ศูนย์ข่าวศรีราชา - ระยองโมเดล ต้นแบบการบูรณาการในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศไทย และเตรียมการรองรับเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC)
ตามที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบในหลักการ ในการจัดทำแผนการแก้ไขปัญหามาบตาพุดอย่างครบวงจร เมื่อวันที่19 มิถุนายน 2555 จากการประชุมครม.สัญจรที่จังหวัดชลบุรีโดยได้เสนอแผนการดำเนินงาน ระหว่าง ปี 2555 - 2559 ประกอบด้วย 8 แผนงาน 92 โครงการวงเงินงบประมาณ 43,476,669 ล้านบาท ในระยะเวลา 5 ปี รวมทั้งให้เร่งดำเนินการศึกษาการพัฒนาพื้นที่มาบตาพุดให้เป็นองค์กรปกครองส่วนรูปแบบพิเศษ เพื่อพัฒนาขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศไทยและเตรียมการรองรับเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC)นั้น
ทำให้ประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีความตื่นตัวในการแก้ไขปัญหามาบตาพุดเป็นอย่างมาก ซึ่งคณะอนุกรรมาธิการสิ่งแวดล้อมและภัยธรรมชาติ วุฒิสภา โดยมีนางภารณี จงสุทธนามณี เป็นประธานได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในจังหวัดระยอง ได้แก่ กรมควบคุมมลพิษ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สำนักงานส่งเสริมการลงทุนจังหวัดระยอง สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดระยอง องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง และเทศบาลเมืองมาบตาพุดมาร่วมประชุมหารือเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2555 ที่อาคารสุขประพฤติ วุฒิสภา
นายสนธิ คชวัฒน์ เลขาและอนุกรรมาธิการสิ่งแวดล้อมและภัยธรรมชาติ เปิดเผยว่า จากการประชุมร่วมหารือกันระหว่างหน่วยงานส่วนกลาง หน่วยงานพื้นที่จังหวัดระยองและ คณะอนุกรรมาธิการฯได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน เพื่อเสนอแนวทางในการจัดการปัญหามาบตาพุดเพิ่มเติม จากที่แต่ละหน่วยงานได้ดำเนินการไปแล้ว ซึ่งสรุปได้ดังนี้
1.เนื่องจากรัฐบาลได้ทุ่มงบประมาณลงไปแก้ไขปัญหามาบตาพุดเป็นจำนวนหลายพันล้านบาท ตั้งแต่มีการประกาศเป็นเขตควบคุมมลพิษ เมื่อพ.ศ.2552เป็นต้นมาแต่ก็ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาการร้องเรียนต่างๆได้ ทั้งนี้ อาจมาจากการที่ภาคประชาชนขาดความไว้วางใจหรือความเชื่อมั่นต่อการดำเนินของภาครัฐและผู้ประกอบการ
เนื่องจาก 1. มลพิษในพื้นที่ยังสามารถตรวจพบอยู่ โดยเฉพาะไอระเหยสารอินทรีย์ 2. มาตรการด้านความปลอดภัยและแผนฉุกเฉินยังไม่ชัดเจน 3.คุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่ยังไม่ได้รับการพัฒนาอย่างยั่งยืน 4.งบประมาณในการพัฒนาพื้นที่มีจำกัด เนื่องจากโรงงานร้อยละ90เสียภาษีที่กรุงเทพ 5.ผังเมืองรวมจังหวัดระยองหมดอายุตั้งแต่ปี2546 6.การอนุญาตตั้งโรงงานอยู่ที่ส่วนกลาง จังหวัดระยองไม่มีอำนาจ 7.การบังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อมหย่อนยานดังนั้นหากสามารถจัดทำแผนงานและดำเนินการปรับปรุงในประเด็นดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น จะทำให้ความเชื่อมั่นจากภาคประชาชนจะกลับคืนมา
2. เห็นด้วยให้มีการศึกษาและผลักดันให้พื้นที่มาบตาพุด หรือจังหวัดระยองเป็นองค์กรปกครองส่วนรูปแบบพิเศษ ซึ่งเทศบาลมาบตาพุดได้แจ้งว่าจะทำการศึกษาแล้วเสร็จภายในเวลา6เดือนและจะนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี ให้ความเห็นชอบและดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถนำรายได้จากการเก็บภาษีมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนในพื้นที่โดยตรง
3.ผลักดันให้จังหวัดระยอง เทศบาลมาบตาพุด และนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่ให้มีความเข้มแข็งสามารถเข้าไปดูแลและแก้ไขปัญหาได้อย่างเบ็ดเสร็จโดยที่หน่วยงานส่วนกลางเป็นผู้ให้การสนับสนุนทั้งเทคโนโลยีและวิชาการ รวมทั้งให้มีการตั้งคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมจังหวัดระยอง เพื่อทำหน้าที่กำหนดนโยบายและแนวทางการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพในจังหวัดระยอง พิจารณาให้ความเห็นประกอบการขออนุญาตตั้งโรงงานอุตสาหกรรมหรือการพัฒนาสาธารณูปการต่างๆในจังหวัดระยองก่อนนำไปทำการศึกษาโดยที่ปรึกษาหรือขออนุญาตต่อหน่วยงานอนุญาต และพิจารณาให้ความเห็นในกรณีการร้องเรียนด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพจากประชาชน
4.ให้มีการติดตามตรวจสอบการปฏิบัติตาม มาตรการป้องกันและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม(และสุขภาพ)อย่างเข้มงวด ทั้งนี้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจะร่วมกับกรมควบคุมมลพิษกำกับดูแลโครงการ ที่ผ่านการเห็นชอบกับรายงานฯอย่างเข้มงวด โดยเฉพาะโครงการที่ไม่ยอมส่งรายงานการติดตามตรวจสอบมาให้พิจารณา
ในส่วนของกรมโรงงานและการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยดำเนินการตรวจสอบและกำกับโรงงานในการดูแลโดยให้เจ้าของโครงการมานำเสนอการดำเนินงานพร้อมตอบข้อซักถามต่อที่ประชุม ซึ่งประกอบด้วยหน่วยราชการและประชาชนปีละ 2 ครั้งต่อโครงการ
5.จัดทำคู่มือเกี่ยวกับข้อมูลสารเคมีให้ประชาชนเข้าใจ รวมทั้งพิจารณาให้โครงการต่างๆในพื้นที่จังหวัดระยองจัดตั้งกองทุน เพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมสามารถนำเงินกองทุนมาแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตได้ทันที
6.ผลักดันและส่งเสริมให้โรงงานอุตสาหกรรมมาตั้งสำนักงานที่จังหวัดระยอง และเสียภาษีที่จังหวัดระยอง เพื่อให้จังหวัดระยองมีงบประมาณพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนมากยิ่งขึ้น
7. ผลักดันให้ให้โรงงานอุตสาหกรรมเป็นอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ และพัฒนาชุมชนและสังคมร่วมกับหน่วยราชการ สร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ประชาชน รวมทั้งต้องทำให้ประชาชนมีความเข้าใจการทำงานของโรงงาน และโรงงานต้องเข้าใจวิถีชีวิตของชุมชนด้วย
8. ผลักดันให้มีการประกาศผังเมืองรวมจังหวัดระยองให้เร็วที่สุด เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาเมืองต่อไป
ตามที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบในหลักการ ในการจัดทำแผนการแก้ไขปัญหามาบตาพุดอย่างครบวงจร เมื่อวันที่19 มิถุนายน 2555 จากการประชุมครม.สัญจรที่จังหวัดชลบุรีโดยได้เสนอแผนการดำเนินงาน ระหว่าง ปี 2555 - 2559 ประกอบด้วย 8 แผนงาน 92 โครงการวงเงินงบประมาณ 43,476,669 ล้านบาท ในระยะเวลา 5 ปี รวมทั้งให้เร่งดำเนินการศึกษาการพัฒนาพื้นที่มาบตาพุดให้เป็นองค์กรปกครองส่วนรูปแบบพิเศษ เพื่อพัฒนาขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศไทยและเตรียมการรองรับเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC)นั้น
ทำให้ประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีความตื่นตัวในการแก้ไขปัญหามาบตาพุดเป็นอย่างมาก ซึ่งคณะอนุกรรมาธิการสิ่งแวดล้อมและภัยธรรมชาติ วุฒิสภา โดยมีนางภารณี จงสุทธนามณี เป็นประธานได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในจังหวัดระยอง ได้แก่ กรมควบคุมมลพิษ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สำนักงานส่งเสริมการลงทุนจังหวัดระยอง สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดระยอง องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง และเทศบาลเมืองมาบตาพุดมาร่วมประชุมหารือเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2555 ที่อาคารสุขประพฤติ วุฒิสภา
นายสนธิ คชวัฒน์ เลขาและอนุกรรมาธิการสิ่งแวดล้อมและภัยธรรมชาติ เปิดเผยว่า จากการประชุมร่วมหารือกันระหว่างหน่วยงานส่วนกลาง หน่วยงานพื้นที่จังหวัดระยองและ คณะอนุกรรมาธิการฯได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน เพื่อเสนอแนวทางในการจัดการปัญหามาบตาพุดเพิ่มเติม จากที่แต่ละหน่วยงานได้ดำเนินการไปแล้ว ซึ่งสรุปได้ดังนี้
1.เนื่องจากรัฐบาลได้ทุ่มงบประมาณลงไปแก้ไขปัญหามาบตาพุดเป็นจำนวนหลายพันล้านบาท ตั้งแต่มีการประกาศเป็นเขตควบคุมมลพิษ เมื่อพ.ศ.2552เป็นต้นมาแต่ก็ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาการร้องเรียนต่างๆได้ ทั้งนี้ อาจมาจากการที่ภาคประชาชนขาดความไว้วางใจหรือความเชื่อมั่นต่อการดำเนินของภาครัฐและผู้ประกอบการ
เนื่องจาก 1. มลพิษในพื้นที่ยังสามารถตรวจพบอยู่ โดยเฉพาะไอระเหยสารอินทรีย์ 2. มาตรการด้านความปลอดภัยและแผนฉุกเฉินยังไม่ชัดเจน 3.คุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่ยังไม่ได้รับการพัฒนาอย่างยั่งยืน 4.งบประมาณในการพัฒนาพื้นที่มีจำกัด เนื่องจากโรงงานร้อยละ90เสียภาษีที่กรุงเทพ 5.ผังเมืองรวมจังหวัดระยองหมดอายุตั้งแต่ปี2546 6.การอนุญาตตั้งโรงงานอยู่ที่ส่วนกลาง จังหวัดระยองไม่มีอำนาจ 7.การบังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อมหย่อนยานดังนั้นหากสามารถจัดทำแผนงานและดำเนินการปรับปรุงในประเด็นดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น จะทำให้ความเชื่อมั่นจากภาคประชาชนจะกลับคืนมา
2. เห็นด้วยให้มีการศึกษาและผลักดันให้พื้นที่มาบตาพุด หรือจังหวัดระยองเป็นองค์กรปกครองส่วนรูปแบบพิเศษ ซึ่งเทศบาลมาบตาพุดได้แจ้งว่าจะทำการศึกษาแล้วเสร็จภายในเวลา6เดือนและจะนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี ให้ความเห็นชอบและดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถนำรายได้จากการเก็บภาษีมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนในพื้นที่โดยตรง
3.ผลักดันให้จังหวัดระยอง เทศบาลมาบตาพุด และนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่ให้มีความเข้มแข็งสามารถเข้าไปดูแลและแก้ไขปัญหาได้อย่างเบ็ดเสร็จโดยที่หน่วยงานส่วนกลางเป็นผู้ให้การสนับสนุนทั้งเทคโนโลยีและวิชาการ รวมทั้งให้มีการตั้งคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมจังหวัดระยอง เพื่อทำหน้าที่กำหนดนโยบายและแนวทางการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพในจังหวัดระยอง พิจารณาให้ความเห็นประกอบการขออนุญาตตั้งโรงงานอุตสาหกรรมหรือการพัฒนาสาธารณูปการต่างๆในจังหวัดระยองก่อนนำไปทำการศึกษาโดยที่ปรึกษาหรือขออนุญาตต่อหน่วยงานอนุญาต และพิจารณาให้ความเห็นในกรณีการร้องเรียนด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพจากประชาชน
4.ให้มีการติดตามตรวจสอบการปฏิบัติตาม มาตรการป้องกันและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม(และสุขภาพ)อย่างเข้มงวด ทั้งนี้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจะร่วมกับกรมควบคุมมลพิษกำกับดูแลโครงการ ที่ผ่านการเห็นชอบกับรายงานฯอย่างเข้มงวด โดยเฉพาะโครงการที่ไม่ยอมส่งรายงานการติดตามตรวจสอบมาให้พิจารณา
ในส่วนของกรมโรงงานและการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยดำเนินการตรวจสอบและกำกับโรงงานในการดูแลโดยให้เจ้าของโครงการมานำเสนอการดำเนินงานพร้อมตอบข้อซักถามต่อที่ประชุม ซึ่งประกอบด้วยหน่วยราชการและประชาชนปีละ 2 ครั้งต่อโครงการ
5.จัดทำคู่มือเกี่ยวกับข้อมูลสารเคมีให้ประชาชนเข้าใจ รวมทั้งพิจารณาให้โครงการต่างๆในพื้นที่จังหวัดระยองจัดตั้งกองทุน เพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมสามารถนำเงินกองทุนมาแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตได้ทันที
6.ผลักดันและส่งเสริมให้โรงงานอุตสาหกรรมมาตั้งสำนักงานที่จังหวัดระยอง และเสียภาษีที่จังหวัดระยอง เพื่อให้จังหวัดระยองมีงบประมาณพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนมากยิ่งขึ้น
7. ผลักดันให้ให้โรงงานอุตสาหกรรมเป็นอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ และพัฒนาชุมชนและสังคมร่วมกับหน่วยราชการ สร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ประชาชน รวมทั้งต้องทำให้ประชาชนมีความเข้าใจการทำงานของโรงงาน และโรงงานต้องเข้าใจวิถีชีวิตของชุมชนด้วย
8. ผลักดันให้มีการประกาศผังเมืองรวมจังหวัดระยองให้เร็วที่สุด เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาเมืองต่อไป