ศูนย์ข่าวศรีราชา - ผู้ว่าฯ ชลบุรี เตรียมแก้ปัญหาเรือเจ็ตสกีโดยเร่งด่วน หลังสถานทูต 3 ชาติหลักออกมาเตือนนักท่องเที่ยวห้ามเล่นกีฬาทางน้ำพัทยา หวั่นส่งผลกระทบแผนสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว 2 ล้านล้านบาท
วันนี้ (9 ส.ค.) นายคมสัน เอกชัย ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี เป็นประธานการประชุมร่วมกับเมืองพัทยา อำเภอบางละมุง สำนักงานตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรี สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่ 6 ภาคธุรกิจการท่องเที่ยว และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานพัทยา เพื่อร่วมหารือแนวทางแก้ไขปัญหาด้านความเชื่อมั่นความปลอดภัย และอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว โดยเฉพาะกรณีของปัญหาผู้ประกอบการเรือเจ็ตสกีชายหาดพัทยา ซึ่งพบว่าปัจจุบัน เริ่มส่งผลกระทบอย่างรุนแรงด้านภาพลักษณ์การท่องเที่ยวของเมืองพัทยา และประเทศอย่างต่อเนื่อง และรุนแรง
ปัญหาที่เกิดขึ้นถือว่ารุนแรงมาก และยกระดับกลายเป็นปัญหาระดับประเทศ และระดับนานาชาติ เนื่องจากมีการร้องเรียนผ่านรัฐบาลจากสถานทูตต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งหากปล่อยไว้ในอนาคต อาจส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวอย่างรุนแรง และยังถือว่า ขัดต่อแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยวของภาครัฐ ที่หวังจะสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว 2 ล้านล้านบาทในปี 2558
โดยที่ผ่านมา ปัญหาเรื่องนี้มีการหยิบยกมาพูดคุยกันแล้วครั้งหนึ่ง ในการประชุม ครม.สัญจร ที่เมืองพัทยา โดยมีการมอบหมายให้ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง เป็นผู้รับผิดชอบ พร้อมมีการประชุมร่วมกับจังหวัดชลบุรี เพื่อกำหนดมาตรการไปบ้างแล้วถึง 2 ครั้ง ด้วยเหตุนี้ จึงจัดประชุมในระดับพื้นที่เพื่อรับฟังข้อเท็จจริงอีกครั้ง ก่อนหาบทสรุปการแก้ไขที่ชัดเจน และเป็นรูปธรรมอย่างเร่งด่วน
ด้านนายอิทธิพล คุณปลื้ม นายกเมืองพัทยา กล่าวว่า ปัญหานี้สะสมมานาน 5-6 ปีแล้ว โดยปัญหาส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นบริเวณชายหาดเป็นหลัก ได้แก่ หาดพัทยา เกาะล้าน จอมเทียน วงศ์อมาตย์ และพระตำหนัก จนมีการร้องเรียนผ่านสถานทูตต่างๆ มายังเมืองพัทยาเพื่อให้แก้ไขเร่งด่วน เช่น จีน รีสเซีย และอินเดีย เนื่องจากพบว่า มีการขูดรีด และเรียกเก็บเงินค่าซ่อมบำรุงเรืออย่างไม่เป็นธรรมด้วยวิธีการต่างๆ
เช่น การจงใจให้เกิดปัญหา และอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งแม้เมืองพัทยาจะเคยมีการจัดตั้งคณะกรรมการจัดระเบียบผู้ประกอบการทางน้ำขึ้นมาดูแลโดยเฉพาะ เพื่อทำการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท และควบคุมลงทะเบียนเรือเจ็ตสกีให้อยู่ในระบบ แต่ก็ยังถือว่าการแก้ไขยังไม่บรรลุเป้าหมายมากนัก เพราะยังคงมีผู้ฝ่าฝืน และดำเนินการที่ผิดต่อกฎหมาย และศีลธรรมอย่างต่อเนื่อง
ขณะที่นายอรรถพล วรรณกิจ ผอ.ททท.สำนักงานพัทยา กล่าวว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบอย่างรุนแรงจนทำให้ตลาดท่องเที่ยวด้อยคุณภาพลง อย่างไรก็ตาม แม้จะมีตลาดมาเสริมก็ยังมีการสร้างปัญหาจนเกิดผลกระทบซ้ำซาก
ล่าสุด สถานทูตอินเดีย ได้ทำหนังสือแจ้งเตือนไปยังสมาคมนักธุรกิจท่องเที่ยวอินเดีย ให้นักท่องเที่ยวระมัดระวัง หรือยกเลิกการเล่นกีฬาทางน้ำในเมืองพัทยา เนื่องจากพบว่า มีการขูดรีด ข่มขู่ และทำร้ายนักท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหากยังปล่อยไปเช่นนี้ เมืองพัทยาย่อมได้รับผลกระทบแน่นอน และรัฐเองจะต้องเสียเงินอีกหลายเท่าที่จะไปแก้ชื่อเสียง และภาพ ลักษณ์ให้กลับมาเหมือนเดิม
นายคมสัน เอกชัย ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี กล่าวว่า สำหรับเรือเจ็ตสกีนั้น ตามกฎหมายเป็นเรือสำราญจะมาเปิดบริการให้เช่าไม่ได้ และแม้จะมีการเสนอให้มีการออกข้อบัญญัติ หรือแก้กฎหมายใหม่เพื่ออำนวยความสะดวกจากสำนักงานเจ้าท่าฯ แต่ที่ประชุมส่วนใหญ่ก็มีมติคัดค้านไม่เห็นชอบด้วย เพราะถือว่า เป็นเรื่องไม่ถูกต้อง และกำกับดูแลยาก ดังนั้น จึงจะเข้มงวดเรื่องการกำหนดกรอบการปฏิบัติที่เข้มงวด
โดยจะจัดตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจ ซึ่งรวมเอาหน่วยงานต่างๆ เพื่อมาร่วมระดมความคิดในการกำหนดกรอบกติกาที่ชัดเจน ตั้งแต่การจดทะเบียนเรือ การควบคุมปริมาณเรือให้พอเหมาะ การประเมินราคาค่าเสียหาย รวมถึงการกำหนดโทษในส่วนของผู้ประกอบการที่ละเมิด ซึ่งจะต้องถือเป็นวาระสำคัญ และดำเนินการอย่างจริงจังต่อจากนี้ โดยจะมีการสรุปพร้อมรวบรวมข้อเสนอนำมาปฏิบัติอีกครั้งในเร็ววันนี้
วันนี้ (9 ส.ค.) นายคมสัน เอกชัย ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี เป็นประธานการประชุมร่วมกับเมืองพัทยา อำเภอบางละมุง สำนักงานตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรี สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่ 6 ภาคธุรกิจการท่องเที่ยว และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานพัทยา เพื่อร่วมหารือแนวทางแก้ไขปัญหาด้านความเชื่อมั่นความปลอดภัย และอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว โดยเฉพาะกรณีของปัญหาผู้ประกอบการเรือเจ็ตสกีชายหาดพัทยา ซึ่งพบว่าปัจจุบัน เริ่มส่งผลกระทบอย่างรุนแรงด้านภาพลักษณ์การท่องเที่ยวของเมืองพัทยา และประเทศอย่างต่อเนื่อง และรุนแรง
ปัญหาที่เกิดขึ้นถือว่ารุนแรงมาก และยกระดับกลายเป็นปัญหาระดับประเทศ และระดับนานาชาติ เนื่องจากมีการร้องเรียนผ่านรัฐบาลจากสถานทูตต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งหากปล่อยไว้ในอนาคต อาจส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวอย่างรุนแรง และยังถือว่า ขัดต่อแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยวของภาครัฐ ที่หวังจะสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว 2 ล้านล้านบาทในปี 2558
โดยที่ผ่านมา ปัญหาเรื่องนี้มีการหยิบยกมาพูดคุยกันแล้วครั้งหนึ่ง ในการประชุม ครม.สัญจร ที่เมืองพัทยา โดยมีการมอบหมายให้ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง เป็นผู้รับผิดชอบ พร้อมมีการประชุมร่วมกับจังหวัดชลบุรี เพื่อกำหนดมาตรการไปบ้างแล้วถึง 2 ครั้ง ด้วยเหตุนี้ จึงจัดประชุมในระดับพื้นที่เพื่อรับฟังข้อเท็จจริงอีกครั้ง ก่อนหาบทสรุปการแก้ไขที่ชัดเจน และเป็นรูปธรรมอย่างเร่งด่วน
ด้านนายอิทธิพล คุณปลื้ม นายกเมืองพัทยา กล่าวว่า ปัญหานี้สะสมมานาน 5-6 ปีแล้ว โดยปัญหาส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นบริเวณชายหาดเป็นหลัก ได้แก่ หาดพัทยา เกาะล้าน จอมเทียน วงศ์อมาตย์ และพระตำหนัก จนมีการร้องเรียนผ่านสถานทูตต่างๆ มายังเมืองพัทยาเพื่อให้แก้ไขเร่งด่วน เช่น จีน รีสเซีย และอินเดีย เนื่องจากพบว่า มีการขูดรีด และเรียกเก็บเงินค่าซ่อมบำรุงเรืออย่างไม่เป็นธรรมด้วยวิธีการต่างๆ
เช่น การจงใจให้เกิดปัญหา และอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งแม้เมืองพัทยาจะเคยมีการจัดตั้งคณะกรรมการจัดระเบียบผู้ประกอบการทางน้ำขึ้นมาดูแลโดยเฉพาะ เพื่อทำการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท และควบคุมลงทะเบียนเรือเจ็ตสกีให้อยู่ในระบบ แต่ก็ยังถือว่าการแก้ไขยังไม่บรรลุเป้าหมายมากนัก เพราะยังคงมีผู้ฝ่าฝืน และดำเนินการที่ผิดต่อกฎหมาย และศีลธรรมอย่างต่อเนื่อง
ขณะที่นายอรรถพล วรรณกิจ ผอ.ททท.สำนักงานพัทยา กล่าวว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบอย่างรุนแรงจนทำให้ตลาดท่องเที่ยวด้อยคุณภาพลง อย่างไรก็ตาม แม้จะมีตลาดมาเสริมก็ยังมีการสร้างปัญหาจนเกิดผลกระทบซ้ำซาก
ล่าสุด สถานทูตอินเดีย ได้ทำหนังสือแจ้งเตือนไปยังสมาคมนักธุรกิจท่องเที่ยวอินเดีย ให้นักท่องเที่ยวระมัดระวัง หรือยกเลิกการเล่นกีฬาทางน้ำในเมืองพัทยา เนื่องจากพบว่า มีการขูดรีด ข่มขู่ และทำร้ายนักท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหากยังปล่อยไปเช่นนี้ เมืองพัทยาย่อมได้รับผลกระทบแน่นอน และรัฐเองจะต้องเสียเงินอีกหลายเท่าที่จะไปแก้ชื่อเสียง และภาพ ลักษณ์ให้กลับมาเหมือนเดิม
นายคมสัน เอกชัย ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี กล่าวว่า สำหรับเรือเจ็ตสกีนั้น ตามกฎหมายเป็นเรือสำราญจะมาเปิดบริการให้เช่าไม่ได้ และแม้จะมีการเสนอให้มีการออกข้อบัญญัติ หรือแก้กฎหมายใหม่เพื่ออำนวยความสะดวกจากสำนักงานเจ้าท่าฯ แต่ที่ประชุมส่วนใหญ่ก็มีมติคัดค้านไม่เห็นชอบด้วย เพราะถือว่า เป็นเรื่องไม่ถูกต้อง และกำกับดูแลยาก ดังนั้น จึงจะเข้มงวดเรื่องการกำหนดกรอบการปฏิบัติที่เข้มงวด
โดยจะจัดตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจ ซึ่งรวมเอาหน่วยงานต่างๆ เพื่อมาร่วมระดมความคิดในการกำหนดกรอบกติกาที่ชัดเจน ตั้งแต่การจดทะเบียนเรือ การควบคุมปริมาณเรือให้พอเหมาะ การประเมินราคาค่าเสียหาย รวมถึงการกำหนดโทษในส่วนของผู้ประกอบการที่ละเมิด ซึ่งจะต้องถือเป็นวาระสำคัญ และดำเนินการอย่างจริงจังต่อจากนี้ โดยจะมีการสรุปพร้อมรวบรวมข้อเสนอนำมาปฏิบัติอีกครั้งในเร็ววันนี้