นครปฐม - กลุ่มงานวิจัย มหาวิทยาลัยคริสเตียน จังหวัดนครปฐม เดินหน้าทำโพลสำรวจความเครียดคนไทย พบกลุ่มที่มีความเครียดมากขึ้นส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับกลุ่มนักเรียน นักศึกษา และพนักงานบริษัท แต่ยังอยุ่ในเกณฑ์ควบคุมสถานการณ์ได้
วันนี้ (16 มี.ค.) อาจารย์เบ็ญจวรรณ พุทธิอังกูร ผู้ช่วยอธิการบดี ฝ่ายวิจัยและสารนิเทศ มหาวิทยาลัยคริสเตียน จังหวัดนครปฐม เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยคริสเตียนได้ตระหนักถึงผลกระทบจากความเครียดต่อภาวะสุขภาพของประชาชน ประกอบกับมหาวิทยาลัยเปิดสอนหลักสูตรด้านสุขภาพ อาทิ สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ สาขาวิชากายภาพบำบัด สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวการแพทย์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพ การส่งเสริมและการธำรงรักษาไว้ ซึ่งสุขภาพที่ดีของประชาชน จึงมอบหมายให้กลุ่มงานวิจัย มหาวิทยาลัยคริสเตียน จัดทำโครงการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน (Christian Poll) เรื่องความเครียดของคนไทยขึ้น เพื่อเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงปัญหา และเป็นแนวทางให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นข้อมูลในการดำเนินงานแก้ไขปัญหาสุขภาพของประชาชนในแนวทางที่เหมาะสมต่อไป
การสำรวจในครั้งนี้ ทำการสำรวจเฉพาะประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในเขต จังหวัดกาญจนบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี และนครปฐม จำนวน 3,374,401 คน คำนวณตามหลักวิชาการกำหนดกลุ่มตัวอย่างของยามาเน (T.Yamane) ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างที่ต้องใช้ในการสำรวจ 1,111 คน โดยใช้กลุ่มตัวอย่างที่มีความหลากหลายด้านอายุ อาชีพ และการศึกษา ในการสำรวจจริงได้แจกแบบสอบถามจำนวน 1,300 ฉบับ ได้รับแบบสอบถามที่สมบูรณ์กลับคืนมาใช้ในการวิเคราะห์จำนวน 1,110 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 85.38 ประมวลผลข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์แสดงเป็นค่าความถี่ และร้อยละ
อาจารย์เบ็ญจวรรณเปิดเผยต่อว่า สำหรับผลการสำรวจสรุปได้ดังนี้ กลุ่มตัวอย่างเป็นชายจำนวน 628 คน (ร้อยละ 56.6) หญิงจำนวน 482 คน (ร้อยละ 43.4) อายุระหว่าง 18-30 ปีมีจำนวน 770 คน (ร้อยละ 69.4) รองลงมาคือกลุ่มอายุ 31-45 ปีจำนวน 214 คน (ร้อยละ 19.3) ส่วนใหญ่เป็นนักเรียน / นักศึกษามีจำนวน 463 คน (ร้อยละ 41.7) รองลงมาคือเกษตรกรจำนวน 217 คน (ร้อยละ 19.5) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการศึกษาระดับปริญญาตรีจำนวน 315 คน (ร้อยละ 28.4) นับถือศาสนาพุทธจำนวน 1,087 คน (ร้อยละ 97.9) และมีสถานภาพโสดจำนวน 825 คน (ร้อยละ 74.3)
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ร้อยละ 75.7 มีความเครียดในระดับปกติ หมายถึงยังสามารถจัดการกับความเครียดที่เกิดขึ้นได้ และสามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม รองลงมาได้แก่ผู้ที่มีความเครียดน้อยกว่าปกติ ร้อยละ 12.9 หมายความว่า เป็นความเครียดที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันไม่คุกคามต่อการดำเนินชีวิต ร่างกายจะมีการปรับตัวอย่างอัตโนมัติ และผู้ที่มีความเครียดสูงกว่าปกติเล็กน้อย หมายความว่า อาจทำให้มีอาการผิดปกติทางร่างกาย จิตใจ และพฤติกรรมเล็กน้อย หากได้พักผ่อนบ้างจะทำให้รู้สึกดีขึ้นเอง ร้อยละ 10.0 ตามลำดับ
ทั้งนี้ ผู้ที่มีความเครียดสูงกว่าปกติมีทั้งที่เป็นกลุ่มนักเรียนและนักศึกษา ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ และพนักงานบริษัท โดยพบว่าผู้ที่มีความเครียดสูงกว่าปกติมากพบในกลุ่มนักเรียน และนักศึกษา รวมทั้งพนักงานบริษัท ส่วนข้าราชการ และพนักงานรัฐวิสาหกิจ พบว่า มีความเครียดสูงกว่าปกติเล็กน้อยและปานกลางเท่านั้น
จากผลสำรวจในครั้งนี้ แม้ว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่จะมีความเครียดในระดับปกติ กล่าวคือยังสามารถจัดการกับความเครียดที่เกิดขึ้นได้ และสามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างเหมาะสมก็ตาม แต่ก็พบว่ายังมีกลุ่มตัวอย่างที่ความเครียดสูงกว่าปกติ ทั้งในระดับเล็กน้อย และปานกลางรวมอยู่ด้วย ซึ่งความเครียดในระดับนี้อาจทำให้เกิดความผิดปกติทั้งทางร่างกายและจิตใจของบุคคลได้ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอาการเจ็บป่วยเรื้อรัง หรือการเจ็บป่วยรุนแรงตามมาได้
ดังนั้น บุคคลในครอบครัวและผู้เกี่ยวข้อง จึงควรให้ความเอาใจใส่ดูแล และป้องกันไม่ให้คนในครอบครัวเกิดความเครียดสะสม อันอาจส่งผลเสียต่อภาวะสุขภาพจิตและสุขภาพกายได้ หากประชาชนในชุมชนมีสุขภาพจิตที่ไม่ปกติก็ย่อมส่งผลต่อการเกิดปัญหาสุขภาพกายตามมา ดังคำกล่าวที่ว่า “จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว” เราคงไม่อยากเห็นคนไทยเป็นบ่าวต่อจิตใจของตนเองทุกฝ่ายจึงต้องหันหน้าเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว
วันนี้ (16 มี.ค.) อาจารย์เบ็ญจวรรณ พุทธิอังกูร ผู้ช่วยอธิการบดี ฝ่ายวิจัยและสารนิเทศ มหาวิทยาลัยคริสเตียน จังหวัดนครปฐม เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยคริสเตียนได้ตระหนักถึงผลกระทบจากความเครียดต่อภาวะสุขภาพของประชาชน ประกอบกับมหาวิทยาลัยเปิดสอนหลักสูตรด้านสุขภาพ อาทิ สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ สาขาวิชากายภาพบำบัด สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวการแพทย์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพ การส่งเสริมและการธำรงรักษาไว้ ซึ่งสุขภาพที่ดีของประชาชน จึงมอบหมายให้กลุ่มงานวิจัย มหาวิทยาลัยคริสเตียน จัดทำโครงการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน (Christian Poll) เรื่องความเครียดของคนไทยขึ้น เพื่อเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงปัญหา และเป็นแนวทางให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นข้อมูลในการดำเนินงานแก้ไขปัญหาสุขภาพของประชาชนในแนวทางที่เหมาะสมต่อไป
การสำรวจในครั้งนี้ ทำการสำรวจเฉพาะประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในเขต จังหวัดกาญจนบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี และนครปฐม จำนวน 3,374,401 คน คำนวณตามหลักวิชาการกำหนดกลุ่มตัวอย่างของยามาเน (T.Yamane) ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างที่ต้องใช้ในการสำรวจ 1,111 คน โดยใช้กลุ่มตัวอย่างที่มีความหลากหลายด้านอายุ อาชีพ และการศึกษา ในการสำรวจจริงได้แจกแบบสอบถามจำนวน 1,300 ฉบับ ได้รับแบบสอบถามที่สมบูรณ์กลับคืนมาใช้ในการวิเคราะห์จำนวน 1,110 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 85.38 ประมวลผลข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์แสดงเป็นค่าความถี่ และร้อยละ
อาจารย์เบ็ญจวรรณเปิดเผยต่อว่า สำหรับผลการสำรวจสรุปได้ดังนี้ กลุ่มตัวอย่างเป็นชายจำนวน 628 คน (ร้อยละ 56.6) หญิงจำนวน 482 คน (ร้อยละ 43.4) อายุระหว่าง 18-30 ปีมีจำนวน 770 คน (ร้อยละ 69.4) รองลงมาคือกลุ่มอายุ 31-45 ปีจำนวน 214 คน (ร้อยละ 19.3) ส่วนใหญ่เป็นนักเรียน / นักศึกษามีจำนวน 463 คน (ร้อยละ 41.7) รองลงมาคือเกษตรกรจำนวน 217 คน (ร้อยละ 19.5) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการศึกษาระดับปริญญาตรีจำนวน 315 คน (ร้อยละ 28.4) นับถือศาสนาพุทธจำนวน 1,087 คน (ร้อยละ 97.9) และมีสถานภาพโสดจำนวน 825 คน (ร้อยละ 74.3)
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ร้อยละ 75.7 มีความเครียดในระดับปกติ หมายถึงยังสามารถจัดการกับความเครียดที่เกิดขึ้นได้ และสามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม รองลงมาได้แก่ผู้ที่มีความเครียดน้อยกว่าปกติ ร้อยละ 12.9 หมายความว่า เป็นความเครียดที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันไม่คุกคามต่อการดำเนินชีวิต ร่างกายจะมีการปรับตัวอย่างอัตโนมัติ และผู้ที่มีความเครียดสูงกว่าปกติเล็กน้อย หมายความว่า อาจทำให้มีอาการผิดปกติทางร่างกาย จิตใจ และพฤติกรรมเล็กน้อย หากได้พักผ่อนบ้างจะทำให้รู้สึกดีขึ้นเอง ร้อยละ 10.0 ตามลำดับ
ทั้งนี้ ผู้ที่มีความเครียดสูงกว่าปกติมีทั้งที่เป็นกลุ่มนักเรียนและนักศึกษา ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ และพนักงานบริษัท โดยพบว่าผู้ที่มีความเครียดสูงกว่าปกติมากพบในกลุ่มนักเรียน และนักศึกษา รวมทั้งพนักงานบริษัท ส่วนข้าราชการ และพนักงานรัฐวิสาหกิจ พบว่า มีความเครียดสูงกว่าปกติเล็กน้อยและปานกลางเท่านั้น
จากผลสำรวจในครั้งนี้ แม้ว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่จะมีความเครียดในระดับปกติ กล่าวคือยังสามารถจัดการกับความเครียดที่เกิดขึ้นได้ และสามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างเหมาะสมก็ตาม แต่ก็พบว่ายังมีกลุ่มตัวอย่างที่ความเครียดสูงกว่าปกติ ทั้งในระดับเล็กน้อย และปานกลางรวมอยู่ด้วย ซึ่งความเครียดในระดับนี้อาจทำให้เกิดความผิดปกติทั้งทางร่างกายและจิตใจของบุคคลได้ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอาการเจ็บป่วยเรื้อรัง หรือการเจ็บป่วยรุนแรงตามมาได้
ดังนั้น บุคคลในครอบครัวและผู้เกี่ยวข้อง จึงควรให้ความเอาใจใส่ดูแล และป้องกันไม่ให้คนในครอบครัวเกิดความเครียดสะสม อันอาจส่งผลเสียต่อภาวะสุขภาพจิตและสุขภาพกายได้ หากประชาชนในชุมชนมีสุขภาพจิตที่ไม่ปกติก็ย่อมส่งผลต่อการเกิดปัญหาสุขภาพกายตามมา ดังคำกล่าวที่ว่า “จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว” เราคงไม่อยากเห็นคนไทยเป็นบ่าวต่อจิตใจของตนเองทุกฝ่ายจึงต้องหันหน้าเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว