ศูนย์ข่าวเชียงใหม่ - โพลสำรวจนักวิชาการเกษตร พบ 54.4% จวกนโยบายเกษตรรัฐบาล “ปู” เน้นประชานิยม แทรกแซงราคา ทำเกษตรกรพึ่งพาตัวเองไม่ได้ แนะจริงใจกว่านี้ อย่ามุ่งผลประโยชน์ทางการเมือง
ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและพยากรณ์ทางการเกษตร “แม่โจ้โพลล์” มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งมีว่าที่ร้อยตรี ดร.สุรชัย กังวล เป็นผู้อำนวยการศูนย์ฯ ได้สำรวจความคิดเห็นนักวิชาการเกษตรทั่วประเทศจำนวน 261 ราย ต่อการพัฒนาภาคเกษตรกรรมของประเทศไทย ระหว่าง 10 ก.ย. - 12 ต.ค. 55 ที่ผ่านมา ในหัวข้อ “นักวิชาการเกษตรคิดอย่างไรกับนโยบายพัฒนาภาคเกษตรกรรมไทยวันนี้” และมีการเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ พบว่า 98.5% เห็นว่าภาคเกษตรกรรมยังคงมีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ เพราะเป็นอาชีพของคนส่วนใหญ่ รวมถึงพื้นที่มีความเหมาะสมต่อการเกษตร และเป็นแหล่งผลิตอาหารสำคัญของโลก มีเพียง 1.5% เท่านั้นที่เห็นว่าเกษตรกรรมไม่มีความสำคัญแล้ว รัฐบาลควรมุ่งพัฒนาอุตสาหกรรมและการบริการมากกว่า
ส่วนประเด็นนโยบายการพัฒนาภาคเกษตรกรรมของไทยในปัจจุบัน พบว่า นักวิชาการเกษตรส่วนใหญ่ 54.4% มองว่าเป็นนโยบายไม่ถูกต้อง เพราะเป็นนโยบายประชานิยมหวังผลประโยชน์ทางการเมือง และมีการแซกแทรงด้านราคา และตลาด ทำให้เกษตรกรไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้ อีก 45.6% มองว่าเป็นนโยบายที่ถูกต้อง เนื่องจากมองว่า เป็นแนวทางที่สนับสนุนให้ไทยเป็นเลิศด้านการเกษตรและเป็นแหล่งอาหารสำคัญของโลก
ด้านความคิดเห็นต่อประโยชน์ที่เกษตรกรได้รับจากนโยบายด้านการเกษตรของรัฐบาล ซึ่งผู้วิจัยกำหนดให้มีคะแนนเต็ม 5 คะแนน พบว่า นโยบายพักชำระหนี้เกษตรกร ได้คะแนนมากที่สุด 2.93 คะแนน, นโยบายจำนำข้าว ได้ 2.58 คะแนน, นโยบายบัตรเครดิตเกษตรกร ได้ 2.40 คะแนน (สัดส่วนไม่ถึงครึ่ง แสดงว่าเกษตรกรได้รับประโยชน์น้อย)
และเมื่อสอบถามถึงปัญหาด้านการเกษตร ที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนภาคเกษตรกรรมของไทย พบว่า อันดับ 1 คือ ปัญหาต้นทุนการผลิตของเกษตรกรสูง (ร้อยละ 37.9)
อันดับ 2 คือ ปัญหาภาระหนี้สินของเกษตรกรที่เพิ่มขึ้น (ร้อยละ 25.7) อันดับ 3 คือปัญหาผลผลิตทางการเกษตรไม่มีคุณภาพ (ร้อยละ21.1) อันดับ 4 คือ ปัญหาการขาดแคลนที่ดินทำกินของเกษตรกร (ร้อยละ 20.7) และอันดับ 5 คือปัญหาการผลิตที่เน้นการใช้สารเคมี (ร้อยละ 16.5)
ทั้งนี้ นักวิชาการเกษตรที่ตอบแบบสอบถาม ได้เสนอแนะแนวทางการพัฒนาภาคเกษตรกรรมของไทย เพื่อให้เกิดความยั่งยืนดังนี้ 37.0% แนะว่า รัฐบาลต้องมีความจริงใจในการดำเนินนโยบายให้เกษตรกรสามารถพึ่งตนเองได้ ไม่มุ่งหวังผลประโยชน์ทางการเมือง, 26.1% เห็นควรพัฒนาความรู้แก่เกษตรกรในด้านการผลิต และการตลาด ตลอดจนชี้แจงให้เกษตรกรรับรู้ถึงแนวทางการพัฒนาการเกษตรของรัฐบาล, 16.6% เห็นว่า ควรพัฒนาด้านคุณภาพผลผลิตพร้อมลดต้นทุนการผลิต, 12.1% แนะว่า ควรส่งเสริมให้เกษตรกรใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิต และอื่นๆ 10.2% เช่น แนะให้มีการรวมกลุ่มเกษตรกร การแบ่งเขตพื้นที่เกษตรกรรมให้ชัดเจน เป็นต้น
ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและพยากรณ์ทางการเกษตร “แม่โจ้โพลล์” มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งมีว่าที่ร้อยตรี ดร.สุรชัย กังวล เป็นผู้อำนวยการศูนย์ฯ ได้สำรวจความคิดเห็นนักวิชาการเกษตรทั่วประเทศจำนวน 261 ราย ต่อการพัฒนาภาคเกษตรกรรมของประเทศไทย ระหว่าง 10 ก.ย. - 12 ต.ค. 55 ที่ผ่านมา ในหัวข้อ “นักวิชาการเกษตรคิดอย่างไรกับนโยบายพัฒนาภาคเกษตรกรรมไทยวันนี้” และมีการเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ พบว่า 98.5% เห็นว่าภาคเกษตรกรรมยังคงมีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ เพราะเป็นอาชีพของคนส่วนใหญ่ รวมถึงพื้นที่มีความเหมาะสมต่อการเกษตร และเป็นแหล่งผลิตอาหารสำคัญของโลก มีเพียง 1.5% เท่านั้นที่เห็นว่าเกษตรกรรมไม่มีความสำคัญแล้ว รัฐบาลควรมุ่งพัฒนาอุตสาหกรรมและการบริการมากกว่า
ส่วนประเด็นนโยบายการพัฒนาภาคเกษตรกรรมของไทยในปัจจุบัน พบว่า นักวิชาการเกษตรส่วนใหญ่ 54.4% มองว่าเป็นนโยบายไม่ถูกต้อง เพราะเป็นนโยบายประชานิยมหวังผลประโยชน์ทางการเมือง และมีการแซกแทรงด้านราคา และตลาด ทำให้เกษตรกรไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้ อีก 45.6% มองว่าเป็นนโยบายที่ถูกต้อง เนื่องจากมองว่า เป็นแนวทางที่สนับสนุนให้ไทยเป็นเลิศด้านการเกษตรและเป็นแหล่งอาหารสำคัญของโลก
ด้านความคิดเห็นต่อประโยชน์ที่เกษตรกรได้รับจากนโยบายด้านการเกษตรของรัฐบาล ซึ่งผู้วิจัยกำหนดให้มีคะแนนเต็ม 5 คะแนน พบว่า นโยบายพักชำระหนี้เกษตรกร ได้คะแนนมากที่สุด 2.93 คะแนน, นโยบายจำนำข้าว ได้ 2.58 คะแนน, นโยบายบัตรเครดิตเกษตรกร ได้ 2.40 คะแนน (สัดส่วนไม่ถึงครึ่ง แสดงว่าเกษตรกรได้รับประโยชน์น้อย)
และเมื่อสอบถามถึงปัญหาด้านการเกษตร ที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนภาคเกษตรกรรมของไทย พบว่า อันดับ 1 คือ ปัญหาต้นทุนการผลิตของเกษตรกรสูง (ร้อยละ 37.9)
อันดับ 2 คือ ปัญหาภาระหนี้สินของเกษตรกรที่เพิ่มขึ้น (ร้อยละ 25.7) อันดับ 3 คือปัญหาผลผลิตทางการเกษตรไม่มีคุณภาพ (ร้อยละ21.1) อันดับ 4 คือ ปัญหาการขาดแคลนที่ดินทำกินของเกษตรกร (ร้อยละ 20.7) และอันดับ 5 คือปัญหาการผลิตที่เน้นการใช้สารเคมี (ร้อยละ 16.5)
ทั้งนี้ นักวิชาการเกษตรที่ตอบแบบสอบถาม ได้เสนอแนะแนวทางการพัฒนาภาคเกษตรกรรมของไทย เพื่อให้เกิดความยั่งยืนดังนี้ 37.0% แนะว่า รัฐบาลต้องมีความจริงใจในการดำเนินนโยบายให้เกษตรกรสามารถพึ่งตนเองได้ ไม่มุ่งหวังผลประโยชน์ทางการเมือง, 26.1% เห็นควรพัฒนาความรู้แก่เกษตรกรในด้านการผลิต และการตลาด ตลอดจนชี้แจงให้เกษตรกรรับรู้ถึงแนวทางการพัฒนาการเกษตรของรัฐบาล, 16.6% เห็นว่า ควรพัฒนาด้านคุณภาพผลผลิตพร้อมลดต้นทุนการผลิต, 12.1% แนะว่า ควรส่งเสริมให้เกษตรกรใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิต และอื่นๆ 10.2% เช่น แนะให้มีการรวมกลุ่มเกษตรกร การแบ่งเขตพื้นที่เกษตรกรรมให้ชัดเจน เป็นต้น