ศูนย์ข่าวศรีราชา- บ.เคอรี่ สยามซีพอร์ต เตรียมขยายท่าเทียบเรือ หลังมีผู้ใช้ท่าเทียบเรือเพิ่มขึ้น เพื่อรองรับความต้องการในอนาคต พร้อมจัดทำรายการผลกระทบสิ่งแวดล้อม และสอบถามความเห็นของประชาชน
นายวรพล สุวรรณสบาย ผู้จัดการฝ่ายรักษาความปลอดภัย บริษัท บ.เคอรี่ สยามซีพอร์ต เผยว่า ทางบริษัทมีโครงการขยายท่าเทียบเรือระยะที่ 4 ในพื้นบ้านอ่าวอุดม ตำบลทุ่งสุขลา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เนื่องจากมีแนวโน้มจะมีความต้องการการใช้ท่าเทียบเรือเพิ่มขึ้น โดยที่ผ่านมา ประมาณการไว้เดิมจำนวนเรือเข้ามาใช้บริการ 762 ลำต่อปี ในปี 2554 เป็น 1,461 ลำต่อปี ในปี พ.ศ.2558
ทำให้บริษัทจำเป็นต้องขอขยายท่าเรือให้สอดคล้องกับการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจของโลก ภูมิภาค และประเทศไทย พร้อมทั้งเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับจำนวนสินค้า และจำนวนเรือบรรทุกสินค้าที่เข้ามาใช้บริการท่าเทียบเรือของบริษัท เคอรี่ สยามซีพอร์ต จำกัด
นอกจากนั้น ยังสามารถช่วยให้การขนถ่ายสินค้าส่งออกเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ ที่สำคัญ เป็นการลดค่าใช้จ่ายและระยะเวลาในการขนถ่ายสินค้า ซึ่งลูกค้าไม่ต้องใช้บริการผ่านบริษัทต่างๆ หลายขั้นตอน ทำให้สินค้าที่จำหน่ายสู่ต่างประเทศมีต้นทุนลดลง
ปัจจุบัน ท่าเทียบเรือเคอรรี่ สยามซีพอร์ต ประกอบด้วย สะพานท่าเรือ (Jetty) ยาวประมาณ 2,755.73 เมตร, ท่าเทียบเรือ (Berth) ประกอบด้วย ท่าเทียบเรือด้านนอก (Outer Berth) มีความยาวประมาณ 786.3 เมตร (ไม่รวมความยาว Mooring
Dolphin) และท่าเทียบเรือด้านใน (Inner Berth) มีความยาวประมาณ 770.524 เมตร
นอกจากนั้น บริษัทยังมีคลังสินค้าใช้เพื่อการขนถ่าย, ลานสินค้า, จุดตรวจสอบรถเข้า- ออกท่าเรือ, อาคารเก็บสินค้าชำรุดของศุลกากร, ด่านชั่งนํ้าหนักรถบรรทุกสินค้า, พื้นที่ตั้งถังเก็บกักนํ้าตาล 3 ถัง มีขนาดความจุ 12,000 ตัน จำนวน 2 ถัง และความจุ 15,000 ตันจำนวน 1 ถัง คลังสินค้าทั่วไป 6 หลัง, คลังสินค้าบรรจุหีบห่อ (CFS) 2 หลัง, คลังสินค้าเทกอง (Bulk) 8 หลัง คลังสินค้าเหล็กม้วน (Coil) 6 หลัง
ในการขยายท่าเทียบเรือครั้งนี้ จะทำการขยายขึ้นไปทางด้านเหนือ (หรือทางด้านขวามือของท่าปัจจุบัน เมื่อมองออกจากฝั่ง) อีก 750 เมตร สามารถรองรับเรือขนาดบรรทุก 100,000 ตันเวตตัน (DWT) โดยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ โดยระยะขยายยาว 250 เมตร เสร็จในปี พ.ศ.2557 ระยะที่ 2 ยาวอีก 250 เมตร และสุดท้ายอีก 250 เมตร รวมทั้งสิ้น 750 เมตร โดยจะก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ.2559
นายวรพล กล่าวต่อไปว่า ทางบริษัทจึงได้ว่าจ้างบริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด ดำเนินการศึกษา และจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของโครงการ ขยายท่าเทียบเรือระยะที่ 4 เพื่อให้ทราบถึงผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในระยะก่อสร้าง และระยะดำเนินการ รวมถึงเสนอแนะแผนปฏิบัติการด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ เพื่อเป็นมาตรการที่เหมาะสมในการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม รวมถึงติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนที่อยู่ในบริเวณพื้นที่โครงการ และบริเวณใกล้เคียงต่อไป
นายวรพล สุวรรณสบาย ผู้จัดการฝ่ายรักษาความปลอดภัย บริษัท บ.เคอรี่ สยามซีพอร์ต เผยว่า ทางบริษัทมีโครงการขยายท่าเทียบเรือระยะที่ 4 ในพื้นบ้านอ่าวอุดม ตำบลทุ่งสุขลา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เนื่องจากมีแนวโน้มจะมีความต้องการการใช้ท่าเทียบเรือเพิ่มขึ้น โดยที่ผ่านมา ประมาณการไว้เดิมจำนวนเรือเข้ามาใช้บริการ 762 ลำต่อปี ในปี 2554 เป็น 1,461 ลำต่อปี ในปี พ.ศ.2558
ทำให้บริษัทจำเป็นต้องขอขยายท่าเรือให้สอดคล้องกับการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจของโลก ภูมิภาค และประเทศไทย พร้อมทั้งเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับจำนวนสินค้า และจำนวนเรือบรรทุกสินค้าที่เข้ามาใช้บริการท่าเทียบเรือของบริษัท เคอรี่ สยามซีพอร์ต จำกัด
นอกจากนั้น ยังสามารถช่วยให้การขนถ่ายสินค้าส่งออกเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ ที่สำคัญ เป็นการลดค่าใช้จ่ายและระยะเวลาในการขนถ่ายสินค้า ซึ่งลูกค้าไม่ต้องใช้บริการผ่านบริษัทต่างๆ หลายขั้นตอน ทำให้สินค้าที่จำหน่ายสู่ต่างประเทศมีต้นทุนลดลง
ปัจจุบัน ท่าเทียบเรือเคอรรี่ สยามซีพอร์ต ประกอบด้วย สะพานท่าเรือ (Jetty) ยาวประมาณ 2,755.73 เมตร, ท่าเทียบเรือ (Berth) ประกอบด้วย ท่าเทียบเรือด้านนอก (Outer Berth) มีความยาวประมาณ 786.3 เมตร (ไม่รวมความยาว Mooring
Dolphin) และท่าเทียบเรือด้านใน (Inner Berth) มีความยาวประมาณ 770.524 เมตร
นอกจากนั้น บริษัทยังมีคลังสินค้าใช้เพื่อการขนถ่าย, ลานสินค้า, จุดตรวจสอบรถเข้า- ออกท่าเรือ, อาคารเก็บสินค้าชำรุดของศุลกากร, ด่านชั่งนํ้าหนักรถบรรทุกสินค้า, พื้นที่ตั้งถังเก็บกักนํ้าตาล 3 ถัง มีขนาดความจุ 12,000 ตัน จำนวน 2 ถัง และความจุ 15,000 ตันจำนวน 1 ถัง คลังสินค้าทั่วไป 6 หลัง, คลังสินค้าบรรจุหีบห่อ (CFS) 2 หลัง, คลังสินค้าเทกอง (Bulk) 8 หลัง คลังสินค้าเหล็กม้วน (Coil) 6 หลัง
ในการขยายท่าเทียบเรือครั้งนี้ จะทำการขยายขึ้นไปทางด้านเหนือ (หรือทางด้านขวามือของท่าปัจจุบัน เมื่อมองออกจากฝั่ง) อีก 750 เมตร สามารถรองรับเรือขนาดบรรทุก 100,000 ตันเวตตัน (DWT) โดยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ โดยระยะขยายยาว 250 เมตร เสร็จในปี พ.ศ.2557 ระยะที่ 2 ยาวอีก 250 เมตร และสุดท้ายอีก 250 เมตร รวมทั้งสิ้น 750 เมตร โดยจะก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ.2559
นายวรพล กล่าวต่อไปว่า ทางบริษัทจึงได้ว่าจ้างบริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด ดำเนินการศึกษา และจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของโครงการ ขยายท่าเทียบเรือระยะที่ 4 เพื่อให้ทราบถึงผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในระยะก่อสร้าง และระยะดำเนินการ รวมถึงเสนอแนะแผนปฏิบัติการด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ เพื่อเป็นมาตรการที่เหมาะสมในการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม รวมถึงติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนที่อยู่ในบริเวณพื้นที่โครงการ และบริเวณใกล้เคียงต่อไป