เพชรบุรี - ภัยแล้งคุกคาม เมืองเพชรบุรี อ่างเก็บน้ำหลายแห่งเริ่มมีปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อการอุปโภคบริโภค ภาคเกษตร และยังส่งผลกระทบต่อโครงการสวนสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี อำเภอชะอำ ด้วย ขณะที่ ผจก.โครงการสวนสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เร่งหาแนวทางแก้ไข ด้วยการนำทฤษฎี “ถาดขนมครก” มาใช้ในการกักเก็บน้ำไว้ใช้ยามหน้าแล้ง
วันนี้ (1 มี.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานจาก จ.เพชรบุรี ว่า จากวิกฤตฝนทิ้งช่วงในขณะนี้ได้ส่งผลให้ปริมาณน้ำในเขื่อนและอ่างเก็บน้ำต่างๆ ใน จ.เพชรบุรี หลายแห่ง เริ่มมีปริมาณไม่เพียงพอต่อการอุปโภคบริโภคแล้ว ขณะที่อ่างเก็บน้ำห้วยตะแปด อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี พบว่า ในขณะนี้มีน้ำอยู่เพียง 3.5 แสนล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 9% จากปริมาณที่สามารถกักเก็บได้ทั้งหมด 4 ล้านลูกบาศก์เมตรเท่านั้น ทำให้ทางอ่างต้องประกาศปิดอ่างเก็บน้ำชั่วคราว ส่งผลให้พื้นที่การเกษตรได้รับผลกระทบแล้วประมาณ 2,000 ไร่
นอกจากนี้ ยังได้ส่งผลกระทบไปยังโครงการสวนสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ต.สามพระยา อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี ที่รับน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยตะแปด เพื่อนำมาใช้ในด้านการเกษตรด้วย โดยโครงการประสบปัญหาภัยแล้ง ขาดแคลนน้ำ ทั้งน้ำในบ่อพื้นที่โครงการที่แห้งลงและขาดน้ำสนับสนุนจากอ่างเก็บน้ำห้วยตะแปด ทำให้มีพืชสมุนไพรและพืชไร่เสียหาย
นายณัฐพงศ์ ลาภมี ผู้จัดการโครงการสวนสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ออกมาเปิดเผยว่า พื้นที่ภายในโครงการเป็นดินทราย ถึงแม้ว่าจะมีฝนตกก็ไม่สามารถกักเก็บน้ำหรืออุ้มน้ำได้ ซึ่งจากเดิมได้รับผลกระทบอย่างหนักเนื่องจากมีปริมาณน้ำไม่เพียงพอ จึงได้ดำเนินการแก้ปัญหา โดยขอรับการสนับสนุนรถบรรทุกน้ำเพื่อการอุปโภคและการเกษตรจากหน่วยงานต่างๆ ได้แก่ ค่ายธนะรัชต์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ค่ายศรียานนท์ จังหวัดเพชรบุรี เทศบาลเมืองชะอำ และองค์การบริหารส่วนตำบลสามพระยา
นอกจากนี้ ได้ดำเนินการขุดลอกบ่อกักเก็บน้ำภายในโครงการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการกักเก็บ และระบายน้ำในระยะต่อไป ซึ่งได้ประสานไปยังกรมทรัพยากรน้ำบาดาลเพื่อเข้ามาสำรวจพื้นที่ในเชิงวิชาการ เพื่อหาระดับน้ำบาดาลว่าอยู่ที่ความลึกเท่าไหร่ ซึ่งจากการสำรวจก็พบว่า พบน้ำบาดาลอยู่ในความลึกที่ 140 เมตร มีน้ำจำนวน 108 คิวต่อชั่วโมง
ซึ่งผลจากการสำรวจนักวิชาการได้มีการขุดเจาะบ่อน้ำบาดาล ซึ่งสามารถจะนำไปใช้แก้ปัญหาให้กับพื้นที่ภายในโครงการสวนสมเด็จฯ และพื้นที่ใกล้เคียง ไม่ว่าจะเป็น ศูนย์อุตสาหกรรมห้วยทราย หมู่บ้าน ชุมชนต่างๆ ที่กำลังประสบปัญหาภัยแล้งในขณะนี้ ตลอดจนยังได้คำนึงถึงการปลูกต้นไม้ว่าพืชชนิดไหนทนความแห้งแล้งได้ดีก็จะนำพืชชนิดนั้นมาปลูกทดแทนในช่วงหน้าแล้ง
ขณะเดียวกัน ทางโครงการได้มีการคิดทฤษฎีใหม่ขึ้นมา ซึ่งเรียกว่า “ทฤษฎีถาดขนมครก” ซึ่งเป็นทฤษฎีง่ายๆ เพื่อใช้ชะลอการไหลของน้ำ ซึ่งจากเดิมเมื่อเข้าช่วงหน้าฝนพื้นดินในพื้นที่จะไม่สามารถเก็บกักน้ำได้เลยทางโครงการ จึงได้ทดลองขุดหลุมขนาดใหญ่ที่ติดต่อกันหลายๆ หลุมลักษณะเหมือนหลุมบอมขนมครก ขุดขั้นระหว่างกลางช่วงที่มีการปลูกต้นไม้ใหญ่ และมีการนำหญ้าแฝกเข้ามาปลูกร่วมด้วยตามบอมที่ขุด และพบว่าเมื่อฝนตกหลุมนั้นสามารถกักเก็บน้ำเอาไว้ได้ และต้นไม้สามารถเจริญเติบโตได้ดีทางโครงการ จึงนำหลักทฤษฎีหลุมขนมครกเข้ามาใช้ในพื้นที่เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ในยามหน้าแล้งได้สำเร็จ
วันนี้ (1 มี.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานจาก จ.เพชรบุรี ว่า จากวิกฤตฝนทิ้งช่วงในขณะนี้ได้ส่งผลให้ปริมาณน้ำในเขื่อนและอ่างเก็บน้ำต่างๆ ใน จ.เพชรบุรี หลายแห่ง เริ่มมีปริมาณไม่เพียงพอต่อการอุปโภคบริโภคแล้ว ขณะที่อ่างเก็บน้ำห้วยตะแปด อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี พบว่า ในขณะนี้มีน้ำอยู่เพียง 3.5 แสนล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 9% จากปริมาณที่สามารถกักเก็บได้ทั้งหมด 4 ล้านลูกบาศก์เมตรเท่านั้น ทำให้ทางอ่างต้องประกาศปิดอ่างเก็บน้ำชั่วคราว ส่งผลให้พื้นที่การเกษตรได้รับผลกระทบแล้วประมาณ 2,000 ไร่
นอกจากนี้ ยังได้ส่งผลกระทบไปยังโครงการสวนสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ต.สามพระยา อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี ที่รับน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยตะแปด เพื่อนำมาใช้ในด้านการเกษตรด้วย โดยโครงการประสบปัญหาภัยแล้ง ขาดแคลนน้ำ ทั้งน้ำในบ่อพื้นที่โครงการที่แห้งลงและขาดน้ำสนับสนุนจากอ่างเก็บน้ำห้วยตะแปด ทำให้มีพืชสมุนไพรและพืชไร่เสียหาย
นายณัฐพงศ์ ลาภมี ผู้จัดการโครงการสวนสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ออกมาเปิดเผยว่า พื้นที่ภายในโครงการเป็นดินทราย ถึงแม้ว่าจะมีฝนตกก็ไม่สามารถกักเก็บน้ำหรืออุ้มน้ำได้ ซึ่งจากเดิมได้รับผลกระทบอย่างหนักเนื่องจากมีปริมาณน้ำไม่เพียงพอ จึงได้ดำเนินการแก้ปัญหา โดยขอรับการสนับสนุนรถบรรทุกน้ำเพื่อการอุปโภคและการเกษตรจากหน่วยงานต่างๆ ได้แก่ ค่ายธนะรัชต์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ค่ายศรียานนท์ จังหวัดเพชรบุรี เทศบาลเมืองชะอำ และองค์การบริหารส่วนตำบลสามพระยา
นอกจากนี้ ได้ดำเนินการขุดลอกบ่อกักเก็บน้ำภายในโครงการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการกักเก็บ และระบายน้ำในระยะต่อไป ซึ่งได้ประสานไปยังกรมทรัพยากรน้ำบาดาลเพื่อเข้ามาสำรวจพื้นที่ในเชิงวิชาการ เพื่อหาระดับน้ำบาดาลว่าอยู่ที่ความลึกเท่าไหร่ ซึ่งจากการสำรวจก็พบว่า พบน้ำบาดาลอยู่ในความลึกที่ 140 เมตร มีน้ำจำนวน 108 คิวต่อชั่วโมง
ซึ่งผลจากการสำรวจนักวิชาการได้มีการขุดเจาะบ่อน้ำบาดาล ซึ่งสามารถจะนำไปใช้แก้ปัญหาให้กับพื้นที่ภายในโครงการสวนสมเด็จฯ และพื้นที่ใกล้เคียง ไม่ว่าจะเป็น ศูนย์อุตสาหกรรมห้วยทราย หมู่บ้าน ชุมชนต่างๆ ที่กำลังประสบปัญหาภัยแล้งในขณะนี้ ตลอดจนยังได้คำนึงถึงการปลูกต้นไม้ว่าพืชชนิดไหนทนความแห้งแล้งได้ดีก็จะนำพืชชนิดนั้นมาปลูกทดแทนในช่วงหน้าแล้ง
ขณะเดียวกัน ทางโครงการได้มีการคิดทฤษฎีใหม่ขึ้นมา ซึ่งเรียกว่า “ทฤษฎีถาดขนมครก” ซึ่งเป็นทฤษฎีง่ายๆ เพื่อใช้ชะลอการไหลของน้ำ ซึ่งจากเดิมเมื่อเข้าช่วงหน้าฝนพื้นดินในพื้นที่จะไม่สามารถเก็บกักน้ำได้เลยทางโครงการ จึงได้ทดลองขุดหลุมขนาดใหญ่ที่ติดต่อกันหลายๆ หลุมลักษณะเหมือนหลุมบอมขนมครก ขุดขั้นระหว่างกลางช่วงที่มีการปลูกต้นไม้ใหญ่ และมีการนำหญ้าแฝกเข้ามาปลูกร่วมด้วยตามบอมที่ขุด และพบว่าเมื่อฝนตกหลุมนั้นสามารถกักเก็บน้ำเอาไว้ได้ และต้นไม้สามารถเจริญเติบโตได้ดีทางโครงการ จึงนำหลักทฤษฎีหลุมขนมครกเข้ามาใช้ในพื้นที่เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ในยามหน้าแล้งได้สำเร็จ