ศูนย์ข่าวศรีราชา - ท่าเรือแหลมฉบัง ตั้งเป้ายกระดับเป็นท่าเรือเพื่อสิ่งแวดล้อม หรือ “Green Port” ในอีก 10 ปีข้างหน้า ด้วยการเร่งปลูกต้นไม้และผลักดันให้เกิดการใช้พลังงานทางธรรมชาติแทนพลังงานน้ำมันในท่าเทียบเรือต่างๆ ขณะเดียวกันยังเดินหน้าผลักดันให้การก่อสร้างท่าเทียบเรือในเฟสที่ 3 เกิดขึ้นได้จริงและเปิดใช้งานทันในปี 2562
เรือเอกสุทธินันท์ หัตถวงษ์ รองผู้อำนวยการ ท่าเรือแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี เผยถึงแผนการดำเนินงานของท่าเรือแหลมฉบัง ในปี 2555 ว่านอกจากจะผลักดันนโยบายการยกระดับให้ท่าเรือแหลมฉบัง เป็นท่าเรือที่สามารถรองรับการผลิตต่างๆ ที่มีในพื้นที่ได้แล้ว ในอีก 10 ปีข้างหน้ายังจะยกระดับท่าเรือ ให้เป็นท่าเรือเพื่อสิ่งแวดล้อม หรือ Green Port ที่จะมีความร่มรื่นจากจำนวนต้นไม้ที่จะเพิ่มมากขึ้น และการผลักดันให้ผู้บริหารท่าเทียบเรือต่างๆ ใช้พลังงานทางธรรมชาติแทนการใช้พลังงานน้ำมัน ลดการพึ่งพาการใช้น้ำมัน
ซึ่งปัจจุบันบริษัท แอลซีบี คอนเทนเนอร์ เทอร์มินัล 1 จำกัด ผู้บริหารท่าเทียบเรือ B1 ได้ทุ่มงบประมาณเกือบ 100 ล้านบาทในการเปลี่ยนปั่นจั่นล้อยางจากที่เดิมที่ใช้น้ำมันดีเซลมาเป็นใช้พลังงานไฟฟ้า และส่งผลให้ก๊าซคาร์บอนที่ปล่อยออกสู่บรรยากาศลดลงได้ถึงประมาณ 1,300 ตันต่อปีเป็นเจ้าแรก
ขณะที่ในส่วนท่าเรือแหลมฉบัง ก็มีโครงการที่จะจัดทำกังหันลม จำนวน 84 ต้น ภายใต้งบประมาณ 114 ล้านบาท เพื่อผลิตพลังงานลมใช้ทดแทนพลังงานน้ำมัน ที่สำคัญยังเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งโครงการดังกล่าวจะแล้วเสร็จประมาณเดือนกันยายนปีนี้
ส่วนการตั้งเป้าผลการดำเนินงานในปี 2555 นั้น ท่าเรือแหลมฉบัง จะต้องมีตู้สินค้าขนถ่ายผ่านท่าต่างๆ รวมแล้วไม่น้อยกว่า 6.1 ล้านทีอียู ถือเป็นเป้าหมายที่เติบโตจากปีก่อนที่มีตู้สินค้าประมาณ5.6 ล้านทีอียู ที่8.5-9 %
“เราคาดว่าผลการดำเนินงานน่าจะเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ แม้ในส่วนของยานยนต์อาจมีปัญหาบ้างจากผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ในช่วงปลายปี 2554 ส่วนการแก้ปัญหาเรื่องความไม่เข้าใจระหว่างชุมชน กับโครงการขยายท่าเรือแหลมฉบังในเฟสที่ 3 นั้น ขณะนี้เราก็กำลังดำเนินการตามขึ้นตอนต่างๆ ทั้งในเรื่องของการส่งเจ้าหน้าที่เข้าทำความเข้าใจ รับฟัง และพร้อมแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งก็คงต้องใช้เวลา เพราะปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาที่สะสมมานาน ”
ย้ำท่าเรือแหลมฉบัง เฟส 3 ต้องเกิดในปี 2562
เรือเอกสุทธินันท์ ยังเผยถึงความจำเป็นที่จะต้องผลักดันให้ท่าเรือแหลมฉบัง เฟส 3 เกิดขึ้นตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในปี 2562 ว่า เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการลงทุนของประเทศ เพราะศักยภาพของท่าเรือแหลมฉบังในการรองรับตู้สินค้าจะเต็มศักยภาพ 10.8 ล้านทีอียูในปี 2562 ดังนั้นหากท่าเรือเฟส 3 ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ก็จะส่งผลกระทบต่อการลงทุนภาคอุตสาหกรรม และการย้ายฐานผลิตของกลุ่มทุนต่างประเทศไปยังประเทศเพื่อนบ้านอย่างแน่นอน
“ในเรื่องการแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวลล้อมและการสร้างความเข้าใจกับชุมชุนโดยรอบนั้น ขณะนี้ทางจังหวัดชลบุรีก็ช่วยเราในแง่ของการตั้งกรรมการขึ้นมา 2-3 ชุดเพื่อแก้ปัญหาให้กับชาวบ้าน ซึ่งบางครั้งปัญหาที่เกิดขึ้นอาจเกิดจากการสื่อสารที่ผิดพลาด ซึ่งขณะนี้ ทลฉ.ก็รับทราบความต้องการและพร้อมสนับสนุนทั้งในเรื่องการสร้างอาชีพ การให้การศึกษา และการสร้างงานให้กับคนในชุมชนและเยาวชนที่อยู่ในชุมชนแล้ว และเชื่อว่าสุดท้ายทุกคนจะเข้าใจในความจำเป็นของการก่อสร้างท่าเทียบเรือเฟส 3 ”
ซึ่งตามแผนงานที่กำหนดไว้นั้น ในปี 2555 การศึกษาความเป็นไปได้ต่างๆ ของโครงการจะต้องแล้วเสร็จ เพื่อที่ในปี 2556 จะสามารถเริ่มลงมือก่อสร้างได้ และจะใช้เวลาประมาณ 3-4 ปี และพัฒนาเพื่อเติมเพื่อให้สามารถเปิดดำเนินการได้ในปี 2562 สำหรับงบประมาณในการก่อสร้างนั้น ผู้บริหาร ทลฉ.มองว่าจะใช้งบไม่ต่ำกว่า 3หมื่นล้านบาท โดยน่าจะเป็นงบที่เกิดจากการตั้งกองทุนสาธารณูปโภค มากกว่าการใช้เงินสนับสนุนจากรัฐบาล และบางส่วนเกิดจากการลงทุนเพิ่มเติมของเอกชน
เรือเอกสุทธินันท์ หัตถวงษ์ รองผู้อำนวยการ ท่าเรือแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี เผยถึงแผนการดำเนินงานของท่าเรือแหลมฉบัง ในปี 2555 ว่านอกจากจะผลักดันนโยบายการยกระดับให้ท่าเรือแหลมฉบัง เป็นท่าเรือที่สามารถรองรับการผลิตต่างๆ ที่มีในพื้นที่ได้แล้ว ในอีก 10 ปีข้างหน้ายังจะยกระดับท่าเรือ ให้เป็นท่าเรือเพื่อสิ่งแวดล้อม หรือ Green Port ที่จะมีความร่มรื่นจากจำนวนต้นไม้ที่จะเพิ่มมากขึ้น และการผลักดันให้ผู้บริหารท่าเทียบเรือต่างๆ ใช้พลังงานทางธรรมชาติแทนการใช้พลังงานน้ำมัน ลดการพึ่งพาการใช้น้ำมัน
ซึ่งปัจจุบันบริษัท แอลซีบี คอนเทนเนอร์ เทอร์มินัล 1 จำกัด ผู้บริหารท่าเทียบเรือ B1 ได้ทุ่มงบประมาณเกือบ 100 ล้านบาทในการเปลี่ยนปั่นจั่นล้อยางจากที่เดิมที่ใช้น้ำมันดีเซลมาเป็นใช้พลังงานไฟฟ้า และส่งผลให้ก๊าซคาร์บอนที่ปล่อยออกสู่บรรยากาศลดลงได้ถึงประมาณ 1,300 ตันต่อปีเป็นเจ้าแรก
ขณะที่ในส่วนท่าเรือแหลมฉบัง ก็มีโครงการที่จะจัดทำกังหันลม จำนวน 84 ต้น ภายใต้งบประมาณ 114 ล้านบาท เพื่อผลิตพลังงานลมใช้ทดแทนพลังงานน้ำมัน ที่สำคัญยังเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งโครงการดังกล่าวจะแล้วเสร็จประมาณเดือนกันยายนปีนี้
ส่วนการตั้งเป้าผลการดำเนินงานในปี 2555 นั้น ท่าเรือแหลมฉบัง จะต้องมีตู้สินค้าขนถ่ายผ่านท่าต่างๆ รวมแล้วไม่น้อยกว่า 6.1 ล้านทีอียู ถือเป็นเป้าหมายที่เติบโตจากปีก่อนที่มีตู้สินค้าประมาณ5.6 ล้านทีอียู ที่8.5-9 %
“เราคาดว่าผลการดำเนินงานน่าจะเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ แม้ในส่วนของยานยนต์อาจมีปัญหาบ้างจากผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ในช่วงปลายปี 2554 ส่วนการแก้ปัญหาเรื่องความไม่เข้าใจระหว่างชุมชน กับโครงการขยายท่าเรือแหลมฉบังในเฟสที่ 3 นั้น ขณะนี้เราก็กำลังดำเนินการตามขึ้นตอนต่างๆ ทั้งในเรื่องของการส่งเจ้าหน้าที่เข้าทำความเข้าใจ รับฟัง และพร้อมแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งก็คงต้องใช้เวลา เพราะปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาที่สะสมมานาน ”
ย้ำท่าเรือแหลมฉบัง เฟส 3 ต้องเกิดในปี 2562
เรือเอกสุทธินันท์ ยังเผยถึงความจำเป็นที่จะต้องผลักดันให้ท่าเรือแหลมฉบัง เฟส 3 เกิดขึ้นตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในปี 2562 ว่า เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการลงทุนของประเทศ เพราะศักยภาพของท่าเรือแหลมฉบังในการรองรับตู้สินค้าจะเต็มศักยภาพ 10.8 ล้านทีอียูในปี 2562 ดังนั้นหากท่าเรือเฟส 3 ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ก็จะส่งผลกระทบต่อการลงทุนภาคอุตสาหกรรม และการย้ายฐานผลิตของกลุ่มทุนต่างประเทศไปยังประเทศเพื่อนบ้านอย่างแน่นอน
“ในเรื่องการแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวลล้อมและการสร้างความเข้าใจกับชุมชุนโดยรอบนั้น ขณะนี้ทางจังหวัดชลบุรีก็ช่วยเราในแง่ของการตั้งกรรมการขึ้นมา 2-3 ชุดเพื่อแก้ปัญหาให้กับชาวบ้าน ซึ่งบางครั้งปัญหาที่เกิดขึ้นอาจเกิดจากการสื่อสารที่ผิดพลาด ซึ่งขณะนี้ ทลฉ.ก็รับทราบความต้องการและพร้อมสนับสนุนทั้งในเรื่องการสร้างอาชีพ การให้การศึกษา และการสร้างงานให้กับคนในชุมชนและเยาวชนที่อยู่ในชุมชนแล้ว และเชื่อว่าสุดท้ายทุกคนจะเข้าใจในความจำเป็นของการก่อสร้างท่าเทียบเรือเฟส 3 ”
ซึ่งตามแผนงานที่กำหนดไว้นั้น ในปี 2555 การศึกษาความเป็นไปได้ต่างๆ ของโครงการจะต้องแล้วเสร็จ เพื่อที่ในปี 2556 จะสามารถเริ่มลงมือก่อสร้างได้ และจะใช้เวลาประมาณ 3-4 ปี และพัฒนาเพื่อเติมเพื่อให้สามารถเปิดดำเนินการได้ในปี 2562 สำหรับงบประมาณในการก่อสร้างนั้น ผู้บริหาร ทลฉ.มองว่าจะใช้งบไม่ต่ำกว่า 3หมื่นล้านบาท โดยน่าจะเป็นงบที่เกิดจากการตั้งกองทุนสาธารณูปโภค มากกว่าการใช้เงินสนับสนุนจากรัฐบาล และบางส่วนเกิดจากการลงทุนเพิ่มเติมของเอกชน