xs
xsm
sm
md
lg

เมืองน้ำดำเร่งบูรณะพระธาตุยาคู ผุดแหล่งท่องเที่ยวอารยธรรมสมัยทวารวดี

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

: นายปรัชญา จินต์จันทรวงศ์ รองผู้ว่าฯกาฬสินธุ์ พร้อมคณะทำงานจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักศิลปากรที่ 10 ร้อยเอ็ด เจ้าหน้าที่จากกรมศิลปากร พร้อมด้วยผู้นำท้องถิ่นลงพื้นที่ติตามความคืบหน้าโครงการบูรณะและปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์พระธาตุยาคู
กาฬสินธุ์ - กาฬสินธุ์เร่งบูรณะปรับปรุงภูมิทัศพระธาตุยาคู เมืองฟ้าแดดสงยาง ดันเป็นแหล่งท่องเที่ยวศึกษาอารยธรรมยุคก่อนประวัติศาสตร์ สมัยทวารวดี พุทธศตวรรษที่ 13-15

วันนี้ (16 ก.พ.) นายปรัชญา จินต์จันทรวงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ พร้อมด้วยคณะอาจารย์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะดำเนินการปรับปรุงจากสำนักศิลปากรที่ 10 ร้อยเอ็ด คณะเจ้าหน้าที่จากกรมศิลปากร พร้อมด้วยผู้นำท้องถิ่นลงพื้นที่ติตามความคืบหน้าโครงการบูรณะและปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์พระธาตุยาคูและติตตามความก้าวหน้าการจัดทำแผนแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองฟ้าแดดสงยาง ซึ่งตั้งอยู่บ้านเสมา ม.7 ต.หนองแปน อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์

หลังจาก จ.กาฬสินธุ์ไ ด้จัดงบประมาณ 3,099,500 บาท เพื่อบูรณะซ่อมแซมปรับปรุงให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวศึกษาประวัติศาสตร์ และอารยะธรรมในยุคสมัยทวารวดี พุทธศตวรรษที่ 13-15

นายปรัชญา จินต์จันทรวงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ กล่าวว่า ขณะนี้การบูรณะและปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์พระธาตุยาคู และการจัดทำแผนแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองฟ้าแดดสงยางคืบหน้าไปมากกว่า 70% แล้ว ซึ่งหากดำเนินการแล้วเสร็จทางจังหวัดกาฬสินธุ์จะร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และชาวบ้านในพื้นที่เปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยว เพื่อให้นักท่องเที่ยวและประชาชนได้มีโอกาสเข้ามาสักการะพระธาตุยาคู ซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์โบราณสถานที่สำคัญของประเทศไทย พร้อมกับได้ศึกษาเรียนรู้อารยะธรรม ประเพณี การเผยแผ่พระพุทธศาสนายุดก่อนประวัติศาสตร์ สมัยทวารวดี ช่วงพุทธศตวรรษที่ 13-15

สำหรับเจดีย์พระธาตุยาคู อยู่ในเมืองฟ้าแดดสงยาง อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์ มีลักษณะสถาปัตยกรรมที่แปลกกว่าเจดีย์แห่งอื่น คือ เป็นเจดีย์แปดเหลี่ยม มีองค์ระฆังคล้ายหม้อน้ำแปดเหลี่ยมคล้ายกันสองลูก โดยชาวบ้านได้ร่วมแรงร่วมใจกันสร้างเจดีย์พระธาตุยาคูขึ้น

เพราะเชื่อว่าบรรจุอัฐิของพระเถระชั้นผู้ใหญ่ที่ชาวเมืองเคารพนับถือ เพื่อเป็นศูนย์กลางชุมชนทำบุญตามเทศกาลและเชื่อว่าชาวบ้านสร้างขึ้นตรงที่มีรากฐานเดิม ซึ่งเป็นของสมัยทวารวดีเพราะมีการพบใบเสมาหินทรายจำหลักภาเรื่องชาดก และพุทธประวัติสมัยทวารวดีจำนวนมาก

กำลังโหลดความคิดเห็น