ศูนย์ข่าวศรีราชา - คณะเกษตรศาสตร์ และทรัพยากรธรรมชาติ จัดสัมมนา “แนวทางทางการผลิตเห็ดในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ และสภาพแวดล้อม พร้อมทั้งแนะแนวทางจะผลิตเห็ดอย่างไปสู่อาเชียน
วันนี้ (13 ก.ค.55) อธิการบดีมหาวิทยาลัย เทคโนโลยี่ราชมงคลตะวันออก เป็นประธานการเปิดสัมมนา เรื่อง แนวทางผลิตเห็ดในสถานการณ์ ที่เปลี่ยนแปลง ทางเศรษฐกิจ และสภาพแวดล้อม พร้อมเผยว่า ในวันนี้ทางคณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากร ธรรมชาติ ได้มีการจัดสัมมนา เชิงวิชาการ การผลิตเห็ดครบวงจรอย่างยั่นยื่น ในหัวข้อ แนวทาง ทางการผลิตเห็ดในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ และสภาพแวดล้อม เนื่องจากทางคณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ ได้เปิดการเรียนการสอน ทำงานวิจัยการผลิตเห็ด ตลอดจนการอบรมให้ความรู้ และให้คำปรึกษาการเพราะเห็ดมายาวนาน
อย่างไรก็ตามการผลิตเห็ดมีลักษณะเฉพาะต่างจากการผลิต ผลิตผลทางการเกษตรอื่นๆ จึงทำให้มีการเคลื่อนไหวของผู้คนที่เดินเข้ามา และออกจากวงการเห็ดตลอดเวลา เนื่องจากการเพาะเห็ดสามารถเริ่มต้นได้โดนไม่ต้องใช้เงินทุนสูงนัก แต่ต้องมีใจรักเข้าใจธรรมชาติของเห็ด ซึ่งผู้เพาะเห็ด ต้องปรับตัวให้เข้ากับนิสัย และสภาพแวดล้อมของเห็ด นั้นๆ ได้อย่างดี ปัจจุบันความต้องการเห็ดเพื่อการบริโภคยังมีสูงอย่างต่อเนื่อง แต่วัสดุเพาะเห็ดเริ่มขาดแคลน มีราคาแพง รวมถึงการเปลี่ยนแปลงค่านิยมในการประกอบอาชีพ ตามกระแสการเปลี่ยนแปลงค่านิยมในการประกอบกอาชีพ ตามกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก ส่งผลกระทบกับความมั่นคง ในการประกอบอาชีพ เพาะเห็ด เพื่อหาแนวทางช่วยคิดแก้ไขปัญหาข้างต้น
จึงได้จัดการสัมมนาในครั้งนี้ขึ้น เพื่อ 1. จัดเวทีแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ด้านกระบวนการผลิตเห็ดแต่เกษตรกรในภาคตะวันออก และสร้างเครือข่ายผู้เพาะเห็ด
2. เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยี่ การเพาะเห็ด ที่เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของสภาพแวดล้อม แก่เกษตรการและผู้สนใจ ให้สามารถพึ่งกาตนเองได้ และเกิดความมั่นคงในอาชีพ
3. เพื่อสร้าง ความสัมพันธ์ อันดี ระหว่างหน่วยงานราชการ สถาบันอุดมการณ์ศึกษาและชุมชน ท้องถิ่น ในการร่วมกันสร้างความเข็มแข็งของชุมชน ซึ่งการสัมมนาในครั้งนี้ ได้รับการสนับสนุนจากสมาคมนักวิจัยและเพาะเห็ดแห่งประเทศ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ ฟาร์มเห็ดเครือข่ายทั้งภูมิภาคและจากต่างภูมิภาค
นอกจากนี้ ยังมีการบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับการผลิตอย่างไร ให้เห็ดไทยไปสู่อาเซียน ซึ้งในเรื่องนี้ เกษตรกรไทย ต้องมีการจัดทำมาตรฐาน อาจต้องกำหนดมาตรฐานบังคับในสินค้า ที่ประเทศไทยมีความพร้อม เพื่อป้องกันการนำเข้าสินค้าด้อยคุณภาพ คุ้มครองความปลอดภัยผู้บริโภค การตรวจสอบรับรองมาตรฐาน โดยพัฒนาศักยภาพหน่วยตรวจเพิ่มจำนวน และการพัฒนาระบบแจ้งเตือนความปลอดภัย การตรวจสอบย้อนกลับทั้งการขนส่งออก และนำเข้า