ศูนย์ข่าวขอนแก่น - แพทย์ย้ำล้างไตผ่านหน้าท้องเพิ่มคุณภาพชีวิตมากกว่าฟอกเลือด พร้อมระบุติดเชื้อทางช่องท้องรักษาง่าย แต่หากติดเชื้อจากการฟอกเลือดเสี่ยงอันตรายสูง ขณะที่ สปสช.อำนวยความสะดวกผู้ป่วยโรคไตให้ไปรษณีย์จัดส่งน้ำยาล้างไตถึงบ้าน
รศ.นพ.ทวี ศิริวงศ์ หัวหน้าสาขาวิชาโรคไต ศูนย์บริการโรคไต โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า ขณะนี้ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังทั่วทั้งประเทศที่ต้องบำบัดทดแทนไตมากถึง 11,000 ราย และมีแนวโน้มว่าภายใน 5 ปี จะมีผู้ป่วยมาถึงประมาณ 25,000 ราย ทั้งนี้ จากสถานการณที่เป็นอยู่นี้มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องขยายเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยโรคไตจากโรงพยาบาลประจำจังหวัดไปสู่โรงพยาบาลประจำอำเภอ
เหตุเพราะโรงพยาบาลประจำจังหวัดและโรงพยาบาลขนาดใหญ่ต่างมีผู้ป่วยเป็นจำนวนมาก ดังนั้นจึงต้องมีการพัฒนาศักยภาพโรงพยาบาลประจำอำเภอทั่วประเทศประมาณ 300 แห่ง ให้เพียงพอกับจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้น โดยที่โรงพยาบาลประจำจังหวัดจะต้องปรับบทบาทมาเป็นแม่ข่ายดูแลให้โรงพยาบาลต่างๆ ในจังหวัดของตนเอง
“การบำบัดทดแทนไตแบบการล้างไตผ่านทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง เป็นวิธีการที่ทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าวิธีการฟอกเลือด เพราะตัวผู้ป่วยเองไม่ต้องเดินทางมาโรงพยาบาลเพื่อฟอกเลือด 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ และต้องอยู่กับเครื่องฟอกเลือดประมาณ 4-5 ชั่วโมงต่อครั้ง”
โดยหลังจากฟอกเลือดแล้วร่างกายก็จะอ่อนแอจำเป็นต้องมีญาติผู้ป่วยมาช่วยดูแล โดยก่อนที่จะให้ผู้ป่วยล้างไตด้วยตนเองนั้น ทางโรงพยาบาลจะสอนวิธีการที่ถูกต้องในการล้างไต การดูแลรักษาความสะอาดเพื่อป้องกันการติดเชื้อ แต่หากมีปัญหาผู้ป่วยสามารถติดต่อกับโรงพยาบาลเพื่อดูแลรักษาได้ตลอดเวลา
ทั้งนี้ จากข้อมูลพบว่าประเทศที่มีการแนะนำให้ผู้ป่วยโรคไตบำบัดทดแทนไตด้วยวิธีการล้างไตผ่านทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง เช่น ฮ่องกง เม็กซิโก สิงคโปร์ ประเทศเหล่านี้ส่วนใหญ่มีฐานะดีกว่าประเทศไทย เพราะเป็นวิธีที่ทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถทำงานเพื่อเลี้ยงครอบครัวได้ และหากมีการติดเชื้อก็สามารถรักษาได้ง่ายกว่าการติดเชื้อทางกระแสเลือด แต่ที่คนไข้ส่วนใหญ่ไม่อยากทำเป็นเพราะคนไข้ไม่ต้องการฟอกไตเอง แต่ต้องการให้มีผู้อื่นมาทำให้”
รศ.นพ.ทวีกล่าวเพิ่มเติมว่า สปสช.ได้กำหนดให้โรงพยาบาลศรีนครินทร์ เป็นศูนย์กลางในการฝึกอบรมแพทย์ พยาบาล ให้มีความเชี่ยวชาญในการดูแลผู้ป่วยโรคไตที่บำบัดทดแทนไตแบบการล้างไตผ่านทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง ขณะนี้มีโรงพยาบาลทั่วประเทศส่งบุคลากรเข้าร่วมฝึกอบรมแล้ว 114 แห่ง และแต่ละแห่งให้การดูแลผู้ป่วย 80-100 ราย และมีการอบรมอย่างต่อเนื่องเพื่อให้บริการผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ และถูกต้องตามมาตรฐานการดูแลรักษามากที่สุด
ขณะที่ พญ.ขจีรัตน์ ปรักเอโก รองผู้อำนวยการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เขต 7 ขอนแก่น กล่าวว่า สปสช.ได้จัดสรรงบประมาณสนับสนุน ให้โรงพยาบาลสำหรับดูแลผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย 3 วิธี ประกอบไปด้วย การให้ผู้ป่วยได้รับบริการบำบัดทดแทนไต ทั้งการล้างไตผ่านทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม และการผ่าตัดปลูกถ่ายไต และสนับสนุนงบประมาณให้หน่วยบริการเพื่อการพัฒนาระบบบริการให้ดีขึ้นด้วย
ทั้งนี้ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ที่ต้องบำบัดทดแทนไตด้วยวิธีล้างไตผ่านทางหน้าช่องท้องนั้น ทาง สปสช.ได้ประสานความร่วมมือกับบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด เพื่อจัดส่งน้ำยาล้างไตถึงบ้านผู้ป่วย ซึ่งได้เริ่มดำเนินการแล้วตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคมที่ผ่านมา
รศ.นพ.ทวี ศิริวงศ์ หัวหน้าสาขาวิชาโรคไต ศูนย์บริการโรคไต โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า ขณะนี้ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังทั่วทั้งประเทศที่ต้องบำบัดทดแทนไตมากถึง 11,000 ราย และมีแนวโน้มว่าภายใน 5 ปี จะมีผู้ป่วยมาถึงประมาณ 25,000 ราย ทั้งนี้ จากสถานการณที่เป็นอยู่นี้มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องขยายเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยโรคไตจากโรงพยาบาลประจำจังหวัดไปสู่โรงพยาบาลประจำอำเภอ
เหตุเพราะโรงพยาบาลประจำจังหวัดและโรงพยาบาลขนาดใหญ่ต่างมีผู้ป่วยเป็นจำนวนมาก ดังนั้นจึงต้องมีการพัฒนาศักยภาพโรงพยาบาลประจำอำเภอทั่วประเทศประมาณ 300 แห่ง ให้เพียงพอกับจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้น โดยที่โรงพยาบาลประจำจังหวัดจะต้องปรับบทบาทมาเป็นแม่ข่ายดูแลให้โรงพยาบาลต่างๆ ในจังหวัดของตนเอง
“การบำบัดทดแทนไตแบบการล้างไตผ่านทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง เป็นวิธีการที่ทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าวิธีการฟอกเลือด เพราะตัวผู้ป่วยเองไม่ต้องเดินทางมาโรงพยาบาลเพื่อฟอกเลือด 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ และต้องอยู่กับเครื่องฟอกเลือดประมาณ 4-5 ชั่วโมงต่อครั้ง”
โดยหลังจากฟอกเลือดแล้วร่างกายก็จะอ่อนแอจำเป็นต้องมีญาติผู้ป่วยมาช่วยดูแล โดยก่อนที่จะให้ผู้ป่วยล้างไตด้วยตนเองนั้น ทางโรงพยาบาลจะสอนวิธีการที่ถูกต้องในการล้างไต การดูแลรักษาความสะอาดเพื่อป้องกันการติดเชื้อ แต่หากมีปัญหาผู้ป่วยสามารถติดต่อกับโรงพยาบาลเพื่อดูแลรักษาได้ตลอดเวลา
ทั้งนี้ จากข้อมูลพบว่าประเทศที่มีการแนะนำให้ผู้ป่วยโรคไตบำบัดทดแทนไตด้วยวิธีการล้างไตผ่านทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง เช่น ฮ่องกง เม็กซิโก สิงคโปร์ ประเทศเหล่านี้ส่วนใหญ่มีฐานะดีกว่าประเทศไทย เพราะเป็นวิธีที่ทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถทำงานเพื่อเลี้ยงครอบครัวได้ และหากมีการติดเชื้อก็สามารถรักษาได้ง่ายกว่าการติดเชื้อทางกระแสเลือด แต่ที่คนไข้ส่วนใหญ่ไม่อยากทำเป็นเพราะคนไข้ไม่ต้องการฟอกไตเอง แต่ต้องการให้มีผู้อื่นมาทำให้”
รศ.นพ.ทวีกล่าวเพิ่มเติมว่า สปสช.ได้กำหนดให้โรงพยาบาลศรีนครินทร์ เป็นศูนย์กลางในการฝึกอบรมแพทย์ พยาบาล ให้มีความเชี่ยวชาญในการดูแลผู้ป่วยโรคไตที่บำบัดทดแทนไตแบบการล้างไตผ่านทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง ขณะนี้มีโรงพยาบาลทั่วประเทศส่งบุคลากรเข้าร่วมฝึกอบรมแล้ว 114 แห่ง และแต่ละแห่งให้การดูแลผู้ป่วย 80-100 ราย และมีการอบรมอย่างต่อเนื่องเพื่อให้บริการผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ และถูกต้องตามมาตรฐานการดูแลรักษามากที่สุด
ขณะที่ พญ.ขจีรัตน์ ปรักเอโก รองผู้อำนวยการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เขต 7 ขอนแก่น กล่าวว่า สปสช.ได้จัดสรรงบประมาณสนับสนุน ให้โรงพยาบาลสำหรับดูแลผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย 3 วิธี ประกอบไปด้วย การให้ผู้ป่วยได้รับบริการบำบัดทดแทนไต ทั้งการล้างไตผ่านทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม และการผ่าตัดปลูกถ่ายไต และสนับสนุนงบประมาณให้หน่วยบริการเพื่อการพัฒนาระบบบริการให้ดีขึ้นด้วย
ทั้งนี้ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ที่ต้องบำบัดทดแทนไตด้วยวิธีล้างไตผ่านทางหน้าช่องท้องนั้น ทาง สปสช.ได้ประสานความร่วมมือกับบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด เพื่อจัดส่งน้ำยาล้างไตถึงบ้านผู้ป่วย ซึ่งได้เริ่มดำเนินการแล้วตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคมที่ผ่านมา