กาญจนบุรี - จังหวัดกาญจนบุรี จัดซ้อมแผนกรณีภัยพิบัติอุทกภัย
เมื่อเวลา 09.30 น.วันนี้ (3 ส.ค.54) นายชัยวัฒน์ ลิมป์วรรณธะ รองผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี เป็นประธานในการจัดซ้อมแผนอพยพประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยกรณีน้ำหลากฉับพลัน โรงเรียนเทศบาล 5 ต.บ้านใต้ อ.เมือง จ.กาญจนบุรี
โดย นายชัยวัฒน์ ลิมป์วรรณธะ รองผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี เปิดเผยว่า จากกรณีในช่วงที่ผ่านมา เกิดเหตุแผ่นดินไหวในภูมิภาคเอเชียบ่อยครั้ง ถึงแม้จะไม่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทย แต่สร้างความตื่นตระหนกให้กับประชาชน เนื่องจากจังหวัดกาญจนบุรีมีแหล่งเก็บกักน้ำขนาดใหญ่อยู่ ๒ เขื่อน อันได้แก่ เขื่อนศรีนครินทร์ และ เขื่อนวชิราลงกรณ ดังนั้น เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการป้องกัน และให้ความช่วยเหลือประชาชนได้อย่างทันท่วงที จังหวัดกาญจนบุรี จึงมีการจัดซ้อมแผนอพยพประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยดังกล่าว เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และประชาชนในพื้นที่ มีการตื่นตัวเตรียมพร้อมอยู่ตลอดเวลา
รอง ผวจ.กาญจนบุรี เปิดเผยว่า สำหรับการดูแลเรื่องความมั่นคงแข็งแรงของเขื่อนทั้ง ๒ เขื่อน ทางการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย มีการดำเนินการในตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงของเขื่อนอยู่เป็นประจำอย่างต่อเนื่องมาตลอด โดยได้นำเอาระบบตรวจวัดข้อมูลแบบอัตโนมัติ มาติดตั้งใช้งานที่เขื่อน โดยเป็นระบบตรวจวัดข้อมูล ที่ครอบคลุมข้อมูลด้านพฤติกรรมเขื่อน ข้อมูลอุตุ-อุทกวิทยา และข้อมูลแผ่นดินไหว ระบบนี้จะสามารถประมวลผลข้อมูล แ
ละหากมีข้อมูลที่ผิดปกติ ก็สามารถแจ้งเตือนให้ตรวจสอบได้ทันที นับเป็นการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ ด้านการสื่อสารข้อมูลมาประยุกต์ใช้อย่างได้ผล เพื่อจะช่วยให้งานด้านความปลอดภัย สำหรับเขื่อนต่างๆของ กฟผ. มีประสิทธิภาพ ทัดเทียมมาตรฐานสากล และมีการดำเนินการตรวจสอบ และบำรุงรักษาเพื่อความปลอดภัยของเขื่อนอย่างมีระบบและต่อเนื่อง ทำให้มั่นใจได้ว่า เขื่อนทุกเขื่อนของ กฟผ. จะมีความมั่นคงปลอดภัยในการใช้งาน และมีความปลอดภัยต่อชีวิต และทรัพย์สินของประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ท้ายน้ำของเขื่อน
นายชัยวัฒน์กล่าวว่า ส่วนเรื่องการเกิดแผ่นดินไหวในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรีนั้น อาจารย์ปริญญา พุทธาภิบาล ได้นำเสนอข้อมูลทางวิชาการเรื่องแผ่นดินไหวและมีข้อมูลเกี่ยวกับผลการศึกษาเรื่องการเกิดแผ่นดินไหวในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี จากการศึกษาทางสภาพธรณีวิทยา และการตรวจสอบน้ำพุร้อนในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี ทำให้วิเคราะห์ว่า โอกาสเกิดแผ่นดินไหวเกินกว่า ๕ ริกเตอร์ ในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี จะไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน ทำให้วางใจได้ว่า จะไม่เกิดผลกระทบกับประชาชนในพื้นที่ และไม่เกิดผลกระทบต่อเขื่อนศรีนครินทร์
“ สำหรับการเตรียมการนั้น ทางการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ได้จัดทำแผนที่ DIGITAL MAP เพื่อนำไปติดตั้งไว้ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่เสี่ยงภัยจากน้ำท่วมถึง โดยมีการแบ่งพื้นที่เป็นสีน้ำเงิน ได้แก่ พื้นที่น้ำหลากตามฤดูกาล สีเหลือง พื้นที่ในกรณีเดินเครื่องจากเขื่อนท่าทุ่งนาโดยเปิดอาคารระบายน้ำล้น และสีแดง พื้นที่กรณีเขื่อนเกิดพิบัติภัยรุนแรงสูงสุด โดยการฝึกซ้อมแผนอพยพในครั้งนี้ นอกจากจะทำให้พื้นที่เสี่ยงภัยมีความรู้ ความเข้าใจและเตรียมพร้อมอยู่เสมอหากเกิดเหตุขึ้น และยังเป็นประโยชน์ต่อการทำงานของเจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่ในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยให้มีความตันตัวอยู่เสมอ รวมถึงจะทำให้เกิดการประสานงานระหว่างคณะกรรมการชุมชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งระดับชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบ และมีประสิทธิภาพ อันจะนำไปสู่การลดความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนต่อไป” รอง ผวจ.กาญจนบุรีกล่าว
เมื่อเวลา 09.30 น.วันนี้ (3 ส.ค.54) นายชัยวัฒน์ ลิมป์วรรณธะ รองผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี เป็นประธานในการจัดซ้อมแผนอพยพประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยกรณีน้ำหลากฉับพลัน โรงเรียนเทศบาล 5 ต.บ้านใต้ อ.เมือง จ.กาญจนบุรี
โดย นายชัยวัฒน์ ลิมป์วรรณธะ รองผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี เปิดเผยว่า จากกรณีในช่วงที่ผ่านมา เกิดเหตุแผ่นดินไหวในภูมิภาคเอเชียบ่อยครั้ง ถึงแม้จะไม่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทย แต่สร้างความตื่นตระหนกให้กับประชาชน เนื่องจากจังหวัดกาญจนบุรีมีแหล่งเก็บกักน้ำขนาดใหญ่อยู่ ๒ เขื่อน อันได้แก่ เขื่อนศรีนครินทร์ และ เขื่อนวชิราลงกรณ ดังนั้น เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการป้องกัน และให้ความช่วยเหลือประชาชนได้อย่างทันท่วงที จังหวัดกาญจนบุรี จึงมีการจัดซ้อมแผนอพยพประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยดังกล่าว เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และประชาชนในพื้นที่ มีการตื่นตัวเตรียมพร้อมอยู่ตลอดเวลา
รอง ผวจ.กาญจนบุรี เปิดเผยว่า สำหรับการดูแลเรื่องความมั่นคงแข็งแรงของเขื่อนทั้ง ๒ เขื่อน ทางการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย มีการดำเนินการในตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงของเขื่อนอยู่เป็นประจำอย่างต่อเนื่องมาตลอด โดยได้นำเอาระบบตรวจวัดข้อมูลแบบอัตโนมัติ มาติดตั้งใช้งานที่เขื่อน โดยเป็นระบบตรวจวัดข้อมูล ที่ครอบคลุมข้อมูลด้านพฤติกรรมเขื่อน ข้อมูลอุตุ-อุทกวิทยา และข้อมูลแผ่นดินไหว ระบบนี้จะสามารถประมวลผลข้อมูล แ
ละหากมีข้อมูลที่ผิดปกติ ก็สามารถแจ้งเตือนให้ตรวจสอบได้ทันที นับเป็นการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ ด้านการสื่อสารข้อมูลมาประยุกต์ใช้อย่างได้ผล เพื่อจะช่วยให้งานด้านความปลอดภัย สำหรับเขื่อนต่างๆของ กฟผ. มีประสิทธิภาพ ทัดเทียมมาตรฐานสากล และมีการดำเนินการตรวจสอบ และบำรุงรักษาเพื่อความปลอดภัยของเขื่อนอย่างมีระบบและต่อเนื่อง ทำให้มั่นใจได้ว่า เขื่อนทุกเขื่อนของ กฟผ. จะมีความมั่นคงปลอดภัยในการใช้งาน และมีความปลอดภัยต่อชีวิต และทรัพย์สินของประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ท้ายน้ำของเขื่อน
นายชัยวัฒน์กล่าวว่า ส่วนเรื่องการเกิดแผ่นดินไหวในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรีนั้น อาจารย์ปริญญา พุทธาภิบาล ได้นำเสนอข้อมูลทางวิชาการเรื่องแผ่นดินไหวและมีข้อมูลเกี่ยวกับผลการศึกษาเรื่องการเกิดแผ่นดินไหวในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี จากการศึกษาทางสภาพธรณีวิทยา และการตรวจสอบน้ำพุร้อนในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี ทำให้วิเคราะห์ว่า โอกาสเกิดแผ่นดินไหวเกินกว่า ๕ ริกเตอร์ ในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี จะไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน ทำให้วางใจได้ว่า จะไม่เกิดผลกระทบกับประชาชนในพื้นที่ และไม่เกิดผลกระทบต่อเขื่อนศรีนครินทร์
“ สำหรับการเตรียมการนั้น ทางการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ได้จัดทำแผนที่ DIGITAL MAP เพื่อนำไปติดตั้งไว้ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่เสี่ยงภัยจากน้ำท่วมถึง โดยมีการแบ่งพื้นที่เป็นสีน้ำเงิน ได้แก่ พื้นที่น้ำหลากตามฤดูกาล สีเหลือง พื้นที่ในกรณีเดินเครื่องจากเขื่อนท่าทุ่งนาโดยเปิดอาคารระบายน้ำล้น และสีแดง พื้นที่กรณีเขื่อนเกิดพิบัติภัยรุนแรงสูงสุด โดยการฝึกซ้อมแผนอพยพในครั้งนี้ นอกจากจะทำให้พื้นที่เสี่ยงภัยมีความรู้ ความเข้าใจและเตรียมพร้อมอยู่เสมอหากเกิดเหตุขึ้น และยังเป็นประโยชน์ต่อการทำงานของเจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่ในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยให้มีความตันตัวอยู่เสมอ รวมถึงจะทำให้เกิดการประสานงานระหว่างคณะกรรมการชุมชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งระดับชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบ และมีประสิทธิภาพ อันจะนำไปสู่การลดความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนต่อไป” รอง ผวจ.กาญจนบุรีกล่าว