ตราด - จังหวัดตราดประกาศพื้นที่ประสบภัยแล้ง 5 อำเภอ เตรียมพร้อมรับปัญหาภัยแล้ง แยกแผนปฏิบัติการน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค ออกจากน้ำเพื่อการเกษตร
เนื่องด้วยจังหวัดตราด ได้เข้าสู่สภาวะภัยแล้งตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ โดยมีบางหมู่บ้านได้ประสบปัญหาน้ำขาดแคลน ทำให้เกิดภาวะภัยแล้งขึ้น ทางจังหวัดจึงได้จัดตั้งศูนย์เฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งจังหวัดขึ้น พร้อมทั้งสั่งการให้ทุกอำเภอทำการตั้งศูนย์เฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งขึ้น
โดยปัจจุบันจังหวัดตราด ได้ประกาศพื้นที่ประสบภัยแล้งในทุกตำบลแล้วรวม 5 อำเภอ คือ อำเภอเมืองตราด อำเภอเขาสมิง อำเภอแหลมงอบ อำเภอคลองใหญ่ และอำเภอเกาะกูด
นางสาวเบญจวรรณ อ่านเปรื่อง ผู้ว่าราชการจังหวัดตราด กล่าวว่า แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ได้กำชับให้อำเภอและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นปฏิบัติตามแผนเฉพาะกิจ ที่แยกการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค ออกจากการขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร
โดยส่วนของน้ำบริโภคขอให้ภาครัฐที่เกี่ยวข้องเร่งสำรวจแหล่งน้ำสะอาด จัดหา หรือซ่อมแซมแหล่งกักเก็บน้ำที่มีอยู่แล้วให้สามารถใช้งานได้ พร้อมทั้งจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการให้ความช่วยเหลือประชาชนหากขาดแคลนขอให้ขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่มี เช่น รถบรรทุกน้ำ หรือเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่ สามารถขอสนับสนุนได้ที่โครงการชลประทานตราด หรือหน่วยทหารในพื้นที่
ด้าน นายธนะ พรหมดวง หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดตราด เผยด้วยว่า หลังทางจังหวัดตราดได้จัดตั้งศูนย์เฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งจังหวัดขึ้นที่สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด พร้อมทั้งขอให้ทุกอำเภอตั้งศูนย์เฉพาะกิจ ด้วย
รวมทั้งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นปฏิบัติตามแผนเฉพาะกิจที่แยกการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค ออกจากการขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร และในส่วนของน้ำบริโภคขอให้ภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เร่งสำรวจแหล่งน้ำสะอาด จัดหาหรือซ่อมแซมแหล่งกักเก็บน้ำที่มีอยู่ให้สามารถใช้งานได้ พร้อมทั้งจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการให้ความช่วยเหลือประชาชน
หากขาดแคลนให้ขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่มี เช่น รถบรรทุกน้ำ หรือเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่ สามารถขอสนับสนุนได้จากโครงการชลประทานตราด หรือหน่วยทหารในพื้นที่
สำหรับน้ำเพื่อการเกษตร ขอให้เร่งสำรวจพื้นที่ที่อาจได้รับความเสียหายในภาวะเร่งด่วน เพื่อเร่งให้ความช่วยเหลือ ด้วยการระดมความร่วมมือจากหน่วยงานที่มีเครื่องมือ เข้าสนับสนุนดำเนินการ
นอกจากนี้ ให้จัดทำฝายชั่วคราวในลำคลองและแม่น้ำเพื่อกักน้ำไว้ใช้ก่อนไหลลงทะเล พร้อมกันนี้ให้เร่งประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรวางแผนเพาะปลูกให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำ โดยขอให้ประชาสัมพันธ์สภาวะของน้ำทุกระยะ โดยเรียกประชุมกลุ่มผู้ใช้น้ำเป็นประจำ และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนร่วมกันใช้น้ำอย่างประหยัดและคุ้มค่าด้วยเช่นกัน
เนื่องด้วยจังหวัดตราด ได้เข้าสู่สภาวะภัยแล้งตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ โดยมีบางหมู่บ้านได้ประสบปัญหาน้ำขาดแคลน ทำให้เกิดภาวะภัยแล้งขึ้น ทางจังหวัดจึงได้จัดตั้งศูนย์เฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งจังหวัดขึ้น พร้อมทั้งสั่งการให้ทุกอำเภอทำการตั้งศูนย์เฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งขึ้น
โดยปัจจุบันจังหวัดตราด ได้ประกาศพื้นที่ประสบภัยแล้งในทุกตำบลแล้วรวม 5 อำเภอ คือ อำเภอเมืองตราด อำเภอเขาสมิง อำเภอแหลมงอบ อำเภอคลองใหญ่ และอำเภอเกาะกูด
นางสาวเบญจวรรณ อ่านเปรื่อง ผู้ว่าราชการจังหวัดตราด กล่าวว่า แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ได้กำชับให้อำเภอและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นปฏิบัติตามแผนเฉพาะกิจ ที่แยกการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค ออกจากการขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร
โดยส่วนของน้ำบริโภคขอให้ภาครัฐที่เกี่ยวข้องเร่งสำรวจแหล่งน้ำสะอาด จัดหา หรือซ่อมแซมแหล่งกักเก็บน้ำที่มีอยู่แล้วให้สามารถใช้งานได้ พร้อมทั้งจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการให้ความช่วยเหลือประชาชนหากขาดแคลนขอให้ขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่มี เช่น รถบรรทุกน้ำ หรือเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่ สามารถขอสนับสนุนได้ที่โครงการชลประทานตราด หรือหน่วยทหารในพื้นที่
ด้าน นายธนะ พรหมดวง หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดตราด เผยด้วยว่า หลังทางจังหวัดตราดได้จัดตั้งศูนย์เฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งจังหวัดขึ้นที่สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด พร้อมทั้งขอให้ทุกอำเภอตั้งศูนย์เฉพาะกิจ ด้วย
รวมทั้งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นปฏิบัติตามแผนเฉพาะกิจที่แยกการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค ออกจากการขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร และในส่วนของน้ำบริโภคขอให้ภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เร่งสำรวจแหล่งน้ำสะอาด จัดหาหรือซ่อมแซมแหล่งกักเก็บน้ำที่มีอยู่ให้สามารถใช้งานได้ พร้อมทั้งจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการให้ความช่วยเหลือประชาชน
หากขาดแคลนให้ขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่มี เช่น รถบรรทุกน้ำ หรือเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่ สามารถขอสนับสนุนได้จากโครงการชลประทานตราด หรือหน่วยทหารในพื้นที่
สำหรับน้ำเพื่อการเกษตร ขอให้เร่งสำรวจพื้นที่ที่อาจได้รับความเสียหายในภาวะเร่งด่วน เพื่อเร่งให้ความช่วยเหลือ ด้วยการระดมความร่วมมือจากหน่วยงานที่มีเครื่องมือ เข้าสนับสนุนดำเนินการ
นอกจากนี้ ให้จัดทำฝายชั่วคราวในลำคลองและแม่น้ำเพื่อกักน้ำไว้ใช้ก่อนไหลลงทะเล พร้อมกันนี้ให้เร่งประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรวางแผนเพาะปลูกให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำ โดยขอให้ประชาสัมพันธ์สภาวะของน้ำทุกระยะ โดยเรียกประชุมกลุ่มผู้ใช้น้ำเป็นประจำ และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนร่วมกันใช้น้ำอย่างประหยัดและคุ้มค่าด้วยเช่นกัน