ศูนย์ข่าวศรีราชา - กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดประชุมสัมมนาวิชาการเกษตร พร้อมมอบรางผลงานวิจัยดีเด่นแห่งปีให้กับเกษตรกรที่ทำผลงานในด้านต่างๆ
วันนี้ (15 พ.ค.) นายณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมสัมมนาวิชาการเกษตรและมอบรางผลงานวิจัยดีเด่นแห่งปี ณ โรงแรมแอมบาสเดอร์ ซิตี้ จอมเทียน พัทยา ซึ่งกรมวิชาการเกษตร ได้คัด 10 ผลงานเข้ารับรางวัลผลงานวิจัยดีเด่นประจำปี
สำหรับการประชุมในครั้งนี้ กรมวิชาการเกษตร ได้จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยในปี 2555 นี้ ได้ใช้แนวคิดในการจัดงานเกี่ยวกับการ จับประเด็นงานวิจัย ก้าวใหม่สู่การเปลี่ยนแปลง ซึ่งมีการนำเสนอผลงานวิจัยของกรมวิชาการเกษตรในด้านต่างๆ และยังได้จัดให้มีการมอบรางวัลให้แก่เกษตรกร GAP ดีเด่น เกษตรกรเกษตรอินทรีย์ดีเด่น และผู้ประกอบการโรงงานคัดบรรจุและแปรรูปที่ได้รับการรับรองระบบ GMP และ HACCP ดีเด่น เพื่อให้เป็นต้นแบบการทำงานให้แก่เกษตรกรและผู้ประกอบการรายอื่นๆ ในการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ
รวมทั้งการมอบรางวัลผลงานวิจัยดีเด่นประจำปี 2554 ให้แก่นักวิจัยกรมวิชาการเกษตรด้วย โดยในปีที่ผ่านมามีผลงานวิจัยที่ได้รับการคัดเลือกให้รับรางวัลประเภทต่างๆ รวม 10 ผลงาน ประกอบด้วย ผลงานวิจัยดีเด่นประเภท งานวิจัยพื้นฐาน คือ การศึกษาพันธุ์ไม้วงศ์ Balsaminaceat และ Gesneriaceae บริเวณเทือกเขาหินปูน ของสำนักงานคุ้มครองพันธุ์พืช
ผลงานวิจัยดีเด่นประเภท งานวิจัยประยุกต์ ได้แก่ ข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสม พันธุ์ชัยนาท 84 -1 ของสถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน ผลงานวิจัยดีเด่นประเภท พัฒนางานวิจัย ได้แก่ วิจัยและพัฒนาการผลิตฟ้าทะลายโจรเพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพ ของศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร
ด้านผลงานวิจัยดีเด่นประเภท สิ่งประดิษฐ์คิดค้น ได้แก่ การสร้างดีเอ็นเอมาตรฐานเพื่อการตรวจวิเคราะห์ถั่วเหลือง และข้าวโพดดัดแปลงพันธุ์กรรม ของสำนักงานและพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ ผลงานวิจัยดีเด่นประเภทบริการวิชาการ ได้แก่ การพัฒนาระบบตรวจสอบห้องปฏิบัติการเอกชน เพื่อการออกใบรับรองคุณภาพสินค้าเกษตร ของสำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช
ส่วนผลงานชมเชยมี 4 รางวัลดังนี้ ประเภทงานวิจัยพื้นฐาน ได้แก่ โรคขั้วหวีเน่าของกล้วยหมอทองและการควบคุมโดยใช้สารปลอดภัย ของสำนักวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตผลเกษตร ส่วนประเภทที่สอง ประเภทงานวิจัยประยุกต์ ได้แก่ อ้อยพันธุ์อู่ทอง 9 ของศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุพรรณบุรี
ผลงานชมเชย ประเภทพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตปุ๋ยชีวภาพ เพื่อประโยชน์ทางการเกษตร ของสำนักวิจัยและพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร และผลงานชมเชย ประเภทสิ่งประดิษฐ์คิดค้น ได้แก่ การพัฒนายางตีนตะขาบเครื่องเกี่ยวนวด ของสถาบันวิจัยยาง และสถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม
วันนี้ (15 พ.ค.) นายณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมสัมมนาวิชาการเกษตรและมอบรางผลงานวิจัยดีเด่นแห่งปี ณ โรงแรมแอมบาสเดอร์ ซิตี้ จอมเทียน พัทยา ซึ่งกรมวิชาการเกษตร ได้คัด 10 ผลงานเข้ารับรางวัลผลงานวิจัยดีเด่นประจำปี
สำหรับการประชุมในครั้งนี้ กรมวิชาการเกษตร ได้จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยในปี 2555 นี้ ได้ใช้แนวคิดในการจัดงานเกี่ยวกับการ จับประเด็นงานวิจัย ก้าวใหม่สู่การเปลี่ยนแปลง ซึ่งมีการนำเสนอผลงานวิจัยของกรมวิชาการเกษตรในด้านต่างๆ และยังได้จัดให้มีการมอบรางวัลให้แก่เกษตรกร GAP ดีเด่น เกษตรกรเกษตรอินทรีย์ดีเด่น และผู้ประกอบการโรงงานคัดบรรจุและแปรรูปที่ได้รับการรับรองระบบ GMP และ HACCP ดีเด่น เพื่อให้เป็นต้นแบบการทำงานให้แก่เกษตรกรและผู้ประกอบการรายอื่นๆ ในการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ
รวมทั้งการมอบรางวัลผลงานวิจัยดีเด่นประจำปี 2554 ให้แก่นักวิจัยกรมวิชาการเกษตรด้วย โดยในปีที่ผ่านมามีผลงานวิจัยที่ได้รับการคัดเลือกให้รับรางวัลประเภทต่างๆ รวม 10 ผลงาน ประกอบด้วย ผลงานวิจัยดีเด่นประเภท งานวิจัยพื้นฐาน คือ การศึกษาพันธุ์ไม้วงศ์ Balsaminaceat และ Gesneriaceae บริเวณเทือกเขาหินปูน ของสำนักงานคุ้มครองพันธุ์พืช
ผลงานวิจัยดีเด่นประเภท งานวิจัยประยุกต์ ได้แก่ ข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสม พันธุ์ชัยนาท 84 -1 ของสถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน ผลงานวิจัยดีเด่นประเภท พัฒนางานวิจัย ได้แก่ วิจัยและพัฒนาการผลิตฟ้าทะลายโจรเพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพ ของศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร
ด้านผลงานวิจัยดีเด่นประเภท สิ่งประดิษฐ์คิดค้น ได้แก่ การสร้างดีเอ็นเอมาตรฐานเพื่อการตรวจวิเคราะห์ถั่วเหลือง และข้าวโพดดัดแปลงพันธุ์กรรม ของสำนักงานและพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ ผลงานวิจัยดีเด่นประเภทบริการวิชาการ ได้แก่ การพัฒนาระบบตรวจสอบห้องปฏิบัติการเอกชน เพื่อการออกใบรับรองคุณภาพสินค้าเกษตร ของสำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช
ส่วนผลงานชมเชยมี 4 รางวัลดังนี้ ประเภทงานวิจัยพื้นฐาน ได้แก่ โรคขั้วหวีเน่าของกล้วยหมอทองและการควบคุมโดยใช้สารปลอดภัย ของสำนักวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตผลเกษตร ส่วนประเภทที่สอง ประเภทงานวิจัยประยุกต์ ได้แก่ อ้อยพันธุ์อู่ทอง 9 ของศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุพรรณบุรี
ผลงานชมเชย ประเภทพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตปุ๋ยชีวภาพ เพื่อประโยชน์ทางการเกษตร ของสำนักวิจัยและพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร และผลงานชมเชย ประเภทสิ่งประดิษฐ์คิดค้น ได้แก่ การพัฒนายางตีนตะขาบเครื่องเกี่ยวนวด ของสถาบันวิจัยยาง และสถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม