เอเจนซีส์ – งานวิจัยชี้การมัวแต่เสียดายกับสิ่งที่ไม่อาจเรียกคืนมาได้ รังแต่ทำให้สุขภาพแย่ลง และคนที่ชอบเอาตัวเองไปเปรียบเทียบกับคนที่สุขสบายกว่ามีแนวโน้มภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยคอนคอร์เดียพบว่า คนที่เอาตัวเองไปเปรียบเทียบกับเพื่อนหรือเพื่อนบ้านที่ประสบความสำเร็จมากกว่ามักเป็นหวัดบ่อยกว่าคนที่เปรียบเทียบตัวเองกับคนที่มีสถานะแย่กว่า
ดร.อิซาเบลล์ บาวเออร์ ผู้นำการจัดทำรายงานผลวิจัยชิ้นนี้ระบุว่า งานศึกษาฉบับนี้มุ่งตรวจสอบว่าคนหนุ่มสาวและผู้ใหญ่รับมือกับความเสียใจเสียดายที่เกิดขึ้นในชีวิตอย่างไร
“หนึ่งในกลไกที่ใช้กันทั่วไปคือผ่านการเปรียบเทียบทางสังคม ซึ่งอาจดีหรือไม่ดีก็ได้ ขึ้นอยู่กับว่าเราสามารถหันหลังให้สิ่งที่เสียใจได้หรือไม่
“ปกติแล้วถ้าเราเปรียบเทียบตัวเองกับคนที่แย่กว่า เราจะรู้สึกดีขึ้น แต่ถ้าเป็นในทางตรงข้าม เราจะรู้สึกแย่ลง”
นักวิจัยขอให้กลุ่มตัวอย่าง 104 คนซึ่งเป็นผู้ใหญ่วัยต่างๆ กัน ทำแบบสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่เสียใจมากที่สุด
ความเสียใจที่กลุ่มตัวอย่างบรรยายถึงมีตั้งแต่ให้เวลากับครอบครัวน้อยเกินไปจนถึงการเลือกคนผิดมาร่วมชีวิต
จากนั้นกลุ่มตัวอย่างจะถูกขอให้รายงานระดับความเสียใจเมื่อเทียบกับระดับความเสียใจของคนรุ่นราวคราวเดียวกัน
นักวิจัยพบว่าคนที่เปรียบเทียบตัวเองกับคนที่มีโชคชะตาอาภัพกว่า มีสภาวะที่เป็นสุขทางอารมณ์มากกว่า
ศาสตราจารย์คาร์สเตน รอช ผู้จัดทำรายงานอาวุโส อธิบายว่าอารมณ์ทดท้อจากความเสียใจอาจทำให้กระบวนการทางชีววิทยาของฮอร์โมนและระบบภูมิคุ้มกันเสียระบบ และทำให้คนๆ นั้นอ่อนแอต่อปัญหาสุขภาพมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโรคหวัดหรือปัญหาสุขภาพร้ายแรงระยะยาวอื่นๆ ก็ตาม
“ในการศึกษานี้ เราแสดงให้เห็นว่าการนำตัวเองไปเปรียบเทียบกับคนที่มีระดับชั้นทางสังคมต่ำกว่า ทำให้สภาวะที่เป็นสุขทางอารมณ์ดีขึ้น และช่วยป้องกันปัญหาสุขภาพได้”
นอกจากนี้ ผลศึกษายังบ่งชี้ข้อมูลที่แตกต่างจากการศึกษาในอดีตหลายชิ้น กล่าวคืออายุไม่ได้เป็นตัวกำหนดว่าคนเราสามารถรับมือกับความเสียใจในชีวิตได้ดีแค่ไหน
“ประสิทธิภาพของกลไกการรับมือ ขึ้นอยู่กับความสามารถของแต่ละคนในการเปลี่ยนแปลงความเสียใจในชีวิต มากกว่าว่าคนๆ นั้นอายุมากน้อยเพียงใด
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยคอนคอร์เดียพบว่า คนที่เอาตัวเองไปเปรียบเทียบกับเพื่อนหรือเพื่อนบ้านที่ประสบความสำเร็จมากกว่ามักเป็นหวัดบ่อยกว่าคนที่เปรียบเทียบตัวเองกับคนที่มีสถานะแย่กว่า
ดร.อิซาเบลล์ บาวเออร์ ผู้นำการจัดทำรายงานผลวิจัยชิ้นนี้ระบุว่า งานศึกษาฉบับนี้มุ่งตรวจสอบว่าคนหนุ่มสาวและผู้ใหญ่รับมือกับความเสียใจเสียดายที่เกิดขึ้นในชีวิตอย่างไร
“หนึ่งในกลไกที่ใช้กันทั่วไปคือผ่านการเปรียบเทียบทางสังคม ซึ่งอาจดีหรือไม่ดีก็ได้ ขึ้นอยู่กับว่าเราสามารถหันหลังให้สิ่งที่เสียใจได้หรือไม่
“ปกติแล้วถ้าเราเปรียบเทียบตัวเองกับคนที่แย่กว่า เราจะรู้สึกดีขึ้น แต่ถ้าเป็นในทางตรงข้าม เราจะรู้สึกแย่ลง”
นักวิจัยขอให้กลุ่มตัวอย่าง 104 คนซึ่งเป็นผู้ใหญ่วัยต่างๆ กัน ทำแบบสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่เสียใจมากที่สุด
ความเสียใจที่กลุ่มตัวอย่างบรรยายถึงมีตั้งแต่ให้เวลากับครอบครัวน้อยเกินไปจนถึงการเลือกคนผิดมาร่วมชีวิต
จากนั้นกลุ่มตัวอย่างจะถูกขอให้รายงานระดับความเสียใจเมื่อเทียบกับระดับความเสียใจของคนรุ่นราวคราวเดียวกัน
นักวิจัยพบว่าคนที่เปรียบเทียบตัวเองกับคนที่มีโชคชะตาอาภัพกว่า มีสภาวะที่เป็นสุขทางอารมณ์มากกว่า
ศาสตราจารย์คาร์สเตน รอช ผู้จัดทำรายงานอาวุโส อธิบายว่าอารมณ์ทดท้อจากความเสียใจอาจทำให้กระบวนการทางชีววิทยาของฮอร์โมนและระบบภูมิคุ้มกันเสียระบบ และทำให้คนๆ นั้นอ่อนแอต่อปัญหาสุขภาพมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโรคหวัดหรือปัญหาสุขภาพร้ายแรงระยะยาวอื่นๆ ก็ตาม
“ในการศึกษานี้ เราแสดงให้เห็นว่าการนำตัวเองไปเปรียบเทียบกับคนที่มีระดับชั้นทางสังคมต่ำกว่า ทำให้สภาวะที่เป็นสุขทางอารมณ์ดีขึ้น และช่วยป้องกันปัญหาสุขภาพได้”
นอกจากนี้ ผลศึกษายังบ่งชี้ข้อมูลที่แตกต่างจากการศึกษาในอดีตหลายชิ้น กล่าวคืออายุไม่ได้เป็นตัวกำหนดว่าคนเราสามารถรับมือกับความเสียใจในชีวิตได้ดีแค่ไหน
“ประสิทธิภาพของกลไกการรับมือ ขึ้นอยู่กับความสามารถของแต่ละคนในการเปลี่ยนแปลงความเสียใจในชีวิต มากกว่าว่าคนๆ นั้นอายุมากน้อยเพียงใด