ศูนย์ข่าวเชียงใหม่ - พาณิชย์ฯจัดส่งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบสถานการณ์-ภาวะราคาสินค้าสำคัญเตรียมความพร้อมหากเกิดปัญหาทางด้านราคา หรือเหตุการณ์สินค้าขาดตลาด พบน้ำดื่มบางยี่ห้อขาดตลาด ผู้ผลิตในพื้นที่ขาดขวดบรรจุ แต่ยังมี 11 โรงเดินเครื่องได้ ขณะที่สินค้าบางชนิดในตลาดเริ่มน้อยลง หลังโรงงานใหญ่-เส้นทางขนส่งมีปัญหา
นางสาวปานจิตต์ พิศวง พาณิชย์จังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า จากสถานการณ์อุทกภัย ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2554 เป็นต้นมา ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อประเทศไทยในหลายๆ พื้นที่ โดยเฉพาะทางภาคกลางของประเทศ ซึ่งกระทบโดยตรงต่อการผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคที่สำคัญ รวมทั้งระบบการขนส่งสินค้าทางบกต้องชะลอตัว ทำให้ประชาชนอาจเกิดความตื่นตระหนกในการซื้อสินค้ามากักตุนเกินความจำเป็น และอาจนำไปสู่การขาดแคลนสินค้าได้
ขณะเดียวกันจังหวัดเชียงใหม่-ใกล้เคียง ไม่มีโรงงานผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคที่สำคัญ โดยนิคมอุตสาหกรรมลำพูน แม้มีโรงงานผลิตสินค้า จำนวน 87 โรงงาน สินค้าที่ผลิตมี 9 ประเภท แต่สินค้าหลัก คือ อุปกรณ์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ จึงอาจเกิดผลกระทบต่อการขาดแคลนสินค้าอุปโภคบริโภคบางชนิด
สำนักงานพาณิชย์จังหวัดฯ จึงได้จัดเจ้าหน้าที่ตรวจสอบสถานการณ์และภาวะราคาสินค้าที่สำคัญของจังหวัดอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมหากเกิดปัญหาทางด้านราคา หรือเหตุการณ์สินค้าขาดตลาด เช่น น้ำดื่มบรรจุขวด บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป น้ำมันพืช กระดาษชำระ ข้าวสาร ไข่ไก่ เนื้อสุกรชำแหละ เป็นต้น
ทั้งนี้ พบว่า สินค้าอุปโภคบริโภคอยู่ในภาวะการค้าคล่องตัว ประชาชนสามารถซื้อสินค้าได้ตามปกติ ไม่มีการตื่นตัวหรือการกักตุนสินค้า สินค้าในห้างสรรพสินค้า ยังคงมีเพียงพอต่อความต้องการของประชาชน แต่มีการจำกัดปริมาณการซื้อสินค้าบางรายการ เช่น น้ำมันพืช น้ำตาลทราย น้ำดื่ม เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม สินค้าบางชนิดเริ่มมีจำหน่ายน้อยลง เช่น น้ำดื่มบรรจุขวดบางยี่ห้อ น้ำตาลทราย บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป นมผง เนื่องจากมีประชาชนซื้อส่งไปบริจาคแก่ผู้ประสบอุทกภัยในภาคกลาง ประกอบกับการนำเข้ามาในจังหวัดลดลง เนื่องจากโรงงานผู้ผลิตภาคกลางได้รับผลกระทบโดยตรง เส้นทางขนส่งมีปัญหา
ในส่วนของน้ำดื่มบรรจุขวดชนิดไม่คืนขวดของบริษัทผู้ผลิตรายใหญ่ เช่น ตราสิงห์ ตราน้ำทิพย์ ตราเนสท์เล่ ขาดตลาด อีกทั้งบริษัทสาขาย่อยของผู้ผลิตน้ำดื่มรายใหญ่ เช่น น้ำสิงห์ (อำเภอสารภี) สำนักงานใหญ่แจ้งให้ชะลอการจำหน่ายลง สำนักงานใหญ่จะเป็นผู้บริหารจัดการกระจายน้ำดื่มเอง ส่วนบริษัทอื่นๆ ในจังหวัดเชียงใหม่ ที่มีมากถึง 335 แห่ง ส่วนใหญ่ไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากขาดปัจจัยการผลิต (ขวดบรรจุ)
อย่างไรก็ตาม ยังคงมีบริษัทรายย่อยในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 11 แห่ง สามารถผลิตน้ำดื่มบรรจุขวดเพื่อการจำหน่ายได้ ได้แก่ บริษัท เอส แอล มาร์เก็ตติ้ง, โครงการน้ำดื่มทรายทอง, น้ำดื่มน้ำใจ, น้ำดื่มแสงจันทร์, น้ำดื่มธารทิพย์, ร้านโชคชัยวอเตอร์ทรีทเมนท์, ร้านลาวาริน, บริษัทเชียงใหม่โพลสตาร์, น้ำดื่มน้ำริน, น้ำดื่มเกษตรพัฒนา 999 และน้ำดื่มพรีเมี่ยมโกลด์
ขณะที่ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่สำคัญ เช่น เนื้อสุกร ผักสด น้ำมันพืช และน้ำตาลทราย ยังคงอยู่ในภาวะปกติ ปริมาณสินค้าที่จำหน่ายมีเพียงพอต่อความต้องการของประชาชน ยกเว้น ราคาข้าวสาร และไข่ไก่ ปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยตามภาวะตลาด
นางสาวปานจิตต์ พิศวง พาณิชย์จังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า จากสถานการณ์อุทกภัย ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2554 เป็นต้นมา ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อประเทศไทยในหลายๆ พื้นที่ โดยเฉพาะทางภาคกลางของประเทศ ซึ่งกระทบโดยตรงต่อการผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคที่สำคัญ รวมทั้งระบบการขนส่งสินค้าทางบกต้องชะลอตัว ทำให้ประชาชนอาจเกิดความตื่นตระหนกในการซื้อสินค้ามากักตุนเกินความจำเป็น และอาจนำไปสู่การขาดแคลนสินค้าได้
ขณะเดียวกันจังหวัดเชียงใหม่-ใกล้เคียง ไม่มีโรงงานผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคที่สำคัญ โดยนิคมอุตสาหกรรมลำพูน แม้มีโรงงานผลิตสินค้า จำนวน 87 โรงงาน สินค้าที่ผลิตมี 9 ประเภท แต่สินค้าหลัก คือ อุปกรณ์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ จึงอาจเกิดผลกระทบต่อการขาดแคลนสินค้าอุปโภคบริโภคบางชนิด
สำนักงานพาณิชย์จังหวัดฯ จึงได้จัดเจ้าหน้าที่ตรวจสอบสถานการณ์และภาวะราคาสินค้าที่สำคัญของจังหวัดอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมหากเกิดปัญหาทางด้านราคา หรือเหตุการณ์สินค้าขาดตลาด เช่น น้ำดื่มบรรจุขวด บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป น้ำมันพืช กระดาษชำระ ข้าวสาร ไข่ไก่ เนื้อสุกรชำแหละ เป็นต้น
ทั้งนี้ พบว่า สินค้าอุปโภคบริโภคอยู่ในภาวะการค้าคล่องตัว ประชาชนสามารถซื้อสินค้าได้ตามปกติ ไม่มีการตื่นตัวหรือการกักตุนสินค้า สินค้าในห้างสรรพสินค้า ยังคงมีเพียงพอต่อความต้องการของประชาชน แต่มีการจำกัดปริมาณการซื้อสินค้าบางรายการ เช่น น้ำมันพืช น้ำตาลทราย น้ำดื่ม เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม สินค้าบางชนิดเริ่มมีจำหน่ายน้อยลง เช่น น้ำดื่มบรรจุขวดบางยี่ห้อ น้ำตาลทราย บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป นมผง เนื่องจากมีประชาชนซื้อส่งไปบริจาคแก่ผู้ประสบอุทกภัยในภาคกลาง ประกอบกับการนำเข้ามาในจังหวัดลดลง เนื่องจากโรงงานผู้ผลิตภาคกลางได้รับผลกระทบโดยตรง เส้นทางขนส่งมีปัญหา
ในส่วนของน้ำดื่มบรรจุขวดชนิดไม่คืนขวดของบริษัทผู้ผลิตรายใหญ่ เช่น ตราสิงห์ ตราน้ำทิพย์ ตราเนสท์เล่ ขาดตลาด อีกทั้งบริษัทสาขาย่อยของผู้ผลิตน้ำดื่มรายใหญ่ เช่น น้ำสิงห์ (อำเภอสารภี) สำนักงานใหญ่แจ้งให้ชะลอการจำหน่ายลง สำนักงานใหญ่จะเป็นผู้บริหารจัดการกระจายน้ำดื่มเอง ส่วนบริษัทอื่นๆ ในจังหวัดเชียงใหม่ ที่มีมากถึง 335 แห่ง ส่วนใหญ่ไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากขาดปัจจัยการผลิต (ขวดบรรจุ)
อย่างไรก็ตาม ยังคงมีบริษัทรายย่อยในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 11 แห่ง สามารถผลิตน้ำดื่มบรรจุขวดเพื่อการจำหน่ายได้ ได้แก่ บริษัท เอส แอล มาร์เก็ตติ้ง, โครงการน้ำดื่มทรายทอง, น้ำดื่มน้ำใจ, น้ำดื่มแสงจันทร์, น้ำดื่มธารทิพย์, ร้านโชคชัยวอเตอร์ทรีทเมนท์, ร้านลาวาริน, บริษัทเชียงใหม่โพลสตาร์, น้ำดื่มน้ำริน, น้ำดื่มเกษตรพัฒนา 999 และน้ำดื่มพรีเมี่ยมโกลด์
ขณะที่ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่สำคัญ เช่น เนื้อสุกร ผักสด น้ำมันพืช และน้ำตาลทราย ยังคงอยู่ในภาวะปกติ ปริมาณสินค้าที่จำหน่ายมีเพียงพอต่อความต้องการของประชาชน ยกเว้น ราคาข้าวสาร และไข่ไก่ ปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยตามภาวะตลาด