พระนครศรีอยุธยา - ชาวบ้านริมนิคมอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ออกโรงโวยกลุ่ม NGO คัดค้านการสร้างแนวคันดินป้องกันน้ำท่วมรอบนิคมอุตสาหกรรม ย้อนถามกลุ่ม NGO หากมีญาติทำงานอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมแล้วตกงานบ้าง จะรู้สึกอย่างไร พร้อมแนะ NGO เอาเวลาไปแก้ปัญหาหมอกควันภาคเหนือดีกว่า
วันนี้ (6 มี.ค.) ชาวบ้านใน ต.คานหาม อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งมีพื้นที่ติดกับนิคมอุตสาหกรรมโรจนะ ต่างจับกลุ่มวิพากษ์วิจารณ์กลุ่ม NGO หลังออกมาเคลื่อนไหวคัดค้านการสร้างแนวคันดินป้องกันน้ำท่วมโดยรอบนิคมอุตสาหกรรมของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยหลายคนต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าไม่สมควรออกมาเคลื่อนไหวเช่นนี้
นางบุปผา สิทธิเดช อยู่บ้านเลขที่ 4/6 ม.1 ต.คานหาม อ.อุทัย ซึ่งมีพื้นที่ติดกับนิคมอุตสาหกรรมโรจนะ กล่าวว่า ตนเองตั้งบ้านเรือนมานานกว่า 40 ปี และการที่มีนิคมอุตสาหกรรมเข้ามาตั้งในพื้นที่ก็เป็นเรื่องที่ดี เพราะคนในชุมชนได้ทำงานใกล้บ้านไม่ต้องย้ายถิ่นฐาน
ส่วนกรณีที่กลุ่ม NGO ออกมาคัดค้านการสร้างแนวป้องกันน้ำท่วมของนิคมอุตสาหกรรมหลายแห่งใน จ.พระนครศรีอยุธยา นั้น ตนเองก็ไม่เห็นด้วยและเป็นการคัดค้านที่ไม่สร้างสรรค์สำหรับกลุ่ม NGO เลย เนื่องจากตนเองเป็นคนในพื้นที่รู้ดีว่าสภาพปัญหาเป็นอย่างไร และการสร้างแนวป้องกันน้ำท่วมของนิคมอุตสาหกรรมนั้น มีการเสริมความสูงจากของเดิมอีก 50-80 ซม.เท่านั้น ซึ่งเมื่อเกิดปัญหาน้ำท่วมจริงก็ไม่ใช่เรื่องแปลกเพราะปีที่ผ่านมาทุกคนมีประสบการณ์แล้ว
“โดยเฉพาะน้ำท่วมนิคมอุตสาหกรรมโรจนะ ทำให้โรงงานต้องปิดตัวลงนานกว่า 4 เดือน คนงานต้องถูกหยุดงานชั่วคราว และบางโรงงานปิดตัวหนีเลย จนตอนนี้คนในชุมชน และคนที่เข้ามาหางานทำตกงานจำนวนมาก ซึ่งหากไม่มีการป้องกันนิคมอุตสาหกรรมเอาไว้ในปีนี้แล้วเกิดปัญหาน้ำท่วมอีก ก็จะต้องมีคนตกงานเพิ่มขึ้น จึงอยากถามกลุ่ม NGO ว่า หากพวกเขาเหล่านั้นมีญาติทำงานในนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งแต่ละคนมีภาระต้องดูแลค่าใช้จ่ายในครอบครัวจำนวนมาก แล้วโรงงานถูกน้ำท่วมประสบชะตากรรมเดียวกับคนอยุธยาฯ พวก NGO จะรู้สึกอย่างไร”
นอกจากนี้ นางบุปผา ยังมองว่า การออกมาคัดค้านเรื่องที่ไม่เป็นเรื่องของกลุ่ม NGO ครั้งนี้ ไม่ได้ส่งผลดีกับตัวองค์กร คนที่ออกมาคัดค้านมากนัก เพราะนั่นหมายถึงคุณไม่รู้ข้อมูลของคนในพื้นที่ดีว่าเขาต้องการ เช่นไร แต่กลับใช้ความเดือดร้อนของชาวบ้าน หรือคนตกงาน ไปสร้างเงื่อนไขในการเคลื่อนไหวเพื่อผลประโยชน์บางอย่าง
เช่นเดียวกับ นางฉลวย ตรีเจตนา อยู่บ้านเลขที่ 9/2 ม.4 ต.คานหาม อ.อุทัย กล่าวว่า แม้ตนเองไม่มีญาติทำงานในนิคมอุตสาหกรรมโรจนะ แต่ก็ไม่เห็นด้วยกับแนวความคิดของกลุ่ม NGO เพราะไม่ได้สร้างประโยชน์ให้กับใครเลย มิหนำซ้ำจะยิ่งเป็นการส่งเสริมให้คนไทยตกงานมากขึ้นในช่วงน้ำท่วม เพราะฉะนั้นอยากให้กลุ่ม NGO เลิกคิดแทนคนอื่นแล้วกลับมาถามคนอื่นก่อนว่าเห็นด้วยกับแนวคิดของตนเองหรือไม่ ที่สำคัญ อยากให้พวก NGO เอาเวลาไปคิดแก้ปัญหาเรื่องหมอก-ควัน ในภาคเหนือจะดีกว่า
ด้าน นายพากร วังศิราบัตร อดีตประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า คนที่ออกมาคัดค้านการทำแนวคันดินป้องกันน้ำท่วมรอบนิคมอุตสาหกรรม ใน จ.พระนครศรีอยุธยา ถือว่าเป็นพวกเหยียบย่ำความเดือดร้อนของคนอื่นเอามาสร้างผลประโยชน์ให้กับตนเอง เพราะการสร้างแนวป้องกันน้ำท่วม ไม่ได้สร้างสูงเหมือนแนวสันเขื่อนแต่อย่างใด เพียงแต่เป็นการปรับปรุงแนวคันดินของเดิม และเสริมขึ้นไปอีกแค่ 50-80 ซม.เท่านั้น ซึ่งหากน้ำท่วมจริงชาวบ้านก็เดือดร้อนอยู่แล้ว
“แต่พวกเขายังมีอาชีพทำมาหากินช่วงน้ำท่วม จึงอยากให้กลุ่ม NGO ทบทวนบทบาทตัวเองเสียใหม่ และสมควรทำในเรื่องที่ต้องทำ เช่น การแก้ปัญหาหมอก-ควัน ในพื้นที่ภาคเหนือ หรือการหาวิธีแก้ปัญหาลดภาวะโลกร้อนที่กำลังเป็นอยู่ในขณะนี้จะดีกว่า”
วันนี้ (6 มี.ค.) ชาวบ้านใน ต.คานหาม อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งมีพื้นที่ติดกับนิคมอุตสาหกรรมโรจนะ ต่างจับกลุ่มวิพากษ์วิจารณ์กลุ่ม NGO หลังออกมาเคลื่อนไหวคัดค้านการสร้างแนวคันดินป้องกันน้ำท่วมโดยรอบนิคมอุตสาหกรรมของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยหลายคนต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าไม่สมควรออกมาเคลื่อนไหวเช่นนี้
นางบุปผา สิทธิเดช อยู่บ้านเลขที่ 4/6 ม.1 ต.คานหาม อ.อุทัย ซึ่งมีพื้นที่ติดกับนิคมอุตสาหกรรมโรจนะ กล่าวว่า ตนเองตั้งบ้านเรือนมานานกว่า 40 ปี และการที่มีนิคมอุตสาหกรรมเข้ามาตั้งในพื้นที่ก็เป็นเรื่องที่ดี เพราะคนในชุมชนได้ทำงานใกล้บ้านไม่ต้องย้ายถิ่นฐาน
ส่วนกรณีที่กลุ่ม NGO ออกมาคัดค้านการสร้างแนวป้องกันน้ำท่วมของนิคมอุตสาหกรรมหลายแห่งใน จ.พระนครศรีอยุธยา นั้น ตนเองก็ไม่เห็นด้วยและเป็นการคัดค้านที่ไม่สร้างสรรค์สำหรับกลุ่ม NGO เลย เนื่องจากตนเองเป็นคนในพื้นที่รู้ดีว่าสภาพปัญหาเป็นอย่างไร และการสร้างแนวป้องกันน้ำท่วมของนิคมอุตสาหกรรมนั้น มีการเสริมความสูงจากของเดิมอีก 50-80 ซม.เท่านั้น ซึ่งเมื่อเกิดปัญหาน้ำท่วมจริงก็ไม่ใช่เรื่องแปลกเพราะปีที่ผ่านมาทุกคนมีประสบการณ์แล้ว
“โดยเฉพาะน้ำท่วมนิคมอุตสาหกรรมโรจนะ ทำให้โรงงานต้องปิดตัวลงนานกว่า 4 เดือน คนงานต้องถูกหยุดงานชั่วคราว และบางโรงงานปิดตัวหนีเลย จนตอนนี้คนในชุมชน และคนที่เข้ามาหางานทำตกงานจำนวนมาก ซึ่งหากไม่มีการป้องกันนิคมอุตสาหกรรมเอาไว้ในปีนี้แล้วเกิดปัญหาน้ำท่วมอีก ก็จะต้องมีคนตกงานเพิ่มขึ้น จึงอยากถามกลุ่ม NGO ว่า หากพวกเขาเหล่านั้นมีญาติทำงานในนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งแต่ละคนมีภาระต้องดูแลค่าใช้จ่ายในครอบครัวจำนวนมาก แล้วโรงงานถูกน้ำท่วมประสบชะตากรรมเดียวกับคนอยุธยาฯ พวก NGO จะรู้สึกอย่างไร”
นอกจากนี้ นางบุปผา ยังมองว่า การออกมาคัดค้านเรื่องที่ไม่เป็นเรื่องของกลุ่ม NGO ครั้งนี้ ไม่ได้ส่งผลดีกับตัวองค์กร คนที่ออกมาคัดค้านมากนัก เพราะนั่นหมายถึงคุณไม่รู้ข้อมูลของคนในพื้นที่ดีว่าเขาต้องการ เช่นไร แต่กลับใช้ความเดือดร้อนของชาวบ้าน หรือคนตกงาน ไปสร้างเงื่อนไขในการเคลื่อนไหวเพื่อผลประโยชน์บางอย่าง
เช่นเดียวกับ นางฉลวย ตรีเจตนา อยู่บ้านเลขที่ 9/2 ม.4 ต.คานหาม อ.อุทัย กล่าวว่า แม้ตนเองไม่มีญาติทำงานในนิคมอุตสาหกรรมโรจนะ แต่ก็ไม่เห็นด้วยกับแนวความคิดของกลุ่ม NGO เพราะไม่ได้สร้างประโยชน์ให้กับใครเลย มิหนำซ้ำจะยิ่งเป็นการส่งเสริมให้คนไทยตกงานมากขึ้นในช่วงน้ำท่วม เพราะฉะนั้นอยากให้กลุ่ม NGO เลิกคิดแทนคนอื่นแล้วกลับมาถามคนอื่นก่อนว่าเห็นด้วยกับแนวคิดของตนเองหรือไม่ ที่สำคัญ อยากให้พวก NGO เอาเวลาไปคิดแก้ปัญหาเรื่องหมอก-ควัน ในภาคเหนือจะดีกว่า
ด้าน นายพากร วังศิราบัตร อดีตประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า คนที่ออกมาคัดค้านการทำแนวคันดินป้องกันน้ำท่วมรอบนิคมอุตสาหกรรม ใน จ.พระนครศรีอยุธยา ถือว่าเป็นพวกเหยียบย่ำความเดือดร้อนของคนอื่นเอามาสร้างผลประโยชน์ให้กับตนเอง เพราะการสร้างแนวป้องกันน้ำท่วม ไม่ได้สร้างสูงเหมือนแนวสันเขื่อนแต่อย่างใด เพียงแต่เป็นการปรับปรุงแนวคันดินของเดิม และเสริมขึ้นไปอีกแค่ 50-80 ซม.เท่านั้น ซึ่งหากน้ำท่วมจริงชาวบ้านก็เดือดร้อนอยู่แล้ว
“แต่พวกเขายังมีอาชีพทำมาหากินช่วงน้ำท่วม จึงอยากให้กลุ่ม NGO ทบทวนบทบาทตัวเองเสียใหม่ และสมควรทำในเรื่องที่ต้องทำ เช่น การแก้ปัญหาหมอก-ควัน ในพื้นที่ภาคเหนือ หรือการหาวิธีแก้ปัญหาลดภาวะโลกร้อนที่กำลังเป็นอยู่ในขณะนี้จะดีกว่า”