xs
xsm
sm
md
lg

กาญจนบุรีเตรียมจัดงาน “สัปดาห์สะพานข้ามแม่น้ำแคว” 25 พ.ย.ถึง 6 ธ.ค.นี้

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

กาญจนบุรี- จังหวัดกาญจนบุรีเตรียมจัดงานย้อนรำลึกเหตุการณ์ประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งที่ 2 ชมการแสดง แสง สี เสียง ในงานสัปดาห์สะพานข้ามแม่น้ำแคว และงานกาชาดจังหวัดกาญจนบุรี 25 พ.ย.ถึง 6 ธ.ค.54

จังหวัดกาญจนบุรี ถือได้ว่าเป็นเมืองหน้าด่านด้านทิศตะวันตกของประเทศไทยที่มีความสำคัญต่อประเทศชาติมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ จนกระทั่งมาถึงสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ในแต่ละช่วงสมัยได้เกิดเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์อย่างเห็นได้ชัดก็คือ สงครามเก้าทัพ เป็น การรบระหว่างไทยกับพม่า หลังจากเหตุการณ์ครั้งประวัติศาสตร์ได้ผ่านพ้นไปก็เกิดเหตุการณ์ที่สำคัญขึ้นมาอีกครั้งของจังหวัดกาญจนบุรีรวมถึงคนไทยซึ่งมิอาจลืมมันได้ นั่นคือ “สงครามโลกครั้งที่ 2” หรือ “สงครามมหาเอเชียบูรพา”

เช้าตรู่ของวันที่ 8 ธันวาคม 2484 ขณะที่คนไทยกำลังหลับไหลอยู่นั้น กองทัพสมเด็จพระ จักรพรรดิญี่ปุ่นได้ยกพลอย่างสายฟ้าแลบขึ้นตลอดชายฝั่งทะเลไทยตั้งแต่บางปู จ.สมุทรปราการ ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี ทำให้ชาวไทยต่างต้องรวมตัวรวมพลังต่อสู้อย่างทรหดจอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นได้สั่งให้ชาวไทยที่ออกมาต่อต้านกองกำลังของสมเด็จพระจักรพรรดิให้ยุติการต่อต้านทำให้กองทัพญี่ปุ่นกว่า 5,000 นายเดินทัพเข้ากรุงเทพฯ กระจายกำลังเข้าคุมจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญของกรุงเทพและต่างจังหวัด

ต่อมาในวันที่ 21 ธันวาคม 2484 รัฐบาลไทยได้ลงนามเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่นที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) เมื่อเวลา 10.00 น.โดยญี่ปุ่นได้ให้คำมั่นสัญญาว่าจะเคารพเอกราชอธิปไตยและเกียรติยศของประเทศไทย โดยการเดินทัพครั้งนี้ทหารญี่ปุ่นได้สร้างทางรถไฟเพื่อใช้ลำเลียงสัมภาระเพื่อมุ่งสู่ไปยังประเทศพม่าด้วยเส้นทางหนองปลาดุก ผ่านกาญจนบุรี

การก่อสร้างทางรถไฟสายมรณะสายนี้จึงได้เริมก่อสร้างเมื่อเดือนตุลาคม 2485 มีขนาด รางกว้าง 1 เมตรยาว 400 กิโลเมตร การก่อสร้างทางรถไฟสายมรณะสายนี้ถือได้ว่าเป็นการก่อ สร้างทางรถไฟที่ลำบากที่สุดก็ว่าได้เพราะต้องผ่านลำน้ำแควใหญ่ที่ ต.ท่ามะขาม จ.กาญจนบุรี แล้วตัดผ่านลำน้ำแควน้อยย้อนทวนกระแสน้ำข้ามหุบเหวและหน้าผาอันสูงชันผ่านภูเขาสูงในป่าดง ดิบที่รกชัฏบริเวณเขตแดนไทยพม่าที่ด่านเจดีย์สามองค์ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี เพื่อไปบรรจบกับทางรถไฟในประเทศพม่าที่ญี่ปุ่นได้ สร้างเอาไว้แล้วการก่อสร้างสะพานสายมรณะสายนี้ วิศวกรญี่ปุ่นคาดว่าจะแล้วเสร็จจะต้องใช้เวลานาน 5-6 ปี

ดังนั้น ทางกองทัพญี่ปุ่นสั่งให้เสร็จภายใน 1 ปี ทหารญี่ปุ่นจึงต้องเกณฑ์เอาไพร่ พลเชลยศึกจากมลายู สิงคโปร์ ชวา และแถบแปซิฟิก ประมาณ 61,700 คนมาทำงานในจำนวนดังกล่าวนี้มีชาวอังกฤษ 30,000 คน ออสเตรเลีย 13,000 คน ชาวฮอลันดา 18,000 คน และชาวอเมริกา อีก 700 คนยังมีการเกณฑ์แรงงานจากชาติอื่นๆ อีก เช่น ฮ่องกง ไทย อินเดีย อีกประมาณ 1 แสนคน

การก่อสร้างสะพานสายมรณะเหล่าเชลยศึกต้องสร้างสะพานไม้ระดับต่ำไปทางท้ายน้ำ 100 เมตร การก่อสร้างสะพานแล้วเสร็จ พ.ศ. 2486 แต่กระแสน้ำได้พัดสะพานไม้หักล้มพังพินาศ ญี่ปุ่น จึงเปลี่ยนแผนนำชิ้นส่วนสะพานแบบสำเร็จรูปบรรทุกทางเรือมาจากชวา 11 ช่วง วางต่อกันบนต่อม่อจนแล้วเสร็จเมื่อเดือนกันยายน 2486 โดยใช้เวลาการก่อสร้างกว่า 7 เดือนทำให้เหล่าเชลยศึกต้องเสียชีวิตไปอย่างน่าอนาถนับหมื่นคน

หลังจากที่ญี่ปุ่นได้สร้างสะพานเสร็จก็ถูกกองทัพฝ่ายพันธมิตรได้นำเครื่องบินแบบบี 24 และบี 29 โจมตีอย่างหนักตามเส้นทางรถไฟ ทำให้สะพานช่วงที่ 4-6 ขาดจากกัน 3 ช่วงหลังจากนั้น ทหารฝ่ายพันธมิตรฯได้ทิ้งระเบิดอีกที่ค่ายทหารญี่ปุ่นที่ จ.กาญจนบุรี ทำให้บ้านเรือนเกิดเพลิงไหม้ ทำให้เสียหายมาก

จุดจบของสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้จบลงเมื่อทหารฝ่ายพันธมิตรได้ใช้เครื่องบินเอโนลาเกของสหรัฐอเมริกาจากฐานทัพทิเนียนบรรทุกระเบิดปรมาณู บินด้วยความสูง 9,600 เมตร ไปทิ้งที่กลางเมืองฮิโรชิมา ทำให้บ้านเรือนกว่า 50,000 หลังคาเรือนพังพินาศในพริบตาเดียว มีผู้เสียชีวิตกว่า 1 แสนคน ต่อมาก็นำเอาระเบิดปรมาณูลูกที่ 2 ไปทิ้งที่เมืองนางาซากิ ราบเป็นแห่งที่สอง ทำให้สมเด็จพระจักรพรรดิญี่ปุ่นประกาศยอมจำนนแก่ฝ่ายพันธมิตรโดยไม่มีเงื่อนไขต่อ รองใดๆ ทั้งสิ้น ด้วยเหตุนี้เองสะพานข้ามแม่น้ำแคว หรือที่ชาวบ้านเรียกว่าเส้นทางสายมรณะสายนี้ของ จ.กาญจนบุรี จึงเป็นสะพานสายมรณะสายประวัติศาสตร์ของโลกและเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์

จังหวัดกาญจนบุรี จึงได้จัดให้มีการแสดง แสง สี เสียง จำลองเหตุการณ์ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้นในงานสัปดาห์สะพานข้ามแม่น้ำแควและงานกาชาดจังหวัดกาญจนบุรี ที่บริเวณสะพานขามแม่น้ำแคว ต.ท่ามะขาม อ.เมือง จ.กาญจนบุรี ในวันที่ 25 พ.ย.ถึง 6 ธ.ค.54 เพื่อ เป็นการรำลึกถึงเหตุการณ์ในครั้งนั้นทางจังหวัดกาญจนบุรี จึงใคร่ขอเชิญชวนทุกท่านไปร่วมกันไว้อาลัยแก่ดวงวิญญาณของผู้ที่มาเสียชีวิตกับการสร้างสะพานสายมรณะสายนี้ด้วย
กำลังโหลดความคิดเห็น