ASTVผู้จัดการรายวัน-ลาวเตรียมปัดฝุ่นรถไฟไทย-ลาว ท่านาแล้ง-เวียงจันทน์ 9 กม.หลังรถไฟความเร็วสูงลาว-จีนสะดุด “สุพจน์” เผยรัฐบาลลาวต้องเสนอรัฐบาลไทยพิจารณาใหม่ ยืนยันรถไฟความเร็วสูงไทย-จีนไม่กระทบ แม้โครงการในลาวจะมีปัญหา
แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า หลังจากโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) ในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างรัฐบาลลาวกับจีนมีปัญหา ขณะนี้รัฐบาลลาวเตรียมที่จะนำโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟจากสถานีท่านาแล้ง-สถานีเวียงจันทน์ ระยะที่ 2 ระยะทางประมาณ 9 กิโลเมตร วงเงิน 1,650 ล้านบาท ที่เคยแจ้งชะลอการดำเนินโครงการก่อนหน้านี้ เนื่องจากเห็นว่ามีความซ้ำซ้อนกับโครงการรถไฟความเร็วสูง เส้นทางจีน-ลาว-ไทย กลับมาพิจารณาอีกครั้ง และนำมาหารือกับรัฐบาลไทยใหม่
โดยโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟท่านาแล้ง-เวียงจันทน์ จะเป็นการก่อสร้างเส้นทางต่อจากรถไฟไทย-ลาว ระยะแรก สถานีหนองคาย-สถานีท่านาแล้ง ระยะทาง 3.5 กิโลเมตร ค่าก่อสร้าง 187 ล้านบาท ซึ่งเปิดให้บริการแล้ว โดยเป็นการร่วมทุนระหว่างไทยกับลาว โดยไทยสนับสนุนเงินแบบให้เปล่า 30% และแบบเงินกู้เงื่อนไขผ่อนปรนดอกเบี้ยต่ำ 70%
นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า หากรัฐบาลลาวต้องการดำเนินโครงการก่อสร้างทางรถไฟจากท่านาแล้ง-เวียงจันทน์อีกครั้ง ก็สามารถนำเรื่องเสนอรัฐบาลไทยเพื่อพิจารณาใหม่ได้ ส่วนกรณีที่ความร่วมมือรถไฟความเร็วสูงระหว่างลาวกับจีนในประเทศลาวมีปัญหา เรื่องนี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อโครงการรถไฟความเร็วสูงของไทย เนื่องจากไทยมีแผนดำเนินการก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงรวม 5 เส้นทาง ก่อนที่รัฐบาลจีน จะเสนอตัวเข้ามาร่วมมือกับรัฐบาลไทยดำเนินโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย และกรุงเทพฯ-ปาดังเบซาร์
ส่วนของร่างบันทึกความเข้าใจร่วมกัน (MOU) โครงการรถไฟความเร็วสูง ที่ไทยได้จัดส่งไปให้ทางการจีนพิจารณานั้น ขณะนี้ จีนยังไม่มีการตอบกลับมา คาดว่าทางการจีนคงอยู่ระหว่างพิจารณา และจะมาหารือร่วมกับไทยอีกครั้งหลังจากไทยจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่เสร็จเรียบร้อย อย่างไรก็ตาม กระทรวงคมนาคม จะต้องรวบรวมข้อมูลโครงการทั้ง 5 เส้นทาง คือ กรุงเทพฯ-หนองคาย กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ กรุงเทพฯ-ระยอง กรุงเทพฯ-ปาดังเบซาร์ และกรุงเทพฯ-อุบลราชธานี เพื่อเสนอต่อรัฐบาลใหม่พิจารณา ซึ่งในแง่ของการลงทุนนั้น ขณะนี้มีหลายประเทศที่แสดงความสนใจในโครงการรถไฟความเร็วสูงของไทย เช่น ญี่ปุ่น สนใจเส้นทาง กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ และกรุงเทพฯ-ระยอง เป็นต้น
แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า หลังจากโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) ในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างรัฐบาลลาวกับจีนมีปัญหา ขณะนี้รัฐบาลลาวเตรียมที่จะนำโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟจากสถานีท่านาแล้ง-สถานีเวียงจันทน์ ระยะที่ 2 ระยะทางประมาณ 9 กิโลเมตร วงเงิน 1,650 ล้านบาท ที่เคยแจ้งชะลอการดำเนินโครงการก่อนหน้านี้ เนื่องจากเห็นว่ามีความซ้ำซ้อนกับโครงการรถไฟความเร็วสูง เส้นทางจีน-ลาว-ไทย กลับมาพิจารณาอีกครั้ง และนำมาหารือกับรัฐบาลไทยใหม่
โดยโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟท่านาแล้ง-เวียงจันทน์ จะเป็นการก่อสร้างเส้นทางต่อจากรถไฟไทย-ลาว ระยะแรก สถานีหนองคาย-สถานีท่านาแล้ง ระยะทาง 3.5 กิโลเมตร ค่าก่อสร้าง 187 ล้านบาท ซึ่งเปิดให้บริการแล้ว โดยเป็นการร่วมทุนระหว่างไทยกับลาว โดยไทยสนับสนุนเงินแบบให้เปล่า 30% และแบบเงินกู้เงื่อนไขผ่อนปรนดอกเบี้ยต่ำ 70%
นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า หากรัฐบาลลาวต้องการดำเนินโครงการก่อสร้างทางรถไฟจากท่านาแล้ง-เวียงจันทน์อีกครั้ง ก็สามารถนำเรื่องเสนอรัฐบาลไทยเพื่อพิจารณาใหม่ได้ ส่วนกรณีที่ความร่วมมือรถไฟความเร็วสูงระหว่างลาวกับจีนในประเทศลาวมีปัญหา เรื่องนี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อโครงการรถไฟความเร็วสูงของไทย เนื่องจากไทยมีแผนดำเนินการก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงรวม 5 เส้นทาง ก่อนที่รัฐบาลจีน จะเสนอตัวเข้ามาร่วมมือกับรัฐบาลไทยดำเนินโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย และกรุงเทพฯ-ปาดังเบซาร์
ส่วนของร่างบันทึกความเข้าใจร่วมกัน (MOU) โครงการรถไฟความเร็วสูง ที่ไทยได้จัดส่งไปให้ทางการจีนพิจารณานั้น ขณะนี้ จีนยังไม่มีการตอบกลับมา คาดว่าทางการจีนคงอยู่ระหว่างพิจารณา และจะมาหารือร่วมกับไทยอีกครั้งหลังจากไทยจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่เสร็จเรียบร้อย อย่างไรก็ตาม กระทรวงคมนาคม จะต้องรวบรวมข้อมูลโครงการทั้ง 5 เส้นทาง คือ กรุงเทพฯ-หนองคาย กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ กรุงเทพฯ-ระยอง กรุงเทพฯ-ปาดังเบซาร์ และกรุงเทพฯ-อุบลราชธานี เพื่อเสนอต่อรัฐบาลใหม่พิจารณา ซึ่งในแง่ของการลงทุนนั้น ขณะนี้มีหลายประเทศที่แสดงความสนใจในโครงการรถไฟความเร็วสูงของไทย เช่น ญี่ปุ่น สนใจเส้นทาง กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ และกรุงเทพฯ-ระยอง เป็นต้น