ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย เตรียมเปิดซื้อขายสัญญาล่วงหน้าสับปะรดกระป๋องเป็นแห่งแรกของโลก เพื่อตอบสนองผู้ประกอบการ หวังพึ่งดีมานด์ ซัปพลายที่แท้จริง เกิดราคาอ้างอิงมาตรฐาน สร้างอำนาจต่อรองกับผู้ซื้อในตลาดโลก
นายชาตรี สหเวชชภัณฑ์ กรรมการและผู้จัดการ ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย หรือ AFET เปิดเผยว่า ขณะนี้ คณะกรรมการตลาดไฟเขียวอนุมัติให้นำสับปะรดกระป๋องเข้ามาซื้อขายใน AFET เพื่อประโยชน์แก่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมสับปะรดทั้งระบบ ในการประกันความเสี่ยงด้านราคา เพื่อใช้ราคาซื้อขายล่วงหน้าเป็นราคาอ้างอิงในการส่งออก และยังสามารถใช้วางแผนการขาย และรับซื้อวัตถุดิบเข้าโรงงาน
“การเปิดซื้อขายสัญญาล่วงหน้าสับปะรดกระป๋องของ AFET นับเป็นมิติใหม่ และถือเป็นแห่งแรกของโลก ซึ่งจะเป็นแหล่งอ้างอิงราคาสับปะรดกระป๋องที่สำคัญ ส่งผลให้โรงงานผู้ผลิตสามารถใช้เป็นราคาต่อรองกับตลาดโลกได้ และ AFET ยังหวังผลักดันประเทศไทยขึ้นเป็นศูนย์กลางการซื้อขายสัญญาล่วงหน้าผลิตภัณฑ์สับปะรดของโลกอีกด้วย” นายชาตรีกล่าว
ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะมีการส่งออกผลิตภัณฑ์สับปะรดมากเป็นอันดับ 1 ของโลก โดยมีมูลค่าการส่งออกในปีที่ผ่านมา เฉพาะสับปะรดกระป๋องกว่า 20,000 ล้านบาท ซึ่งผลิตภัณฑ์สับปะรดกระป๋องนี้ ถือเป็นสินค้าส่งออกที่ไทยมีศักยภาพในการแข่งขันในตลาดโลก และมีสัดส่วนในการส่งออกมากถึง ร้อยละ 69 ของมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์สับปะรดทั้งหมดในปี 2554 แต่ผู้ประกอบการยังคงมีปัจจัยเสี่ยงทั้งด้านความผันผวนของราคาวัตถุดิบ และราคาส่งออก
ปัจจุบัน ราคาส่งออกของผลิตภัณฑ์สับปะรดเกิดจากผู้ซื้อในตลาดโลกเข้ามาสำรวจราคาจากผู้ประกอบการ ซึ่งจะทำให้เกิดสภาวะที่เรียกว่า การตัดราคาของผู้ประกอบการด้วยกันเอง ส่งผลให้ราคาส่งออกผลิตภัณฑ์สับปะรดต่ำกว่าที่ควร และเป็นราคาที่ถูกกำหนดขึ้นโดยผู้ซื้อในตลาดโลกเท่านั้น ไม่ได้เป็นไปตามกลไกตลาดที่แท้จริง ทั้งนี้ การนำผลิตภัณฑ์สับปะรดเข้ามาซื้อขายใน AFET ทำให้สะท้อนความต้องการซื้อ และความต้องการขายที่แท้จริง ดังนั้น ราคาใน AFET จึงเป็นไปตามกลไกตลาด ซึ่งจะได้ราคาที่เป็นธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้ และเกิดเป็นราคาอ้างอิงที่ผู้ประกอบการสามารถนำไปต่อรองกับผู้ซื้อในตลาดโลกได้ ซึ่งในที่สุด ก็จะสะท้อนกลับไปยังราคาวัตถุดิบที่ป้อนสู่อุตสาหกรรมอีกต่อหนึ่ง
“สินค้าที่ AFET เตรียมเปิดซื้อขายล่วงหน้าครั้งนี้ เป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้าอ้างอิงกับ สับปะรดกระป๋อง ชนิดชิ้นคละ ถึงแม้สินค้ากลุ่มนี้ จะมีปัจจัยสำคัญเพียงเพื่อการบริโภค แต่มีสัดส่วนในการส่งออกสูงกว่าผลิตภัณฑ์สับปะรดชนิดอื่น และกลุ่มเป้าหมายเบื้องต้น เป็นโรงงานผลิตสับปะรดกระป๋อง ซึ่งมีอยู่ 75 แห่งทั่วประเทศ ที่ต้องการใช้ระบบตลาดล่วงหน้า เพื่อการประกันความเสี่ยง และ AFET เชื่อมั่นว่า สินค้าชนิดนี้จะสร้างโอกาสให้นักลงทุนทั่วไปใช้ AFET เป็นแหล่งลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนได้ ส่วนรายละเอียดเกี่ยวกับข้อกำหนดการซื้อขายล่วงหน้า รวมถึงหน่วยการซื้อขาย ติดตามได้ในเร็วๆ นี้” นายชาตรีกล่าว
นายชาตรี สหเวชชภัณฑ์ กรรมการและผู้จัดการ ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย หรือ AFET เปิดเผยว่า ขณะนี้ คณะกรรมการตลาดไฟเขียวอนุมัติให้นำสับปะรดกระป๋องเข้ามาซื้อขายใน AFET เพื่อประโยชน์แก่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมสับปะรดทั้งระบบ ในการประกันความเสี่ยงด้านราคา เพื่อใช้ราคาซื้อขายล่วงหน้าเป็นราคาอ้างอิงในการส่งออก และยังสามารถใช้วางแผนการขาย และรับซื้อวัตถุดิบเข้าโรงงาน
“การเปิดซื้อขายสัญญาล่วงหน้าสับปะรดกระป๋องของ AFET นับเป็นมิติใหม่ และถือเป็นแห่งแรกของโลก ซึ่งจะเป็นแหล่งอ้างอิงราคาสับปะรดกระป๋องที่สำคัญ ส่งผลให้โรงงานผู้ผลิตสามารถใช้เป็นราคาต่อรองกับตลาดโลกได้ และ AFET ยังหวังผลักดันประเทศไทยขึ้นเป็นศูนย์กลางการซื้อขายสัญญาล่วงหน้าผลิตภัณฑ์สับปะรดของโลกอีกด้วย” นายชาตรีกล่าว
ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะมีการส่งออกผลิตภัณฑ์สับปะรดมากเป็นอันดับ 1 ของโลก โดยมีมูลค่าการส่งออกในปีที่ผ่านมา เฉพาะสับปะรดกระป๋องกว่า 20,000 ล้านบาท ซึ่งผลิตภัณฑ์สับปะรดกระป๋องนี้ ถือเป็นสินค้าส่งออกที่ไทยมีศักยภาพในการแข่งขันในตลาดโลก และมีสัดส่วนในการส่งออกมากถึง ร้อยละ 69 ของมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์สับปะรดทั้งหมดในปี 2554 แต่ผู้ประกอบการยังคงมีปัจจัยเสี่ยงทั้งด้านความผันผวนของราคาวัตถุดิบ และราคาส่งออก
ปัจจุบัน ราคาส่งออกของผลิตภัณฑ์สับปะรดเกิดจากผู้ซื้อในตลาดโลกเข้ามาสำรวจราคาจากผู้ประกอบการ ซึ่งจะทำให้เกิดสภาวะที่เรียกว่า การตัดราคาของผู้ประกอบการด้วยกันเอง ส่งผลให้ราคาส่งออกผลิตภัณฑ์สับปะรดต่ำกว่าที่ควร และเป็นราคาที่ถูกกำหนดขึ้นโดยผู้ซื้อในตลาดโลกเท่านั้น ไม่ได้เป็นไปตามกลไกตลาดที่แท้จริง ทั้งนี้ การนำผลิตภัณฑ์สับปะรดเข้ามาซื้อขายใน AFET ทำให้สะท้อนความต้องการซื้อ และความต้องการขายที่แท้จริง ดังนั้น ราคาใน AFET จึงเป็นไปตามกลไกตลาด ซึ่งจะได้ราคาที่เป็นธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้ และเกิดเป็นราคาอ้างอิงที่ผู้ประกอบการสามารถนำไปต่อรองกับผู้ซื้อในตลาดโลกได้ ซึ่งในที่สุด ก็จะสะท้อนกลับไปยังราคาวัตถุดิบที่ป้อนสู่อุตสาหกรรมอีกต่อหนึ่ง
“สินค้าที่ AFET เตรียมเปิดซื้อขายล่วงหน้าครั้งนี้ เป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้าอ้างอิงกับ สับปะรดกระป๋อง ชนิดชิ้นคละ ถึงแม้สินค้ากลุ่มนี้ จะมีปัจจัยสำคัญเพียงเพื่อการบริโภค แต่มีสัดส่วนในการส่งออกสูงกว่าผลิตภัณฑ์สับปะรดชนิดอื่น และกลุ่มเป้าหมายเบื้องต้น เป็นโรงงานผลิตสับปะรดกระป๋อง ซึ่งมีอยู่ 75 แห่งทั่วประเทศ ที่ต้องการใช้ระบบตลาดล่วงหน้า เพื่อการประกันความเสี่ยง และ AFET เชื่อมั่นว่า สินค้าชนิดนี้จะสร้างโอกาสให้นักลงทุนทั่วไปใช้ AFET เป็นแหล่งลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนได้ ส่วนรายละเอียดเกี่ยวกับข้อกำหนดการซื้อขายล่วงหน้า รวมถึงหน่วยการซื้อขาย ติดตามได้ในเร็วๆ นี้” นายชาตรีกล่าว