พะเยา - “แม่ญิงพะเยา” ห่วง “แรงเงา” ละครหลังข่าวกระตุ้นความรุนแรงในสังคมพุ่ง นักพัฒนาสังคมชี้ “4-12 ปี” วัยจินตนาการ แยกเรื่องจริง-สมมติไม่ได้ ระบุต้องได้รับการศึกษาที่เหมาะสมต่อการเรียนรู้
นางสุภัคสร วรรณปลูก ประธานเครือข่ายแม่ญิงพะเยา กล่าวว่า จากกรณีที่เหตุการณ์ของเด็กหญิงวัย 8 ขวบก่อเหตุความรุนแรงทำร้ายตัวเองที่เป็นการเลียนแบบละครแรงเงา หรือละครเรื่องอื่นๆ รวมถึงเด็กที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ก่อเหตุความรุนแรงในลักษณะต่างๆ ที่คาดว่าจะมีสาเหตุมาจากสื่อนั้น
ส่วนตัวยอมรับว่าอิทธิพลของสื่อในปัจจุบันมีมากต่อทุกภาคส่วนของสังคม เพราะเป็นยุคของการสื่อสารไร้พรมแดน แม้ว่าปัจจัยเหตุอาจจะไม่ได้มาจากสื่อทั้งหมด แต่ก็ต้องเฝ้าระวังการเสพหรือบริโภคสื่ออย่างมีสติ
กรณีเด็กวัย 8 ขวบย่อมเป็นไปไม่ได้ที่จะให้เด็กเสพสื่อแล้วมีวุฒิภาวะคิดเองว่าสิ่งใดควรหรือไม่ควร ดังนั้น ผู้ใหญ่ที่เกี่ยวข้องต้องจัดวางระบบการเผยแพร่สื่อให้มีความเหมาะสม หากมีการนำเสนอละครหลังข่าวที่มีเนื้อหาสุ่มเสี่ยงต่อการกระตุ้นให้เกิดความรุนแรง หรือนำไปสู่จินตนาการของเด็กหรือวัยใดก็ตามที่เป็นอันตราย ตรงนี้ผู้ผลิตละคร ผู้ควบคุมสื่อควรต้องตระหนักให้มาก
“ละครดีๆ ที่สร้างสรรค์สังคม และเสริมทักษะชีวิตให้แก่เด็ก เยาวชน และทุกเพศทุกวัยมีให้บริโภคอย่างหลากหลาย แต่ในความเป็นจริงด้านหนึ่งเราไม่อาจจะปฏิเสธได้ว่าความสัมพันธ์ในครอบครัวไทยปัจจุบันเริ่มลดน้อยลงเพราะเศรษฐกิจบีบรัด โครงสร้างของสังคมทำให้เกิดช่องว่างระหว่างวัย ช่องว่างระหว่างครอบครัว ชุมชนมีมากขึ้น ดังนั้น ครอบครัวต้องใส่ใจเด็กและคนในครอบครัวอย่างใกล้ชิด ขณะที่คนทำสื่อก็ต้องตระหนักถึงผลกระทบในด้านลบ ไม่ควรมุ่งแต่เรื่องเรตติ้งหรือรายได้ทางธุรกิจเพียงอย่างเดียว” นางสุภัคสรกล่าว
ปธ.เครือข่ายแม่ญิงฯ กล่าวต่อว่า เครือข่ายฯ ตระหนักถึงปัญหาครอบครัวที่เกิดขึ้นในสังคมไทยทุกวันนี้มีมากพอแล้ว และจะต้องแก้ไขร่วมกัน ทางหนึ่งที่เครือข่ายฯ มองว่ามีอิทธิพลต่อการเกิดหรือแก้ปัญหาคือ สื่อ ดังนั้น หากมีการผลิตสื่อที่สร้างสรรค์ มีทางออกเพื่อป้องกันและแก้ปัญหาสังคมจะเป็นประโยชน์อย่างสูงสุด และเมื่อทุกฝ่ายเข้าใจที่มาของปัญหาย่อมสามารถวางกลไกเฝ้าระวังและป้องกันได้ โดยเฉพาะครอบครัวที่อบอุ่น เข้มแข็งจะสามารถรับมือทุกปัญหาได้ในทุกสถานการณ์
ขณะที่นางเจริญศรี ไชยขัติย์ นักพัฒนาสังคม บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดพะเยา กล่าวว่า จากประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับเด็ก ตามหลักวิชาการแล้วเด็กวัยแรกเกิด-12 ปีคือวัยที่เรียนรู้ ซึ่งจะสามารถรับได้รวดเร็วและมีความจดจำมาจากการกระทำของพ่อแม่ คนรอบข้าง ซึ่งเรียกว่าเป็นการให้สันดานแก่เด็ก โดยเมื่อพ่อแม่หรือคนรอบข้างให้สันดานดี เด็กก็มีสันดานดี แต่หากผู้ให้รอบข้างเด็กให้สันดานที่ไม่ดี เด็กก็มีสันดานไม่ดีตามไปด้วย
จากวัยแรกเกิด-12 ปีได้รับการเรียนรู้ไปแล้วจะถูกผลักดันและนำออกมาใช้ในวัย 15-16 ปี เพราะฉะนั้น ในกระบวนการของการให้การศึกษา อบรม สั่งสอน บ่มเพาะในสิ่งที่ดี เด็กจะเติบโตอย่างมีวุฒิภาวะท่ามกลางการส่งผ่านการเรียนรู้จากพ่อแม่ คนรอบข้างอย่างมีสติ และระมัดระวัง
สำหรับวัยเด็กที่มีอายุระหว่าง 4-12 ปี ในทัศนะของนักพัฒนาสังคมคือวัยที่มีจินตนาการ แม้ว่าละครจะไม่ได้นำเสนอมุมภาพของการทำร้ายร่างกายทั้งหมดออกมา แต่เด็กสามารถจินตนาการต่อไปเองโดยไม่มีวุฒิภาวะว่าเป็นเรื่องจริงหรือเรื่องสมมติขึ้น ตรงนี้อันตรายมาก ยิ่งสถานการณ์ในสังคมไทยปัจจุบันผู้ปกครองไม่มีเวลาที่จะเลี้ยงดูลูกหลานของตัวเองได้อย่างใกล้ชิด พอเด็กเริ่มรู้ความก็พยายามนำไปฝากเลี้ยง ความผูกพันกันในครอบครัวน้อยลง เด็กอยู่กับคนอื่นและสื่อมากขึ้น จึงทำให้สื่อเข้ามามีอิทธิพลต่อเด็กมากขึ้น
ดังนั้น สิ่งสำคัญที่สุดคือ สถาบันครอบครัวต้องใส่ใจเด็กและคนในครอบครัวให้มาก ไม่ด่าทอกัน สร้างความสัมพันธ์กันด้วยเหตุผล บ่มเพาะการเรียนรู้ของเด็กอย่างมีเหตุผล ร่วมระมัดระวังการเสพสื่อ ขณะที่สื่อก็ร่วมตระหนักถึงปัญหาสังคม เชื่อว่าปัญหาจะได้รับการใส่ใจ และคลี่คลายในที่สุด
นางสุภัคสร วรรณปลูก ประธานเครือข่ายแม่ญิงพะเยา กล่าวว่า จากกรณีที่เหตุการณ์ของเด็กหญิงวัย 8 ขวบก่อเหตุความรุนแรงทำร้ายตัวเองที่เป็นการเลียนแบบละครแรงเงา หรือละครเรื่องอื่นๆ รวมถึงเด็กที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ก่อเหตุความรุนแรงในลักษณะต่างๆ ที่คาดว่าจะมีสาเหตุมาจากสื่อนั้น
ส่วนตัวยอมรับว่าอิทธิพลของสื่อในปัจจุบันมีมากต่อทุกภาคส่วนของสังคม เพราะเป็นยุคของการสื่อสารไร้พรมแดน แม้ว่าปัจจัยเหตุอาจจะไม่ได้มาจากสื่อทั้งหมด แต่ก็ต้องเฝ้าระวังการเสพหรือบริโภคสื่ออย่างมีสติ
กรณีเด็กวัย 8 ขวบย่อมเป็นไปไม่ได้ที่จะให้เด็กเสพสื่อแล้วมีวุฒิภาวะคิดเองว่าสิ่งใดควรหรือไม่ควร ดังนั้น ผู้ใหญ่ที่เกี่ยวข้องต้องจัดวางระบบการเผยแพร่สื่อให้มีความเหมาะสม หากมีการนำเสนอละครหลังข่าวที่มีเนื้อหาสุ่มเสี่ยงต่อการกระตุ้นให้เกิดความรุนแรง หรือนำไปสู่จินตนาการของเด็กหรือวัยใดก็ตามที่เป็นอันตราย ตรงนี้ผู้ผลิตละคร ผู้ควบคุมสื่อควรต้องตระหนักให้มาก
“ละครดีๆ ที่สร้างสรรค์สังคม และเสริมทักษะชีวิตให้แก่เด็ก เยาวชน และทุกเพศทุกวัยมีให้บริโภคอย่างหลากหลาย แต่ในความเป็นจริงด้านหนึ่งเราไม่อาจจะปฏิเสธได้ว่าความสัมพันธ์ในครอบครัวไทยปัจจุบันเริ่มลดน้อยลงเพราะเศรษฐกิจบีบรัด โครงสร้างของสังคมทำให้เกิดช่องว่างระหว่างวัย ช่องว่างระหว่างครอบครัว ชุมชนมีมากขึ้น ดังนั้น ครอบครัวต้องใส่ใจเด็กและคนในครอบครัวอย่างใกล้ชิด ขณะที่คนทำสื่อก็ต้องตระหนักถึงผลกระทบในด้านลบ ไม่ควรมุ่งแต่เรื่องเรตติ้งหรือรายได้ทางธุรกิจเพียงอย่างเดียว” นางสุภัคสรกล่าว
ปธ.เครือข่ายแม่ญิงฯ กล่าวต่อว่า เครือข่ายฯ ตระหนักถึงปัญหาครอบครัวที่เกิดขึ้นในสังคมไทยทุกวันนี้มีมากพอแล้ว และจะต้องแก้ไขร่วมกัน ทางหนึ่งที่เครือข่ายฯ มองว่ามีอิทธิพลต่อการเกิดหรือแก้ปัญหาคือ สื่อ ดังนั้น หากมีการผลิตสื่อที่สร้างสรรค์ มีทางออกเพื่อป้องกันและแก้ปัญหาสังคมจะเป็นประโยชน์อย่างสูงสุด และเมื่อทุกฝ่ายเข้าใจที่มาของปัญหาย่อมสามารถวางกลไกเฝ้าระวังและป้องกันได้ โดยเฉพาะครอบครัวที่อบอุ่น เข้มแข็งจะสามารถรับมือทุกปัญหาได้ในทุกสถานการณ์
ขณะที่นางเจริญศรี ไชยขัติย์ นักพัฒนาสังคม บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดพะเยา กล่าวว่า จากประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับเด็ก ตามหลักวิชาการแล้วเด็กวัยแรกเกิด-12 ปีคือวัยที่เรียนรู้ ซึ่งจะสามารถรับได้รวดเร็วและมีความจดจำมาจากการกระทำของพ่อแม่ คนรอบข้าง ซึ่งเรียกว่าเป็นการให้สันดานแก่เด็ก โดยเมื่อพ่อแม่หรือคนรอบข้างให้สันดานดี เด็กก็มีสันดานดี แต่หากผู้ให้รอบข้างเด็กให้สันดานที่ไม่ดี เด็กก็มีสันดานไม่ดีตามไปด้วย
จากวัยแรกเกิด-12 ปีได้รับการเรียนรู้ไปแล้วจะถูกผลักดันและนำออกมาใช้ในวัย 15-16 ปี เพราะฉะนั้น ในกระบวนการของการให้การศึกษา อบรม สั่งสอน บ่มเพาะในสิ่งที่ดี เด็กจะเติบโตอย่างมีวุฒิภาวะท่ามกลางการส่งผ่านการเรียนรู้จากพ่อแม่ คนรอบข้างอย่างมีสติ และระมัดระวัง
สำหรับวัยเด็กที่มีอายุระหว่าง 4-12 ปี ในทัศนะของนักพัฒนาสังคมคือวัยที่มีจินตนาการ แม้ว่าละครจะไม่ได้นำเสนอมุมภาพของการทำร้ายร่างกายทั้งหมดออกมา แต่เด็กสามารถจินตนาการต่อไปเองโดยไม่มีวุฒิภาวะว่าเป็นเรื่องจริงหรือเรื่องสมมติขึ้น ตรงนี้อันตรายมาก ยิ่งสถานการณ์ในสังคมไทยปัจจุบันผู้ปกครองไม่มีเวลาที่จะเลี้ยงดูลูกหลานของตัวเองได้อย่างใกล้ชิด พอเด็กเริ่มรู้ความก็พยายามนำไปฝากเลี้ยง ความผูกพันกันในครอบครัวน้อยลง เด็กอยู่กับคนอื่นและสื่อมากขึ้น จึงทำให้สื่อเข้ามามีอิทธิพลต่อเด็กมากขึ้น
ดังนั้น สิ่งสำคัญที่สุดคือ สถาบันครอบครัวต้องใส่ใจเด็กและคนในครอบครัวให้มาก ไม่ด่าทอกัน สร้างความสัมพันธ์กันด้วยเหตุผล บ่มเพาะการเรียนรู้ของเด็กอย่างมีเหตุผล ร่วมระมัดระวังการเสพสื่อ ขณะที่สื่อก็ร่วมตระหนักถึงปัญหาสังคม เชื่อว่าปัญหาจะได้รับการใส่ใจ และคลี่คลายในที่สุด