หนองคาย - ศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคที่ 3 ชี้ แนวทางการกระตุ้นเศรษฐกิจด้านอุตสาหกรรมเกษตรและบริการ หลังเกิดวิกฤตน้ำท่วม ลงพื้นที่ภาคอีสานตอนบนแก้ปัญหาการชะลอตัวของผลผลิต แนะหนองคายเหมาะกับการลงทุนในอนาคต โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องการเกษตรและธุรกิจบริการท่องเที่ยว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ห้องประชุมทับทิม โรงแรมแกรนด์พาราไดซ์ อ.เมืองหนองคาย นายวิวัฒ เมธีวรรณกิจ รองผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย เป็นประธานเปิดการสัมมนาเรื่อง ลงทุนอย่างไร ไม่ต้องเสียภาษีกับอุตสาหกรรมเกษตรและบริการ ซึ่งศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคที่ 3 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน จัดสัมมนาในครั้งนี้ขึ้นเพื่อแนะนำโอกาสการลงทุน
โดยเฉพาะกิจการเกษตรและกิจการบริการให้กับนักลงทุน ผู้ประกอบการ พร้อมเผยแพร่นโยบาย หลักเกณฑ์วิธีการขอรับการส่งเสริมการลงทุนทั้งก่อนและหลังจากได้รับการส่งเสริม รวมทั้งสร้างความเข้าใจกับผู้ประกอบการในด้านการได้รับสิทธิประโยชน์จากการส่งเสริมการลงทุน พร้อมทั้งเสริมสร้างบรรยากาศการลงทุนให้สอดคล้องกับศักยภาพของจังหวัดหนองคาย
นางสาวรัตนวิมล นารี ศุกรีเขตร ผู้อำนวยการศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคที่ 3 กล่าวว่า จากภาวะอุทกภัยครั้งใหญ่ปลายปีที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจของไทยหลายภาคส่วน โดยเฉพาะการหดตัวของผลผลิตภาคอุตสาหกรรม การชะลอตัวของผลผลิตภาคเกษตร ตลอดจนการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า ปัจจัยเหล่านี้กระทบต่ออุตสาหกรรมเป็นวงกว้าง โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเกษตรและอุตสาหกรรมบริการ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การจ้างงาน การกระจายรายได้ และความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ
ทั้งนี้ ในปี 2554 มีผู้ประกอบการที่อยู่ในอุตสาหกรรมเกษตรและอุตสาหกรรมบริการ ยื่นโครงการขอรับการส่งเสริมการลงทุนในภาคอีสานตอนบนมากที่สุด ประกอบด้วย อุตสาหกรรมเกษตรและผลผลิตจากการเกษตร 18 โครงการ รองลงมาเป็นอุตสาหกรรมบริการและสาธารณูปโภค 11 โครงการ อุตสาหกรรมผลิตโลหะเครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่ง 7 โครงการ อุตสาหกรรมเบาและอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ กระดาษและพลาสติก อย่างละ 6 โครงการ และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า 2 โครงการ
การที่ศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคที่ 3 เล็งพื้นที่จังหวัดหนองคายเป็นเป้าหมาย เนื่องจาก พิจารณาจากศักยภาพของจังหวัดหนองคายโดยเฉพาะภาคการเกษตรซึ่งเป็นสาขาเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัด อีกทั้งยังมีวัตถุดิบที่ภาคอุตสาหกรรมต้องการอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น ยางพารา มะเขือเทศ ข้าวโพด ในด้านจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางไปมายังจังหวัดหนองคายรวมถึงผ่านไปประเทศลาวก็มีจำนวนมากเช่นกัน
อุตสาหกรรมบริการก็น่าจะมีโอกาสเติบโตอย่างต่อเนื่อง รวมถึงจังหวัดหนองคายยังตั้งอยู่ในเขตส่งเสริมการลงทุน 3 พิเศษของบีโอไอ ซึ่งจะได้รับสิทธิและประโยชน์สูงสุด
ด้าน นายวิวัฒ เมธีวรรณกิจ รองผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย กล่าวเพิ่มเติมว่า เมื่อพิจารณาสถิติการขอรับการส่งเสริมการลงทุน ตั้งแต่ปี 2533-2554 ในพื้นที่จังหวัดหนองคาย มีโครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจาก บีโอไอ ทั้งสิ้น 10 โครงการ เงินลงทุน 1,754.2 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างงาน 1,437 คน
จังหวัดหนองคาย มีศักยภาพในด้านทรัพยากรอื่นๆ เช่น ด้านเกษตรกรรม ได้แก่ ข้าวนาปี ยางพารา และยังเป็นแหล่งผลิตซอสมะเขือเทศแหล่งใหญ่ที่สุดของประเทศ มีโรงงานที่ต้องการวัตถุดิบ เช่น มะเขือเทศ ข้าวโพดหวาน และพืชผักผลไม้ต่างๆ รวมกันประมาณไม่ต่ำว่า 100,000 ตันต่อปี อีกทั้งยังมีพื้นที่ปลูกยางพารามากกว่า 600,000 ไร่ ซึ่งมากที่สุดในภาคอีสาน ที่สำคัญ ไม่เกิดปัญหาน้ำท่วมขังเช่นภาคกลาง จะมีเพียงพื้นที่ถูกน้ำท่วมเล็กน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่ทั้งหมดของจังหวัด
นอกจากนี้ จังหวัดหนองคาย ยังจะมีโครงการใหญ่เกิดขึ้นในอนาคตข้างหน้า การก่อสร้างและขยายเส้นทางคมนาคมขนส่งที่เชื่อมต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้านได้สะดวก ทั้งทางรถยนต์ ทางเรือ และทางรถไฟ โดยเฉพาะการขยายเส้นทางขนส่งทางราง
ขณะนี้ การรถไฟแห่งประเทศไทย อยู่ระหว่างการดำเนินการปรับปรุงรางรถไฟให้สามารถรองรับน้ำหนักได้มากขึ้น สะดวกต่อการขนส่งสินค้า วัตถุดิบจากจังหวัดหนองคายมุ่งหน้าสู่กรุงเทพฯ จนถึงปลายทางที่ท่าเรือแหลมฉบัง และการก่อสร้างสถานีขนถ่ายสินค้าตู้คอนเทนเนอร์ (CY) ที่สถานีรถไฟนาทา เพื่อรองรับการเชื่อมต่อทางรถไฟจากสถานีท่านาแล้ง เวียงจันทน์ ประเทศลาว ผ่านหนองคายไปยังกรุงเทพฯ เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จจะช่วยอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าแก่ผู้ประกอบการได้ดีขึ้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ห้องประชุมทับทิม โรงแรมแกรนด์พาราไดซ์ อ.เมืองหนองคาย นายวิวัฒ เมธีวรรณกิจ รองผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย เป็นประธานเปิดการสัมมนาเรื่อง ลงทุนอย่างไร ไม่ต้องเสียภาษีกับอุตสาหกรรมเกษตรและบริการ ซึ่งศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคที่ 3 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน จัดสัมมนาในครั้งนี้ขึ้นเพื่อแนะนำโอกาสการลงทุน
โดยเฉพาะกิจการเกษตรและกิจการบริการให้กับนักลงทุน ผู้ประกอบการ พร้อมเผยแพร่นโยบาย หลักเกณฑ์วิธีการขอรับการส่งเสริมการลงทุนทั้งก่อนและหลังจากได้รับการส่งเสริม รวมทั้งสร้างความเข้าใจกับผู้ประกอบการในด้านการได้รับสิทธิประโยชน์จากการส่งเสริมการลงทุน พร้อมทั้งเสริมสร้างบรรยากาศการลงทุนให้สอดคล้องกับศักยภาพของจังหวัดหนองคาย
นางสาวรัตนวิมล นารี ศุกรีเขตร ผู้อำนวยการศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคที่ 3 กล่าวว่า จากภาวะอุทกภัยครั้งใหญ่ปลายปีที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจของไทยหลายภาคส่วน โดยเฉพาะการหดตัวของผลผลิตภาคอุตสาหกรรม การชะลอตัวของผลผลิตภาคเกษตร ตลอดจนการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า ปัจจัยเหล่านี้กระทบต่ออุตสาหกรรมเป็นวงกว้าง โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเกษตรและอุตสาหกรรมบริการ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การจ้างงาน การกระจายรายได้ และความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ
ทั้งนี้ ในปี 2554 มีผู้ประกอบการที่อยู่ในอุตสาหกรรมเกษตรและอุตสาหกรรมบริการ ยื่นโครงการขอรับการส่งเสริมการลงทุนในภาคอีสานตอนบนมากที่สุด ประกอบด้วย อุตสาหกรรมเกษตรและผลผลิตจากการเกษตร 18 โครงการ รองลงมาเป็นอุตสาหกรรมบริการและสาธารณูปโภค 11 โครงการ อุตสาหกรรมผลิตโลหะเครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่ง 7 โครงการ อุตสาหกรรมเบาและอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ กระดาษและพลาสติก อย่างละ 6 โครงการ และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า 2 โครงการ
การที่ศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคที่ 3 เล็งพื้นที่จังหวัดหนองคายเป็นเป้าหมาย เนื่องจาก พิจารณาจากศักยภาพของจังหวัดหนองคายโดยเฉพาะภาคการเกษตรซึ่งเป็นสาขาเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัด อีกทั้งยังมีวัตถุดิบที่ภาคอุตสาหกรรมต้องการอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น ยางพารา มะเขือเทศ ข้าวโพด ในด้านจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางไปมายังจังหวัดหนองคายรวมถึงผ่านไปประเทศลาวก็มีจำนวนมากเช่นกัน
อุตสาหกรรมบริการก็น่าจะมีโอกาสเติบโตอย่างต่อเนื่อง รวมถึงจังหวัดหนองคายยังตั้งอยู่ในเขตส่งเสริมการลงทุน 3 พิเศษของบีโอไอ ซึ่งจะได้รับสิทธิและประโยชน์สูงสุด
ด้าน นายวิวัฒ เมธีวรรณกิจ รองผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย กล่าวเพิ่มเติมว่า เมื่อพิจารณาสถิติการขอรับการส่งเสริมการลงทุน ตั้งแต่ปี 2533-2554 ในพื้นที่จังหวัดหนองคาย มีโครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจาก บีโอไอ ทั้งสิ้น 10 โครงการ เงินลงทุน 1,754.2 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างงาน 1,437 คน
จังหวัดหนองคาย มีศักยภาพในด้านทรัพยากรอื่นๆ เช่น ด้านเกษตรกรรม ได้แก่ ข้าวนาปี ยางพารา และยังเป็นแหล่งผลิตซอสมะเขือเทศแหล่งใหญ่ที่สุดของประเทศ มีโรงงานที่ต้องการวัตถุดิบ เช่น มะเขือเทศ ข้าวโพดหวาน และพืชผักผลไม้ต่างๆ รวมกันประมาณไม่ต่ำว่า 100,000 ตันต่อปี อีกทั้งยังมีพื้นที่ปลูกยางพารามากกว่า 600,000 ไร่ ซึ่งมากที่สุดในภาคอีสาน ที่สำคัญ ไม่เกิดปัญหาน้ำท่วมขังเช่นภาคกลาง จะมีเพียงพื้นที่ถูกน้ำท่วมเล็กน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่ทั้งหมดของจังหวัด
นอกจากนี้ จังหวัดหนองคาย ยังจะมีโครงการใหญ่เกิดขึ้นในอนาคตข้างหน้า การก่อสร้างและขยายเส้นทางคมนาคมขนส่งที่เชื่อมต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้านได้สะดวก ทั้งทางรถยนต์ ทางเรือ และทางรถไฟ โดยเฉพาะการขยายเส้นทางขนส่งทางราง
ขณะนี้ การรถไฟแห่งประเทศไทย อยู่ระหว่างการดำเนินการปรับปรุงรางรถไฟให้สามารถรองรับน้ำหนักได้มากขึ้น สะดวกต่อการขนส่งสินค้า วัตถุดิบจากจังหวัดหนองคายมุ่งหน้าสู่กรุงเทพฯ จนถึงปลายทางที่ท่าเรือแหลมฉบัง และการก่อสร้างสถานีขนถ่ายสินค้าตู้คอนเทนเนอร์ (CY) ที่สถานีรถไฟนาทา เพื่อรองรับการเชื่อมต่อทางรถไฟจากสถานีท่านาแล้ง เวียงจันทน์ ประเทศลาว ผ่านหนองคายไปยังกรุงเทพฯ เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จจะช่วยอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าแก่ผู้ประกอบการได้ดีขึ้น