นครปฐม - มหาวิทยาลัยคริสเตียน สำรวจความคิดเห็นประชาชนภาคกลาง “กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี และนครปฐม” เรื่องการดื่มแอลกอฮอล์ พบส่วนใหญ่ดื่มเพราะสังคมและเพื่อน ส่วนที่เลิกยากเพราะไม่มีจิตใจเข้มแข็งพอ เห็นด้วยกับมาตรการห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แก่เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี รวมทั้งห้ามจำหน่ายในวันสำคัญทางศาสนา ช่วงเทศกาลสำคัญ และห้ามการจำหน่ายใกล้ที่ตั้งสถานศึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จันทร์จิรา วงษ์ขมทอง อธิการบดีมหาวิทยาลัยคริสเตียน เปิดเผยว่า ด้วยมหาวิทยาลัยคริสเตียนมีเอกลักษณ์ในการเป็นมหาวิทยาลัยที่เน้นเรื่องการเสริมสร้างสุขภาพ จึงตระหนักว่า ความเสี่ยงอันเกิดจากการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทำให้เกิดอุบัติเหตุ การทะเลาะวิวาท การก่อเหตุรุนแรงต่อผู้อ่อนแอกว่า และเป็นอันตรายต่อสุขภาพ จึงมอบหมายให้ฝ่ายวิจัยสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ขึ้น เพื่อเป็นการสะท้อนให้ความคิดเห็นของประชาชน และเป็นแนวทางให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นข้อมูลในการดำเนินงานป้องกัน และแก้ไขปัญหาในแนวทางที่เหมาะสมต่อไป
การสำรวจในครั้งนี้ สำรวจเฉพาะประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในเขตจังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี และนครปฐม จำนวน 3,384,947 คน คำนวณตามหลักวิชาการกำหนดกลุ่มตัวอย่างของยามาเน (T.Yamane, 1976) ที่ระดับความเชื่อมั่น 97% ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างที่ต้องใช้ในการสำรวจ 1,111 คน โดยใช้กลุ่มตัวอย่างที่มีความหลากหลายด้านอายุ อาชีพ และการศึกษา ซึ่งคณะผู้สำรวจได้สัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,300 คน มีแบบสอบถามที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้จำนวน 1,123 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 86.38 โดยได้ประมวลผลข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์แสดงเป็นค่าความถี่ และร้อยละ
ผลการสำรวจสรุปได้ดังนี้
กลุ่มตัวอย่างเป็นชาย จำนวน 687 คน (ร้อยละ 61.2) หญิง จำนวน 436 คน(ร้อยละ 38.8) อายุระหว่าง 31-45 ปี จำนวน 542 คน (ร้อยละ 48.3) รองลงมาคือ กลุ่มอายุ 18-30 ปี มีจำนวน 348 คน (ร้อยละ 31.0) ส่วนใหญ่เป็นเจ้าของกิจการ/ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว จำนวน 320 คน (ร้อยละ 28.5) รองลงมาคือ นักเรียน/นักศึกษา มีจำนวน 310 คน (ร้อยละ 27.6) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 374 คน (ร้อยละ 33.3) นับถือศาสนาพุทธ จำนวน 1,010คน (ร้อยละ 89.9) และเป็นผู้ที่สมรสแล้วจำนวน 624 คน (ร้อยละ 55.6)
กลุ่มตัวอย่างเลือกดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ประเภทเบียร์มากที่สุด จำนวน 702 คน (ร้อยละ 62.5) รองลงมาได้แก่ สุรา จำนวน 619 คน (ร้อยละ 55.1) และไวน์ จำนวน 471 คน (ร้อยละ 41.9) ตามลำดับ
กลุ่มตัวอย่างจำนวน 473 คน (ร้อยละ 42.1) ไม่เคยดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รองลงมา จำนวน 235 คน (ร้อยละ 20.9) ดื่มเมื่อออกสังคมเท่านั้น มีเพียง 50 คน (ร้อยละ 4.5) เท่านั้นที่ดื่มเป็นประจำ
คนใกล้ตัวของกลุ่มตัวอย่างที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ได้แก่ ญาติ จำนวน 457 คน (ร้อยละ 40.7) รองลงมาได้แก่ คนในที่ทำงาน 283 คน (ร้อยละ 25.2) และเพื่อนสนิทจำนวน 257 คน (ร้อยละ 22.9)
เหตุผลที่กลุ่มตัวอย่างดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้แก่ ดื่มเพื่อเข้าสังคม จำนวน 380 คน (ร้อยละ 33.8) รองลงมาได้แก่ เพื่อนชวน จำนวน 257 คน (ร้อยละ 22.9) และอยากทดลอง จำนวน 252 คน (ร้อยละ 22.4) ตามลำดับ
กลุ่มตัวอย่างมีความเห็นว่า เหตุผลที่ทำให้ผู้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่คิดจะเลิกดื่มเป็นเพราะจิตใจไม่เข้มแข็งพอ จำนวน 603 คน (ร้อยละ 53.7) รองลงมาได้แก่ เพราะคนในครอบครัวไม่ว่า จำนวน 497คน (ร้อยละ 44.3) และไม่เดือดร้อนเรื่องค่าใช้จ่าย จำนวน 492 คน (ร้อยละ 43.8)
กลุ่มตัวอย่างเห็นว่า การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีผลกระทบ คือ เป็นสาเหตุให้เกิดอุบัติเหตุ จำนวน 692 คน (ร้อยละ 61.6) รองลงมาได้แก่ เป็นสาเหตุให้เกิดการทะเลาะวิวาท จำนวน 608 คน (ร้อยละ 54.1) และเป็นอันตรายต่อสุขภาพ จำนวน 595 คน (ร้อยละ 53.0)
กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 688 คน (ร้อยละ 61.3) เห็นด้วยกับมาตรการห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แก่เด็กอายุต่ำกว่า1 8 ปี จำนวน 272 (ร้อยละ 24.2) รวมทั้งเห็นด้วยกับการห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในวันสำคัญทางศาสนา และช่วงเทศกาลสำคัญต่างๆ และเห็นด้วยกับการห้ามการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ใกล้ที่ตั้งสถานศึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จันทร์จิรา วงษ์ขมทอง อธิการบดีมหาวิทยาลัยคริสเตียน กล่าวต่อว่า ฤทธิ์ของแอลกอฮอล์จะทำให้บุคคลไม่สามารถควบคุมประสาท และสมองให้สั่งการได้ทันเวลา ดังนั้น เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์จึงเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย และรุนแรง เพราะแอลกอฮอล์จะไปกดสมองส่วนที่ควบคุมความคิด และสมองส่วนที่คอยยับยั้งให้มีความระมัดระวังทำให้คนคนนั้นไม่สามารถควบคุมตนเองได้อีกต่อไป จึงกล้าทำในสิ่งที่ไม่เหมาะสม
นอกจากนั้น แอลกอฮอล์ยังก่อให้เกิดผลร้ายต่ออวัยวะต่างๆ ของร่างกาย รวมทั้งยังเป็นสาเหตุให้เกิดความขัดแย้งในครอบครัวได้ เป็นเหตุให้ครอบครัวแตกแยกได้ การทำงานขาดประสิทธิภาพ เป็นหนี้สิน และเป็นที่รังเกียจของสังคม สำหรับผู้หญิงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่เพียงจะส่งผลเสียต่อสุขภาพมารดาเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อทารกในครรภ์ด้วย
ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นชาย หรือหญิง จึงควรดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้น้อยที่สุด หากดื่มเป็นประจำก็สมควรเลิกดื่มเสีย และรัฐควรเข้มงวดในการรักษากฎหมาย โดยเฉพาะห้ามไม่ให้จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แก่ผู้มีอายุต่ำกว่า 18 ปี และเข้มงวดไม่ให้มีการจำหน่ายใกล้สถานศึกษา อีกทั้งควรเพิ่มโทษค่าปรับ และโทษจำคุกด้วย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จันทร์จิรา วงษ์ขมทอง อธิการบดีมหาวิทยาลัยคริสเตียน เปิดเผยว่า ด้วยมหาวิทยาลัยคริสเตียนมีเอกลักษณ์ในการเป็นมหาวิทยาลัยที่เน้นเรื่องการเสริมสร้างสุขภาพ จึงตระหนักว่า ความเสี่ยงอันเกิดจากการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทำให้เกิดอุบัติเหตุ การทะเลาะวิวาท การก่อเหตุรุนแรงต่อผู้อ่อนแอกว่า และเป็นอันตรายต่อสุขภาพ จึงมอบหมายให้ฝ่ายวิจัยสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ขึ้น เพื่อเป็นการสะท้อนให้ความคิดเห็นของประชาชน และเป็นแนวทางให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นข้อมูลในการดำเนินงานป้องกัน และแก้ไขปัญหาในแนวทางที่เหมาะสมต่อไป
การสำรวจในครั้งนี้ สำรวจเฉพาะประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในเขตจังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี และนครปฐม จำนวน 3,384,947 คน คำนวณตามหลักวิชาการกำหนดกลุ่มตัวอย่างของยามาเน (T.Yamane, 1976) ที่ระดับความเชื่อมั่น 97% ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างที่ต้องใช้ในการสำรวจ 1,111 คน โดยใช้กลุ่มตัวอย่างที่มีความหลากหลายด้านอายุ อาชีพ และการศึกษา ซึ่งคณะผู้สำรวจได้สัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,300 คน มีแบบสอบถามที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้จำนวน 1,123 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 86.38 โดยได้ประมวลผลข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์แสดงเป็นค่าความถี่ และร้อยละ
ผลการสำรวจสรุปได้ดังนี้
กลุ่มตัวอย่างเป็นชาย จำนวน 687 คน (ร้อยละ 61.2) หญิง จำนวน 436 คน(ร้อยละ 38.8) อายุระหว่าง 31-45 ปี จำนวน 542 คน (ร้อยละ 48.3) รองลงมาคือ กลุ่มอายุ 18-30 ปี มีจำนวน 348 คน (ร้อยละ 31.0) ส่วนใหญ่เป็นเจ้าของกิจการ/ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว จำนวน 320 คน (ร้อยละ 28.5) รองลงมาคือ นักเรียน/นักศึกษา มีจำนวน 310 คน (ร้อยละ 27.6) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 374 คน (ร้อยละ 33.3) นับถือศาสนาพุทธ จำนวน 1,010คน (ร้อยละ 89.9) และเป็นผู้ที่สมรสแล้วจำนวน 624 คน (ร้อยละ 55.6)
กลุ่มตัวอย่างเลือกดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ประเภทเบียร์มากที่สุด จำนวน 702 คน (ร้อยละ 62.5) รองลงมาได้แก่ สุรา จำนวน 619 คน (ร้อยละ 55.1) และไวน์ จำนวน 471 คน (ร้อยละ 41.9) ตามลำดับ
กลุ่มตัวอย่างจำนวน 473 คน (ร้อยละ 42.1) ไม่เคยดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รองลงมา จำนวน 235 คน (ร้อยละ 20.9) ดื่มเมื่อออกสังคมเท่านั้น มีเพียง 50 คน (ร้อยละ 4.5) เท่านั้นที่ดื่มเป็นประจำ
คนใกล้ตัวของกลุ่มตัวอย่างที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ได้แก่ ญาติ จำนวน 457 คน (ร้อยละ 40.7) รองลงมาได้แก่ คนในที่ทำงาน 283 คน (ร้อยละ 25.2) และเพื่อนสนิทจำนวน 257 คน (ร้อยละ 22.9)
เหตุผลที่กลุ่มตัวอย่างดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้แก่ ดื่มเพื่อเข้าสังคม จำนวน 380 คน (ร้อยละ 33.8) รองลงมาได้แก่ เพื่อนชวน จำนวน 257 คน (ร้อยละ 22.9) และอยากทดลอง จำนวน 252 คน (ร้อยละ 22.4) ตามลำดับ
กลุ่มตัวอย่างมีความเห็นว่า เหตุผลที่ทำให้ผู้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่คิดจะเลิกดื่มเป็นเพราะจิตใจไม่เข้มแข็งพอ จำนวน 603 คน (ร้อยละ 53.7) รองลงมาได้แก่ เพราะคนในครอบครัวไม่ว่า จำนวน 497คน (ร้อยละ 44.3) และไม่เดือดร้อนเรื่องค่าใช้จ่าย จำนวน 492 คน (ร้อยละ 43.8)
กลุ่มตัวอย่างเห็นว่า การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีผลกระทบ คือ เป็นสาเหตุให้เกิดอุบัติเหตุ จำนวน 692 คน (ร้อยละ 61.6) รองลงมาได้แก่ เป็นสาเหตุให้เกิดการทะเลาะวิวาท จำนวน 608 คน (ร้อยละ 54.1) และเป็นอันตรายต่อสุขภาพ จำนวน 595 คน (ร้อยละ 53.0)
กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 688 คน (ร้อยละ 61.3) เห็นด้วยกับมาตรการห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แก่เด็กอายุต่ำกว่า1 8 ปี จำนวน 272 (ร้อยละ 24.2) รวมทั้งเห็นด้วยกับการห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในวันสำคัญทางศาสนา และช่วงเทศกาลสำคัญต่างๆ และเห็นด้วยกับการห้ามการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ใกล้ที่ตั้งสถานศึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จันทร์จิรา วงษ์ขมทอง อธิการบดีมหาวิทยาลัยคริสเตียน กล่าวต่อว่า ฤทธิ์ของแอลกอฮอล์จะทำให้บุคคลไม่สามารถควบคุมประสาท และสมองให้สั่งการได้ทันเวลา ดังนั้น เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์จึงเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย และรุนแรง เพราะแอลกอฮอล์จะไปกดสมองส่วนที่ควบคุมความคิด และสมองส่วนที่คอยยับยั้งให้มีความระมัดระวังทำให้คนคนนั้นไม่สามารถควบคุมตนเองได้อีกต่อไป จึงกล้าทำในสิ่งที่ไม่เหมาะสม
นอกจากนั้น แอลกอฮอล์ยังก่อให้เกิดผลร้ายต่ออวัยวะต่างๆ ของร่างกาย รวมทั้งยังเป็นสาเหตุให้เกิดความขัดแย้งในครอบครัวได้ เป็นเหตุให้ครอบครัวแตกแยกได้ การทำงานขาดประสิทธิภาพ เป็นหนี้สิน และเป็นที่รังเกียจของสังคม สำหรับผู้หญิงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่เพียงจะส่งผลเสียต่อสุขภาพมารดาเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อทารกในครรภ์ด้วย
ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นชาย หรือหญิง จึงควรดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้น้อยที่สุด หากดื่มเป็นประจำก็สมควรเลิกดื่มเสีย และรัฐควรเข้มงวดในการรักษากฎหมาย โดยเฉพาะห้ามไม่ให้จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แก่ผู้มีอายุต่ำกว่า 18 ปี และเข้มงวดไม่ให้มีการจำหน่ายใกล้สถานศึกษา อีกทั้งควรเพิ่มโทษค่าปรับ และโทษจำคุกด้วย