื่อรับแจ้งความและให้บริการประชาชน และบางแห่งไปสร้างอาคารชั่วคราวอยู่ สร้างห้องน้ำห้องส้วมชั่วคราวใช้ ซึ่งเป็นการช่วยเหลือตัวเองในการแก้ปัญหาของแต่ละหน่วย
ส่วนเอกสาร และหลักฐานสำคัญต่างๆ จะเก็บในตู้เหล็กล็อกกุญแจ แล้วหาสถานที่ที่ปลอดภัยเก็บรักษาไว้ ขณะที่ผู้ต้องหาส่วนใหญ่นำไปฝากขังกับสถานีตำรวจใกล้เคียง ซึ่งอาจแออัดบ้างแต่ระยะเวลาในการควบคุมตัวผู้ต้องหาอยู่ที่สถานีเป็นเพียงระยะสั้นๆ เท่านั้น เพราะต้องไปขออำนาจฝากขังและส่งเรือนจำจึงไม่ค่อยมีปัญหาความเสี่ยงเรื่องผู้ต้องหาหลบหนีและมีกฎระเบียบที่รัดกุมอยู่แล้ว
“ขั้นตอนการดำเนินการแก้ปัญหาสถานีตำรวจทั้ง 61 แห่งดังกล่าวนั้น หลังจากตำรวจภูธรภาค 3 ได้รวบรวมเอกสารหลักฐานพร้อมแบบสำรวจจากทั้ง 8 จังหวัดอีสานตอนล่างแล้ว ก็จะสรุปความเห็นส่งไปยังสำนักงานตำรวจแห่งชาติในวันพรุ่งนี้ (30 ม.ค.) เวลา 10.00 น. พร้อมกับกองบัญชาการภาคอื่นทั่วประเทศ โดยความคิดเห็นส่วนใหญ่ของตำรวจทั้ง 8 จังหวัดอยากให้ยกเลิกสัญญาเดิม และต้องการให้มีการสร้างสถานีตำรวจแห่งใหม่ให้แล้วเสร็จโดยเร็วที่สุด ส่วนจะเป็นวิธีการใดนั้นขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของ สตช.” พล.ต.ต.สมพงษ์กล่าว
พล.ต.ต.สมพงษ์กล่าวเพิ่มเติมถึงโครงการก่อสร้างแฟลตที่พักตำรวจที่มีปัญหาการก่อสร้างเช่นกันว่า ในพื้นที่ตำรวจภูธรภาค 3 มีการดำเนินการอยู่จำนวน 1 โครงการ ที่ ตำรวจภูธร จ.ยโสธร เป็นอาคารตึกขนาด 5 ชั้น จำนวน 30 ห้อง ได้รับรายงานล่าสุดว่าการก่อสร้างงวดที่ 11 ซึ่งเป็นงวดสุดท้ายมีปัญหางานไม่เดินหน้าต่อให้แล้วเสร็จทั้งที่สัญญาสิ้นสุดไปแล้ว อันนี้เป็นเรื่องที่ตำรวจจะต้องไปดำเนินการให้เป็นไปตามสัญญา แต่เรื่องนี้เมื่อเปรียบเทียบกับโครงการก่อสร้างสถานีตำรวจแล้วความเดือดร้อนยังน้อย เพราะไม่กระทบต่อประชาชน และสร้างขึ้นมาเพื่อให้ตำรวจอยู่อาศัยเท่านั้น