พะเยา - เครือข่ายป่าต้นน้ำ “กว๊านพะเยา” ระดมสมองกลุ่มย่อย วางแผนจัดการน้ำ “ท้องถิ่น” เสนอให้ อปท.ร่วมบริหารเงินกู้ 3.5 แสนล้าน ย้ำ “ชุมชน-ท้องถิ่น” รู้เรื่องน้ำมากที่สุด แนะ รบ.หยุดดึงต่างชาติประมูลฯ
วันนี้ (12 ก.ย.) นายรัฐวุฒิชัย ใจกล้า นายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) บ้านตุ่น อ.เมือง จ.พะเยา กล่าวว่า การที่ผู้บริหาร อปท.และพนักงานท้องถิ่น ตลอดจนภาคประชาชน ในพื้นที่ต้นน้ำกว๊านพะเยาทางด้านทิศตะวันตกของกว๊านพะเยาได้หารือกันครั้งนี้ เพื่อวางแผนการจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ โดยใช้วัฒนธรรมเข้ามาจัดการ เน้นเรื่องพิธีกรรมของภูมิปัญญาพื้นบ้านที่เชื่อมโยงให้ผู้ใช้น้ำใช้ประโยชน์จากป่าได้ตระหนักถึงความสำคัญของป่าและน้ำ เช่น พิธีบวชป่า การเลี้ยงผีขุนน้ำ การตานสลากขุนน้ำ ฯลฯ ซึ่งพิธีกรรมต่างๆ เหล่านี้บ่มเพาะปลูกฝังให้ทุกคนรักป่ารักน้ำ ร่วมปกป้องไม่ให้มีการทำลาย แต่ก็ยังพบว่ามีบุคคลนอกพื้นที่ป่าต้นน้ำได้ลักลอบมาตัดไม้ ตรงนี้ทาง อปท.หลายแห่งได้เสนอแนวคิดด้านการอนุรักษ์ ส่งเสริมปลูกป่า และจัดกำลังเครือข่ายประชาชนในแต่ละพื้นที่เฝ้าระวังรักษาป่า
“ในฐานะที่เป็นรองประธานชมรมท้องถิ่นไทยแห่งประเทศไทย คิดว่ากรณีที่รัฐบาลจะกู้เงินจำนวน 3.5 แสนล้านบาทจากต่างประเทศเพื่อนำมาใช้ในการวางแผนบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ โดยรวมถึงเรื่องป่าต้นน้ำด้วยนั้น ควรให้คนไทยทุกคนทุกพื้นที่ได้มีส่วนร่วมบริหาร โดยเฉพาะ อปท.ที่อยู่ใกล้ชิดประชาชน และรับรู้ถึงการประสบปัญหาเรื่องน้ำท่วม ภัยแล้งทุกปีเป็นอย่างดี การที่จะให้นายทุนจากต่างชาติเข้ามาประมูล หรือสัมปทานเงินกู้แล้วให้ผู้รับเหมาของไทยเป็นผู้รับเหมาช่วง เราไม่เห็นด้วย เพราะเรื่องน้ำท่วมในไทย คนไทยเท่านั้นที่รู้ดีที่สุด ดังนั้นจึงเสนอไปยังรัฐบาลตระหนักถึงความสำคัญเรื่องการมีส่วนร่วมของท้องถิ่นในการแก้ปัญหาเรื่องน้ำด้วย” นายรัฐวุฒิชัยกล่าว
ด้าน นายชัยวัฒน์ จันธิมา ผู้ประสานงานสถาบันปวงพญาพยาว กล่าวว่า ตนเห็นด้วยที่ทาง อปท.จะได้เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการเรื่องน้ำ เพราะทุกพื้นที่ท้องถิ่นมีบทบาทเรื่องการป้องกัน แก้ปัญหา และวางแผนอนาคตเป็นกำลังสำคัญ
อนึ่ง เงินงบประมาณที่จะได้มาจากเงินกู้ซึ่งประชาชนทั้งประเทศต้องร่วมเป็นภาระรับผิดชอบนั้น ควรอย่างยิ่งที่จะต้องให้ประชาชนทุกพื้นที่ ท้องถิ่นทุกแห่งได้ร่วมบริหารงบประมาณดังกล่าว ประชาชนจะได้รับทราบถึงจุดหมายปลายทางเงินทีได้มาและถูกใช้แก้ปัญหาตามที่รัฐบาลได้ตั้งเป้าไว้จริง
วันนี้ (12 ก.ย.) นายรัฐวุฒิชัย ใจกล้า นายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) บ้านตุ่น อ.เมือง จ.พะเยา กล่าวว่า การที่ผู้บริหาร อปท.และพนักงานท้องถิ่น ตลอดจนภาคประชาชน ในพื้นที่ต้นน้ำกว๊านพะเยาทางด้านทิศตะวันตกของกว๊านพะเยาได้หารือกันครั้งนี้ เพื่อวางแผนการจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ โดยใช้วัฒนธรรมเข้ามาจัดการ เน้นเรื่องพิธีกรรมของภูมิปัญญาพื้นบ้านที่เชื่อมโยงให้ผู้ใช้น้ำใช้ประโยชน์จากป่าได้ตระหนักถึงความสำคัญของป่าและน้ำ เช่น พิธีบวชป่า การเลี้ยงผีขุนน้ำ การตานสลากขุนน้ำ ฯลฯ ซึ่งพิธีกรรมต่างๆ เหล่านี้บ่มเพาะปลูกฝังให้ทุกคนรักป่ารักน้ำ ร่วมปกป้องไม่ให้มีการทำลาย แต่ก็ยังพบว่ามีบุคคลนอกพื้นที่ป่าต้นน้ำได้ลักลอบมาตัดไม้ ตรงนี้ทาง อปท.หลายแห่งได้เสนอแนวคิดด้านการอนุรักษ์ ส่งเสริมปลูกป่า และจัดกำลังเครือข่ายประชาชนในแต่ละพื้นที่เฝ้าระวังรักษาป่า
“ในฐานะที่เป็นรองประธานชมรมท้องถิ่นไทยแห่งประเทศไทย คิดว่ากรณีที่รัฐบาลจะกู้เงินจำนวน 3.5 แสนล้านบาทจากต่างประเทศเพื่อนำมาใช้ในการวางแผนบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ โดยรวมถึงเรื่องป่าต้นน้ำด้วยนั้น ควรให้คนไทยทุกคนทุกพื้นที่ได้มีส่วนร่วมบริหาร โดยเฉพาะ อปท.ที่อยู่ใกล้ชิดประชาชน และรับรู้ถึงการประสบปัญหาเรื่องน้ำท่วม ภัยแล้งทุกปีเป็นอย่างดี การที่จะให้นายทุนจากต่างชาติเข้ามาประมูล หรือสัมปทานเงินกู้แล้วให้ผู้รับเหมาของไทยเป็นผู้รับเหมาช่วง เราไม่เห็นด้วย เพราะเรื่องน้ำท่วมในไทย คนไทยเท่านั้นที่รู้ดีที่สุด ดังนั้นจึงเสนอไปยังรัฐบาลตระหนักถึงความสำคัญเรื่องการมีส่วนร่วมของท้องถิ่นในการแก้ปัญหาเรื่องน้ำด้วย” นายรัฐวุฒิชัยกล่าว
ด้าน นายชัยวัฒน์ จันธิมา ผู้ประสานงานสถาบันปวงพญาพยาว กล่าวว่า ตนเห็นด้วยที่ทาง อปท.จะได้เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการเรื่องน้ำ เพราะทุกพื้นที่ท้องถิ่นมีบทบาทเรื่องการป้องกัน แก้ปัญหา และวางแผนอนาคตเป็นกำลังสำคัญ
อนึ่ง เงินงบประมาณที่จะได้มาจากเงินกู้ซึ่งประชาชนทั้งประเทศต้องร่วมเป็นภาระรับผิดชอบนั้น ควรอย่างยิ่งที่จะต้องให้ประชาชนทุกพื้นที่ ท้องถิ่นทุกแห่งได้ร่วมบริหารงบประมาณดังกล่าว ประชาชนจะได้รับทราบถึงจุดหมายปลายทางเงินทีได้มาและถูกใช้แก้ปัญหาตามที่รัฐบาลได้ตั้งเป้าไว้จริง