ศูนย์ข่าวศรีราชา - น้ำประปาเมืองพัทยาส่อเค้าขาดแคลนหลังปริมาณน้ำดิบที่มีเหลืออยู่ในปริมาณจำกัด ขณะที่ความเติบโตของเมืองทำความต้องการใช้เพิ่มมากขึ้น ล่าสุด เมืองพัทยาเรียกประชุมร่วมภาครัฐ เอกชนในพื้นที่เพื่อหารือการแก้ไขปัญหาระยะยาว พร้อมเสนอจัดทำโครงการ Pattaya New Water และเตรียมหาผู้ลงทุนระบบรีไซเคิลน้ำ หวังนำน้ำเสียเข้าสู่ระบบบำบัดก่อนนำกลับมาใช้อีกครั้ง
วันนี้ (27 ส.ค.) ดร.วีรวัฒน์ ค้าขาย รองนายกเมืองพัทยา ในฐานะประธานคณะกรรมการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำประปาเมืองพัทยา ได้เป็นประธานการประชุมร่วมคณะกรรมการ พร้อมที่ปรึกษายุทธศาสตร์เมืองท่องเที่ยวน่าอยู่ ตัวแทนสำนักงานการประปาพัทยา และองค์กรภาคธุรกิจเพื่อติดตามความคืบหน้าของโครงการแก้ไขปัญหาประปา โดยจัดการประชุมขึ้นที่ศาลาว่าการเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี
โดยนายอารยะ งามวงศ์วาน ผู้จัดการสำนักงานการประปาพัทยา เผยถึงสถานการณ์น้ำในเมืองพัทยาว่าปัจจุบันยังไม่รุนแรง หรือวิกฤต เพราะปริมาณน้ำดิบที่มีอยู่ใน 5 อ่างเก็บน้ำหลักยังถือว่าสามารถรองรับการใช้น้ำได้เฉลี่ยวันละ 1.7-1.8 แสนลูกบาศก์เมตร ขณะที่ความสามารถในการผลิตต่อวันอยู่ที่ 2.5 แสนลูกบาศก์เมตร แต่อย่างไรก็ตาม ในอนาคตอันใกล้หากฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาลอาจมีผลกระทบต่อปริมาณน้ำดิบที่มีอยู่ได้
เนื่องจากปริมาณน้ำดิบที่มีอยู่ปัจจุบัน สำหรับอ่างเก็บน้ำมาบประชัน มีสัดส่วนที่ 69% อ่างเก็บน้ำชากนอก 32% อ่างเก็บน้ำหนองกลางดง 55% อ่างเก็บน้ำห้วยสะพาน 41% และอ่างเก็บน้ำห้วยขุนจิต 8% ซึ่งหากปริมาณการใช้น้ำในพื้นที่เมืองพัทยายังคงเท่าเดิม หรือมากขึ้นในช่วงไฮซีซันที่กำลังจะมาถึง ก็อาจเกิดผลกระทบได้ โดยในเรื่องนี้การประปาเมืองพัทยาได้ประสานไปยังกรมชลประทาน และ บริษัท อีสวอร์เตอร์ฯ เพื่อหาทางแก้ไขด้วยการซื้อน้ำดิบจากแหล่งอื่นๆ เข้าเสริม
ด้าน ดร.วีรวัฒน์ กล่าวว่า จากการที่เมืองพัทยาเกิดปัญหาขาดแคลนน้ำดิบที่ใช้ในการผลิตน้ำประปาอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากปัจจัยเรื่องฝนที่ตกน้อย ทำให้ทุกภาคส่วนต้องหาทางร่วมมือแก้ไข แม้ภาครัฐจะสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการไปแล้ว เช่น การต่อเชื่อมท่อส่งน้ำจากบางพระมายังอ่างเก็บน้ำมาบประชัน หรือการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำเพิ่มเติม เช่น อ่างเก็บน้ำห้วยไข่เน่า หรืออ่างเก็บน้ำมาบหวายโสม แต่ก็ถือว่าเป็นโครงการระยะยาว
“เบื้องต้นที่พบว่ามีปัญหาก็ได้หารือกับการประปาเพื่อประสานงานไปยัง 2 องค์กรหลักอย่างกรมชลประทาน และบริษัทอีสวอร์เตอร์ฯ ในการจัดหาน้ำดิบเพิ่มเติม ขณะที่ในส่วนของเมืองพัทยาก็จะรอให้ผู้เกี่ยวข้องดำเนินการไปเองเพียงลำพังไม่ได้ เพราะปัจจุบัน เมืองพัทยามีอัตราการเติบโตที่รวดเร็ว ซึ่งก็จะทำให้ปริมาณการใช้น้ำสูงขึ้นไปอีกด้วย”
ดั้งนั้น จึงมีแนวคิดในการจัดทำโครงการ Pattaya New Water ขึ้นเสริม โดยมอบหมายให้ภาคเอกชนเข้ามาลงทุนในงบประมาณกว่า 30 ล้านบาท เพื่อนำน้ำดิบที่ผ่านการบำบัดของเมืองพัทยาในอัตราเฉลี่ย 1-1.2 แสนลูกบาศก์เมตรต่อวัน ทำกลั่นกรอง และควบคุมคุณภาพให้เป็นน้ำสะอาด ก่อนจำหน่ายให้แก่การประปาส่วนภูมิภาคเพื่อใช้ในการผลิตน้ำประปาต่อไป โดยเชื่อว่าจะสามารถทำให้มีปริมาณน้ำดิบเพิ่มมากขึ้น และลดภาวการณ์ขาดแคลนน้ำในระยะยาวได้อีกระดับหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม จากการสอบถามทุกภาคส่วนเกี่ยวกับโครงการดังกล่าวต่างเห็นชอบให้เมืองพัทยาเร่งดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำประปาอย่างยั่งยืน และเมืองพัทยาเองยังได้จัดตั้งคณะอนุกรรมการขึ้น 2 ชุด เพื่อทำการร่างข้อบัญญัติตามกฎหมายในการประกาศใช้ รวมทั้งร่างขอบเขตของการทำงานหรือ TOR เพื่อกำหนดแนวทางในการจัดทำโครงการที่ชัดเจน ก่อนจะมีการประกาศให้ภาคเอกชนที่สนใจร่วมลงทุน และดำเนินการต่อไป
โดยถือว่าโครงการดังกล่าวเป็นโครงการสำคัญที่จะรองรับการใช้น้ำเพื่อการอุปโภค บริโภคของประชาชน และการเจริญเติบโตของเมืองพัทยาได้ในอนาคต ส่วนในเรื่องของการยอมรับเกี่ยวกับการนำน้ำรีไซเคิลมาใช้นั้น หลังจากได้ผู้ว่าจ้างแล้ว จะมีการจัดทำประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการใช้น้ำของโครงการ Pattaya New Water ว่ามีความปลอดภัย และสะอาดสามารถอุปโภคบริโภคได้ต่อไป
วันนี้ (27 ส.ค.) ดร.วีรวัฒน์ ค้าขาย รองนายกเมืองพัทยา ในฐานะประธานคณะกรรมการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำประปาเมืองพัทยา ได้เป็นประธานการประชุมร่วมคณะกรรมการ พร้อมที่ปรึกษายุทธศาสตร์เมืองท่องเที่ยวน่าอยู่ ตัวแทนสำนักงานการประปาพัทยา และองค์กรภาคธุรกิจเพื่อติดตามความคืบหน้าของโครงการแก้ไขปัญหาประปา โดยจัดการประชุมขึ้นที่ศาลาว่าการเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี
โดยนายอารยะ งามวงศ์วาน ผู้จัดการสำนักงานการประปาพัทยา เผยถึงสถานการณ์น้ำในเมืองพัทยาว่าปัจจุบันยังไม่รุนแรง หรือวิกฤต เพราะปริมาณน้ำดิบที่มีอยู่ใน 5 อ่างเก็บน้ำหลักยังถือว่าสามารถรองรับการใช้น้ำได้เฉลี่ยวันละ 1.7-1.8 แสนลูกบาศก์เมตร ขณะที่ความสามารถในการผลิตต่อวันอยู่ที่ 2.5 แสนลูกบาศก์เมตร แต่อย่างไรก็ตาม ในอนาคตอันใกล้หากฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาลอาจมีผลกระทบต่อปริมาณน้ำดิบที่มีอยู่ได้
เนื่องจากปริมาณน้ำดิบที่มีอยู่ปัจจุบัน สำหรับอ่างเก็บน้ำมาบประชัน มีสัดส่วนที่ 69% อ่างเก็บน้ำชากนอก 32% อ่างเก็บน้ำหนองกลางดง 55% อ่างเก็บน้ำห้วยสะพาน 41% และอ่างเก็บน้ำห้วยขุนจิต 8% ซึ่งหากปริมาณการใช้น้ำในพื้นที่เมืองพัทยายังคงเท่าเดิม หรือมากขึ้นในช่วงไฮซีซันที่กำลังจะมาถึง ก็อาจเกิดผลกระทบได้ โดยในเรื่องนี้การประปาเมืองพัทยาได้ประสานไปยังกรมชลประทาน และ บริษัท อีสวอร์เตอร์ฯ เพื่อหาทางแก้ไขด้วยการซื้อน้ำดิบจากแหล่งอื่นๆ เข้าเสริม
ด้าน ดร.วีรวัฒน์ กล่าวว่า จากการที่เมืองพัทยาเกิดปัญหาขาดแคลนน้ำดิบที่ใช้ในการผลิตน้ำประปาอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากปัจจัยเรื่องฝนที่ตกน้อย ทำให้ทุกภาคส่วนต้องหาทางร่วมมือแก้ไข แม้ภาครัฐจะสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการไปแล้ว เช่น การต่อเชื่อมท่อส่งน้ำจากบางพระมายังอ่างเก็บน้ำมาบประชัน หรือการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำเพิ่มเติม เช่น อ่างเก็บน้ำห้วยไข่เน่า หรืออ่างเก็บน้ำมาบหวายโสม แต่ก็ถือว่าเป็นโครงการระยะยาว
“เบื้องต้นที่พบว่ามีปัญหาก็ได้หารือกับการประปาเพื่อประสานงานไปยัง 2 องค์กรหลักอย่างกรมชลประทาน และบริษัทอีสวอร์เตอร์ฯ ในการจัดหาน้ำดิบเพิ่มเติม ขณะที่ในส่วนของเมืองพัทยาก็จะรอให้ผู้เกี่ยวข้องดำเนินการไปเองเพียงลำพังไม่ได้ เพราะปัจจุบัน เมืองพัทยามีอัตราการเติบโตที่รวดเร็ว ซึ่งก็จะทำให้ปริมาณการใช้น้ำสูงขึ้นไปอีกด้วย”
ดั้งนั้น จึงมีแนวคิดในการจัดทำโครงการ Pattaya New Water ขึ้นเสริม โดยมอบหมายให้ภาคเอกชนเข้ามาลงทุนในงบประมาณกว่า 30 ล้านบาท เพื่อนำน้ำดิบที่ผ่านการบำบัดของเมืองพัทยาในอัตราเฉลี่ย 1-1.2 แสนลูกบาศก์เมตรต่อวัน ทำกลั่นกรอง และควบคุมคุณภาพให้เป็นน้ำสะอาด ก่อนจำหน่ายให้แก่การประปาส่วนภูมิภาคเพื่อใช้ในการผลิตน้ำประปาต่อไป โดยเชื่อว่าจะสามารถทำให้มีปริมาณน้ำดิบเพิ่มมากขึ้น และลดภาวการณ์ขาดแคลนน้ำในระยะยาวได้อีกระดับหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม จากการสอบถามทุกภาคส่วนเกี่ยวกับโครงการดังกล่าวต่างเห็นชอบให้เมืองพัทยาเร่งดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำประปาอย่างยั่งยืน และเมืองพัทยาเองยังได้จัดตั้งคณะอนุกรรมการขึ้น 2 ชุด เพื่อทำการร่างข้อบัญญัติตามกฎหมายในการประกาศใช้ รวมทั้งร่างขอบเขตของการทำงานหรือ TOR เพื่อกำหนดแนวทางในการจัดทำโครงการที่ชัดเจน ก่อนจะมีการประกาศให้ภาคเอกชนที่สนใจร่วมลงทุน และดำเนินการต่อไป
โดยถือว่าโครงการดังกล่าวเป็นโครงการสำคัญที่จะรองรับการใช้น้ำเพื่อการอุปโภค บริโภคของประชาชน และการเจริญเติบโตของเมืองพัทยาได้ในอนาคต ส่วนในเรื่องของการยอมรับเกี่ยวกับการนำน้ำรีไซเคิลมาใช้นั้น หลังจากได้ผู้ว่าจ้างแล้ว จะมีการจัดทำประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการใช้น้ำของโครงการ Pattaya New Water ว่ามีความปลอดภัย และสะอาดสามารถอุปโภคบริโภคได้ต่อไป