กาญจนบุรี - กฟผ. โต้ "สมิทธ ธรรมสโรช ประธานกรรมการมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ในฐานะคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบบริหารทรัพยากรน้ำ (กยน.)" ยันเขื่อนศรีนครินทร์ แข็งแรง ปลอดภัยใช้เป็นที่พักพิง
จากกรณีที่นายสมิทธ ธรรมสโรช ประธานกรรมการมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ในฐานะคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบบริหารทรัพยากรน้ำ (กยน.) ได้ออกมาแสดงความเห็นว่าเป็นห่วงเกี่ยวกับรอยเลื่อนแผ่นดินไหวในพื้นที่กาญจนบุรีนั้น
เมื่อเวลา 20.30 น.ของวันที่ 11 พฤศจิกายน 2554 ที่ผ่านมา นายวีรชัย ไชยสระแก้ว ผู้อำนวยการฝ่ายบำรุงรักษาโยธา การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กล่าวว่า กฟผ.ให้ความสำคัญกับงานด้านความปลอดภัยของเขื่อนมาก มีหน่วยงานที่ดูแลด้านนี้โดยเฉพาะคือฝ่ายบำรุงรักษาโยธา เพื่อให้รับผิดชอบงานด้านตรวจสอบความมั่นคง การบำรุงรักษา ซ่อมแซมเขื่อนและอาคารประกอบ โดยได้วางระเบียบปฏิบัติในด้านการตรวจสอบ และประเมินความปลอดภัยของเขื่อน เพื่อให้การดำเนินการด้านความปลอดภัยเขื่อนทุกเขื่อน เป็นมาตรฐานเดียวกัน
อีกทั้งยังมีการจัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินความปลอดภัยของเขื่อนขึ้น ซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญในงานที่เกี่ยวข้องหลากหลายสาขาอาชีพ ไม่ว่าจะเป็น ด้านก่อสร้าง ด้านวิศวกรรมโยธา ด้านเครื่องกล ด้านไฟฟ้า โดยในปัจจุบัน ได้นำเอาระบบตรวจวัดข้อมูลแบบอัตโนมัติ มาติดตั้งใช้งานที่เขื่อน โดยเป็นระบบตรวจวัดข้อมูล ที่ครอบคลุมข้อมูลด้านพฤติกรรมเขื่อน ข้อมูลอุตุ-อุทกวิทยา และข้อมูลแผ่นดินไหว ระบบนี้จะสามารถประมวลผลข้อมูลเบื้องต้น แสดงผลเป็นรูปกราฟ และหากมีข้อมูลที่ผิดปกติก็สามารถแจ้งเตือนให้ตรวจสอบได้ทันที นับเป็นการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ ด้านการสื่อสารข้อมูลมาประยุกต์ใช้อย่างได้ผล เพื่อจะช่วยให้งานด้านความปลอดภัย สำหรับเขื่อนต่างๆของ กฟผ. มีประสิทธิภาพ ทัดเทียมมาตรฐานสากล
ผอ.ฝ่ายบำรุงรักษา กฟผ.เปิดเผยต่อว่า นอกจากนี้ยังได้รับความร่วมมือจาก Prof.Loren R. Anderson ซึ่งเป็นที่รู้จักของนานาชาติในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านการประเมินความมั่นคงแข็งแรงของเขื่อน ได้ร่วมตรวจสอบเขื่อนศรีนครินทร์ จังหวัดกาญจนบุรีด้วย โดยหลังจาก Prof.Loren R. Anderson ได้ตรวจสอบเขื่อนศรีนครินทร์แล้ว ให้ความเห็นว่า กฟผ.มีขั้นตอนการตรวจสอบเขื่อน (DAM SAFTY MANAGEMENT) มีขั้นตอนที่สมบูรณ์แบบด้านความปลอดภัยของเขื่อนมีแผนการตรวจสอบและบำรุงรักษาของเขื่อนทำได้ดีมาก
ผลการตรวจวัดดีกว่าหลายเขื่อนในต่างประเทศ ส่วนอาคารระบายน้ำล้น สภาพดี มีเสถียรภาพเขื่อนดีมาก และไม่พบความผิดปกติ เขื่อนยังอยู่ในสภาพที่มั่นคง นอกจากนี้จากการตรวจสอบผลการศึกษาของ ม.เกษตรศาสตร์ เรื่องการเกิดแผ่นดินไหว เขื่อนศรีนครินทร์มีเสถียรภาพที่ปลอดภัย หลายๆ วิธีการได้ถูกนำมาศึกษาอย่างครบถ้วน จากประสบการณ์ผลการศึกษา เขื่อนที่จะเกิดพังทลายจากแผ่นดินไหวมีน้อยมาก โดยเฉพาะลักษณะของเขื่อนศรีนครินทร์ ที่เป็นเขื่อนแบบหินทิ้งแกนดินเหนียว จะมีเสถียรภาพมาก เพราะจะมีการปรับสภาพได้ดี
นายธีรชัย กล่าวย้ำว่า จากข้อมูลทางวิชาการของอาจารย์ปริญญา พุทธาภิบาล มีข้อมูลเกี่ยวกับผลการศึกษาเรื่องการเกิดแผ่นดินไหวในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี จากการศึกษาทางสภาพธรณีวิทยา และการตรวจสอบน้ำพุร้อนในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี ทำให้วิเคราะห์ว่า โอกาสเกิดแผ่นดินไหวเกินกว่า 5 ริกเตอร์ ในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี จะไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน ทำให้วางใจได้ว่า จะไม่เกิดผลกระทบกับประชาชนในพื้นที่และไม่เกิดผลกระทบต่อเขื่อนศรีนครินทร์ จากการดำเนินการตรวจสอบและบำรุงรักษาเพื่อความปลอดภัยของเขื่อนอย่างมีระบบและต่อเนื่องตลอดมา ทำให้มั่นใจได้ว่าเขื่อนศรีนครินทร์ มีความมั่นคงปลอดภัยในการใช้งานเสมอ สำหรับท่านที่ต้องการดูสภาพเขื่อนศรีนครินทร์แบบปัจจุบันสามารถดูได้จาก http://cctvsnr.egat.com
จากกรณีที่นายสมิทธ ธรรมสโรช ประธานกรรมการมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ในฐานะคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบบริหารทรัพยากรน้ำ (กยน.) ได้ออกมาแสดงความเห็นว่าเป็นห่วงเกี่ยวกับรอยเลื่อนแผ่นดินไหวในพื้นที่กาญจนบุรีนั้น
เมื่อเวลา 20.30 น.ของวันที่ 11 พฤศจิกายน 2554 ที่ผ่านมา นายวีรชัย ไชยสระแก้ว ผู้อำนวยการฝ่ายบำรุงรักษาโยธา การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กล่าวว่า กฟผ.ให้ความสำคัญกับงานด้านความปลอดภัยของเขื่อนมาก มีหน่วยงานที่ดูแลด้านนี้โดยเฉพาะคือฝ่ายบำรุงรักษาโยธา เพื่อให้รับผิดชอบงานด้านตรวจสอบความมั่นคง การบำรุงรักษา ซ่อมแซมเขื่อนและอาคารประกอบ โดยได้วางระเบียบปฏิบัติในด้านการตรวจสอบ และประเมินความปลอดภัยของเขื่อน เพื่อให้การดำเนินการด้านความปลอดภัยเขื่อนทุกเขื่อน เป็นมาตรฐานเดียวกัน
อีกทั้งยังมีการจัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินความปลอดภัยของเขื่อนขึ้น ซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญในงานที่เกี่ยวข้องหลากหลายสาขาอาชีพ ไม่ว่าจะเป็น ด้านก่อสร้าง ด้านวิศวกรรมโยธา ด้านเครื่องกล ด้านไฟฟ้า โดยในปัจจุบัน ได้นำเอาระบบตรวจวัดข้อมูลแบบอัตโนมัติ มาติดตั้งใช้งานที่เขื่อน โดยเป็นระบบตรวจวัดข้อมูล ที่ครอบคลุมข้อมูลด้านพฤติกรรมเขื่อน ข้อมูลอุตุ-อุทกวิทยา และข้อมูลแผ่นดินไหว ระบบนี้จะสามารถประมวลผลข้อมูลเบื้องต้น แสดงผลเป็นรูปกราฟ และหากมีข้อมูลที่ผิดปกติก็สามารถแจ้งเตือนให้ตรวจสอบได้ทันที นับเป็นการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ ด้านการสื่อสารข้อมูลมาประยุกต์ใช้อย่างได้ผล เพื่อจะช่วยให้งานด้านความปลอดภัย สำหรับเขื่อนต่างๆของ กฟผ. มีประสิทธิภาพ ทัดเทียมมาตรฐานสากล
ผอ.ฝ่ายบำรุงรักษา กฟผ.เปิดเผยต่อว่า นอกจากนี้ยังได้รับความร่วมมือจาก Prof.Loren R. Anderson ซึ่งเป็นที่รู้จักของนานาชาติในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านการประเมินความมั่นคงแข็งแรงของเขื่อน ได้ร่วมตรวจสอบเขื่อนศรีนครินทร์ จังหวัดกาญจนบุรีด้วย โดยหลังจาก Prof.Loren R. Anderson ได้ตรวจสอบเขื่อนศรีนครินทร์แล้ว ให้ความเห็นว่า กฟผ.มีขั้นตอนการตรวจสอบเขื่อน (DAM SAFTY MANAGEMENT) มีขั้นตอนที่สมบูรณ์แบบด้านความปลอดภัยของเขื่อนมีแผนการตรวจสอบและบำรุงรักษาของเขื่อนทำได้ดีมาก
ผลการตรวจวัดดีกว่าหลายเขื่อนในต่างประเทศ ส่วนอาคารระบายน้ำล้น สภาพดี มีเสถียรภาพเขื่อนดีมาก และไม่พบความผิดปกติ เขื่อนยังอยู่ในสภาพที่มั่นคง นอกจากนี้จากการตรวจสอบผลการศึกษาของ ม.เกษตรศาสตร์ เรื่องการเกิดแผ่นดินไหว เขื่อนศรีนครินทร์มีเสถียรภาพที่ปลอดภัย หลายๆ วิธีการได้ถูกนำมาศึกษาอย่างครบถ้วน จากประสบการณ์ผลการศึกษา เขื่อนที่จะเกิดพังทลายจากแผ่นดินไหวมีน้อยมาก โดยเฉพาะลักษณะของเขื่อนศรีนครินทร์ ที่เป็นเขื่อนแบบหินทิ้งแกนดินเหนียว จะมีเสถียรภาพมาก เพราะจะมีการปรับสภาพได้ดี
นายธีรชัย กล่าวย้ำว่า จากข้อมูลทางวิชาการของอาจารย์ปริญญา พุทธาภิบาล มีข้อมูลเกี่ยวกับผลการศึกษาเรื่องการเกิดแผ่นดินไหวในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี จากการศึกษาทางสภาพธรณีวิทยา และการตรวจสอบน้ำพุร้อนในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี ทำให้วิเคราะห์ว่า โอกาสเกิดแผ่นดินไหวเกินกว่า 5 ริกเตอร์ ในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี จะไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน ทำให้วางใจได้ว่า จะไม่เกิดผลกระทบกับประชาชนในพื้นที่และไม่เกิดผลกระทบต่อเขื่อนศรีนครินทร์ จากการดำเนินการตรวจสอบและบำรุงรักษาเพื่อความปลอดภัยของเขื่อนอย่างมีระบบและต่อเนื่องตลอดมา ทำให้มั่นใจได้ว่าเขื่อนศรีนครินทร์ มีความมั่นคงปลอดภัยในการใช้งานเสมอ สำหรับท่านที่ต้องการดูสภาพเขื่อนศรีนครินทร์แบบปัจจุบันสามารถดูได้จาก http://cctvsnr.egat.com