สธ.ไทย-ลาวร่วมพัฒนาระบบเฝ้าระวังป้องกันโรคติดต่อระหว่างประเทศ หลังจับคู่ความร่วมมือระหว่างจังหวัดหนองคายกับนครหลวงเวียงจันทน์ จังหวัดบึงกาฬกับแขวงบอลิคำไซ และจังหวัดเลยกับแขวงไชยะบุรี
วันนี้ (9 ก.พ.) ณ โรงแรมเจริญธานี จังหวัดขอนแก่น นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กล่าวภายหลังเปิดการประชุมการพัฒนาระบบเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคติดต่อสำคัญระหว่างประเทศ ชายแดนลุ่มน้ำโขงว่า กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) ไทย โดยกรมควบคุมโรค และกระทรวงสาธารณสุขลาว โดยกรมอนามัยและป้องกันโรค ได้จัดการประชุมร่วมระหว่าง 2 ประเทศขึ้น เพื่อสร้างมาตรการและรูปแบบการดำเนินงานด้านการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคติดต่อสำคัญระหว่างประเทศให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม และทำให้ประชากรที่อาศัยอยู่บริเวณชายแดนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขี้น โดยใช้วิธีการจับคู่ความร่วมมือระหว่างจังหวัด ได้แก่ จังหวัดหนองคายกับนครหลวงเวียงจันทน์ จังหวัดบึงกาฬกับแขวงบอลิคำไซ และจังหวัดเลยกับแขวงไชยะบุรี โดยจะดำเนินการเฝ้าระวังป้องกันในด่านป้องกันควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ จำนวน 5 แห่ง ได้แก่ ด่านพรมแดนสะพานมิตรภาพไทย-ลาว ด่านท่าเรือวัดหายโศก ด่านรถไฟท่านาแล้ง ด่านบึงกาฬ และด่านท่าลี่ จังหวัดเลย ซึ่งโรคติดต่อสำคัญระหว่างประเทศที่มีการเฝ้าระวังป้องกันร่วมกัน ได้แก่ โรคโปลิโอ โรคหัด โรคปอดอักเสบ โรคไข้หวัด/ไข้หวัดใหญ่ โรคซาร์ส โรคอุจจาระร่วง อหิวาตกโรค โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคเอดส์ วัณโรค โรคไข้เลือดออก และโรคมาลาเรีย
ในการประชุมครั้งนี้ กรมควบคุมโรค มอบหมายให้สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น เป็นเจ้าภาพหลักในการจัดประชุม โดยผู้เข้าร่วมการประชุมประกอบด้วย คณะผู้แทนจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ได้แก่ ผู้แทนจากกรมอนามัยและป้องกันโรค หัวหน้าศูนย์วัณโรคแห่งชาติ แผนกสาธารณสุขนครหลวงเวียงจันทน์/แขวงบอลิคำไซ/แขวงไชยะบุรี โรงพยาบาลเสดถาทิลาด และคณะผู้แทนจากประเทศไทย ได้แก่ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด นายแพทย์เชี่ยวชาญด้านเวชกรรมป้องกัน ผู้รับผิดชอบงานควบคุมโรค และงานระบาดวิทยา จากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองคาย/บึงกาฬ/เลย สาธารณสุขอำเภอ และผู้รับผิดชอบงานคลินิกวัณโรคของโรงพยาบาลชุมชน ในอำเภอที่เป็นพื้นที่ชายแดนไทย-ลาว นักวิชาการจากสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น รวมประมาณ 120 คน
นพ.สุวรรณชัยกล่าวเพิ่มเติมว่า หัวข้อสำคัญในการอภิปรายครั้งนี้ ได้แก่ การอภิปราย เรื่อง การก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน 2015(AEC) กับความร่วมมือการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ ชายแดนลุ่มน้ำโขง การแลกเปลี่ยนเรียนรู้สถานการณ์วัณโรคดื้อยาและการรักษาผู้ป่วยวัณโรคดื้อยา ซึ่งล่าสุด (30 มกราคม 2555) ประเทศไทย โดยกระทรวงสาธารณสุข เป็นเจ้าภาพการประชุมคณะกรรมการบริหารพันธมิตรเครือข่ายหยุดยั้งวัณโรคครั้งที่ 21 เพื่อจัดทำแผนปราบวัณโรคระดับโลก โดยมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการจาก 22 ประเทศที่มีปัญหาวัณโรคสูงสุดทั่วโลก จากการประชุมยังพบว่าการควบคุมวัณโรคขณะนี้มีปัญหาท้าทายหลายประเด็น เช่น การแพร่ระบาดของวัณโรคดื้อยาซึ่งรักษายาก ความต้องการการวินิจฉัยเชื้อโรคที่รวดเร็วเหมือนโรคเอดส์และมาลาเรีย โดยหนทางการต่อสู้กับวัณโรคให้ประสบผลสำเร็จ จะต้องประกอบด้วยหลายมาตรการ ได้แก่ผู้ป่วยทุกคนเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพ การเพิ่มความรวดเร็วในการตรวจวินิจฉัยโรค และการรักษาพยาบาลผู้ป่วย การพัฒนาวัคซีนป้องกันโรค นอกจากนี้ ต้องอาศัยการมีส่วนร่วม และการพัฒนาศักยภาพของสมาชิกในครอบครัว อาสาสมัครสาธารณสุข และผู้นำชุมชน โดยจะนำปัญหาและสถานการณ์มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการประชุมครั้งนี้ด้วย นอกจากการหารือเรื่องวัณโรคดื้อยาแล้ว ยังมีการหารือและสรุปข้อเสนอแนะในการจัดทำข้อตกลงร่วม (MOU) ระหว่างจังหวัดชายแดนลุ่มน้ำโขงของทั้ง 2 ประเทศดังกล่าว เพื่อให้มีระบบการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคในพื้นที่ชายแดนและข้ามเขตแดน มีระบบข้อมูลข่าวสารและการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร เพื่อการเตือนภัยและเฝ้าระวังโรคติดต่อสำคัญ สามารถควบคุมการระบาดของโรคได้อย่างที่มีประสิทธิภาพต่อไป
วันนี้ (9 ก.พ.) ณ โรงแรมเจริญธานี จังหวัดขอนแก่น นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กล่าวภายหลังเปิดการประชุมการพัฒนาระบบเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคติดต่อสำคัญระหว่างประเทศ ชายแดนลุ่มน้ำโขงว่า กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) ไทย โดยกรมควบคุมโรค และกระทรวงสาธารณสุขลาว โดยกรมอนามัยและป้องกันโรค ได้จัดการประชุมร่วมระหว่าง 2 ประเทศขึ้น เพื่อสร้างมาตรการและรูปแบบการดำเนินงานด้านการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคติดต่อสำคัญระหว่างประเทศให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม และทำให้ประชากรที่อาศัยอยู่บริเวณชายแดนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขี้น โดยใช้วิธีการจับคู่ความร่วมมือระหว่างจังหวัด ได้แก่ จังหวัดหนองคายกับนครหลวงเวียงจันทน์ จังหวัดบึงกาฬกับแขวงบอลิคำไซ และจังหวัดเลยกับแขวงไชยะบุรี โดยจะดำเนินการเฝ้าระวังป้องกันในด่านป้องกันควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ จำนวน 5 แห่ง ได้แก่ ด่านพรมแดนสะพานมิตรภาพไทย-ลาว ด่านท่าเรือวัดหายโศก ด่านรถไฟท่านาแล้ง ด่านบึงกาฬ และด่านท่าลี่ จังหวัดเลย ซึ่งโรคติดต่อสำคัญระหว่างประเทศที่มีการเฝ้าระวังป้องกันร่วมกัน ได้แก่ โรคโปลิโอ โรคหัด โรคปอดอักเสบ โรคไข้หวัด/ไข้หวัดใหญ่ โรคซาร์ส โรคอุจจาระร่วง อหิวาตกโรค โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคเอดส์ วัณโรค โรคไข้เลือดออก และโรคมาลาเรีย
ในการประชุมครั้งนี้ กรมควบคุมโรค มอบหมายให้สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น เป็นเจ้าภาพหลักในการจัดประชุม โดยผู้เข้าร่วมการประชุมประกอบด้วย คณะผู้แทนจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ได้แก่ ผู้แทนจากกรมอนามัยและป้องกันโรค หัวหน้าศูนย์วัณโรคแห่งชาติ แผนกสาธารณสุขนครหลวงเวียงจันทน์/แขวงบอลิคำไซ/แขวงไชยะบุรี โรงพยาบาลเสดถาทิลาด และคณะผู้แทนจากประเทศไทย ได้แก่ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด นายแพทย์เชี่ยวชาญด้านเวชกรรมป้องกัน ผู้รับผิดชอบงานควบคุมโรค และงานระบาดวิทยา จากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองคาย/บึงกาฬ/เลย สาธารณสุขอำเภอ และผู้รับผิดชอบงานคลินิกวัณโรคของโรงพยาบาลชุมชน ในอำเภอที่เป็นพื้นที่ชายแดนไทย-ลาว นักวิชาการจากสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น รวมประมาณ 120 คน
นพ.สุวรรณชัยกล่าวเพิ่มเติมว่า หัวข้อสำคัญในการอภิปรายครั้งนี้ ได้แก่ การอภิปราย เรื่อง การก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน 2015(AEC) กับความร่วมมือการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ ชายแดนลุ่มน้ำโขง การแลกเปลี่ยนเรียนรู้สถานการณ์วัณโรคดื้อยาและการรักษาผู้ป่วยวัณโรคดื้อยา ซึ่งล่าสุด (30 มกราคม 2555) ประเทศไทย โดยกระทรวงสาธารณสุข เป็นเจ้าภาพการประชุมคณะกรรมการบริหารพันธมิตรเครือข่ายหยุดยั้งวัณโรคครั้งที่ 21 เพื่อจัดทำแผนปราบวัณโรคระดับโลก โดยมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการจาก 22 ประเทศที่มีปัญหาวัณโรคสูงสุดทั่วโลก จากการประชุมยังพบว่าการควบคุมวัณโรคขณะนี้มีปัญหาท้าทายหลายประเด็น เช่น การแพร่ระบาดของวัณโรคดื้อยาซึ่งรักษายาก ความต้องการการวินิจฉัยเชื้อโรคที่รวดเร็วเหมือนโรคเอดส์และมาลาเรีย โดยหนทางการต่อสู้กับวัณโรคให้ประสบผลสำเร็จ จะต้องประกอบด้วยหลายมาตรการ ได้แก่ผู้ป่วยทุกคนเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพ การเพิ่มความรวดเร็วในการตรวจวินิจฉัยโรค และการรักษาพยาบาลผู้ป่วย การพัฒนาวัคซีนป้องกันโรค นอกจากนี้ ต้องอาศัยการมีส่วนร่วม และการพัฒนาศักยภาพของสมาชิกในครอบครัว อาสาสมัครสาธารณสุข และผู้นำชุมชน โดยจะนำปัญหาและสถานการณ์มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการประชุมครั้งนี้ด้วย นอกจากการหารือเรื่องวัณโรคดื้อยาแล้ว ยังมีการหารือและสรุปข้อเสนอแนะในการจัดทำข้อตกลงร่วม (MOU) ระหว่างจังหวัดชายแดนลุ่มน้ำโขงของทั้ง 2 ประเทศดังกล่าว เพื่อให้มีระบบการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคในพื้นที่ชายแดนและข้ามเขตแดน มีระบบข้อมูลข่าวสารและการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร เพื่อการเตือนภัยและเฝ้าระวังโรคติดต่อสำคัญ สามารถควบคุมการระบาดของโรคได้อย่างที่มีประสิทธิภาพต่อไป