กาญจนบุรี - ประธานหอการค้ากลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 เผยค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน เร่งให้ “ธุรกิจเอสเอ็มอี” ปิดตัวเร็วขึ้น ผลตามมาคือคนตกงานมากขึ้น เพราะผู้ประกอบการบางรายหันไปพึ่งเครื่องจักรแทน
เมื่อเวลา 11.45 น.วันนี้ (4 ม.ค.) นายธีรชัย ชุติมันต์ ประธานหอการค้ากลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 รับผิดชอบครอบคลุม 4 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดราชบุรี จังหวัดนครปฐม และจังหวัดสุพรรณบุรี กล่าวถึงนโยบายของรัฐบาลที่ประกาศให้มีการปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาททั่วประเทศ มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2556 ว่า จังหวัดนครปฐม เป็น 1 ใน 7 จังหวัดนำร่องที่รัฐบาลได้ประกาศให้มีการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำรอบแรกไปเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2555 ซึ่งผู้ประกอบการในอีก 3 จังหวัด คือ (กาญจนบุรี, ราชบุรี, สุพรรณบุรี) จึงมีความจำเป็นจะต้องปรับขึ้นค่าแรงไปด้วยเช่นกัน ต้องยอมรับว่า ปัจจุบันผู้ประกอบการต่างๆ ของทั้ง 4 จังหวัด ยังขาดแรงงานอยู่เป็นจำนวนมาก ดังนั้น ในเมื่อจังหวัดนครปฐมเป็นจังหวัดนำร่องในการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ทำให้ผู้ประกอบการอีก 3 จังหวัด มีความกังวลว่า แรงงานที่ผู้ประกอบการนั้นๆ มีอยู่จะหลั่งไหลไปทำงานที่จังหวัดนครปฐมกันหมด
ทั้งนี้ ในพื้นที่ 4 จังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 คาดว่าจะมีแรงงานรวมกันจำนวนหลายแสนคน ซึ่งผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) จะมีผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าแรงมากกว่าโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เพราะธุรกิจเอสเอ็มอีต้องใช้แรงงานเป็นต้นทุนในการผลิตสินค้า โดยเฉพาะ 4 จังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 เชื่อว่าหากผู้ประกอบการธุรกิจเอสเอ็มอีไม่สามารถจ่ายค่าแรงขั้นต่ำได้ตามนโยบายของรัฐบาล อาจจำเป็นต้องปิดกิจการ หรือไม่ก็ปลดคนงานออก และหันไปใช้เครื่องจักรแทนแรงงานคนมากขึ้น ผลกระทบที่ตามมาก็คือ จะมีแรงงานตกงานกันเป็นจำนวนมาก
หรือถ้าหากผู้ประกอบการต้องแบกภาระต้นทุนค่าแรงงานขั้นต่ำ จากที่เคยจ่ายอยู่เดิม ส่วนเกินที่เพิ่มมาอาจจะต้องผลักภาระให้แก่ผู้บริโภคโดยการปรับขึ้นราคาสินค้า และบางส่วนผู้ประกอบการก็อาจจะต้องแบกรับไว้เอง ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับตัวสินค้า และผลิตภัณฑ์นั้นๆ เป็นสำคัญที่เป็นตัวกำหนดภาวะยืดหยุ่นในเรื่องนี้ แต่ในอนาคตผู้ประกอบการคงจะปรับตัวเข้าสู่ภาวะสมดุล แต่ต้องใช้เวลาอีกสักระยะหนึ่ง
“จากการพูดคุยทราบว่า โรงงาน หรืออุตสาหกรรมขนาดใหญ่ได้มีการปรับตัวเตรียมการไปก่อนหน้านี้แล้ว ถึงแม้ว่าจะมีการปรับขึ้นค่าแรง แต่ภาวการณ์ขาดแคลนแรงงานก็ยังคงมีอยู่ ปัจจุบัน โรงงานต่างๆ ก็ยังคงมีความต้องการแรงงานสูง แต่แนวโน้มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมีความเสี่ยงต่อการปิดกิจการสูงมากเช่นกัน โดยเฉพาะธุรกิจเอสเอ็มอีที่มีต้นทุนในการผลิตสินค้าเป็นต้นทุนที่หนักไปทางด้านค่าแรง ซึ่งหากสินค้าที่ผลิตออกมาไม่สามารถที่จะแข่งขันทางด้านราคาได้ ก็คงต้องปิดตัวลง ยกตัวอย่างเช่น ธุรกิจตัดเย็บรองเท้า เป็นต้น”นายธีรชัยกล่าว
แหล่งข่าวเจ้าของโรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้แห่งหนึ่ง ในพื้นที่อำเภอเมืองกาญจนบุรี เปิดเผยว่า โรงงานของตนเป็นโรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์ขนาดเล็ก มีคนงานอยู่ประมาณ 30 คน โดยเฟอร์นิเจอร์ที่ผลิตจะเป็นระบบรับเหมา ส่วนรายได้ของคนงานก็ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละคนจะทำงานได้มากน้อยแค่ไหน หากทำได้มากก็ได้เงินมาก หากทำได้น้อยก็ได้เงินน้อยตามผลของงาน ซึ่งนับว่าโชคดีที่โรงงานของตนเป็นระบบเหมาจ่าย ถ้าหากเป็นระบบจ่ายเป็นค่าแรงรายวัน ก็คงจะได้รับผลกระทบจากนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันอย่างแน่นอน
เมื่อเวลา 11.45 น.วันนี้ (4 ม.ค.) นายธีรชัย ชุติมันต์ ประธานหอการค้ากลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 รับผิดชอบครอบคลุม 4 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดราชบุรี จังหวัดนครปฐม และจังหวัดสุพรรณบุรี กล่าวถึงนโยบายของรัฐบาลที่ประกาศให้มีการปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาททั่วประเทศ มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2556 ว่า จังหวัดนครปฐม เป็น 1 ใน 7 จังหวัดนำร่องที่รัฐบาลได้ประกาศให้มีการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำรอบแรกไปเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2555 ซึ่งผู้ประกอบการในอีก 3 จังหวัด คือ (กาญจนบุรี, ราชบุรี, สุพรรณบุรี) จึงมีความจำเป็นจะต้องปรับขึ้นค่าแรงไปด้วยเช่นกัน ต้องยอมรับว่า ปัจจุบันผู้ประกอบการต่างๆ ของทั้ง 4 จังหวัด ยังขาดแรงงานอยู่เป็นจำนวนมาก ดังนั้น ในเมื่อจังหวัดนครปฐมเป็นจังหวัดนำร่องในการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ทำให้ผู้ประกอบการอีก 3 จังหวัด มีความกังวลว่า แรงงานที่ผู้ประกอบการนั้นๆ มีอยู่จะหลั่งไหลไปทำงานที่จังหวัดนครปฐมกันหมด
ทั้งนี้ ในพื้นที่ 4 จังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 คาดว่าจะมีแรงงานรวมกันจำนวนหลายแสนคน ซึ่งผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) จะมีผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าแรงมากกว่าโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เพราะธุรกิจเอสเอ็มอีต้องใช้แรงงานเป็นต้นทุนในการผลิตสินค้า โดยเฉพาะ 4 จังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 เชื่อว่าหากผู้ประกอบการธุรกิจเอสเอ็มอีไม่สามารถจ่ายค่าแรงขั้นต่ำได้ตามนโยบายของรัฐบาล อาจจำเป็นต้องปิดกิจการ หรือไม่ก็ปลดคนงานออก และหันไปใช้เครื่องจักรแทนแรงงานคนมากขึ้น ผลกระทบที่ตามมาก็คือ จะมีแรงงานตกงานกันเป็นจำนวนมาก
หรือถ้าหากผู้ประกอบการต้องแบกภาระต้นทุนค่าแรงงานขั้นต่ำ จากที่เคยจ่ายอยู่เดิม ส่วนเกินที่เพิ่มมาอาจจะต้องผลักภาระให้แก่ผู้บริโภคโดยการปรับขึ้นราคาสินค้า และบางส่วนผู้ประกอบการก็อาจจะต้องแบกรับไว้เอง ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับตัวสินค้า และผลิตภัณฑ์นั้นๆ เป็นสำคัญที่เป็นตัวกำหนดภาวะยืดหยุ่นในเรื่องนี้ แต่ในอนาคตผู้ประกอบการคงจะปรับตัวเข้าสู่ภาวะสมดุล แต่ต้องใช้เวลาอีกสักระยะหนึ่ง
“จากการพูดคุยทราบว่า โรงงาน หรืออุตสาหกรรมขนาดใหญ่ได้มีการปรับตัวเตรียมการไปก่อนหน้านี้แล้ว ถึงแม้ว่าจะมีการปรับขึ้นค่าแรง แต่ภาวการณ์ขาดแคลนแรงงานก็ยังคงมีอยู่ ปัจจุบัน โรงงานต่างๆ ก็ยังคงมีความต้องการแรงงานสูง แต่แนวโน้มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมีความเสี่ยงต่อการปิดกิจการสูงมากเช่นกัน โดยเฉพาะธุรกิจเอสเอ็มอีที่มีต้นทุนในการผลิตสินค้าเป็นต้นทุนที่หนักไปทางด้านค่าแรง ซึ่งหากสินค้าที่ผลิตออกมาไม่สามารถที่จะแข่งขันทางด้านราคาได้ ก็คงต้องปิดตัวลง ยกตัวอย่างเช่น ธุรกิจตัดเย็บรองเท้า เป็นต้น”นายธีรชัยกล่าว
แหล่งข่าวเจ้าของโรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้แห่งหนึ่ง ในพื้นที่อำเภอเมืองกาญจนบุรี เปิดเผยว่า โรงงานของตนเป็นโรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์ขนาดเล็ก มีคนงานอยู่ประมาณ 30 คน โดยเฟอร์นิเจอร์ที่ผลิตจะเป็นระบบรับเหมา ส่วนรายได้ของคนงานก็ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละคนจะทำงานได้มากน้อยแค่ไหน หากทำได้มากก็ได้เงินมาก หากทำได้น้อยก็ได้เงินน้อยตามผลของงาน ซึ่งนับว่าโชคดีที่โรงงานของตนเป็นระบบเหมาจ่าย ถ้าหากเป็นระบบจ่ายเป็นค่าแรงรายวัน ก็คงจะได้รับผลกระทบจากนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันอย่างแน่นอน