พะเยา - ผวจ.พะเยา ชง ครม.ไฟเขียวจัดงบ 20 ล้านตั้ง “คลังสินค้ายางพารา” หลังนายทุนจีนเข้าเจรจารับซื้อผลผลิตถึงพื้นที่แล้ว เชื่ออนาคตรุ่ง และส่งผลดีสวนยางจังหวัดใกล้เคียงด้วย ขณะที่สหกรณ์ยางเมืองกว๊านฯ เผยเริ่มมีชาวสวนลักไก่ใส่แป้งมันในถ้วยยาง หลอกขายยางก้นถ้วยผสมแป้งมัน หวั่นทำภาพยางพาราพะเยาเสียทั้งจังหวัด
นายพงษ์ศักดิ์ วังเสมอ ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา กล่าวว่า ขณะนี้ได้มีกลุ่มพ่อค้าจากประเทศจีนให้ความสนใจจะมาติดต่อขอรับซื้อยางพาราแผ่นดิบจากเกษตรกรชาวสวนยางพะเยาในปริมาณมาก โดยต้องการทำสัญญารับซื้อเป็นทางการ แล้วส่งลงท่าเรือที่ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบทำผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับยางในประเทศจีน เนื่องจากทางกลุ่มพ่อค้าจีนมองว่าจังหวัดพะเยาเป็นฐานการผลิตยางพาราที่ให้ผลิตสูงในภาคเหนือ จึงให้ความสนใจอย่างมาก
ผวจ.พะเยากล่าวต่อว่า ดังนั้น ทางสำนักงานสหกรณ์จังหวัดพะเยาได้จัดทำโครงการเสนอให้มีการจัดทำคลังสินค้ายางพาราในจังหวัดพะเยา ในวงเงินงบประมาณ 20 ล้านบาท รวมถึงโครงการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอยู่ในแผนการพัฒนาของจังหวัดและได้รับการบรรจุในแผนกลุ่มจังหวัดที่จะเป็นแผนงานเพื่อเสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาลด้วย
“ขณะนี้โครงการเกี่ยวกับยางพาราและภาคการผลิตด้านการเกษตร รวมทั้งปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการผลิตซึ่งเป็นแผนแยกทั้งเรื่องของยางพารา น้ำ สังคม และสิ่งแวดล้อม ได้นำเสนอไปที่ส่วนกลางแล้ว คาดว่าจะถูกนำเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) อีกครั้ง” ผวจ.พะเยากล่าว
นายพงษ์ศักดิ์กล่าวอีกว่า ปัจจุบันสำนักงานเกษตรจังหวัดพะเยา ได้ทำรายงานข้อมูลยางพาราทั่วจังหวัดพะเยา พบว่า มีพื้นที่ปลูกทั้งหมด 128,818 ไร่ มีเกษตรกรจำนวน 14,212 ราย พื้นที่ให้ผลผลิตแล้ว 12,588 ไร่ จำนวนเกษตรกร 1,390 ราย พื้นที่ให้ผลผลิตสูงสุด 3,967 ไร่ ของเกษตรกร 399 ราย มีปริมาณยางพาราแต่ละเดือนที่ออกสู่ตลาดไม่น้อยกว่า 150 ตัน มีตลาดปลายทางที่ภาคใต้ ซึ่งหากมีคลังสินค้ายางพาราตั้งในพื้นที่ จ.พะเยา นอกจากจะสามารถรองรับผลผลิตยางพาราในพื้นที่ จ.พะเยา แล้ว ยังรองรับผลผลิตยางพาราในพื้นที่จังหวัดใกล้เคียงได้ด้วย และเป็นผลดีต่อเกษตรกรด้านเศรษฐกิจที่จะเกิดการหมุนเวียนตั้งแต่ระดับชุมชนอย่างคล่องตัว เพราะเกษตรกรมีรายได้ทุกวัน
อย่างไรก็ตาม ด้านนายเจตพร สังข์ทอง ผู้จัดการสหกรณ์ชาวสวนยางพะเยา จำกัด ระบุว่า ขณะนี้พบว่ามีชาวสวนยางพะเยาบางส่วนนิยมทำยางก้นถ้วยขาย เพราะมีพ่อค้าทั้งรายใหญ่และรายเล็กรับซื้อแข่งกันหลายราย ซึ่งยางก้นถ้วยปกติสหกรณ์ฯ จะไม่รับซื้อ หากเกษตรกรจะนำมาขายก็ต้องทำให้แห้งแล้วขายเป็นเศษยางแห้ง
ยิ่งไปกว่านั้นยังพบว่า มีเกษตรกรหัวใสทำยางก้นถ้วยที่แปลกไป โดยนำแป้งมันละลายน้ำผสมกับน้ำยาง-หยดน้ำกรดลงไปเพื่อให้ได้ปริมาณยางก้นถ้วยที่มากขึ้น หากผู้ที่รับซื้อยางก้นถ้วยไม่สังเกตจะถูกหลอกขายยางก้นถ้วยผสมแป้งมัน ซึ่งเมื่อทางสหกรณ์ฯ ตรวจสอบและพบมียางก้นถ้วยผสมแป้งน้ำ จะไม่รับซื้อโดยเด็ดขาด เพราะถือว่าเป็นยางไม่มีคุณภาพ และเป็นสิ่งที่ไม่ดีเกษตรกรไม่ควรทำ
“ยางพาราพะเยามีคุณภาพดีอยู่แล้ว อยากร้องขอให้เกษตรกรชาวสวนยางงดทำยางก้นถ้วย และตั้งใจทำยางแผ่นให้มีคุณภาพและพัฒนาคุณภาพของยางแผ่นให้ดียิ่งขึ้น เพื่อให้เป็นคุณภาพระดับต้นของภาคเหนือ ซึ่งในอนาคตนอกจากจะช่วยรักษาคุณภาพของยางพาราแผ่นไว้แล้วยังจะทำให้ตลาดยางพาราแผ่นเข้มแข็งไม่ถูกพ่อค้ากดราคาด้วย” นายเจตพรกล่าว
นายพงษ์ศักดิ์ วังเสมอ ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา กล่าวว่า ขณะนี้ได้มีกลุ่มพ่อค้าจากประเทศจีนให้ความสนใจจะมาติดต่อขอรับซื้อยางพาราแผ่นดิบจากเกษตรกรชาวสวนยางพะเยาในปริมาณมาก โดยต้องการทำสัญญารับซื้อเป็นทางการ แล้วส่งลงท่าเรือที่ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบทำผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับยางในประเทศจีน เนื่องจากทางกลุ่มพ่อค้าจีนมองว่าจังหวัดพะเยาเป็นฐานการผลิตยางพาราที่ให้ผลิตสูงในภาคเหนือ จึงให้ความสนใจอย่างมาก
ผวจ.พะเยากล่าวต่อว่า ดังนั้น ทางสำนักงานสหกรณ์จังหวัดพะเยาได้จัดทำโครงการเสนอให้มีการจัดทำคลังสินค้ายางพาราในจังหวัดพะเยา ในวงเงินงบประมาณ 20 ล้านบาท รวมถึงโครงการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอยู่ในแผนการพัฒนาของจังหวัดและได้รับการบรรจุในแผนกลุ่มจังหวัดที่จะเป็นแผนงานเพื่อเสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาลด้วย
“ขณะนี้โครงการเกี่ยวกับยางพาราและภาคการผลิตด้านการเกษตร รวมทั้งปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการผลิตซึ่งเป็นแผนแยกทั้งเรื่องของยางพารา น้ำ สังคม และสิ่งแวดล้อม ได้นำเสนอไปที่ส่วนกลางแล้ว คาดว่าจะถูกนำเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) อีกครั้ง” ผวจ.พะเยากล่าว
นายพงษ์ศักดิ์กล่าวอีกว่า ปัจจุบันสำนักงานเกษตรจังหวัดพะเยา ได้ทำรายงานข้อมูลยางพาราทั่วจังหวัดพะเยา พบว่า มีพื้นที่ปลูกทั้งหมด 128,818 ไร่ มีเกษตรกรจำนวน 14,212 ราย พื้นที่ให้ผลผลิตแล้ว 12,588 ไร่ จำนวนเกษตรกร 1,390 ราย พื้นที่ให้ผลผลิตสูงสุด 3,967 ไร่ ของเกษตรกร 399 ราย มีปริมาณยางพาราแต่ละเดือนที่ออกสู่ตลาดไม่น้อยกว่า 150 ตัน มีตลาดปลายทางที่ภาคใต้ ซึ่งหากมีคลังสินค้ายางพาราตั้งในพื้นที่ จ.พะเยา นอกจากจะสามารถรองรับผลผลิตยางพาราในพื้นที่ จ.พะเยา แล้ว ยังรองรับผลผลิตยางพาราในพื้นที่จังหวัดใกล้เคียงได้ด้วย และเป็นผลดีต่อเกษตรกรด้านเศรษฐกิจที่จะเกิดการหมุนเวียนตั้งแต่ระดับชุมชนอย่างคล่องตัว เพราะเกษตรกรมีรายได้ทุกวัน
อย่างไรก็ตาม ด้านนายเจตพร สังข์ทอง ผู้จัดการสหกรณ์ชาวสวนยางพะเยา จำกัด ระบุว่า ขณะนี้พบว่ามีชาวสวนยางพะเยาบางส่วนนิยมทำยางก้นถ้วยขาย เพราะมีพ่อค้าทั้งรายใหญ่และรายเล็กรับซื้อแข่งกันหลายราย ซึ่งยางก้นถ้วยปกติสหกรณ์ฯ จะไม่รับซื้อ หากเกษตรกรจะนำมาขายก็ต้องทำให้แห้งแล้วขายเป็นเศษยางแห้ง
ยิ่งไปกว่านั้นยังพบว่า มีเกษตรกรหัวใสทำยางก้นถ้วยที่แปลกไป โดยนำแป้งมันละลายน้ำผสมกับน้ำยาง-หยดน้ำกรดลงไปเพื่อให้ได้ปริมาณยางก้นถ้วยที่มากขึ้น หากผู้ที่รับซื้อยางก้นถ้วยไม่สังเกตจะถูกหลอกขายยางก้นถ้วยผสมแป้งมัน ซึ่งเมื่อทางสหกรณ์ฯ ตรวจสอบและพบมียางก้นถ้วยผสมแป้งน้ำ จะไม่รับซื้อโดยเด็ดขาด เพราะถือว่าเป็นยางไม่มีคุณภาพ และเป็นสิ่งที่ไม่ดีเกษตรกรไม่ควรทำ
“ยางพาราพะเยามีคุณภาพดีอยู่แล้ว อยากร้องขอให้เกษตรกรชาวสวนยางงดทำยางก้นถ้วย และตั้งใจทำยางแผ่นให้มีคุณภาพและพัฒนาคุณภาพของยางแผ่นให้ดียิ่งขึ้น เพื่อให้เป็นคุณภาพระดับต้นของภาคเหนือ ซึ่งในอนาคตนอกจากจะช่วยรักษาคุณภาพของยางพาราแผ่นไว้แล้วยังจะทำให้ตลาดยางพาราแผ่นเข้มแข็งไม่ถูกพ่อค้ากดราคาด้วย” นายเจตพรกล่าว