ศูนย์ข่าวเชียงใหม่ - ผ่านไตรมาส 2 โพลล์แม่โจ้พบคน 82.6%พบว่าสินค้ายังแพงอยู่ เหตุหลักเป็นไปตามฤดูกาล ต้นทุนค่าพลังงาน ค่าแรง 300 บาท/เงินเดือน ปริญญาตรี 1.5 หมื่น ตามลำดับ แนะรัฐบาลช่วยคนรายได้น้อย แต่ต้องจ่ายค่าครองชีพเท่าคนรายได้สูง
รายงานข่าวจากจังหวัดเชียงใหม่แจ้งว่า หลังจากเกิดปัญหาราคาสินค้าอุปโภค บริโภคพุ่งสูงขึ้นในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและพยากรณ์ทางการเกษตร แม่โจ้โพลล์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้สำรวจความคิดเห็นจากประชาชน 1,146 ราย ในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม-ต้นเดือนมิถุนายน 55 ที่ผ่านมา ในประเด็น “รัฐบาลยิ่งลักษณ์ กับการแก้ไขปัญหาสินค้าแพง” หลังจากที่รัฐบาลได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจด้วยการออกมาตรการมาช่วยเหลือลดค่าครองชีพให้ประชาชน
สรุปผลจากการสอบถามถึงระดับราคาสินค้าอุปโภคบริโภคปัจจุบัน ประชาชน 82.6% เห็นว่าราคาสินค้าแพงขึ้น มีเพียง 13.9% เท่านั้นที่เห็นว่าสินค้ามีราคาถูกลง อีก 3.5% เห็นว่าสินค้ามีราคาปกติ
เมื่อสอบถามถึงต้นเหตุที่ทำให้สินค้ามีราคาสูงขึ้น ผู้ตอบแบบสอบถาม 28.2% เห็นว่าราคาสินค้าเป็นไปตามฤดูกาล และการเกิดภัยพิบัติในช่วงที่ผ่านมา อีก 22.5% เห็นว่าเป็นเพราะต้นทุนพลังงานสูงขึ้น (ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ก๊าซหุงต้ม) อีก 19.6% เห็นว่าเป็นเพราะนโยบายการปรับค่าแรง 300 บาทต่อวัน และการขึ้นเงินเดือนปริญญาตรี 15,000 บาท ทำให้ต้นทุนค่าจ้างสูงขึ้น และอีก 15% เห็นว่าสินค้าราคาแพงเพราะพ่อค้าแม่ค้าเก็งกำไร และ 14.7% เห็นว่า เป็นไปตามกลไกทางเศรษฐกิจโลก
รายงานการสำรวจความคิดเห็นของแม่โจ้โพลล์ฉบับนี้ยังระบุอีกว่า เมื่อสอบถามว่า รัฐบาลควรเข้ามาแก้ไขปัญหาราคาสินค้าชนิดใดโดยเร็วที่สุด พบว่า 51.0% ของผู้ตอบแบบสอบถามเห็นว่าควรแก้ไขเรื่องราคาน้ำมันเชื้อเพลิงก่อน รองลงมา 32.2% เห็นควรให้แก้ไขเรื่องราคาสินค้าเกษตร อีก 6.7% เห็นควรให้เร่งแก้ไขเรื่องราคาของใช้ในชีวิตประจำวัน และ 5.2% เห็นควรให้เร่งแก้ไขราคาอาหารปรุงสำเร็จ-ข้าวราดแกง ส่วน 4.9% ของผู้ตอบเห็นว่าควรเร่งแก้ไขปัญหาค่าสาธารณูปโภค
เมื่อสอบถามถึงความพอใจต่อมาตรการแก้ปัญหาราคาสินค้าของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม 38.3% รู้สึกเฉยๆ เพราะมองว่าราคาสินค้าเป็นไปตามกลไกตลาด และมีบางชนิดเท่านั้นที่มีราคาเพิ่มสูงขึ้น อีก 35.9% รู้สึกพอใจ เพราะเห็นว่า รัฐบาลแก้ไขได้ดีและราคาสินค้าบางชนิดปรับลดลงบ้างแล้ว อีก 25.8% รู้สึกไม่พอใจ เพราะมองว่าราคาสินค้ายังปรับตัวสูงขึ้นเรื่อยๆ และไม่มีแนวโน้มลดลง ควรแก้ไขให้ตรงจุด
สำหรับข้อเสนอแนะของประชาชนที่ต้องการให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาราคาสินค้าแพง พบว่า 30.7% ขอให้รัฐบาลทำงานอย่างจริงจัง ตรวจสอบต้นทุนสินค้ากับราคาว่า เหมาะสมหรือไม่ อีก 25.6% เสนอให้รัฐบาลออกนโยบายฉุกเฉินที่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็ว 18.1% เห็นควรให้แก้ไขปัญหาราคาน้ำมันเชื้อเพลิงก่อน เพราะเป็นต้นทุนสินค้าทุกรายการ อีก 10.4% เห็นควรให้รัฐช่วยเหลือเรื่องค่าครองชีพและมีสวัสดิการให้ประชาชน และ 10.7% เห็นว่าควรมีมาตรการลดค่าครองชีพ เช่น ร้านธงฟ้า ลดค่าโดยสาร ค่าขนส่ง
แม่โจ้โพลล์ฉบับนี้ยังระบุต่อไปว่า จากผลโพลล์ดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่ารัฐบาลควรหันมาให้ความสำคัญในการดำเนินการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะเรื่องสินค้าราคาแพง และที่สำคัญจะเห็นว่ารายได้ของแต่ละคนไม่เท่ากัน แต่ค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิตต้องจ่ายเท่ากัน แสดงให้เห็นว่าคนส่วนใหญ่มีรายได้น้อย มักจะประสบปัญหารายได้ไม่เพียงพอต่อการใช้จ่ายในชีวิตประจำวันมากที่สุด
รายงานข่าวจากจังหวัดเชียงใหม่แจ้งว่า หลังจากเกิดปัญหาราคาสินค้าอุปโภค บริโภคพุ่งสูงขึ้นในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและพยากรณ์ทางการเกษตร แม่โจ้โพลล์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้สำรวจความคิดเห็นจากประชาชน 1,146 ราย ในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม-ต้นเดือนมิถุนายน 55 ที่ผ่านมา ในประเด็น “รัฐบาลยิ่งลักษณ์ กับการแก้ไขปัญหาสินค้าแพง” หลังจากที่รัฐบาลได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจด้วยการออกมาตรการมาช่วยเหลือลดค่าครองชีพให้ประชาชน
สรุปผลจากการสอบถามถึงระดับราคาสินค้าอุปโภคบริโภคปัจจุบัน ประชาชน 82.6% เห็นว่าราคาสินค้าแพงขึ้น มีเพียง 13.9% เท่านั้นที่เห็นว่าสินค้ามีราคาถูกลง อีก 3.5% เห็นว่าสินค้ามีราคาปกติ
เมื่อสอบถามถึงต้นเหตุที่ทำให้สินค้ามีราคาสูงขึ้น ผู้ตอบแบบสอบถาม 28.2% เห็นว่าราคาสินค้าเป็นไปตามฤดูกาล และการเกิดภัยพิบัติในช่วงที่ผ่านมา อีก 22.5% เห็นว่าเป็นเพราะต้นทุนพลังงานสูงขึ้น (ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ก๊าซหุงต้ม) อีก 19.6% เห็นว่าเป็นเพราะนโยบายการปรับค่าแรง 300 บาทต่อวัน และการขึ้นเงินเดือนปริญญาตรี 15,000 บาท ทำให้ต้นทุนค่าจ้างสูงขึ้น และอีก 15% เห็นว่าสินค้าราคาแพงเพราะพ่อค้าแม่ค้าเก็งกำไร และ 14.7% เห็นว่า เป็นไปตามกลไกทางเศรษฐกิจโลก
รายงานการสำรวจความคิดเห็นของแม่โจ้โพลล์ฉบับนี้ยังระบุอีกว่า เมื่อสอบถามว่า รัฐบาลควรเข้ามาแก้ไขปัญหาราคาสินค้าชนิดใดโดยเร็วที่สุด พบว่า 51.0% ของผู้ตอบแบบสอบถามเห็นว่าควรแก้ไขเรื่องราคาน้ำมันเชื้อเพลิงก่อน รองลงมา 32.2% เห็นควรให้แก้ไขเรื่องราคาสินค้าเกษตร อีก 6.7% เห็นควรให้เร่งแก้ไขเรื่องราคาของใช้ในชีวิตประจำวัน และ 5.2% เห็นควรให้เร่งแก้ไขราคาอาหารปรุงสำเร็จ-ข้าวราดแกง ส่วน 4.9% ของผู้ตอบเห็นว่าควรเร่งแก้ไขปัญหาค่าสาธารณูปโภค
เมื่อสอบถามถึงความพอใจต่อมาตรการแก้ปัญหาราคาสินค้าของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม 38.3% รู้สึกเฉยๆ เพราะมองว่าราคาสินค้าเป็นไปตามกลไกตลาด และมีบางชนิดเท่านั้นที่มีราคาเพิ่มสูงขึ้น อีก 35.9% รู้สึกพอใจ เพราะเห็นว่า รัฐบาลแก้ไขได้ดีและราคาสินค้าบางชนิดปรับลดลงบ้างแล้ว อีก 25.8% รู้สึกไม่พอใจ เพราะมองว่าราคาสินค้ายังปรับตัวสูงขึ้นเรื่อยๆ และไม่มีแนวโน้มลดลง ควรแก้ไขให้ตรงจุด
สำหรับข้อเสนอแนะของประชาชนที่ต้องการให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาราคาสินค้าแพง พบว่า 30.7% ขอให้รัฐบาลทำงานอย่างจริงจัง ตรวจสอบต้นทุนสินค้ากับราคาว่า เหมาะสมหรือไม่ อีก 25.6% เสนอให้รัฐบาลออกนโยบายฉุกเฉินที่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็ว 18.1% เห็นควรให้แก้ไขปัญหาราคาน้ำมันเชื้อเพลิงก่อน เพราะเป็นต้นทุนสินค้าทุกรายการ อีก 10.4% เห็นควรให้รัฐช่วยเหลือเรื่องค่าครองชีพและมีสวัสดิการให้ประชาชน และ 10.7% เห็นว่าควรมีมาตรการลดค่าครองชีพ เช่น ร้านธงฟ้า ลดค่าโดยสาร ค่าขนส่ง
แม่โจ้โพลล์ฉบับนี้ยังระบุต่อไปว่า จากผลโพลล์ดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่ารัฐบาลควรหันมาให้ความสำคัญในการดำเนินการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะเรื่องสินค้าราคาแพง และที่สำคัญจะเห็นว่ารายได้ของแต่ละคนไม่เท่ากัน แต่ค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิตต้องจ่ายเท่ากัน แสดงให้เห็นว่าคนส่วนใหญ่มีรายได้น้อย มักจะประสบปัญหารายได้ไม่เพียงพอต่อการใช้จ่ายในชีวิตประจำวันมากที่สุด