นายสุวิทย์ รัตนมณี อธิบดีกรมป่าไม้ เตรียมเสนอนายกรัฐมนตรีให้มีการปลูกป่าไม้เพิ่ม โดยกรมป่าไม้จะจัดเตรียมพื้นที่จำนวน 80,000 ไร่ และต้นกล้า 16 ล้านต้น เพื่อใช้ปลูกในพื้นที่ 6 ลุ่มน้ำ ได้แก่ ลุ่มน้ำแม่คำมี ในลุ่มน้ำยม ลุ่มน้ำกวง ในลุ่มน้ำปิง ลุ่มน้ำแม่จาง ในลุ่มน้ำวัง ลุ่มน้ำสา ในลุ่มน้ำน่าน ลุ่มน้ำห้วง ในสะแกกรัง และบริเวณห้วยน้ำพุง ที่ลุ่มน้ำป่าสัก โดยจะมีการปลูกต้นไม้ ทั้งไม้ยืนต้น และไม้ขนาดกลางสลับกัน ให้คนในชุมชนช่วยกันพิทักษ์ป่า และอยู่กับป่าไม้อย่างยั่งยืน โดยคาดว่าหากได้รับงบประมาณก้อนแรกจากรัฐบาลในเดือนมีนาคมนี้ ก็จะเริ่มดำเนินการได้ทันทีภายใน 3-4 เดือน
สำหรับแผนฟื้นฟูป่าไม้ จะทำในส่วนของฝายถาวร และฝายกึ่งถาวร เพื่อจะช่วยในการเก็บน้ำด้วย โดยงบประมาณจะใช้ประมาณ 1,043 ล้านบาท
ปัจจุบันนี้ป่าไม้ในเมืองไทยมีพื้นที่ประมาณ 33 เปอร์เซ็นต์ หรือ 107.4 ล้านไร่ ขาดอีก 21 ล้านไร่ ที่ต้องทำการปลูกเพิ่ม ซึ่งควรที่จะเร่งรัดในการปลูกเพื่อให้ทันฤดูฝนที่จะมาถึง คาดว่าจะใช้เวลาอีก 3-4 ปี ป่าชุดใหม่จะดูแลตัวเองได้ และช่วยเรื่องของการดูดซับน้ำ ป้องกันน้ำท่วมหรือดินไหล
ขณะที่นายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ให้กรมป่าไม้ และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เร่งฟื้นฟูป่าที่เสื่อมโทรม นอกจากนี้ ยังมีปัญหาการบุกรุก การทำฝายชะลอน้ำ การปลูกหญ้าแฝกลดการพังทลายของหน้าดินในลุ่มน้ำสำคัญๆ เพื่อจะช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมได้อย่างยั่งยืน
พร้อมกันนี้ นายปรีชา ยอมรับว่า สาเหตุของน้ำท่วมเป็นผลมาจากการตัดไม้ทำลายป่า และเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินทางภาคเหนือ
สำหรับแผนฟื้นฟูป่าไม้ จะทำในส่วนของฝายถาวร และฝายกึ่งถาวร เพื่อจะช่วยในการเก็บน้ำด้วย โดยงบประมาณจะใช้ประมาณ 1,043 ล้านบาท
ปัจจุบันนี้ป่าไม้ในเมืองไทยมีพื้นที่ประมาณ 33 เปอร์เซ็นต์ หรือ 107.4 ล้านไร่ ขาดอีก 21 ล้านไร่ ที่ต้องทำการปลูกเพิ่ม ซึ่งควรที่จะเร่งรัดในการปลูกเพื่อให้ทันฤดูฝนที่จะมาถึง คาดว่าจะใช้เวลาอีก 3-4 ปี ป่าชุดใหม่จะดูแลตัวเองได้ และช่วยเรื่องของการดูดซับน้ำ ป้องกันน้ำท่วมหรือดินไหล
ขณะที่นายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ให้กรมป่าไม้ และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เร่งฟื้นฟูป่าที่เสื่อมโทรม นอกจากนี้ ยังมีปัญหาการบุกรุก การทำฝายชะลอน้ำ การปลูกหญ้าแฝกลดการพังทลายของหน้าดินในลุ่มน้ำสำคัญๆ เพื่อจะช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมได้อย่างยั่งยืน
พร้อมกันนี้ นายปรีชา ยอมรับว่า สาเหตุของน้ำท่วมเป็นผลมาจากการตัดไม้ทำลายป่า และเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินทางภาคเหนือ