พะเยา - “YMCA” เผยแรงงานเด็ก “ไทย-พม่า-ลาว” ทำงานชายแดนเสี่ยงเหยื่อ “ค้ามนุษย์” แจ้งเตือน “ชุมชน-ท้องถิ่น-รัฐ” เฝ้าระวังเด็กทำงานชายแดนเพื่อนบ้านหวั่นถูกหลอก
นางสาวแสงวรรณ มณีวรรณ ผู้อำนวยการโครงการบ้านพักคุณภาพชีวิตเด็กและครอบครัวภาคเหนือ มูลนิธิไวเอ็มซีเอ (YMCA) กรุงเทพฯ สาขาพะเยา เปิดเผยว่า แม้ขณะนี้จะยังไม่มีการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) อย่างเป็นทางการก็ตาม แต่พบว่าประชาชนของแต่ละประเทศต่างเดินทางไปมาเข้าออกแต่ละประเทศมากขึ้น เช่น เด็กจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาทำอาชีพขอทาน หรือขายแรงงานอย่างไม่ถูกกฎหมายในประเทศไทย หรือคนในประเทศไทยเดินทางไปประเทศเพื่อนบ้านเพื่อไปประกอบอาชีพ
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พบว่าขณะนี้มีเด็กจากประเทศไทย และประเทศเพื่อนบ้านที่มีแนวชายแดนติดต่อกันได้เข้าไปทำงานตามแนวชายแดน ส่วนหนึ่งเป็นเด็กผู้ชายและผู้หญิงที่มีช่วงอายุระหว่าง 14-17 ปี ทำงานด้านการให้บริการจำนวนมาก เช่น พนักงานเสิร์ฟในร้านอาหาร ฯลฯ
ผอ.มูลนิธิ YMCA เปิดเผยต่อว่า กลุ่มเด็กเหล่านี้ส่วนใหญ่จะเป็นชนชาติพันธุ์ในประเทศไทย พม่า และ สปป.ลาว ซึ่งหากไปทำงานบริเวณแนวชายแดน ทำให้เกรงว่าอาจจะกลายเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะถูกหลอกหรือถูกล่อลวงเข้าไปสู่ขบวนการค้ามนุษย์ได้ เนื่องจากประเทศไทยถูกประเมินเป็นพื้นที่ปัญหาการค้ามนุษย์ได้ 3 สถานะ คือ ต้นทาง ทางผ่าน และปลายทาง
ดังนั้น สิ่งที่จะช่วยป้องกันได้ตั้งแต่ต้นทางคือ ภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) และชุมชน ตลอดจนภาคประชาสังคม ต้องช่วยกันสอดส่องดูแลเตือนไม่ให้ลูกหลานหรือเด็กในท้องที่ของตนเองเดินทางไปทำงานบริเวณชายแดนของประเทศเพื่อนบ้านเพราะเสี่ยงต่อการถูกล่อลวงได้ง่าย
“สิ่งที่น่าห่วงคือนักค้ามนุษย์ได้แทรกอยู่ในทุกกลุ่มอาชีพ ดังเช่นที่ทางคณะกรรมาธิการกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ และผู้พิการ สภาผู้แทนราษฎร ได้ให้ข้อมูลทุกกลุ่มอาชีพต้องระมัดระวังช่วยกันป้องกันและเฝ้าระวังปัญหาค้ามนุษย์ เพราะบรรดานักค้ามนุษย์ทั้งหลายมีอยู่ในคราบของคนสารพัดอาชีพ ดังนั้นพื้นที่ชุมชนตามแนวชายแดนต้องเฝ้าระวังเด็กๆ ในพื้นที่ไม่ให้ออกไปทำงานบริเวณชายแดนของประเทศเพื่อนบ้าน เพราะอาจจะเสี่ยงตกเป็นเหยื่อค้ามนุษย์ได้” น.ส.แสงวรรณกล่าว
นางสาวแสงวรรณ มณีวรรณ ผู้อำนวยการโครงการบ้านพักคุณภาพชีวิตเด็กและครอบครัวภาคเหนือ มูลนิธิไวเอ็มซีเอ (YMCA) กรุงเทพฯ สาขาพะเยา เปิดเผยว่า แม้ขณะนี้จะยังไม่มีการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) อย่างเป็นทางการก็ตาม แต่พบว่าประชาชนของแต่ละประเทศต่างเดินทางไปมาเข้าออกแต่ละประเทศมากขึ้น เช่น เด็กจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาทำอาชีพขอทาน หรือขายแรงงานอย่างไม่ถูกกฎหมายในประเทศไทย หรือคนในประเทศไทยเดินทางไปประเทศเพื่อนบ้านเพื่อไปประกอบอาชีพ
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พบว่าขณะนี้มีเด็กจากประเทศไทย และประเทศเพื่อนบ้านที่มีแนวชายแดนติดต่อกันได้เข้าไปทำงานตามแนวชายแดน ส่วนหนึ่งเป็นเด็กผู้ชายและผู้หญิงที่มีช่วงอายุระหว่าง 14-17 ปี ทำงานด้านการให้บริการจำนวนมาก เช่น พนักงานเสิร์ฟในร้านอาหาร ฯลฯ
ผอ.มูลนิธิ YMCA เปิดเผยต่อว่า กลุ่มเด็กเหล่านี้ส่วนใหญ่จะเป็นชนชาติพันธุ์ในประเทศไทย พม่า และ สปป.ลาว ซึ่งหากไปทำงานบริเวณแนวชายแดน ทำให้เกรงว่าอาจจะกลายเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะถูกหลอกหรือถูกล่อลวงเข้าไปสู่ขบวนการค้ามนุษย์ได้ เนื่องจากประเทศไทยถูกประเมินเป็นพื้นที่ปัญหาการค้ามนุษย์ได้ 3 สถานะ คือ ต้นทาง ทางผ่าน และปลายทาง
ดังนั้น สิ่งที่จะช่วยป้องกันได้ตั้งแต่ต้นทางคือ ภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) และชุมชน ตลอดจนภาคประชาสังคม ต้องช่วยกันสอดส่องดูแลเตือนไม่ให้ลูกหลานหรือเด็กในท้องที่ของตนเองเดินทางไปทำงานบริเวณชายแดนของประเทศเพื่อนบ้านเพราะเสี่ยงต่อการถูกล่อลวงได้ง่าย
“สิ่งที่น่าห่วงคือนักค้ามนุษย์ได้แทรกอยู่ในทุกกลุ่มอาชีพ ดังเช่นที่ทางคณะกรรมาธิการกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ และผู้พิการ สภาผู้แทนราษฎร ได้ให้ข้อมูลทุกกลุ่มอาชีพต้องระมัดระวังช่วยกันป้องกันและเฝ้าระวังปัญหาค้ามนุษย์ เพราะบรรดานักค้ามนุษย์ทั้งหลายมีอยู่ในคราบของคนสารพัดอาชีพ ดังนั้นพื้นที่ชุมชนตามแนวชายแดนต้องเฝ้าระวังเด็กๆ ในพื้นที่ไม่ให้ออกไปทำงานบริเวณชายแดนของประเทศเพื่อนบ้าน เพราะอาจจะเสี่ยงตกเป็นเหยื่อค้ามนุษย์ได้” น.ส.แสงวรรณกล่าว