พะเยา - องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเมืองพะเยาผวาผลกระทบประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนทำสินค้าเกษตรจากเพื่อนบ้านทะลักตีตลาดผลผลิตไทย จน อปท.ต้องรับเคราะห์ ถูกบังคับให้ช่วยแก้ปัญหาราคาผลผลิตเกษตร เร่ง รบ.กระจายอำนาจ-งบประมาณเต็มที่ให้ อปท.เข้มแข็ง
นางสาวอารีย์ อ้อยหอม นายกเทศมนตรีตำบล (ทต.) บ้านต๊ำ อ.เมือง จ.พะเยา กล่าวว่า การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 ที่กำลังจะมาถึงจะเป็นผลดีต่อกลุ่มทุนด้านธุรกิจต่างๆ แต่อีกด้านหนึ่งสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) แล้ว น่าห่วงว่าจะเกิดผลกระทบต่อภาคเกษตรกรรมในประเทศ
ซึ่งทุกวันนี้สินค้าเกษตรจากประเทศเพื่อนบ้านที่ผ่านเข้ามาตีตลาดทางตอนเหนือของประเทศทำให้เกิดผลกระทบต่อสินค้าเกษตรไทยอย่างหนักอยู่แล้ว เช่น กระเทียม หอมแดงจากจีน และถั่วลิสงจาก สปป.ลาว ฯลฯ หากเปิดประชาคมฯ แล้วสินค้าเกษตรชนิดอื่นย่อมมีโอกาสเข้ามาในประเทศไทยมากขึ้น เมื่อถึงตอนนั้นตนยิ่งเกรงว่าจะเกิดผลกระทบเรื่องราคาอย่างหนักแน่นอน โดยเฉพาะสินค้าเกษตรของเพื่อนบ้านมีการพัฒนาถึงขั้นเป็นพืชตัดต่อพันธุกรรมไปแล้ว
นางสาวอารีย์บอกว่า ทางออกหนึ่งจะสามารถทำให้สินค้าเกษตรของเราอยู่ได้ และสามารถแข่งขันในตลาดระดับโลกกับประเทศเพื่อนบ้านได้ คือการผลิตสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพ และต้องเป็นสินค้าปลอดภัยจากสารพิษ เน้นการบริโภคเพื่อสุขภาพ ซึ่งทางรัฐบาลจะต้องมีการดำเนินนโยบายเรื่องแหล่งน้ำ ที่ดิน ให้แก่เกษตรกรอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะเรื่องแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร หากเกษตรกรยังต้องประสบปัญหาเรื่องน้ำแล้ง น้ำท่วม ภัยพิบัติธรรมชาติตอกย้ำซ้ำซากทุกปี ผลผลิตการเกษตรแม้จะมีคุณภาพก็ย่อมเกิดการสูญเสียได้
ซึ่งเมื่อเกิดปัญหาเรื่องผลผลิตทางการเกษตร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราคาตกต่ำ หรือความเสียหาย อปท.ต้องรับภาระหนักเป็นด่านแรก ดังนั้นรัฐบาลต้องกระจายงบประมาณให้แก่ อปท.อย่างเพียงพอ ที่จะนำมาแก้ปัญหาเหล่านี้ให้เกษตรกรในพื้นที่รองรับกับประชาคมฯ ได้
ขณะที่นายจีรเดช ศรีวิราช นายกเทศมนตรีเมือง (ทม.) ดอกคำใต้ อ.ดอกคำใต้ จ.พะเยา กล่าวว่า นอกจากรัฐบาลจะเร่งจัดสรรงบประมาณให้แก่ อปท.เต็มเพดานร้อยละ 35 แล้ว ยังต้องสนับสนุนในภารกิจเร่งด่วน เช่น ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ที่สำคัญคือการกระจายอำนาจให้ อปท.สามารถใช้อำนาจในการตัดสินใจที่จะช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ได้อย่างรอบด้าน ให้ท้องถิ่นจัดการตนเองอย่างเข้มแข็ง รัฐบาลเป็นฝ่ายสนับสนุน ซึ่งเมื่อท้องถิ่นเข้มแข็งถึงเวลาเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนมาแล้วจะไม่ต้องเกรงเรื่องผลกระทบให้มากนัก หรือหาก อปท.ต้องแบกรับภาระแก้ปัญหาเรื่องราคาผลผลิตการเกษตรตกต่ำเหมือนทุกปีที่ผ่านมา ย่อมทำได้หากมีงบประมาณเพียงพอ และนโยบายของรัฐที่ให้อำนาจอย่างเต็มที่
นางสาวอารีย์ อ้อยหอม นายกเทศมนตรีตำบล (ทต.) บ้านต๊ำ อ.เมือง จ.พะเยา กล่าวว่า การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 ที่กำลังจะมาถึงจะเป็นผลดีต่อกลุ่มทุนด้านธุรกิจต่างๆ แต่อีกด้านหนึ่งสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) แล้ว น่าห่วงว่าจะเกิดผลกระทบต่อภาคเกษตรกรรมในประเทศ
ซึ่งทุกวันนี้สินค้าเกษตรจากประเทศเพื่อนบ้านที่ผ่านเข้ามาตีตลาดทางตอนเหนือของประเทศทำให้เกิดผลกระทบต่อสินค้าเกษตรไทยอย่างหนักอยู่แล้ว เช่น กระเทียม หอมแดงจากจีน และถั่วลิสงจาก สปป.ลาว ฯลฯ หากเปิดประชาคมฯ แล้วสินค้าเกษตรชนิดอื่นย่อมมีโอกาสเข้ามาในประเทศไทยมากขึ้น เมื่อถึงตอนนั้นตนยิ่งเกรงว่าจะเกิดผลกระทบเรื่องราคาอย่างหนักแน่นอน โดยเฉพาะสินค้าเกษตรของเพื่อนบ้านมีการพัฒนาถึงขั้นเป็นพืชตัดต่อพันธุกรรมไปแล้ว
นางสาวอารีย์บอกว่า ทางออกหนึ่งจะสามารถทำให้สินค้าเกษตรของเราอยู่ได้ และสามารถแข่งขันในตลาดระดับโลกกับประเทศเพื่อนบ้านได้ คือการผลิตสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพ และต้องเป็นสินค้าปลอดภัยจากสารพิษ เน้นการบริโภคเพื่อสุขภาพ ซึ่งทางรัฐบาลจะต้องมีการดำเนินนโยบายเรื่องแหล่งน้ำ ที่ดิน ให้แก่เกษตรกรอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะเรื่องแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร หากเกษตรกรยังต้องประสบปัญหาเรื่องน้ำแล้ง น้ำท่วม ภัยพิบัติธรรมชาติตอกย้ำซ้ำซากทุกปี ผลผลิตการเกษตรแม้จะมีคุณภาพก็ย่อมเกิดการสูญเสียได้
ซึ่งเมื่อเกิดปัญหาเรื่องผลผลิตทางการเกษตร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราคาตกต่ำ หรือความเสียหาย อปท.ต้องรับภาระหนักเป็นด่านแรก ดังนั้นรัฐบาลต้องกระจายงบประมาณให้แก่ อปท.อย่างเพียงพอ ที่จะนำมาแก้ปัญหาเหล่านี้ให้เกษตรกรในพื้นที่รองรับกับประชาคมฯ ได้
ขณะที่นายจีรเดช ศรีวิราช นายกเทศมนตรีเมือง (ทม.) ดอกคำใต้ อ.ดอกคำใต้ จ.พะเยา กล่าวว่า นอกจากรัฐบาลจะเร่งจัดสรรงบประมาณให้แก่ อปท.เต็มเพดานร้อยละ 35 แล้ว ยังต้องสนับสนุนในภารกิจเร่งด่วน เช่น ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ที่สำคัญคือการกระจายอำนาจให้ อปท.สามารถใช้อำนาจในการตัดสินใจที่จะช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ได้อย่างรอบด้าน ให้ท้องถิ่นจัดการตนเองอย่างเข้มแข็ง รัฐบาลเป็นฝ่ายสนับสนุน ซึ่งเมื่อท้องถิ่นเข้มแข็งถึงเวลาเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนมาแล้วจะไม่ต้องเกรงเรื่องผลกระทบให้มากนัก หรือหาก อปท.ต้องแบกรับภาระแก้ปัญหาเรื่องราคาผลผลิตการเกษตรตกต่ำเหมือนทุกปีที่ผ่านมา ย่อมทำได้หากมีงบประมาณเพียงพอ และนโยบายของรัฐที่ให้อำนาจอย่างเต็มที่